Club No Sugar ตอบโจทย์เอาใจคนรักสุขภาพ พร้อมเสิร์ฟเมนูอาหารคีโตแบบวาไรตี้ #อร่อยเข้าถึงง่าย

ตามที่ได้ยินมาว่าตอนนี้เดี๋ยวนี้คนรักสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองและเลือกอาหารการกินที่เหมาะกับทั้งไลฟ์สไตล์และสุขภาพกายใจ เขากำลังอินกับเทรนด์อาหารคีโตเจนิคกันเป็นอย่างมาก นั่นเป็นเพราะหลายคนที่ลองทานดูแล้วสุขภาพดีขึ้นจริง โดยเฉพาะคนที่เผชิญหน้ากับโรคเบาหวาน ทำให้ต้องห่างจากพวกแป้งพวกน้ำตาล รวมถึงคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก พอได้มาเข้าสู่โหมดคีโตแล้วมันทั้งใช่และตอบโจทย์สุขภาพไปด้วยกัน

Club No Sugar 3

Club No Sugar 4

Club No Sugar 5

ที่น่าสนใจคือเป็นการกินไขมันในสัดส่วนที่เยอะ แต่ให้ผลในเรื่องของน้ำหนักลดเนื่องจากสัดส่วนการกินแบบคีโต คือ คาร์โบไฮเดรต 5 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์ และไขมัน 75 เปอร์เซ็นต์ หลายๆ คนได้หันมาดูแลสุขภาพด้วยการเข้าสู่โหมดการกินอาหารในแนวคีโต (โดยการกินคีโตที่ถูกต้องจะมีกระบวนการในการเตรียมความพร้อมและปรับร่างกายก่อน เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่โหมดการนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานได้อย่างถูกหลัก) ถ้าเป็นอาหารคีโตจะไม่มีส่วนผสมของแป้ง (ยกเว้นแป้งอัลมอนด์และแป้งมะพร้าว) และจะไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล แต่ใช้สารให้ความหวานธรรมชาติแทน เพราะฉะนั้นถึงจะเป็นเมนูคีโต แต่คนทั่วไปก็กินได้ เพราะการตัดแป้งกับน้ำตาลออกไป ยังไงก็ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว และต้องบอกว่ารสชาติของเมนูคีโตไม่แตกต่างจากรสชาติอาหารทั่วไป เพียงแต่ต่างตรงวัตถุดิบที่เลือกใช้

Club No Sugar 9

Club No Sugar 1

Club No Sugar 2

และเพื่อรองรับการเติบโตของคนกินอาหารแนวคีโต Club No Sugar จึงเกิดขึ้น นับเป็นร้านอาหารแนวคีโตขนาดใหญ่และครบวงจร คุณกรรณิกา สุจิวรกุล ผู้เป็นเจ้าของได้พูดถึงจุดเริ่มต้นของร้าน Club No Sugar ให้ทราบว่า “เริ่มต้นจากแนวความคิดที่อยากให้มีสถานที่ที่ชาวคีโต ได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดกัน และยังเป็นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคีโตเจนิค ไดเอ็ทอีกด้วย อยากให้เข้ามาแล้วสัมผัสได้ถึงบรรยากาศสบายๆ เหมือนเป็นหลังใหญ่ที่เข้ามาแล้วรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัว โดยมีอาหารปรุงสด มีเบเกอรี่สดใหม่ และมีซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมเอาวัตถุดิบคีโตมาอยู่ในที่เดียวกัน Club No Sugar เป็นคลับของคนรักสุขภาพ เรียกว่าแวะมาที่ร้านจุดเดียว เรามีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับจับจ่ายค่ะ”

Club No Sugar คุณกรรณิกา สุจิวรกุล (กรรมการผู้จัดการ)

คุณกรรณิกา สุจิวรกุล (กรรมการผู้จัดการ) Club No Sugar

Club No Sugar คุณพิพัฒน์ เรืองรองหิรัญญา (รองกรรมการผู้จัดการ)

คุณพิพัฒน์ เรืองรองหิรัญญา (รองกรรมการผู้จัดการ) Club No Sugar

สำหรับพื้นที่ภายในร้านได้มีการจัดแบ่งโซน และการจัดวางที่นั่งที่หลากหลาย โซนแรก…คือห้องอาหาร กว้างขวาง มีชั้นล่าง ชั้นลอย ติดแอร์เย็นฉ่ำ ซึ่งอาหารแนวคีโตจะแยกครัวกับอาหารทั่วไป ปรุงฝีมือโดยเชฟที่คร่ำหวอดและมีประสบการณ์ในการทำอาหาร โซนที่สอง…คาเฟ่ บรรยากาศสบายเป็นกันเอง เป็นมุมที่สร้างแรงบันดาลใจ สำหรับมานั่งใช้ความคิด นั่งทำงานชิลล์ ๆ สำหรับคอชา-กาแฟ และเครื่องดื่ม ที่มีบริการทั้งแนวคีโตและเครื่องดื่มกาแฟปกติ รวมถึงซิกเนเจอร์ที่หลายคนมาแล้วพลาดไม่ได้ คือเค้กคีโตหลากหลายรสชาติ ที่อร่อยได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน และที่คั่นตรงกลางระหว่างสองพื้นที่ คือ โซนที่สาม…เอ้าท์ดอร์ เป็นบรรยากาศสวน สบายตาด้วยสีเขียวของต้นไม้ใหญ่ ยังมีปลาคราฟท์หลากสีนับร้อยที่แหวกว่ายอยู่ในบ่อ ทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นมากกว่าโต๊ะนั่งกินอาหาร แต่ยังกลายเป็นมุมพักผ่อนอีกด้วย โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กๆ โซนที่สี่…คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารคีโต และอาหารเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะบรรดาเบเกอรี่ต่าง ๆ ที่นอกจากจะมีหลายแบรนด์แล้ว ทางร้านยังมีครัวสำหรับทำเบเกอรี่และขนมเอง โดยฝีมือเชฟเพรสทรี้ จาก เลอ กอร์ ดอง เบลอ มีขนมอบ สด ใหม่ จากครัวทุกวัน ส่วนทางด้านบนของร้านยังมีพื้นที่อีกหลายห้องสำหรับเป็นห้องจัดงานส่วนตัว จะงานเลี้ยง งานแต่ง งานสังสรรค์ งานสัมนา งานปาร์ตี้ เวิร์คช็อป ฯลฯ

Club No Sugar ไม่เพียงแต่มีเมนูอาหารคีโต แต่ยังมีเมนูอาหารไทย จีน ยุโรป ซึ่งเมนูอาหารทั่วไปก็มีให้เลือกไม่น้อยเช่นกันเรียกว่าคนกินคีโต คนไม่กินคีโต เป็นร้านที่บรรยากาศเหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะมากันเป็นครอบครัว สังสรรค์ก๊วนเพื่อน เฮฮาประสาคนรุ่นใหม่ ก็สามารถร่วมโต๊ะกันได้ด้วยความหลากหลายของอาหารที่ทางร้านมอบให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้มาเยือนทุกคนโดยสามารถสร้างโมเมนท์ความสุขร่วมกันได้อย่างลงตัว

Club No Sugar 6

Club No Sugar 8

วันนี้ทางทีมไลฟ์สไตล์ของเว็บไซด์ The Editors Society ได้มาชมบรรยากาศร้านและชิมอาหารทั้งเมนูคีโตและเมนูอาหารทั่วไป ไหนเรามาดูกันสิว่ามีเมนูอะไรบ้าง ถ่ายภาพมาฝากกันแบบรัวๆ

Club No Sugar 11

Club No Sugar 12

หอยเชลล์อบกระเทียม ทานคู่กับคีโตบัน (เมนูคีโต) 350 บาท เมนูใหม่ล่าสุด เลือกหอยเชลล์ตัวใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความครบเรื่อง หอมกรุ่น เพิ่มความอร่อยยิ่งขึ่นเมื่อได้ทานคู่กับขนมปังคีโตบัน

 

Club No Sugar 15

Club No Sugar 16

ผัดไทยเส้นแก้ว (เมนูคีโต) 180 บาท น้ำผัดไทยผ่านการเคี่ยวมาอย่างดี ใส่หลากหลายส่วนผสมที่เป็นสูตรลับของทางร้าน แต่ไม่มีผงชูรส ไม่มีน้ำตาล รสหวานก็ใช้เป็นสารทดแทนความหวาน ถั่วในผัดไทยจะเป็นพวกแมคคาเดเมีย อัลมอนด์ ไม่ใช้ถั่วลิสง ส่วนเส้นแก้วก็ทำจากสาหร่าย

 

Club No Sugar 13

Club No Sugar 14

หมูกระทะ (เมนูคีโต) 380 บาท เป็นอีกหนึ่งเมนูใหม่ที่ได้รับความนิยม น้ำจิ้มที่ทานคู่กันก็จะเป็นน้ำจิ้มคีโต ไม่มีผงชูรส น้ำจิ้มผ่านการเคี่ยวปรุง ใส่เกลือชมพู

 

Club No Sugar 17

ปูม้าผัดพริกเกลือ (เมนูทั่วไป) 350 บาท ไม่มีผงชูรส ผักก็ใช้ผักสดออร์แกนิก

 

Club No Sugar 18

Club No Sugar 19

Blueberry Cheesecake (เมนูคีโต) 165 บาท ชีสเนียนนุ่ม ได้ความเปรี้ยวจากมะนาว มะนาวขูดผสมเข้าไปในเนื้อชีส ชีสเป็นชีสคีโต

Club No Sugar 21

Double Chocolate Cake (เมนูคีโต) 185 บาท แป้งที่ใช้ก็ใช้ผงอัลมอนด์ อัลมอนด์บดละเอียดทำเป็นแป้งเค้ก ให้พลังงานต่ำ เป็นเค้กช็อกโกแลตสอดใส่ด้วยครีมช็อกโกแลต ส่วนด้านบนก็เป็นอัลมอนด์นูคาติน อัลมอนด์อบเคี่ยวคาราเมลหล่อฮังก๊วย

Club No Sugar 22

Strawberry Keto Cake (เมนูคีโต) 185 บาท สตรอว์เบอรี่ที่ใช้จะนำเข้าจากต่างประเทศ เนื้อเค้กวานิลลา แยมสตรอว์เบอรี่

 

Club No Sugar 23

Club No Sugar 24

Triple Fruit Soda (เมนูทั่วไป) 80 บาท มีความเหมือนอิตาเลี่ยนโซดา น้ำไซรัปด้านล่างก็มิกซ์เองโดยใช้ผลไม้สด มีแอ๊ปเปิ้ล กีวี ส้ม มีผลไม้ทั้งหมด 3 ชนิด เหมาะกับเป็นเครื่องดื่มประจำซัมเมอร์ ให้ความสดชื่น กลิ่นหอม ตกแต่งด้วยผลไม้สด

Club No Sugar 25

Black Cocoa Caramel (เมนูคีโต) 180 บาท ไม่ใช่น้ำตาล ใช้วิปปิ้งแทนนม คีโตจะทานนมไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นวิปปิ้งที่ใช้จะเป็นวิปปิ้งแท้ 100% ถูกสกัดแยกน้ำตาลออกหมดแล้ว จะใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำหน้าที่เทียบเท่าน้ำตาล แต่ให้พลังงาน 0 แคลลอรี่ อยากได้หวานมากหรือหวานน้อยก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าได้เลย เพราะพลังงานที่ได้เป็น 0 แคลลอรี่อยู่แล้ว ไม่ไปกระตุ้นอินซูลิน ส่วนคาราเมลที่ราดด้านบนก็เป็นผงหล่อฮังก๊วย นำไปเคี่ยวให้เป็นคาราเมล ส่วนอัลมอนด์เป็นอัลมอนด์นูคาติน นำอัลมอนด์อบให้สุกกรอบมาเคี่ยวกับคาราเมลอีกครั้ง มีความหวานแบบปราศจากน้ำตาล

แล้วเดี๋ยวจะพาไปดูซูเปอร์มาร์เก็ตทางด้านบนด้วย มีของคีโตขายเพียบพร้อม กินเสร็จอยากจะซื้อของกลับไปปรุงอาหารทานที่บ้านก็ซื้อที่นี่ได้เลย #ครบจบในที่เดียว

Club No Sugar 26

Club No Sugar 27

Club No Sugar 29

Club No Sugar 28

Club No Sugar 32

Club No Sugar 31

Club No Sugar 30

 

Club No Sugar บริหารงานโดย คุณกรรณิกา สุจิวรกุล (กรรมการผู้จัดการ) คุณพิพัฒน์ เรืองรองหิรัญญา (รองกรรมการผู้จัดการ) บริการเมนูคีโต และอาหารทั่วไปไทย จีน ยุโรป รวมถึงห้องจัดเลี้ยง ตั้งอยู่ที่ถ.พระราม 3 บางโพงพาง ยานนาวา กรุงเทพฯ(เลยซอยพระราม 3 ซ. 39 มาประมาณ 200 เมตร ร้านอยู่ติดริมถนน) เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08: 30–22: 00 น. ทางร้านมีบริการ delivery โดยไลน์แมน สำรองที่นั่ง โทร.063-146-8224 คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook : club no sugar ig :clubnosugar Line@ : @clubnosugar

ชั่วโมงชิลล์กับเพื่อน อร่อยกับอาหารแบบวาไรตี้ ปาร์ตี้ให้สุดที่ Roots Bangkok

เวลาที่เราคิดจะพบปะสังสรรค์ คือไม่ว่าจะเพื่อนกลุ่มเล็กๆ เข้าขั้นสนิทสุด หรือนัดกันมาเยอะๆ แนวเพื่อนที่ทำงาน นั่นหมายความว่าทุกคนต้องการพื้นที่ที่สามารถปล่อยอารมณ์ ความสนุกสนาน และอยากอยู่ในบรรยากาศรอบตัวที่ผ่อนคลาย สบายใจ

Roots Bangkok 5

Roots Bangkok 4

ที่นี้เราเองก็ช่างค้นช่างหาจนกระทั่งได้รู้มาว่ามีร้านนี้ไงที่ตอบโจทย์ Roots Bangkok อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพ อาหารของที่นี่จะเป็นแบบฟิวชั่นร่วมสมัย มีให้เลือกแบบอลังการมาก ถ้านึกอยากจะกินอะไรขึ้นมาก็ได้ทั้งนั้น พิกัดร้านอยู่ในโครงการ K Village สุขุมวิท 26 บรรยากาศสงบร่มรื่นพร้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ที่อยู่รายล้อมรอบตัว คิดตามนะคะ คือได้มาชิมทั้งอาหารมื้อพิเศษ บาร์บีคิวหอมกรุ่นร้อน ตามด้วยจิบเบียร์เย็นฉ่ำในสวนที่คึกคัก

Roots Bangkok 3

Roots Bangkok 2

และวันนี้เราได้รับเชิญจาก Roots Bangkok ให้มานั่งชิลล์ กินของอร่อย และดื่มค็อกเทลสูตรพิเศษ ระหว่างรอเวลาที่อาหารกำลังปรุงรสโดยเชฟยอดฝีมือ เราขอไปนั่งคุยกับ คุณธัญญ่า-ธณัฐฐา ดีเกตุ เธอเป็นหุ้นส่วนและผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติงาน “จริงๆ แล้วญ่าเรียน Business แต่ที่เลือกสาขา Hospitality เพราะชอบการบริการแบบโรงแรม โดยเฉพาะงานส่วนหน้า เพราะมีความใฝ่ฝันคืออยากเป็นเจ้าของโรงแรม” คุณธัญญ่าเล่าย้อนกลับไปซึ่งตอนที่คุณญ่าทำงานอยู่ที่ The Langham ช่วงปีสุดท้ายก่อนกลับประเทศไทยก็ได้มีโอกาสไปทำร้านอาหารไทยที่ New Zealand ในตำแหน่ง Operation Manager เช่นกัน คุณธัญญ่าจึงรู้ดีว่าการทำร้านอาหารไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ว่าทางครอบครัวอยากให้คุณธัญญ่ามาช่วยงานเป็น Operation Manager ที่ Roots Bangkok

Roots Bangkok 1

คุณธัญญ่า-ธณัฐฐา ดีเกตุ 

“อยากให้ Roots มีพื้นที่ในใจของทุกคน ที่ทุกคนอยากขับรถเพื่อมารับประทานอาหารกับ Roots อยากมาสนุกกับเรา ลิ้มลองประสบการณ์ที่แปลกใหม่” คุณธัญญ่ากล่าว ตอนนี้ Roots กำลังมองหาโอกาสในการเปิดสาขาเพิ่ม โดยอยากเน้นไปที่อาหารมังสวิรัติโดยเฉพาะ เพราะเทรนด์ตอนนี้กำลังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เราทุ่มเทกับ Roots ไปแล้ว ญ่าก็อยากทำตรงนี้ให้มันดีที่สุด” คุณธัญญ่ากล่าวทิ้งท้ายเป็นการแสดงถึงความรักที่มีต่อ Roots ได้เป็นอย่างดี

ได้เวลาอาหารอร่อยๆ ออกมาพอดีเลยค่ะ อาหารหน้าตาดีทีเดียว เดี๋ยวมาทยอยชิมทีละเมนูกันไป และไม่ลืมนะคะว่าต้องขอลองค็อกเทลของที่นี่ด้วย เริ่มค่ะ!

Roots Bangkok 12

Jerk Chicken ราคา 320 บาท
ซอสหมักไก่ก็คือ Jerk Sauce พริกเองก็เป็นพริกนำเข้าทั้งจากปานามา ฟลอริด้า เครื่องปรุงก็จะเป็นเฮิร์บซะส่วนใหญ่ ทำให้ดีต่อร่างกายด้วย กระวาน ยี่หร่า อบเชย มีกลิ่นหอม หมักทิ้งไว้ประมาณชั่วโมงแล้วเอาไปย่าง ให้ซอสเข้าไปในเนื้อไก่ ส่วนข้าวผัดถั่วแดงก็จะเป็นสไตล์จาไมก้า ผัดรวมกับขิง หอม กระเทียม ใส่กะทิด้วย พอได้กลิ่นคู่กับไก่ที่หมัก Jerk Sauce ออกเผ็ดๆ หน่อย ก็จะกลมกล่อมลงตัวเข้ากัน

Roots Bangkok 23

Grilled Salmon with Dill Sauce ราคา 380 บาท
แซลมอนนอร์เวย์เนื้อแน่น นุ่มมัน สีสวย นำเข้ามาทั้งตัวแล้วมาสไลด์ทำเป็นแต่ละเมนู แซลมอนจานนี้จะผ่านการอบการย่างด้วยไฟกลางๆ ให้สีสวย เนื้อมีความสุกกำลังกินอร่อย เสิร์ฟคู่กับ Dill Sauce ที่มีส่วนผสมของผักชีลาว

Roots Bangkok 18

Chicken Wings BBQ Peri Peri ราคา 220 บาท
ปีกไก่ที่หมักด้วยซอสสีแดง Peri Peri Sauce เป็นอาหารสไตล์แอฟริกาใต้ หมักเนื้อไก่ประมาณชั่วโมงแล้วนำไปย่างบนเตาถ่านไฟเบาๆ เสิร์ฟคู่กับพริกหยวกย่าง มะเขือย่าง มีชีสซอสสูตรพิเศษไว้จิ้มเพิ่มรสชาติให้อร่อยแล้วอร่อยอีก

Roots Bangkok 20

Australian Lamb Burger ราคา 360 บาท
จะมีการหมักเครื่องเข้าเนื้อแกะไปเลย มีหอม กระเทียม โรสแมรี่ ไทม์ แล้วเอาเนื้อแกะไปย่างบนเตาถ่าน จะทำให้มีความหอมกว่าเบอร์เกอร์ทั่วๆ ไป ซึ่งวิธีการปรุงแบบนี้จะร้อนกรุ่นจากด้านใน เนื้อขนมปังมีความนุ่มน่ากิน หอมสุกอย่างทั่วถึงกัน

Roots Bangkok 6

Roots Bangkok 24

Wood-Fired Pizza Parma Ham & Rocket ราคา 340 บาท
ความพิเศษก็คือแป้งจะทำสด ถาดต่อถาดต่อวันด้วย การอบการทำที่ต่อที่ ใช้เตาฟื้นไม้ยูคาลิปตัส ใช้พามาแฮมเกรดพรีเมี่ยมนำเข้า ผสมผสานกับมอซซาเรลลาชีส ใช้เตาพิซซ่าแบบดั้งเดิมจะทำให้พิซซ่าอร่อยเข้าถึงรสชาติ

Roots Bangkok 11

Chocolate Martini ราคา 260 บาท
ดูสีสันแล้วมีอารมณ์ความเป็นช็อกโกแลตในตัวเอง เหมือนว่าจะเคร่งขรึมแต่ไม่ เพราะว่าในค็อกเทลยังมีเชอร์รี่ให้ด้วย เป็นซิกเนเจอร์ดริ๊งค์ของ Roots Bangkok

Roots Bangkok 10

Roots Slipper ราคา 260 บาท
หลักๆ ก็คือจะเป็นเหล้าที่สกัดมาจากเมล่อนกับส้มมาผสมกัน ที่เห็นเป็นฟองโฟมเพราะมีการใช้ไข่ขาว จะไม่มีกลิ่นคาว รสชาติจะเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นซิกเนเจอร์ดริ๊งค์ของ Roots Bangkok

#ได้มาแล้วก็ต้องแนะนำโปรโมชั่นพิเศษให้ทุกคน

1. BAR BUFFET The offer is available any hour of the day during Roots’ business hours from Monday – Saturday.
1.5 Hours – 900++ Baht per person
3 Hours – 1,590++ Baht per person

Drink List:
– Vodka • Gin • Rum • Whiskey w/ Mixers
– Heineken Full Pint
– Red Wine • White Wine

Bar Buffet ที่ให้ทุกคนได้ดื่มด่ำไปกับบรรยากาศและเครื่องดื่มหลากหลายได้ที่ Roots ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ไม่ว่าจะมาตอนไหนก็เริ่มโปรโมชั่นได้ตอนนั้นเลย
1.5 ชั่วโมง ในราคา 900++ บาท ต่อคน
3 ชั่วโมง ในราคา 1,590++ บาท ต่อคน

Drink List:
– Vodka • Gin • Rum • Whiskey w/ Mixers
– Heineken Full Pint
– Red Wine • White Wine

2. Wine Promotion Wine Promotion 30% Off Now at Roots. (On selected bottles only) โปรโมชั่นไวน์ ลด 30% เริ่มแล้ววันนี้ที่ Roots (เฉพาะไวน์รุ่นที่กำหนดเท่านั้น)

3. TGIF! at Roots with Happy Hours coming right up. Buy 2 for the price of 1: Local Beers & Cocktails from 4pm – 7pm. หรรษากันได้ทุกวันศุกร์กับโปรโมชั่นซื้อ 2 จ่าย 1 Local Beers และค็อกเทล ในช่วงเวลา Happy Hours ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็นถึง 1 ทุ่มที่ Roots

4. Soul Sisters! All ladies dining at Roots on Wednesday will receive 4 FREE drinks each upon ordering food พิเศษสำหรับผู้หญิงทุกคนที่มาวันพุธ เมื่อทานอาหารที่ Roots จะได้รับไวน์ฟรี 4 แก้ว

Roots Bangkok
สถานที่ตั้ง: B-107, โครงการเค-วิลเลจ ถนนสุขุมวิท 26 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
เวลาทำการ: วันจันทร์-วันศุกร์ 15.00-01.00 น.
วันเสาร์ 11.30-01.00 น.
วันอาทิตย์ 11.30-00.00 น.
เบอร์โทรศัพท์: 02 661 5227
เว็บไซต์: www.rootsbangkok.com
เฟสบุ๊ค: www.facebook.com/rootsbangkok
อินสตาแกรม: Rootsbangkok
ไลน์แอด: @rootsbangkok

ดูเทรนด์สุขภาพเมื่อไร้ไขมันทรานส์

ช่วงนี้ไม่มีประเด็นสุขภาพไหนจะถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางเท่าเรื่องการประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร ที่กระทรวงสาธารณสุขจะให้มีผลใช้บังคับในอีก 180 วันหลังจากวันประกาศนี้ คำถามก็คือ แล้วไลฟ์สไตล์การบริโภคของเราจะต้องปรับตัวไปทางไหน และมีอะไรจะเข้ามาทดแทนสิ่งนี้และมีผลอย่างไรกับพฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบันและอนาคต มาคุยเรื่องนี้กันค่ะ

Health Trans Fatty 1

“ไขมันทรานส์” มาจากไหน
ไขมันทรานส์ เป็นไขมันเกิดจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปในไขมันไม่อิ่มตัวจากพืช กระบวนการนี้เรียกว่า partially hydrogenation จริงๆมันเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1890 โดย พอล ซาบาทีเย(Paul Sabatier)นักเคมีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ค้นพบวิธีการนี้ แต่เขาใช้มันในการทดลองทางเคมีเท่านั้น จนเมื่อปี 1901 วิลเฮล์ม นอร์แมนน (Wilhelm Normann)นักเคมีชาวเยอรมัน ได้นำวิธีการนี้มาใช้กับวงการอาหารโดยเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันและทำได้สำเร็จในปี 1902 ต่อมาในปี 1905 – 1910 มันก็ได้รับความนิยมมากขึ้นๆ โดยมียอดขายถึง 3,000 ตันในอังกฤษเมื่อปี 1909

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาได้มีการนำเข้าถั่วเหลืองเข้ามาในประเทศ น้ำมันถั่วเหลืองก็ถือกำเนิดขึ้นอันเป็นผลผลิตจากการนำเข้านี้ ได้มีการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อให้กลายสภาพเป็นไขมันใช้ในการทำเบเกอรี่และพบว่าไขมันนี้ให้คุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่าเนยสดนั่นคือสามารถเก็บนอกตู้เย็นได้โดยไม่ละลาย และเกลี่ยได้ดีทันทีบนขนมปัง ทั้งทำให้อาหารกรอบอร่อยเก็บได้นานและรสชาติดี ต้นทุนการผลิตก็ต่ำกว่าไขมันทรานส์จากถั่วเหลืองนี้จึงเริ่มถูกใช้ในการทำขนมปัง เค้กและคุกกี้อย่างแพร่หลายมีการนำน้ำมันพืชชนิดต่างๆมาเติมไฮโดรเจนเพื่อใช้ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งในช่วงแรกมีการระบุว่าปลอดภัยกว่าเนยซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว

นอกจากนี้ กระแสสุขภาพที่พูดถึงการบริโภคไขมันอิ่มตัวหรือ SFA ( saturated fat) ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ทำให้เกิดความพยายามจะหาสิ่งทดแทนเนยสดซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวแต่ปัญหาก็คือไขมันไม่อิ่มตัวหรือ UFA (unsaturated fat) มักเก็บไม่ได้นานทั้งเมื่อถูกความเย็นก็จะเป็นไขทำให้ใช้ไม่สะดวก การเติมไฮโดรเจนลงไปในบางส่วน ช่วยให้ไขมันเก็บได้นานขึ้นไม่เป็นไข ทั้งให้เนื้อสัมผัสอร่อยขึ้นด้วย ไขมันทรานส์หรือ TFA ( trans fat)จึงครองตลาดตั้งแต่นั้นมา แม้ว่าในต้นปี 1956 จะเป็นครั้งแรกที่วงการวิทยาศาสตร์เริ่มพูดถึงความเสี่ยงของไขมันทรานส์ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองแต่ก็ยังไม่มีใครให้ความสำคัญเพราะมุ่งเรื่องอันตรายจากไขมันอิ่มตัวมากกว่า

เมื่อโลกเริ่มตระหนักอันตรายของไขมันทรานส์

Health Trans Fatty 2

การศึกษาเรื่องอันตรายของไขมันทรานส์เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อต้นปี 1990 และปี 1994 ก็มีการระบุว่า ไขมันทรานส์เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจของคนอเมริกันถึงสองหมื่นคน ซึ่งช่วงนั้นมีอาหารไขมันทรานส์แพร่หลายทั้งในอเมริกาและยุโรป ทำให้เกิดแคมเปญการต่อต้านและนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในวงการอาหารอย่างมาก

ถ้าดูจากตัวเลขก็จะพบว่า ไขมันทรานส์ถูกมองเป็นฮีโร่ในวงการอาหารมาเกินกว่า50 ปี กว่าความคิดนี้จะเปลี่ยนไป ด้วยข้อมูลที่ระบุในงานวิจัยซึ่งแหล่งไขมันทรานส์ที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุดก็คือ จากมาร์การีนหรือเนยเทียมนั่นเอง ที่นอกจากมันจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดเลวหรือ LDL แล้ว ก็ยังไปลดคอเลสเตอรอลชนิดดีหรือ HDL ในร่างกายลงด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA ในช่วงแรกๆ ได้ออกกฎหมายให้มีการระบุปริมาณไขมันทรานส์ที่มีในอาหารและบางรัฐก็มีกฎหมายห้ามใช้ไขมันทรานส์โดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกับหลายประเทศของยุโรป จนถึงปี 2013 ที่FDAสหรัฐอเมริกาได้ออกมาระบุชัดเจนว่าไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค

จะเห็นว่า ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เขามีการห้ามใช้ไขมันทรานส์นี้มานานกว่าสิบปีแล้ว แต่บ้านเราเพิ่งจะขยับตัว ดังนั้น เราอาจไม่ต้องกังวลมากนักกับอาหารที่นำเข้าจากประเทศเหล่านี้ เพราะเขาเลิกใช้กันก่อนเรามานานแล้วยิ่งแบรนด์ใหญ่ๆเขาก็ต้องรักษาชื่อเสียงกับผู้บริโภคของเขาด้วย สิ่งที่เราควรกลัวกันก็คือบรรดาขนมเบเกอรี่ข้างทางในบ้านเราที่ไม่เคยมีการระบุส่วนผสมที่ชัดเจน ไม่มีการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรใดๆและขายโดยใช้การโฆษณาว่าเป็น “ โฮมเมด” ขนมพวกนี้มีความเสี่ยงเพราะเราไม่รู้ที่มาที่ไปของส่วนผสม และบริโภคโดยอาศัยความไว้ใจเพียงอย่างเดียว ขนมเหล่านี้จะมีไขมันทรานส์ที่ใช้แพร่หลายก็คือมาร์การีนหรือเนยเทียม ที่ทำให้อร่อยและเก็บได้นาน ที่สำคัญคือต้นทุนต่ำ ดังนั้น ถ้าพบว่าขนมที่ซื้อข้างทางทั้งอร่อยทั้งเก็บได้นานทั้งราคาถูก ก็อย่าเพิ่งดีใจซื้อมาบริโภคเพราะเขาใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนผสม

ทำความเข้าใจประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์
ถ้าเราอ่านประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องนี้ให้ดีๆก็จะพบว่า การห้ามนั้นจะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งจริงๆแล้วในทางปฏิบัติก่อนจะมีการเผยแพร่ประกาศฉบับนี้ ก็ได้มีการเรียกประชุมผู้ผลิตอาหารและแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วเพื่อให้เตรียมตัวปรับเปลี่ยนสูตรการผลิตไม่ให้กระทบกับภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งผู้ผลิตก็ได้รับทราบและให้ความร่วมมือเตรียมพร้อมกันมาเป็นเวลากว่า 1 ปีในการปรับเปลี่ยนสูตร ดังนั้น ในช่วงนี้ที่มีประกาศนี้ออกมาผู้ผลิตจึงมีความพร้อมอยู่นานแล้ว ส่วนสาเหตุของเวลาการบังคับใช้ใน 180 วันนั้น ก็เพื่อให้ผู้ผลิตได้ไปปรับปรุงด้านรายละเอียดอื่นๆเช่น การพิมพ์ฉลากระบุส่วนประกอบอาหาร ฯลฯซึ่งปกติผู้ผลิตแบรนด์อุตสาหกรรมใหญ่ ก็จะมีการแจกแจงส่วนประกอบอาหารและรับอนุญาตเรียบร้อยแล้วก่อนวางจำหน่ายจึงไม่น่าจะต้องกังวลให้มากเกินไป

รู้ไหมว่าในอาหารธรรมชาติก็มีไขมันทรานส์ได้เช่นกัน
อีกเรื่องที่อยากให้รู้ก็คือ ไขมันทรานส์ไม่ได้เกิดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงแหล่งเดียว แต่ในอาหารธรรมชาติก็อาจมีไขมันนี้ได้เช่นกัน เช่นในเนื้อสัตว์, นม, และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากสัตว์เหล่านี้จะมีการผลิตไขมันทรานส์เกิดขึ้นได้ในกระเพาะอาหารและลำไส้ของมัน แต่ยังไม่มีการพบว่าไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพเหมือนไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม

จะใช้น้ำมันอะไรให้ปลอดจากไขมันทรานส์

Health Trans Fatty 4

มีคำถามว่า เมื่อน้ำมันพืชที่ขายในท้องตลาดมีไขมันทรานส์ งั้นเราใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวจะปลอดภัยกว่าไหมคำตอบก็คือน้ำมันหมูเป็นไขมันอิ่มตัวหรือ SFAยังไงก็มีโอกาสจะทำให้ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ง่ายกว่าน้ำมันพืช ส่วนน้ำมันมะพร้าว ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีกเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงกว่าน้ำมันหมู ทั้งยังเกิดควันได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ที่สำคัญคือน้ำมันนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับคนเป็นโรคหัวใจน้ำมันถั่วเหลือง มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยและทนความร้อนไม่เกิดควันง่ายถือว่าใช้ได้น้ำมันรำข้าว ดีกว่าน้ำมันถั่วเหลืองเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ ทั้งทนต่อความร้อนได้มากกว่าน้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันปาล์มไม่แนะนำเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวพอๆกับน้ำมันหมู ส่วนน้ำมันทานตะวัน แม้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อย แต่เก็บได้ไม่ทน น้ำมันคาโนลา มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด ใช้ได้ดีรองจากน้ำมันรำข้าวสุดท้ายคือน้ำมันมะกอก ส่วนตัวแล้วชอบอันนี้ที่สุดและใช้ประจำเป็นน้ำมันที่มีการระบุจากนักโภชนาการว่ามีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยและมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงที่สุด ซึ่งถ้าจะใช้ทอดหรือผัดแนะนำว่าควรเลือกแบบ light เพราะกลิ่นไม่แรงมาก

ในน้ำมันและไขมันทุกชนิด จะมีกรดไขมันทั้งสามแบบคือ กรดไขมันอิ่มตัว (SFA), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว(MUFA)และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(PUFA) ผสมผสานกันอยู่ไม่มีน้ำมันชนิดใดที่จะมีกรดไขมันแบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียว แต่สัดส่วนของกรดไขมันกลุ่มไหนมากกว่าก็จะถูกจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มนั้นและต้องเข้าใจด้วยว่า จะเป็นน้ำมันอะไรก็ตาม ถ้าใช้ทอดซ้ำๆหรือทอดด้วยความร้อนสูงมากๆนานๆ ก็จะทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ทั้งนั้นจากกระบวนการปรุงอาหาร ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง จากการชอบบริโภคอาหารทอดหรือขนมเบเกอรี่มีความเสี่ยงทั้งหลาย มาเป็นการบริโภคผักผลไม้สดให้มากขึ้น รวมทั้งบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยการอบ นึ่ง หรือต้ม เป็นหลักจะปลอดภัยที่สุด

เรื่องน่ารู้ของกรดไขมัน

Health Trans Fatty 3
กรดไขมันอิ่มตัว ( saturated fatty acid หรือ SFA)ถูกจัดให้เป็นไขมันที่ไม่ดี เพราะทำให้เกิดผลเสียเส้นเลือดในหัวใจและสมองเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น ที่พบมากจะเป็นไขมันจากสัตว์เช่นน้ำมันหมู, ไขมันวัว, เนยสด ที่พบในพืชเช่นกะทิซึ่งเป็นไขมันจากมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว ( unsaturated fatty acid หรือ UFA)ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid หรือ MUFA)และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsatulated fatty acid หรือ PUFA)ซึ่งไขมันนี้ถูกจัดให้เป็นไขมันที่ดีและช่วยลดความเสี่ยงหลายอย่างของสุขภาพกรดไขมันนี้เช่นกรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6ซึ่งพบได้ในพืชและปลา
กรดไขมันทรานส์(Trans-fatty acid หรือ TFA)เป็นกรดไขมันที่เกิดจากการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืชบางส่วนหรือpartial hydrogenationเพื่อเปลี่ยนกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรือUFA ให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวหรือSFA เพื่อให้กลายเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้องซึ่งถ้าเติมไฮโดรเจนจนเต็มส่วนหรือfully hydrogenation ก็จะได้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทั้งหมด แต่ถ้าเติมเพียงบางส่วน ก็จะได้ไขมันทรานส์

เขาปรับเปลี่ยนไขมันทรานส์อย่างไรให้กับผู้บริโภค

Health Trans Fatty 5

ในต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต้นปี 2007 ได้ตั้งเป้าที่จะเลิกใช้ไขมันทรานส์นี้มานานแล้วตั้งแต่ปี 2007ผู้ผลิตหลายรายได้มีการปรับสูตรเพื่อให้ได้มาตรฐานตามกฎของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งไว้ว่า “อาหารที่เสิร์ฟจะต้องมีไขมันทรานส์เป็น 0 กรัม“ได้มีการใช้วิธีการผสมน้ำมันหรือmix oil โดยการผสมกลุ่มน้ำมันได้แก่ น้ำมันมะกอกกับน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา นำมาผสมเข้ากับน้ำ, โมโนกลีเซอไรด์และกรดไขมัน เข้าด้วยกันเพื่อผลิตเป็นไขมันที่เหมาะจะใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้ การปรับสูตรการผลิตอาหารเพื่อเปลี่ยนจากการใช้ไขมันทรานส์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถเลือกทำได้ด้วยวิธีต่างๆเช่น
1. การใช้น้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการกลั่นแบบสมบูรณ์หรือ (fully refined) แทนน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ( Partial Hydrogenation)ซึ่งน้ำมันที่กลั่นแบบสมบูรณ์นี้จะปลอดภัยจากไขมันทรานส์
2. การใช้กระบวนการผสมผสานน้ำมัน(oil blending)ทำให้ได้น้ำมันผสมทางเลือกใหม่ในการทำอาหาร วิธีนี้จะดึงจุดเด่นของน้ำมันแต่ละชนิดนำมาผสมกัน ให้เป็นน้ำมันผสมที่มีสัดส่วนของกรดไขมันที่สมบูรณ์ เหมาะกับวิธีใช้ปรุงอาหาร ซึ่งใช้สัดส่วนการผสมที่สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก น้ำมันที่เบลนด์ได้จะเหมาะสมกับวิธีปรุงอาหารแต่ละวิธีโดยไม่เกิดสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ซึ่งขณะนี้มีน้ำมันนี้มีวางขายแล้วในท้องตลาด
3. การใช้กระบวนการผลิตด้วยวิธี fractionation เป็นการแยกเอาไขมันของน้ำมันออกด้วยความเย็นแล้วกรองเอาไขมันนั้นไปผ่านความเย็นอีกครั้งจนเป็นของแข็งใช้เป็น shortening ทำขนมแทนมาร์การีนมักใช้น้ำมันรำข้าวเพราะมีคุณภาพดี
4. การทำ full hydrogenation คือแทนที่จะเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วนแบบที่ทำกับไขมันทรานส์ ก็เติมลงไปจนเต็มส่วนให้ไขมันนั้นกลายเป็นไขมันอิ่มตัวทั้งหมด แล้วจึงเอามาทำ oil blending กับน้ำมันปกติ วิธีนี้ก็จะได้ shortening ที่ไม่มีไขมันทรานส์ แต่ก็จะมีไขมันอิ่มตัวอยู่ในนั้นแทน ซึ่งก็จะทำให้กลับสู่บริบทของการบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงสุขภาพ แต่ก็จะลดข้อเสียข้อหนึ่งของไขมันทรานส์ในเรื่องการไปลดปริมาณ HDL ในร่างกายลงไปได้

เมื่อเห็นแล้วว่า ผู้ผลิตทั้งหลายเขามีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้ปลอดจากไขมันทรานส์ เราก็ไม่ต้องกังวลให้มากไปทีนี้ก็ต้องถามตัวเราเองว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของตัวเองหรือยัง ยุคนี้ขนมอร่อยๆพวกเบเกอรี่มีมากมาย จะห้ามใจไม่ให้บริโภคเลยก็คงยากแต่ก็ควรทำความเข้าใจในส่วนประกอบผลิตภัณฑ์อาหาร และหมั่นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อรู้ว่าสิ่งที่เราบริโภคนั้นมีความเสี่ยงมากแค่ไหนจะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีของเรา หวังว่าเรื่องที่เล่ามานี้ จะทำให้คุณคลายความกังวลเรื่องไขมันทรานส์ลงไปได้บ้างนะคะ

City Break Paris Part XXVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 28
ไปกินสุดยอดสเต็กในปารีสแบบไหนที่ไหนกันดี

1.แบบต้องลอง
ร้านที่ถือเป็นสถาบันสร้างชื่อให้กับการกินสเต็กในปารีส มันเป็นประเพณีไปแล้วว่ามาปารีสต้องมากิน L’Entrecôte Porte Maillot, L’Entrecôte Saint-Germain หรือหลายคนเรียกว่า ‘สเต็กเข้าคิว หรือ’สเต็กต่อแถว’

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 7

สำหรับผู้ที่ต้องการกิน Steak Frites ที่มากับซอส Café de Paris แบบดั่งเดิมในปารีสต้องไปลองร้านในกลุ่มธุรกิจของนาย Paul Gineste de Saurs และครอบครัวที่ใช้ Business Model ของร้านคาเฟเดอปารีสในเจนีวาต้นตำรับมาทำให้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องจากซอสสเต็ก Café de Paris มันโด่งดังมากพอสมควรและชื่อซอส Café de Paris มันเหมือนบ่งบอกว่ามันเหมือนเป็นของปารีสอยู่แล้ว นาย Paul Gineste de Saurs ก็เห็นโอกาสที่เป็นสูตรสำเร็จ ในปี 1959 จึงเปิดร้านให้มีชื่อ เรียกว่า L’Entrecôte นำโดยร้าน Le Relais de Venise ที่เป็นชื่อนี้ก็เพราะเขาไป take over ร้านอาหารอิตาเลี่ยนที่ตกแต่งเป็นสไตล์เวนิชเดิมที่อยู่ในเขตปกครอง 17 ของกรุงปารีส แต่มันรู้จักกันในนาม L’Entrecôte Porte Maillot ร้านอาหารของ L’Entrecôte Porte-Maillot เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นของลูกสาวคนหนึ่งของเขาที่บริหารอยู่แล้วได้เปิดเพิ่มอีก 8 แห่งที่ดำเนินการภายใต้ใบอนุญาต 4 แห่งในลอนดอน หนึ่งแห่งในบาห์เรน สองแห่งในนิวยอร์ก และอีกแห่งหนึ่งในเม็กซิโก

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 8

สำหรับลูกชายของ Paul Gineste de Saurs ก็จะมีกลุ่มร้าน L’Entrecôte ที่อยู่ในเมืองต่างๆ ในฝรั่งเศสนอกจากปารีส ซึ่งมีที่ตั้งในตูลูส,บอร์โดซ์, น็องต์, มงเปลิเย และลียง

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 12

สำหรับอีกเชนจะเป็น ร้านอาหาร Le Relais de l’Entrecôte ที่ก็ดำเนินการโดยลูกสาวอีกคนของ Paul Gineste de Saurs โดยมีสามแห่งในกรุงปารีสและอีกแห่งหนึ่งในเจนีวา แต่ที่เก่าแก่และดังที่สุดอยู่เขตการปกครองที่ 6 ของปารีสเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ L’Entrecôte Saint-Germain กลุ่มนี้มีสาขาเพิ่มเติม 7 แห่งที่ดำเนินการภายใต้สัญญาอนุญาตในเบรุต ในคูเวตซิตี้ โดฮา, ดูไบ, ริยาด, ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 1

มันมีหลายสาขาอยู่แต่ถ้าคุณอยู่ที่ปารีสผมแนะนำให้ไปที่2แห่งนี้ครับ L’Entrecôte Porte Maillot,หรือ L’Entrecôte Saint-Germain หรือร้านตามที่อยู่ข้างล่างนี้ก็ได้

Le Relais de l’Entrecôte
15 rue Marbeuf
8th arrondissement

 

2.แบบคนท้องถิ่น

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 4

แน่นอนว่าถ้าเป็นคนท้องถิ่นหรือlocal แล้วต้องเลือกไปกินกลางวันที่บิสโทรร้านโปรดของตัวเอง จริงๆ แล้วมันคือวิถีชีวิตของแท้ขอชาวปารีส อย่างน้อย Bistros เป็นสถานที่ที่คุณวางใจได้ว่าจะได้กินอาหารคุณภาพตรงไปตรงมาและจ่ายบิลแบบสมเหตุสมผลแม้ว่าทุกวันนี้ ร้านบิสโทรทั้งหลายเริ่มมีราคาแพงขึ้นเล็กน้อยและมักขาดแคลนคุณภาพเมื่อเทียบกับยุคสมัยที่บรรพบุรุษของพวกเขาทำกัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 6

Bistrot Paul Bert เป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ยังคงมีทั้งความดั้งเดิมและอร่อยราคาสมเหตุสมผล สเต็กถือเป็นจานอร่อยพิเศษของที่นี่ และพ่อครัวยืนกรานว่าห้ามคุณระบุว่าจะเอาสุกมากสุกน้อย(ห้ามมายุ่ง)เพราะที่นี่จะทำแบบrare(เซนยอง saignant ในภาษาฝรั่งเศส)ให้คุณแบบเดียวครับ ไม่งั้นคุณต้องสั่งไก่หรือปลาแทนถ้าคุณจะกิน steak แบบ well done คนรักเนื้อจะได้รับความสนใจและดูแลพ่อครัวเป็นพิเศษ เอาเป็นว่าอร่อยแน่นอนครับจะสั่ง filet mignon, Entrecôte หรือจะเอา Côte de Boeuf มาแชร์กันก็ได้เลย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 5

Bistrot Paul Bert
18 rue Paul Bert
11th arrondissement

 

3.แบบคนพิถีพิถัน

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 10

ถ้าคุณเป็นคนพิถีพิถัน เน้นรสชาติของเนื้อและtexture ความนุ่ม คงต้องไปลองร้านนี้ ปกติในฝรั่งเศสจะไม่เน้นการบ่มหรือ ageเนื้อทิ้งไว้เท่าไหร่ก่อนนำมากิน ไม่เหมือนในอเมริกาหรือในสเปน ที่มีการบ่มแบบเปียกหรือแห้ง(wet aging or dry aging) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือน เพื่อรสชาติเข้มลึกและความนุ่มแบบที่เราไม่ได้สัมผัสกันบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเรามาที่ร้าน Le Severo เพื่อลองสั่งสเต็กแบบบ่มแห้งครับ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบ่มแบบแห้งหรือเปียกหรือแบบไหนดีกว่ากัน? ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงการอาหารพอสมควร วิธีการบ่มแบบแห้งมีการสะสมเทคนิคและวิธีการมานมนานหลายศตวรรษแล้วในขณะที่บ่มแบบเปียก เพิ่งเกิดใหม่ไม่นานนี้

จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดได้รับประโยชน์จากการบ่มagingก่อนที่จะขายและบริโภค เพราะหลังการฆ่าเอนไซม์จไปทำงานย่อยสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อทำลายมันก็เลยทำให้มันนุ่ม ไก่ต้องการการบ่มสองสามวัน ในขณะที่หมูและเนื้อแกะต้องการ 1 สัปดาห์ แต่เนื้อต้องการประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือนหรือมากว่าแล้วแต่สูตรและกรรมวิธีประเภทหรือพันธุ์ของวัว

วิธีบ่มแห้ง Dry-Aged Beef

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 2

สำหรับการบ่มแห้งเนื้อจะถูกตัดเป็นชิ้นใหญ่แบบ Côte de Boeuf แล้วจะนำไปแขวนในห้องปรับอุณหภูมิที่โล่งไม่แออัดโดยปรับอุณหภูมิให้สูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้หลายสัปดาห์ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และในช่วงเวลานี้เนื้อก็จะค่อยๆแห้งคายน้ำออก (Dehydrating) เนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัสtextureและรสชาติ ไปในทางที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของกระบวนการนี้คือเนื้อนุ่มมากที่มีรสเข้มข้นขึ้น แต่มีข้อเสียคือคุณสูญเสียเนื้อสัตว์(น้ำหนัก)เนื่องจากการสูญเสียความชุ่มชื้นซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและเพิ่มต้นทุนต่อกิโล นอกจากนี้พื้นผิวของเนื้อสัตว์มักจะต้องถูกตัดออกไปก่อนที่เนื้อจะถูกแบ่งส่วนและขายส่งผลให้สูญเสียในเชิงปริมาณ

วิธีบ่มเปียก Wet-Aged Beef
City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 15

การบ่มเปียกเป็นเทคนิคล่าสุดที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของพลาสติกและเครื่องทำความเย็น ขั้นตอนก็คือการตัดเนื้อแล้วแพ็คปิดผนึกด้วยสูญญากาศในพลาสติกและจัดส่งไปยังตลาด การบ่มจะเกิดขึ้นในช่วง 4-10 วันระหว่างการชำแหละเนื้อแล้วจัดจำหน่าย คือเนื้อจะถูกบ่มในขณะที่เนื้ออยู่ในระหว่างการขนส่งแล้วนำไปวางขายนั่นเอง

เอนไซม์ยังคงมีเวลาที่จะทำให้เนื้อนุ่มพอที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้ และข้อดีก็คือไม่มีการสูญเสียน้ำหนักของเนื้อ เนื่องจากการคายน้ำ(Dehydrating) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงสำหรับผู้ผลิต และเนื้อไม่จำเป็นต้องถูกดูแลใกล้ชิดจัดห้องเย็นเก็บเหมือนการบ่มแห้งหรือต้องตรวจสอบบ่อยๆ ส่งผลให้ต้นทุนของผู้บริโภคลดลง

แล้วแบบไหนดีกว่า?

 

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 9

ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่างเนื้อบ่มแห้งและเปียกอยู่ที่รสชาติ เนื้อบ่มแห้งจะมีรสเข้มข้นแบบถั่วคั่ว (Roasted nutty flavor) ในขณะที่เนื้อบ่มเปียกจะได้ลิ้มรสโลหะ (Metallic) เล็กน้อยและไม่มีรสชาติที่มีความลึกและเข้มเท่า

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 11

เรากลับมาคุยถึงร้าน Le Severo ที่มีอดีตพ่อค้าเนื้อ (butcher) William Williamet ดูแลเรื่องการบ่มแห้งและชำนาญในด้านนี้ ทำให้ใครที่ไปร้านนี้รู้สึกว่าได้เข้าสู่สเต็กเฮาส์แบบอเมริกัน แต่ไม่ใช่อย่างแน่นอนที่ร้านเลอเซเวโรจะมีอาหารเรียกน้ำย่อยหลักและจานเนยแข็งที่ยอดเยี่ยม แบบหาได้ในร้านฝรั่งเศสแท้ๆ เท่านั้น รวมทั้งของหวานที่ไม่ควรมองข้าม

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 13

Le Severo
8, rue des Plantes
14th arrondissement

 

4.แบบเน้นซอสหลากหลาย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 14

ที่ถนนมองเตอเกยล์ (Rue Montorgueil) นั้นเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ไม่ใช่แป็นแค่ภาพที่ Monet วาดไว้ในปี 1878 ที่เป็นเรื่องราวของถนนในกรุงปารีสแห่งนี้เต็มไปด้วยชีวิต เพราะมันเคยเป็นศูนย์รวมของชาวปารีสเนื่องจากตลาดสดเลอาน ( Halles market )อยู่แถวนั้น ที่นี่มีร้านแบบบิสโทรเสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสแท้ๆอยู่ร้านคือร้านนึงชื่อ Aux Tonneaux des Halles ซึ่งเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสที่โดดเด่นเรื่องซอสสเต็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีซอสหลากหลายรูปแบบให้เลือก

รับประทานอาหารในบรรยากาศง่ายๆ เป็นกันเอง เมนูอาหารแบบโฮมเมดปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่แต่ถ้าต้องการให้เป็นเรื่องเป็นราวล่ะก็ อยากให้ลองสั่ง côte de bœuf สเต็กแอ็กนัสสีดำขนาดซัก 1 กิโลกรัมกับมันฝรั่งทอดมาแบ่งปันกันกับเพื่อนร่วมเดือนทางของคุณ แล้วก็เลือกบูร์โกณหรือบอกร์โดแดงสักขวด นั่งดูคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นไปด้วยเพราะแถวนั้นมีความคึกคักอยู่ไม่น้อย

City Break Paris Steak and Famous Restaurant in Paris 3

Aux Tonneaux des Halles
28, rue Montorgueil
1st arrondissement

City Break Paris Part XXVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 27

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส
เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงพื้นฐานเรื่องการกินสเต็กในปารีสแบบคร่าวๆ ไปแล้ว คราวนี้จะมาแนะนำว่าควรต้องลองสั่งอะไรและไปกินที่ร้านไหนกันดี ที่เป็นร้านสเต็กร้านโปรดของชาวปารีเซียง แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเรากำลังแนะนำมื้อกลางวันดังนั้นรูปแบบจะไม่ได้เป็นร้านแบบภัตตาคารหรูหราที่ต้องใส่สูทเข้าไป มีเมนูยาวเหยียดหรือไวน์ลิสต์ที่มีให้เลือกเยอะจนทำตัวไม่ถูก แต่ร้านที่จะแนะนำนั้นเป็นแบบ ‘เรียบง่ายแต่ได้สาระ’ ใครที่ไปก็จะเป็นนักกินสเต็กแบบปารีสแท้ ไม่ใช่แบบญี่ปุ่นหรือแบบอเมริกัน แนะนำให้ลองสั่งสเต็ก 4 จานคลาสสิกนี้ แล้วตามด้วยการเลือกpairกับซอส สเต็กสุดคลาสสิก 4 รูปแบบเช่นกัน

Top 4 Classic Steak Dishes in France สุดยอดสเต็ก 4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. Entrecôte องเตรอะโก๊ต หรือ Steak Frites: ที่สุดของสเต็กจานคลาสสิก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 12

Steak Frites มักใช้cutส่วน entrecôte องเตรอะโก๊ตซึ่งก็คือ Rib eyes แล้วก็มีเครื่องเคียงเป็น Frites ฟริตต์หรือ French fries (จริงๆมันฝรั่งทอดนี้ชื่อบ่งบอกว่าเป็นฝรั่งเศสแต่ความเป็นจริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากเบลเยี่ยม) เป็นบางคนอาจชอบสั่งส่วน faux fillet หรือสันนอกcoulotte ซึ่งก็คือ top sirloin หรือ tenderloin สำหรับผู้ที่ชอบ lean cut หรือไขมันน้อย แต่ผมว่ามันสู้ entrecote ไม่ได้ถ้าจะกิน Steak Frites และจานนี้ปกติแล้วมันง่ายๆแค่มี Moutarde de Dijon มูตาร์ เดอดิจง หรือ Dijon mustard ก็พอแล้ว (มาสตาร์ด ดิจงถือเป็นgourmet classในบรรดามัสตาร์ดทั้งหลายมีต้นตำรับจากเมือง Dijon ในย่าน Burgundy,หรือบูร์โกญ ผลิตมัสตาร์ดมาตั้งแต่สมัยยุคกลางได้ขึ้นโต๊ะเสวยของกษัตริย์ ฟิลิปป์ที่ 6 มาตั้งแต่ปี 1336) จานนี้ไม่ควรกินกับซอสมะเขือเทศ ketchup แบบอเมริกันที่เราคุ้นเคย เพราะchef ฝรั่งเศสหลายคนมักมองว่ามันทำให้เสียของควรกินแบบฝรั่งเศสดีกว่าจะได้รสชาติแท้ๆ

2. Filet Mignon ฟิเลย์มินยง
มันหมายถึง “เนื้อนุ่ม” เป็นเนื้อสเต็กที่นำมาจากปลายด้านล่างช่วงแคบของเนื้อสันนอก Tenderloin ในภาษาฝรั่งเศส cutนี้ยังสามารถเรียกว่า filet de bœuf มันมักถูกตัดออกเป็นชิ้นหนา 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว

มันมาจากส่วนเนื้อที่นุ่มที่สุดและยังเป็นที่ต้องการมากที่สุดและมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีปริมาณน้อยและเพราะเนื้อส่วนนี้อยู่ด้านในจึง ไม่มีกล้ามเนื้อเหมือนส่วนของเนื้อที่เคลื่อนไหวมากๆ พอไม่มีกล้ามก็ทำให้มันนุ่มมากแต่มีข้อเสียคือส่วนนี้เป็นเนื้อ lean รสชาติอาจสู้ส่วนที่มีติดมันไม่ได้จึงมักจะมีการห่อเบคอนมารอบนอกของสเต็กเพื่อเพิ่มรสชาติและ / หรือเสิร์ฟพร้อมกับซอส

3. สเต็ก Chateaubriand (ชาโตบริยง)
เป็นอาหารจานเนื้อที่เกิดจากเมนูอาหารของชนชั้นสูงของฝรั่งเศส

City Break Paris 27 Eat Steak in France 15

“Chateaubriand เป็นเนื้อสเต็กชิ้นหนามาจากส่วน cut ที่หนานุ่มที่สุดของเนื้อซึ่งก็คือจากส่วนสันนอกหรือ tenderloinนั่นเอง

อาหารเนื้อจานนี้ ได้รับการตั้งชื่อตามนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่เป็นรัฐบุรุษ Francois Rene, ท่านเคาท์แห่งชาโตบริยง (Vicomte de Chateaubraind ) ซึ่งเป็นนักการทูตสมัยนโปเลียนโบนาปาร์ต และต่อมาได้เป็นเลขาธิการแห่งรัฐในสมัยหลุยส์ที่ XVIII แห่งประเทศฝรั่งเศส นามสกุลของเขาจึงถูกใช้เป็นที่มาของอาหารเนื้อจานนี้ โดยเนื้อในตำราระบุว่าจะต้องมาจากวัวคุณภาพที่เลี้ยงในเมือง Châteaubriant ในแค้วน Loire-Atlantique ประเทศฝรั่งเศส และสูตรการทำก็ถูกคิดค้นโดยพ่อครัว Montmirail ซึ่งเป็นพ่อครัวส่วนตัวของท่านเคาท์ในปี ค.ศ. 1822 เมื่อ Vicomte de Chateaubriand เป็นทูตฝรั่งเศสในกรุงลอนดอน โดยสเต็กจานนี้จะต้องกินกับนี้ซอส bearnaise

4.côte de boeuf (โก๊ตเดอเบอฟ)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 8

สำหรับนักกินเนื้อมืออาชีพแล้วการกินสเต็กชิ้นไม่ใหญ่แบบ 3 รายการที่แนะนำด้านบนคงไม่สะใจ เพราะมันเหมือนยั้งๆอยู่ ถ้างั้นคงต้องแนะนำ ‘The Mother of All Steak’ หรือเจ้าแห่งสเต็กในฝรั่งเศส ที่มีชื่อเรียกว่า côte de bœuf

City Break Paris 27 Eat Steak in France 4

มันคือส่วนชายโครงบริเวณต่อเนื่องกับ rib eye แต่มีการตัดหนาและติดกระดูกมาด้วย (Bone-in) ส่วนใหญ่ชิ้นหนึ่งก็เฉลี่ยจากเกือบกิโลไปจนถึงเกือบ 2 กิโลเลยก็มี ดังนั้น côte de bœuf มักจะสั่งมาแชร์กันสำหรับ 2 คนอย่างต่ำ บางชิ้นใหญ่มาก(ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของวัวและการขุนมาให้ตัวใหญ่แค่ไหนดูจากรูปด้านล่าง) ก็แชร์กันทั้งครอบครัวเล็ก(3-4คน)ไปเลย

City Break Paris 27 Eat Steak in France 11

มีบริษัทขายเนื้อหรือ Chef หลายคนให้ความเห็นว่าเนื้อติดกระดูกมาด้วย(Bone-in)นั้นจะมีรสชาติดีกว่าจะมี”depth and complexity” ก็คงเหมือนเราเคี่ยวน้ำซุปที่มีซี่โครงหรือเนื้อติดกระดูกกับชิ้นเนื้อเฉยๆ มันอร่อยสู้กันไม่ได้ แต่ก็มีข้อถกเถียงเพราะ Professor Jeffrey W. Savell, หัวหน้าคณะ Meat Science Section in the Department of Animal Science ที่ Texas A&M; Universityได้ทำวิจัยออกมาแล้วพบว่าความแตกต่างแทบไม่มี

City Break Paris 27 Eat Steak in France 2

เนื่องจากสเต็กนี้มีความหนาดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการทำอาหารจึงใช้กระบวนการสองขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการsearบนกระทะร้อนหรือเตาย่างก่อน (direct heat) ประมาณ 3 นาทีต่อข้าง จากนั้นให้ย้ายมาวางไว้ในส่วนที่ไม่ร้อนจัด (indirect heat) ของเตาย่างหรือเอาเข้าเตาอบต่อจนกว่าจะถึงอุณหภูมิที่ต้องการคือ 130-135 องศาฟาเรนไฮต์ที่ใจกลางเนื้อ

อย่างไรก็ตามจาน Steak แต่ละแบบสามารถเพิ่มความหลากหลายได้ไม่เบื่อด้วยซอสที่ราด ที่จริงกินแบบไม่มีซอสพิเศษเลยก็ได้รสชาติเต็มๆอยู่แล้ว แต่บางคนบอกว่ามันแห้งไปอยากมีซอสราดด้วยก็ต้องนี่เลยครับในบรรดาสุดยอดสเต็กซอสสุดคลาสสิกที่เป็น Top 4 ดังนี้

 

Top 4 Steak Sauces in France สุดยอดสเต็กซอส4รูปแบบของฝรั่งเศส

1. ซอส Café de Paris

City Break Paris 27 Eat Steak in France 6

ชื่อเหมือนบ่งบอกว่ามาจากปารีสแต่ซอสนี้มาจากเจนีวา(ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเหมือนกัน) มันเป็นซอสเนยที่มีความซับซ้อน(มีสูตรที่เป็นความลับ) ซึ่งเสิร์ฟพร้อมสเต็ก entrecote มาตั้งแต่ยุคปี 40 มีต้นตำรับมาจาก นายBoubier พ่อตาของนาย Arthur-François (Freddy) Dumont เจ้าของร้านชื่อ เช่ ดูบิเอ คาเฟ่เดอปารีส์ ในเจนีวา ที่อยู่บนถนนมงบล็อง โดยสเต็กจะถูกหั่นเป็นชิ้น ๆวางบนซอสนี้มาและเมนูจานนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “entrecote Café de Paris”

City Break Paris 27 Eat Steak in France 9

ที่เยี่ยมยอดก็คือ Business Model ของร้านที่จัดเซ็ทอาหาร (ราคา 42..50 ฟร็องสวิส) แบบไม่ให้ลูกค้าเลือกคือมีเมนูเดียวลูกค้าสั่งได้แค่จะเอาสุกปานกลางหรือสุกกึ่งดิบเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างก็จะมาตามภาคบังคับ โดยจานแรกจะเริ่มต้นด้วยสลัด Romaine กับวอลนัทและน้ำสลัดแบบ vinaigrette ต่อด้วยจานหลัก entrecote Café de Paris ที่สเต็ก (180 grammes)จะถูกหั่นเป็นชิ้น และเสิร์ฟพร้อมกับซอส Café de Paris พร้อมกับfritesมันฝรั่งทอดที่ยอดเยี่ยมที่เติมได้ 3 หน และจานสเต็กนั้นมักจะต้องตั้งไว้บนตะแกรงสเตนเลสที่มีไฟลนให้ความร้อนตลอด เนื่องจากซอสมักจับตัวเป็นก้อนเมื่อเริ่มเย็น ส่วนของหวานต้องสั่งเพิ่มเอง

City Break Paris 27 Eat Steak in France 13

และเนื่องจากร้านนี้อยู่ใกล้สถานนีรถไฟ Cornavin ของเมืองเจนีวา ซึ่งเป็นเมืองนานาชาติเป็นที่ตั้งของสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศมากมายทำให้นักการฑูตและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายมากินบ่อยแล้วช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง ทำให้ในปัจจุบันมีร้านที่เปิดภายใต้ใบอนุญาตของร้าน Café de Paris ในเมืองเจนีวาต้นตำรับนี้ที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง เช่น À l’Entrecôte ใน Sion (Switzerland), Brasserie L’Entrecôte ในลิสบอนและปอร์โต และร้านอาหาร Entrecôte Café de Paris ในดูไบ, คูเวตริยาด, ฮ่องกง และสตอกโฮล์ม

จริงๆ แล้วที่กรุงเทพฯเราก็สามารถไปลองทานสเต็กที่เป็นแบบ entrecote Café de Paris ได้ เพราะคุณ David จากเจนีวาชาวสวิสก็ใช้ Business Model แบบเดียวกันมาเปิดร้าน Le Boeuf ที่แปลว่า ’เนื้อ’ รสชาติไม่ต่างกันมากมีมาตรฐานอาหารดีมากและราคาสมเหตุสมผลครับ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 14

Chez Boubier Cafe de Paris rue du Mont-Blanc 26, Geneva 1201, Switzerland (Cornavin)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 7

2. ซอสพริกไทย (Au poive)

ซอสสเต็กคลาสิกอีกตัวที่สามารถสั่งได้ในร้านฝรั่งเศสทั่วไปก็คือซอสพริกไทยที่มีการเคลมว่าผู้คิดสูตรนี้ขึ้นมาก็คือChefs ฝรั่งเศสที่ชื่อ E. Lerch เมื่อปี 1930, ตอนที่เขาทำงานอยู่ที่ Restaurant Albert บนถนน Champs-Elysees; และก็มี Chef M. Deveau ในปี 1920, ที่ภัตตาคาร Maxim’s อย่างไรก็ตามภายหลังมีหลักฐานว่าเมนู steak “au poivre” นั้นมีการพิมพ์เป็นเมนูและใช้เสิร์ฟจริงที่ Hotel de Paris at Monte Carlo ในปี 1910, ที่ตลกไปกว่านั้นภายหลังก็มีนาย O. Becker มาบอกว่าสูตรนี้เป็นของเขาตอนทำอยู่ที่ภัตตาคาร Palliard’s ในปี 1905 แต่ไม่ว่าใครจะคิดมันก็เป็นซอสสเต็กที่ดังไปทั่วโลก

City Break Paris 27 Eat Steak in France 10

มันเป็นซอสที่มักทำในกระทะที่ทอดสเต็กโดยเนยผัดหอมแดงเครื่องเทศกับเม็ดพริกไทยทุบชนิดต่างๆ เช่น สีดำ, สีเขียว และสีชมพู โดยมีการใช้คอนยัคล้างกระทะ (deglace) จุดไฟ (Flambé’) ตามด้วยส่วนผสมอื่นๆ เช่น มัสตาร์ด Dijon และครีมข้น หรือ Crème fraîcheใช้ราดลงบน Entrecôte กินกับ French Fries หรือสลัดผัก แล้วสุดยอด ดูวิธีทำ steak frites”au poivre” ตามลงค์ข้างล่างนี้

http://www.foodandwine.com/blogs/best-wine-pairings-grilled-steak

3 ซอส Bordelaise (บางครั้งก็เรียกกันว่า red wine sauce หรือ marchand du vin)
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไวน์แดงนั้นมันเข้ากับสเต็กแบบขาดกันไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะไวน์สไตล์ Caret หรือสไตล์บอร์กโดซ์ที่เป็น full body หนักแน่น และกลมโดยมีแทนนินในปริมาณสูงที่ทำให้ดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก ที่บอกร์โดซ์จึงนิยมกินสเต็กและมีซอสที่เป็นต้นตำรับของที่นี่

City Break Paris 27 Eat Steak in France 5

ซอส Bordelais เป็นซอสแบบฝรั่งเศสคลาสสิกที่ตั้งชื่อตามแคว้นบอร์กโดซ์ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีชื่อเสียงในด้านไวน์ ซอสปรุงด้วยน้ำซุปเนื้อ, ไวน์แดง แบบdry, ไขกระดูก, เนย, หอมแดง และ sauce demi-glace

4. ซอส Béarnaise (แบ่ร์เนส)

City Break Paris 27 Eat Steak in France 3

ซอส Béarnaise หรือซอสครีมข้นสีเหลืออ่อนนี้ถูกคิดขึ้นโดยพ่อครัว Collinet เจ้าของสูตรพัฟฟ์มันฝรั่ง (pommes de terre soufflées) โดยซอสนี้มีการเสิร์ฟครั้งแรกในปี1836 ที่ Le Pavillon Henri IV ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับการตั้งชื่อตามพระเจ้า Henry IV of France ซึ่งเป็นผู้มีรสนิยมเรื่องการเสวย และท่านถือว่าเป็นชาว bearnaise เพราะประสูติในภูมิภาคBéarn จึงมีการตั้งชื่อซอสนี้เพื่อเป็นเกียรติ

City Break Paris 27 Eat Steak in France 1

เป็นซอสที่ทำจาก clarified butter เนยที่ไปตีกับไข่แดงและน้ำส้มสายชูไวน์ขาว และปรุงแต่งด้วยสมุนไพร มันถูกเรียกว่าเป็น “ซอสลูก” ของ Hollandaise ซอสซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของซอสหลักของอาหารฝรั่งเศส ความแตกต่างมีเฉพาะแค่เครื่องปรุง: Béarnaiseใช้หอมแดงเชอร์วิลพริกไทยเม็ดมะม่วงหิมพานต์และ tarragon เคี่ยวกับน้ำส้มสายชูและไวน์ขณะที่ Hollandaise ใช้น้ำมะนาวหรือไวน์ขาวและพริกไทย

City Break Paris Part XXVI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 26

กินสเต็กให้อร่อยในปารีส

City Break Paris Eat Steak in Paris 5

เราพูดถึงอาหารฝรั่งเศสที่เป็นจานเปิดไปแล้วพอสมควร มาคราวนี้ก็เลยจะเล่าเรื่องอาหารจานหลักซึ่งพอเป็นจานหลักสำหรับอาหารตะวันตก หลายๆ คนก็จะนึกถึงสเต็กเป็นอย่างแรก แน่นอนว่าถ้าเรามาปารีสคงต้องมีสเต็กซักมื้อนะครับ แต่สเต็กฝรั่งเศสก็จะแตกต่างกับอังกฤษอเมริกันบางจุด โดยเฉพาะในส่วน Cut หรือชิ้นเนื้อที่เอามาทำ เช่นของฝรั่งเศสจะไม่มีส่วน T-Bone หรือ Porterhouse ในขณะเดียวกันก็จะแตกต่างกับ Wagku ของญี่ปุ่นตรงที่ที่นี่จะไม่นิยมเนื้อที่มีไขมันแทรกเยอะแบบเนื้อเกรด A5 ของญี่ปุ่นที่นุ่ม จนให้ความรู้สึกเหมือนมันละลายในปาก เพราะที่นี่ไม่ได้ไปทุ่มเทกับการขุนวัวเน้นให้วัวอยู่ในคอกเหมือนที่ญี่ปุ่น คือในฝรั่งเศสจะปล่อยให้โตตามธรรมชาติในทุ่งหญ้าที่อุดมสมบรูณ์เป็นหลัก(ยกเว้นหน้าหนาว)และก็ไม่ได้มีพันธุ์วัวเนื้อที่โดดเด่นเหมือนแองกัสที่มีต้นกำเนิดในสก๊อตแลนด์ทางเหนือของอังกฤษ แล้วก็ไปเป็นต้นสายพันธุ์ของอเมริกันแองกัสที่มีส่วนผสมของอเมริกันเขายาว(long horn) แต่ถึงกระนั้นประสบการณ์ในการได้กินสเต็กในปารีสก็ไม่ได้เป็นรองที่ไหน เพราะฝรั่งเศสจะโดดเด่นเรื่องสเต็กซอสและเครื่องเคียงของสเต็ก และแน่นอนที่สุดก็คือเครื่องดื่มที่ควบคู่กับการกินสเต็กของคุณ ซึ่งมันคือไวน์แดงนั่นเอง

City Break Paris Eat Steak in Paris 7

ถ้าท่านเป็นนักกินสเต็กแบบมืออาชีพหน่อยก็ต้องดู เรื่องแรกคือดูว่าเนื้อมาจากไหนที่ที่มีวิธีการขุนมีกรรมวิธีการเลี้ยงการให้อาหารแบบที่จะทำให้เนื้อวัวนุ่มไม่มีกล้ามมีพังผืดมีเอ็นมากไป ซึ่งคงเกี่ยวกับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยว่ามีดินดีน้ำดีหญ้าดีอากาศดีไหม คือต้องทำให้วัวมีความสุขด้วยนะครับ ถ้าพูดถึงเนื้อพรีเมียมของฝรั่งเศสมีดังนี้ครับ จากวัวพันธุ์ Limousin แถวเมืองLimoges, Charolais จากBurgundy, Salers จาก Auvergne และ Aubrac จาก Auvergne และจากความเห็นของ chef เจ้าของตำราอาหารหลายเล่ม David Lebovitz ซึ่งบอกว่าไม่เคยทานเนื้อที่ไหนที่ดีเท่าเนื้อ Bazas จากแค้วน Aquitaine

Aubrac
Aubrac เป็นสายพันธุ์ฝรั่งเศสที่เก่าแก่จากเขต Auvergne ที่วัวพันธุ์เนื้อเขายาวมีภูมิต้านทานโรคสูง เลี้ยงง่าย

City Break Paris Eat Steak in Paris 1

 

Bazadais
Bazadais (หรือ Bazadaise) เป็นโคพันธุ์เนื้อมีชื่อของฝรั่งเศส สายพันธุ์นี้มาจากวัวโบราณที่เลี้ยงใน Bazas เมืองเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของบอร์โดซ์ ซึ่งใช้ทำสเต็กจานเด็ดของบอร์โดซ์คือ entrecote a la bordelaise

City Break Paris Eat Steak in Paris 2

 

Charolais
วัว Charolais เป็นโคเนื้อ ซึ่งมีต้นตอมาจาก Charolais ย่าน Charolles ในประเทศฝรั่งเศส พวกมันถูกเลี้ยงดูมาเพื่อเป็นวัวเนื้อและมีคุณสมบัติเหมาะกับการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Angus และ Hereford ของอังกฤษ

City Break Paris Eat Steak in Paris 8

 

Limousin
วัวลีมูแซงเป็นสายพันธุ์ของวัวเนื้อที่ปริมาณเนื้อสูงต่อน้ำหนัก เกิดจากเขต Limousin และ Marche ของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Eat Steak in Paris 11

 

เรื่องที่สองก็คือต้องดู ‘Cut’ คือว่าตัดมาจากส่วนไหน ชอบติดมันหรือชอบแบบleanแต่นุ่ม ตัองเลือกซะหน่อย

ในปารีส cut ที่นิยมสูงสุดจะมี Top 5 ดังนี้

City Break Paris Eat Steak in Paris 10

1. Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye นั่นเอง จะเป็นชิ้นที่ในฝรั่งเศสไม่นิยมตัดหนามากแต่นุ่มเพราะว่ากันว่าสเต็กที่มาจากส่วนของเนื้อที่ติดชายโครงนั้นเป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวน้อย หมายถึงไม่มีการออกกำลังมันจึงไม่มีกล้ามเนื้อหรือ muscle แถมมีไขมันแทรกเลยทำให้มันอ่อนนุ่ม(tender) และได้รสชาติก็ตรงไขมันนี่แหละครับเป็นที่ต้องการของนักบริโภคสเต็กทั้งหลาย
2. Faux filet (โฟ ฟิเลต์) หรือส่วนสันนอก คือเนื้อที่อยู่ด้านหลังเหนือแถบกระดูกสันหลังสำหรับคนที่นิยมเนื้อตัดแบบหนาและมันน้อยแต่นุ่ม คือที่เรารู้จักกันในชื่อ Sirloin
3. Filet, tournedo( ฟิเลต์,ตูร์เนโด) หรือส่วนสันใน ถ้าเป็นในชื่อที่เรารู้จักก็คือ Tenderloin คือส่วนที่นุ่มที่สุดและแถบมีไขมันเลย เป็นชิ้นส่วนของเนื้อที่อยู่ตามแนวหลังด้านล่างของกระดูกสันหลังและในบรรดาสันในช่วงกลางและปลายก็มีแยกย่อยไปเป็นส่วน Filet Mignon ชิ้นหนา จากด้านปลายแคบของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลัง, หรือส่วน Châteaubriand มาจากส่วนหนาจากช่วงใจกลางของเนื้อที่อยู่ตามแนวล่างกระดูกสันหลังเนื้อสันส่วนหลัง
4. rumsteck (รัมสเต็ก)เป็นบริเวณเนื้อขนาดใหญ่ที่ด้านหลังใกล้หางตัดเป็นที่ๆใกล้กับส่วนสะโพกหรือ top round
5. bavette (บาเว๊ต) ในรูปด้านบนคือเบอร์7 เป็นเนื้อเรียบจากหน้าท้องก่อนถึงหน้าขาหลัง

เมื่อสั่งสเต็กในประเทศฝรั่งเศสเราต้องระบุระดับของความสุกของสเต็กดังนี้
• Au bleu (โอ เบลอ) คือดิบๆ โดยมีการจึ่ (Sear) เฉพาะด้านนอกไม่นานคือให้ร้อนเท่านั้นแต่เนื้อด้านในยังเย็นมีลักษณะแบบเจล อยู่มีสีแดง 90% เคี้ยวยากไม่มีjuiceหรือฉ่ำน้ำ
• Saignant (เซิยนยอง) คือ Rare ก็คือยังไม่สุกแต่ด้านเนื้อในมีความรู้สึกอบอุ่น มีสีแดง 75% มีความนุ่มและฉ่ำมาก
•À point (อา ปวง) กึ่งดิบหรือประมาณ medium rare ด้านในเป็นมีสีแดง 50% ขอบด้านในเป็นสีชมพูมีความนุ่มและฉ่ำปานกลาง
• Bien (เบียง) เป็นอะไรที่ชาวอเมริกันเรียกว่า medium หรือปานกลางใกล้สุกมีสีชมพู 25%ด้านในมีความนุ่มและฉ่ำน้อย
• Bien cuit (เบียงคุยต์) แม้ว่าจะมีคำแปลตรงๆ แบบที่ชาวอเมริกันเรียกว่า well done แต่ chef ชาวฝรั่งเศสมักไม่อยากทำsteak แบบ well done ให้ใครเพราะมันไม่มีรสชาติและทำให้เสียของเปล่าๆ ดังนั้นในความหมายของ เบียงคุยต์ เมื่อถ่ายทอดไปให้พ่อครัว เนื้อจะออกมาในลักษณะ medium well มากกว่าคือเป็นแบบสุกกำลังดีด้านในยังเห็นเป็นสีชมพูจางๆ แต่เนื้อเริ่มเหนียวเคี้ยวยากขึ้น แต่ผู้ที่สั่งแบบต้องการให้สุกมักคิดว่าเนื้อดิบจะมีแบคทีเรีย ซึ่งแตกต่างจากบรรดาเซียนกินสเต็ก เค้าจะบอกว่าแบคทีเรียจะอยู่ด้านรอบนอกของชิ้นเนื้อเท่านั้น หากมี การจึ่ (Sear) หรือแนบกดกับกระทะร้อนจัด แบคทีเรียที่อยู่ด้านนอกก็ตายหมดแล้ว

City Break Paris Eat Steak in Paris 9

Credit pic: http://www.dantesdevine.com

 

พูดถึงการจี่ หรือ sear นั้น ก็เป็นเทคนิคการทำสเต็กแบบ pan fry ซึ่งที่ฝรั่งเศสนิยมทำโดยเฉพาะ กับ Entrecôte (องเทรอะโก๊ต)หรือส่วนที่เป็น Rib eye

การทอด หรือ pan fry มีขั้นตอนที่อาจต้องเข้าเตาอบต่อด้วยหากว่าเนื้อชิ้นหนาและหลังจากทอดหรืออบต้องมาผ่านขั้นตอนที่เรียกว่าการพัก(rest)ก่อนเสิร์ฟ วิธีที่ดีที่สุดในการทำสเต็กคือการไม่ทำให้มันสุกเกินไป เพราะมันจะสุกต่อตอนพักสเต็กอีก

มาถึงตรงนี้เรามาพูดถึงวิธีการทำสเต็กสูตรดั่งเดิม Butter-basted Pan-seared แบบง่ายๆ แบบพ่อครัวฝรั่งเศสซึ่งมีขั้นตอนไม่ยากดังนี้

1. กระทะที่ใช้ควรต้องเป็นกระทะเหล็กหล่อ cast iron pan ที่มีน้ำหนักมากนั่นคือมีส่วนประกอบของเหล็กสูงไม่ปนโลหะอื่น ที่สำคัญไม่ควรเป็นมีการเคลือบผิวด้วย Teflon หรือ ceramic อาจเป็น searing plate ที่เป็นแผ่นทองแดงหรืออลูมิเนียมที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมยังดีกว่า สำหรับยี่ห้อ cast iron pan ที่เราหาซื้อได้ที่เป็นของฝรั่งเศสที่ใช้ได้ก็คือ De Buyer

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer 1

City Break Paris Eat Steak in Paris de buyer grillpfanne

2. เปิดไฟที่เตาที่ medium high ถึง High ขึ้นอยู่กับว่าเตาใครให้ความร้อนระดับไหนแล้วตั้งกะทะใส่น้ำมันสัก 1 ช้อนโต๊ะอาจเป็นน้ำมันดอกคาโนล่าก็ได้ เพราะถ้าใช้น้ำมันมะกอกจะไหม้เร็ว ควันเยอะ มันมีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่า

City Break Paris Eat Steak in Paris 4

3. เอาสเต็กลงเมื่อควันเริ่มขึ้น อย่าลืมว่าสเต็กต้องมีการเตรียมคือควรต้องเอาออกจากตู้เย็นก่อนทำโดยใช้กระดาษ paper towel ซับให้แห้งสนิทแล้วโรยด้วยเกลือพริกไทอย่างดีแบบหยาบที่ใช้เครื่องบดยิ่งดีเพราะเมื่อจี่จะเกิดเป็น crust ที่ผิวด้านนอก จากนั้นพักเนื้อไว้ที่อุณหภูมิพอเหมาะอย่างต่ำสัก 20 นาที

City Break Paris Eat Steak in Paris 3

Credit pic: www.splendidtable.org

4. ทอดแบบที่เรียกว่าจี่หรือ sear เพื่อทำให้ผิวด้านนอกสุกกรอบ ป้องกันไม่ให้น้ำในเนื้อออกมาได้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการทำให้ด้านในสุกจนเกินไป ให้ทำที่ละด้านโดยด้านนึงใช้เวลา 4 ถึง 10 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นสเต็ก แต่พอกลับหน้าให้ลดเวลาลงไป 20% อย่างไรก็ตามสูตรสมัยใหม่บอกว่า ไม่ต้องทำทีละด้านแบบเดิมก็ได้ให้พลิกด้านทุก 30 วินาทีจะทำให้ความร้อนได้เท่าเทียมกันดีกว่า(ให้ลดความร้อนของเตาถ้าเนื้อเป็นสีน้ำตาลไหม้เร็วเกินไป) โดยที่พอผ่านไปซักระยะให้สไลด์เนยลงไปสัก 2-3 ช้อนโต๊ะพอเนยละลายก็ให้ใส่เครื่องเทศที่เราชอบลงไป เช่น กระเทียมสด โรสแมรี่หรือใบไทมม์ ก็ได้ แล้วใช้ช้อนตักเนยที่ละลายแล้วมีกลิ่นเครื่องเทศวิดราดบนสเต็กบ่อยๆ

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 31

Credit pic: www.splendidtable.org

กลับด้านโดยใช้ที่คีบ (tongs เพราะถ้าใช้ส้อมจิ้มอาจทำให้น้ำในสเต็กออกมา) เมื่อครบกำหนดเวลาทำเช่นเดียวกับอีกด้าน อย่าลืมจี่ด้านสันหรือขอบด้วย เคล็ดลับเรื่องเนยก็คือ ใส่ก่อนนานไม่ได้เพราะเนยไหม้เร็ว แต่ที่สำคัญเนยทำให้สีของสเต็กเข้มสวยและมีกลิ่นหอมน่ากิน

City Break Paris Eat Steak in Paris 12

5. เมื่อครบเวลาตามกำหนดทั้ง 2 หน้า ถ้าสเต็กชิ้นบางก็อาจนำไปพักเลยแต่ถ้าชิ้นหนาก็อาจต้องเข้าเตาอบต่อที่อุณหภูมิ pre heat ที่ไว้ก่อนแล้วที่ 375องศาF (เวลาในการอบเตาจะอยู่ที่ใดก็ได้ตั้งแต่ 5-15 นาทีขึ้นอยู่กับความชอบที่ต้องการของสเต็กของคุณเป็น rare หรือ medium สำหรับ rare อุณหภูมิด้านในสเต็กไม่ควรเกิน 140-145 องศาF และสำหรับmediumที่ 155-160 องศาF โปรดอย่าลืมว่าอุณหภูมิจะยังคงทำให้สเต็กสุกต่ออีกระยะนึงหลังจากที่เอาสเต็กออกจากเตา จึงขอแนะนำให้ดึงกระทะออกก่อนเวลาเล็กน้อยก่อนเพื่อที่จะความสุกหรือ doneness ที่ต้องการ)

20121205-big-steak-in-a-skillet-porterhouse- - 30

Credit pic: www.splendidtable.org

6. ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญมากคือต้องให้มีขั้นตอนการพัก(rest)สเต็ก สัก 5นาทีก่อนเสิร์ฟ ตอนนี้สเต็กจะยังสุกต่อไปอีกเล็กน้อยอาจหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์หลวมๆ ก็ได้ และจึงนำมาหันตามขวาง (across the grain) เพื่อให้เคี้ยวง่ายขึ้นอีกหน่อย

การทำสเต็กยังทำด้วยการ Grill หรืออบได้ และข้างล่างนี้เป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับอุณหภูมิและเวลาในการทำกรณีที่เป็นการอบ

City Break Paris Eat Steak in Paris 6

 

คราวหน้าเราจะมาพูดถึงซอสสเต็กแบบต่างๆ ของฝรั่งเศส ที่เราควรต้องลอง และแน่นอนว่าจะมีร้านสเต็กชื่อดังที่ควรไปลองมาแนะนำด้วย

City Break Rome Part X

เบรกเที่ยวในโรม ….กินอะไรในโรม (ต่อ)
โดย Paul Sansopone

…“เกิดจากตอนที่ทำครั้งแรก แม่บ้านคงโมโหโกรธสามีที่กลับบ้านดึกให้เมียรอกินมื้อเย็นนานเกินเหตุ ก็เลยใส่พริกเยอะกระเทียมเยอะ รสจัดมาก ตั้งใจแกล้งสามีด้วย เพราะ arrabbiata มันหมายความว่า “Angry” Pasta แต่กลับกลายมาเป็นซอสพาสต้าสีแดงที่เป็นที่นิยม”…

เมื่อคราวที่แล้วแนะนำอาหารท้องถิ่นต้นกำเนิดและร้านอาหารแบบเน้นบรรยากาศที่ราคาแพงหน่อย แต่การมาเที่ยว 3-4 วัน เราก็ควรต้องมีอย่างน้อย 1 มื้อล่ะครับ ในตอนนี้จะพูดถึง Routine Food หรือแบบ Staple ในแบบโรมที่มีความอบอุ่นตามแบบฉบับของร้านอาหารท้องถิ่นประเภท Osterie แบบดั้งเดิม ซึ่งเราผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกมากขึ้น เช่น เพราะเชฟรุ่นใหม่ที่ทำอาหารดั้งเดิมแบบเก่ากำลังมาแทนที่บรรดาเชฟที่เป็นคุณยายที่เน้น Home Cooking Style และที่พิสูจน์ได้ง่ายที่สุดคงต้องเป็นจานพาสต้า เพราะใครๆ ก็มากินพาสต้าที่โรม

และถ้าพูดถึง Pasta แบบโรมที่นี่จะใช้เส้นพาสต้าท้องถิ่นคือ Bucatini แปลว่า “Little Hole” มันเป็นเส้นยาวที่มีรูกลวงคล้าย มักกะโรนีหรือ Tonnarell จะคล้าย Spaghetti แต่จะอ้วนกว่าค่อนข้างเป็นที่นิยมในโรมแต่เส้นทั่วไปก็มีให้เลือกครับ

มารู้จักเมนูจานPastaที่เป็นโรมแท้

1.Pasta Alla Carbonara มีความ Creamy แต่ไม่มีการใส่ครีมจึงจะเป็นของกรุงโรมแท้ๆ เพราะมันเป็นอาหารกรรมกรทำง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตรอง เพื่อนอิตาเลี่ยนของผมชื่อ Claudio เคยอธิบายว่า Carbonara มาจากคำว่า Carbone ซึ่งก็คือผงถ่านเพราะเวลาพวกกรรมกรเหมืองทานกันจะใส่พริกไทยดำเยอะมากจนดูเหมือนผงถ่านปกคลุมพาสต้าจานนี้

City Break ROME Italy Pasta Alla Carbonara

จริงแล้วอาหารจานนี้แพร่หลายไปทั่วโลก หลายๆ คนยังเชื่อว่ามันเกิดในสมัยสงครามโลกตอนทหารอเมริกันมาปักหลักอยู่กรุงโรมเพราะอเมริกันนำประเพณีอาหารเช้าที่เป็นเบคอนกับไข่มาแล้วมาดัดแปลงใส่เส้น กลายเป็นเมนูเด่นดังไปจนมีแทบทุกร้านอาหารตะวันตกทั่วไป แต่ถ้าเป็นของกรุงโรมแท้มันไม่ใส่ครีมและต้องใช้Guanciale เบคอนที่ทำจากแก้มหมู ส่วนชีสต้อง Pecorino และเส้นต้องเป็น Tonnarelli ถึงเป็นต้นตำรับ

City Break ROME Italy Pasta Alla Gricia

Pasta Alla Gricia

2.Pasta Alla Gricia ง่ายๆ แบบ Roman Pasta: มันเกือบจะเหมือน Carbonara ต่างกันตรงไม่มีไข่และใช้ Guanciale เป็นอะไรที่คล้ายกับเบคอนแต่ทำมาจากส่วนแก้มของหมู ไม่ได้ใช้ส่วนท้องแบบเบคอนหรือ Pancetta ทำให้มีรสแตกต่าง และแน่นอนต้องใช้ชีส Pecorino, Romano, Black Pepper และควรเป็นเส้นTonnarelliไม่ใช่ Spaghetti ซึ่งต้นตำรับเป็นของNapoliไม่ใช่ Roma

City Break ROME Italy Pasta Arrabbiata

3.Pasta Arrabbiata คงเกิดจากตอนที่ทำครั้งแรก แม่บ้านคงโมโหโกรธสามีที่กลับบ้านดึกให้เมียรอกินมื้อเย็นนานเกินเหตุ ก็เลยใส่พริกเยอะ กระเทียมเยอะ รสจัดมาก ตั้งใจแกล้งสามีด้วย เพราะ Arrabbiata มันหมายความว่า “Angry” Pastaแต่กลับกลายมาเป็นซอสพาสต้าสีแดงที่เป็นที่นิยมมากๆ เพราะความเผ็ดรสจัดจากส่วนผสมประกอบด้วยมะเขือเทศ กระเทียม และพริกแดง Peperoncino (Red Chili Peppers)

City Break ROME Italy Cacio e pepe

4.Cacio e pepe มันคือจานศักดิ์สิทธิ์แห่งพาสต้าของชาวโรมัน เพราะมันคืออาหารคนจนที่ต้องทานอะไรง่ายๆ และแค่ได้พาสต้า Cacio e Pepe สักจานก็ยกมือไหว้พระเจ้าแล้ว มันเลยเป็นจานศักดิ์สิทธิ์ “Cacio e Pepe” แปลว่า “Cheese and Pepper” ในภาษาพื้นเมืองในแถบLazio ส่วนผสมของพาสต้าจานนี้จึงง่ายแค่ Black Pepper และ Pecorino Romano Cheeseคลุกกับน้ำต้มเส้นเล็กน้อย
City Break ROME Italy Pasta all’amatriciana

5.Pasta all’amatriciana ชื่อนี้ได้มาจากเมืองชื่อAmatriceจากเขต Lazio มันใช้ส่วนประกอบที่เป็นมะเขือเทศ Guanciale,เบคอนที่ทำจากแก้มหมู แล้วมีพริกแดงหอมกระเทียมและไวน์แดงกับสุดท้ายต้องโรย Pecorino

 

รู้จักPastaท้องถิ่นของโรม แล้ว เราลองไปค้นหา The Best Pasta in Rome ดูกันครับว่าจะไปกินร้านไหนดี

“When in Rome do what the Romans do…” ใช่แล้วครับต้องหาพาสต้าที่ดีที่สุดของโรมกิน ขอแนะนำ 9 อรหันต์ของร้านพาสต้าในโรม ที่แต่ละร้านไม่ได้หรูหราแบบ Ristorante(ภัตตาคาร) แต่มักเป็นร้านระดับกลางหรือร้านเล็กๆ คือ Trattoria หรือ Osterie เท่านั้น  Credit Katie Parla

 

1.ร้าน Da Danilo (Via Petrarca 13, +39 06 7720 0111)
ที่เราควรต้องสั่งพาสต้า Carbonara and Cacio e pepe ที่เขาจะเอาเส้นพาสต้าที่ลวกเสร็จใหม่ๆ มาลงคลุกกับชีสแบบวงล้อก้อนใหญ่ที่คว้านเป็นรูปร่างเหมือนชามทำให้การคลุกชีสเปคคอริโนนั้นมั่นใจได้ว่าชีสเคลือบเส้นทั่วถึง

City Break ROME Italy at Da Danilo 2

City Break ROME Italy at Da Danilo

ยังมีจานเด็ดที่เป็น อาหารท้องถิ่นทัศคานี คือ Strozzapreti al Lardo di Colonnata e Pecorino di Fossa ซึ่งมีซอสมะเขือเทศแบบบางเบาไม่ข้น เป็นเบสมีlardoคล้ายเบคอนแต่มันเยอะโรยด้วยชีสนมแพะเก่าPecorinoที่บ่มเก็บไว้นานหน่อย

City Break ROME Italy at Da Danilo 1

 

2.ร้าน Flavio De Maio ของเชฟ Flavio al Velavevodetto (Via di Monte Testaccio 97, +39 06 574 4194)

City Break ROME Italy Cacio e pepe at Flavio De Maio

มาที่นี่ต้องสั่ง Cacio e pepe พาสต้าที่ใส่แค่ชีส Pecorinoกับพริกไทยดำคลุกน้ำต้มเส้น

 

3.ร้านPipero al Rex (Via Torino 149; +39 06 481 5702) ที่เชฟ Luciano Monosilo เสิร์ฟสุดยอดตำนานพาสต้าของโรม Spaghetti Alla Carbonara เชฟ Monosilo มีเทคนิคคือเขาจะอุ่นส่วนผสมของไข่แดง Parmigiano Reggiano, Pecorino Romano และพริกไทยดำใน Bain-Marie หรือซึ้งที่ใช้สำหรับนึ่งและพอได้พาสต้า al dente ขึ้นจากหม้อต้มก็คลุกกับส่วนผสมของไข่โรยด้วยเบคอนแก้มหมู Guanciale และไขมันที่เหลือจากการทอดมันเล็กน้อย

City Break ROME Italy at Pipero al Rex

Pipero al Rex: Spaghetti alla Carbonara credit pic: http://www.bonappetit.com

 
4.ร้านArmando al Pantheon (Salita dè Crescenzi 31, +39 06 6880 3034) ต้องสั่งคาโบนาร่าหากยังไม่เบื่อหรือหากต้องการรสจัดหน่อยก็ “Pasta dei cornuti” (Cuckold’s Pasta) ที่มีรสจัดจ้านจากพริกกระเทียมและน้ำมันมะกอก ร้านนี้หาง่ายอยู่ใกล้กับวิหาร Pantheon แต่มันไม่ใช่ร้านที่เป็น Tourist Trap ถ้ามา 2 คนให้อีกคนสั่ง Pasta Amatriciana มาจะได้ลอง 2 แบบ และอย่าลืมทานของหวานที่เป็น Signatureของร้าน Torta Antica Roma

City Break ROME Italy at Armando al Pantheon

City Break ROME Italy Torta Antica Roma at Armando al Pantheon

Armando al Pantheon: Ajo, Ojo e Peperoncino (garlic, oil, chili) credit pic: http://www.bonappetit.com

 

5.ร้านColline Emiliane (Via degli Avignonesi 22, +39 06 481 7538) ซึ่งเจ้าของเป็นตระกูล Latini จากเขต Emilia Romagna แต่ย้ายมาเปิดร้านอาหารแถวน้ำพุเทรวี่ตั้งแต่ปี 1967 จึงทำให้คุณจะได้ชิม Tortelliไส้ฟักทองต้นตำรับจาก Emilia Romagna แท้ๆโดยไม่ต้องไปถึงถิ่น

City Break ROME Italy Colline Emiliane Tortelli di Zucca at Colline Emiliane

Colline Emiliane: Tortelli di Zucca

 

City Break ROME Italy at Tavernaccia da Bruno

City Break ROME Italy Tavernaccia da Bruno 1

ร้านTavernaccia da Bruno: Lasagne Cotte nel Forno al Legna (wood oven baked lasagna) credit pic: http://www.bonappetit.com

6.ร้านTavernaccia da Bruno’s (Via Giovanni da Castel Bolognese 63, +39 06 581 2792) มีความโดดเด่นเรื่อง ลาซานญ่าที่อบด้วยเตาอบฟืน Lasagna, Bechamel, and Meat Sauce เป็นอาหาร Roman-Umbrian

 

City Break ROME Italy Il Sanlorenzo Spaghetti alle Vongole Veraci

Il Sanlorenzo: Spaghetti alle Vongole Veraci (with clams)
7.ร้านIl Sanlorenzo (Via dei Chiavari 4/5, +39 06 686 5097) เป็นร้านที่ต้องสั่งสปาเก็ตตี้หอยลาย (ต้องเช็คด้วยบางช่วงอาจไม่มีหอย) Spaghetti Alle Vongole

 

City Break ROME Italy Rigatoni con Burro e Parmigiano at Roscioli

8.ร้าน Roscioli: จานเด็ดเป็นRigatoni Burro e Parmigiano (Butter and Aged Parmigiano-Reggiano)

ไม่น่าเชื่อว่าแค่เป็นพาสต้าเนยสดกับปาร์มิจานก็อร่อยได้ ต้องไปลองทาน Rigatoni con Burro e Parmigianoที่ร้านRoscioli (Via dei Giubbonari 21, +39 06 687 5287) เคล็ดลับอยู่ที่วัตถุดิบที่เป็นเส้นสดและเนย Echiré Butter ก่อนโรยหน้าด้วยปาร์มิจานแบบบ่มเก็บนาน 30 เดือนผสมกับแบบบ่มนาน 36 เดือน (Aged Parmigiano Reggiano)
 

City Break ROME Italy Rigatoni con pajata

หรือถ้าท่านต้องการพาสต้าจากโรมแบบExtremeหน่อยก็ต้องสั่งทานจานนี้

Rigatoni con pajata มันคือ Pasta กับ Pajata ซึ่งก็คือไส้ของลูกแกะหรือลูกวัวที่ยังไม่หย่านมคือมันยังไม่เคยทานอาหารที่ทำลำไส้มันสกปรกและมีไขมันมันเป็น Cucina povera dishes หรืออาหารคนยากจนที่ต้องกินทุกชิ้นส่วนของสัตว์แต่มันกลายเป็นของอร่อย

 

City Break ROME Italy Spaghetti Alle Vongole Hostaria Romana

Spaghetti Alle Vongole ที่ Hostaria Romana

9.ร้าน Hostaria Romana เป็นแบบold-schoo trattoria ที่มีโต๊ะเบียดๆ กันอยู่ แต่อาหารจานพาสต้าแบบสปาเก็ตตี้หอยลายและAmatriciana ต้องขอแนะนำอะไรที่ไม่ใช่พาสต้าทิ้งท้ายหน่อย ไหนๆ มาร้านนี้ถ้าอยู่ในฤดูของ Artichokesให้สั่ง ArtichokesทอดAlla Giudia (fried) หรือแบบตุ๋นAlla Romana (braised) ก็อร่อยทั้งคู่
City Break ROME Italy Carciofo Alla Giudia at Hostaria Romana

Carciofo Alla Giudia อาร์ติโช๊คทอดกรอบ

City Break ROME Italy Carciofo Alla Romana at Hostaria Romana

Carciofo Alla Romanaหรือว่าอาร์ติโช๊คตุ๋นดี?

 

คราวหน้าเรามาว่ากันต่อในเรื่องของกินของดื่มที่โรมครับ

City Break Rome Part IX

เบรกเที่ยวในโรม…กินอะไรในโรม
โดย Paul Sansopone

… “หากจะมาสารภาพรักหรือขอแต่งงานหรือแม้แต่แต่งงานกันมา 30 ปีแล้วแต่ยังอยากจะสารภาพอีกว่ายังรักไม่เคยเสื่อมคลาย คงต้องจองโต๊ะมาช่วงพระอาทิตย์ตกดิน เพราะมันจะเป็นbackdropระดับโลก เนื่องจากพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าด้านหลังของ Coliseum แบบ Picture Perfect ที่สำคัญที่นี่ไม่ได้สวยแต่วิว อาหารจากเมนูระดับ 5 ดาวจากสถาบัน…”

กินอะไรในโรม

กรุงโรมมีอายุเกือบ 3,000 ปี แต่ไม่ว่าจะผ่านมากี่พันปีของประวัติศาสตร์ โรมเป็นเมืองที่ไม่เคยเป็นรองใครในเรื่องอาหารและไวน์ ที่จริงแล้วเมืองนี้เคยถูกปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของคนรวย
กรุงโรมในวันนี้ ความรักในไวน์และอาหารดีๆ ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงแต่กลับพัฒนามากขึ้น ในช่วง 25 ปีหลังนี้ ชาวเมือง 2.7 ล้านที่อาศัยอยู่ที่นี่ได้เติบโตขึ้นด้วยความเชื่อมั่นความมั่งคั่งและความซับซ้อน นักเดินทางจากทั่วโลกมาที่นี่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มาตรฐานของชาวโรมันซึ่งปกติก็จู้จี้จุกจิกเรื่องการทำอาหารอยู่แล้วต้องยกมาตรฐานให้สูงขึ้น จากเดิมที่อาหารอิตาเลี่ยนมันมาจากสถาบันครอบครัวแบบง่ายๆ ใช้สูตรตำราอาหารที่เป็นมรดกตกทอดกันมา กลายมาเป็นองค์ความรู้เป็นสถาบันอาหารและมีการศึกษาลึกซึ้งกว่าเดิม
ที่นี่แตกต่างจากฟลอเรนซ์ ตูริน และเวโรนาซึ่งที่นั่นมักจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นเลิศเรื่องไวน์ของพวกเขาในท้องถิ่น เช่นโซน Chianti, Barolo และ Valpolicella ตามลำดับ แต่ Rome ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของลาซิโออาจมีแค่เพียงแหล่งผลิตไวน์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น Candida หรือ Casale Giglio แต่มันยังไม่ใช่อะไรที่ติดChart โชคดีที่ที่นี่มันคือกรุงโรมที่ถนนทุกสายมุ่งมาสู่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องง่ายที่จะหาไวน์จากทุกภูมิภาคในกรุงโรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในสถานที่ของแหล่งกำเนิด

City Break Rome Italy Gambero Rosso 3

ทางเลือกสำหรับการมาทัวร์ชิมไวน์และการเรียนการทำอาหารมากในเมืองอมตะแห่งนี้ ลองไปศูนย์ไวน์และอาหาร Gambero Rosso ซึ่งเป็นวารสารเกี่ยวกับอาหารและไวน์ชื่อดังของอิตาลี ของ Cittàdi Gusto (เมืองTaste) ที่ตั้งอยู่ในคลังสินค้า 86,000 ตารางฟุตในย่านมาร์โคนี ผู้เข้าชมสามารถชมเชฟอิตาเลี่ยนชั้นนำโชว์ศิลปะการทำอาหารของพวกเขา หรือเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องไวน์หรือบางคนอาจสนใจโรงเรียนสอนทำอาหารสำหรับมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ส่วนการชิมไวน์แบบคลาสสิกต้องไป Enoteca Costantini ใน Piazza Cavour หนึ่งในกรุงโรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดเรื่องไวน์บาร์และยังมีการจัดหลักสูตรไวน์ด้วย

City Break Rome Italy Enoteca Costantini

อาหารโรมันแท้ๆ

ในกรุงโรมที่ร้านอาหารแบบดั้งเดิมปนอยู่กับร้านแบบร่วมสมัย อาหารพิเศษของกรุงโรมไม่ได้หรูหรา หลายสูตรมาจากวัฒนธรรมคนยากจน Cucina Povera แลtได้อิทธิพลมาจากอาหารของชุมชนชาวยิวที่ใช้เนื้อชิ้นที่ไม่ใช่cut ราคาแพง บางครั้งอาจมีอาหารแบบที่ไม่น่าดูชมนักด้วยซ้ำที่มักจะประกอบด้วยชิ้นส่วนเครื่องในของสัตว์นำมาทอด Smothered แล้วไปเคี่ยวในซอส เป็นที่รู้จักกันคือ Cucina di Quinto หรือ “ไตรมาสที่ห้า” หรือมีCervello Fritto (ไส้สมองแกะทอดขนาดลูกกอล์ฟ) TRIPP Aalla Romana (ลำไส้ลูกวัวในซอสมะเขือเทศ) Vitella Piccante (ลิ้นลูกวัวในซอสเผ็ด) และ Alla Vaccinara (ตุ๋นหางวัว)

City Break Rome Italy Saltimbocca Alla Romana

Saltimbocca Alla Romana มันแปลว่า “กระเด้งในปาก”เป็นเนื้อลูกวัวห่อด้วยแฮม Prosciutto Crudo และใบSageผัดซอสแบบน้ำแดง

City Break Rome Italy Rigatoni con pajata

Rigatoni con pajata มันคือ Pasta กับ Pajata ซึ่งก็คือไส้ของลูกแกะหรือลูกวัวที่ยังไม่หย่านมคือมันยังไม่เคยทานอาหารที่จะทำลำไส้มันสกปรก และมีไขมันมันเป็น Cucina Povera Dishes หรืออาหารคนยากจนที่ต้องกินทุกชิ้นส่วนของสัตว์แต่มันกลายเป็นของอร่อย
City Break Rome Italy Coda alla vaccinara Oxtail

Coda alla vaccinara. Oxtailอาหารคนจนอีกแล้ว Cucina Povera Clan เป็นสตูหางวัวที่เคี่ยวนานจนละลายในปาก

Involtini alla romana เนื้อม้วนแครอทและเซเลอรี่ในซอสมะเขือเทศ

City Break Rome Italy Trippa Tripe

Trippa Tripe มันคือผ้าขี้ริ้ว(เครื่องในวัว)แบบเดียวกับเกาเหลาเนื้อบ้านเราแต่ที่นี่กินกับซอสแดง
City Break Rome Italy Crostata di ricotta

Crostata di ricotta ของหวานแบบ Classic Roman dessert มันเป็นชีสเค้กทำจากชีสรีค๊อดต้า

City Break Rome Italy Carciofo alla giudia

บางส่วนของเมืองอาหารแบบดั้งเดิมมีต้นกำเนิดมาจากชุมชนชาวยิวในกรุงโรม Carciofo alla giudia หรืออาติโช๊คทอดกรอบ

จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้อาหารพิเศษโรมันเหล่านี้ที่เคยถูกปกป้องโดยประเพณีอย่างเหนียวแน่นก็ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง เมื่อเชฟเยอรมันชื่อไฮนซ์เบ็คมาถึงที่นี่ในปี 1994 ความเป็นพ่อครัวระดับสามดาวมิชลินของเขาเปิดทางให้พ่อครัวที่มีชื่อเสียงและเทคนิคใหม่ๆในกรุงโรม

City Break Rome Italy The View from La Pergola 2

เบ็คทำงานห้องครัวของร้าน La Pergola ยังคงถือว่าเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดของกรุงโรมและเขายังคงเป็นหนึ่งในพ่อครัวที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเมืองหลวงและประเทศเก่าแก่นี้

The View from La Pergola

City Break Rome Italy The View from La Pergola 1

City Break Rome Italy The View from La Pergola

La Pergo ร้านอาหารอันดับหนึ่งในกรุงโรมที่ถูกโหวตปีแล้วปีเล่า เชฟไฮนซ์เบ็ค Chef Heinz Beck ผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่มีการพิจารณาลึกของรสชาติและเนื้อสัมผัส เลือกที่สุดของไวน์มานำเสนอกับเมนูชิมที่ห้ามพลาดที่นี่มีทั้งไวน์อิตาลีและไวน์ต่างประเทศ และไม่เพียงแต่อาหารที่ดีที่สุดในกรุงโรมแต่วิวก็ยังสวยที่สุดอีกด้วยแน่นอนว่าการทำให้มาตรฐานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ของร้าน La Pergola นั้นก็ต้องทำให้คู่แข่งอย่างร้านข้างล่างเหล่านี้พัฒนาไปด้วยเช่นกัน

 

Imàgo
ร้านอาหารและบาร์ไวน์มาพร้อมกับสุดยอดของวิวที่สวยงามของโรมจากย่านบันไดสเปน บริการอาหารอิตาเลี่ยนด้วยสำเนียงโรมันแบบไม่เพี้ยน และOriginalสุดดั้งเดิมและเสิร์ฟเฉพาะไวน์อิตาเลี่ยนกว่า 400 ตัว

City Break Rome Italy RELAIS PICASSO

RELAIS PICASSO / Bramante TERRACE / Roof Gardenบนชั้นบนสุดของโรงแรมราฟาเอลใกล้กับ Piazza Navonaบนเทอเรซหรือสวนบนดาดฟ้าในสภาพอากาศที่เหมาะสม คุณจะได้ทานอาหารในระดับเดียวกับเส้นขอบฟ้าของกรุงโรมที่ประดับประดาไปด้วยโรมันโดมของโบสถ์ต่างๆ

 

City Break Rome Italy Aroma 1

Aroma
แต่ถ้าอยากให้ได้บรรยากาศเหมือนเพิ่งไปชมการต่อสู้ของยอดนักสู้ Gladiators มา ก็ต้องที่นี่เลยร้านที่ชื่อ Aroma ที่จัตุรัส Manfredi ซึ่งจะได้วิวของสุดยอดสถาปัตยกรรมระดับสิ่งมหัศจรรย์ตลอดกาลของโลก นั่นคือ Coliseum และหากจะมาสารภาพรักหรือขอแต่งงานกับคู่ชีวิตหรือแม้แต่แต่งงานกันมา 30 ปีแล้ว แต่ยังอยากจะสารภาพอีกว่ายังรักไม่เคยเสื่อมคลาย คงต้องจองโต๊ะมาช่วงพระอาทิตย์ตกดินเพราะมันจะเป็นbackdropระดับโลก เนื่องจากพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าด้านหลังของ Coliseum แบบ Picture Perfect ที่สำคัญที่นี่ไม่ได้สวยแต่วิว อาหารจากเมนูระดับ 5 ดาวจากสถาบัน American Academy of Hospitality Sciences และดาวจาก Michelin น่าจะเพียงพอให้คู่เดทของคุณไม่รู้สึกว่าเราcheapอย่างแน่นอนในโอกาสสำคัญแบบนี้ ที่อยู่และเบอร์โทร: Aroma, Palazzo Manfredi, Via Labicana 125, Rome, Italy, +39 06 97615109

City Break Rome Italy Aroma 2

City Break Rome Italy Aroma 4

 

Hotel Forum Roof Garden

City Break Rome Italy Hotel Forum Roof Garden

แต่ถ้าต้องการอาหารกลางวันแบบBuffetในราคาสมเหตุสมผล หรือจะมา à-la-carte ตอนหัวค่ำเพื่อชมความงามของขอบฟ้ากรุงโรมตอนอาทิตย์ลับฟ้าเหมือนภาพเดียวกันกับที่จูเลียสซีซ่าร์ได้เคยเห็นเมื่อเกือบ 3000 ปีก่อน ก็เพราะเมื่อก่อน Roman Forum คือสถาบันที่รวมของชุมชนชนชาวโรม แต่ปัจจุบันโรงแรมชื่อเดียวกัน Hotel Forum ก็สนองบรรยากาศและอาหารสุดยอดแบบนั้นได้ โดยเฉพาะที่ห้องอาหารRoof Garden, ที่อยู่และเบอร์โทร: Hotel Forum, Via Tor Dei Conti 31, Rome, Italy, +39 06 6792447

 

คราวหน้าเราจะคุยกันถึงอาหารจานเก่งของชาวโรมันกันครับ

Holiday Challenge! Roasted Turkey (Short cut)

ถ้ามีงานเลี้ยงที่บ้านในช่วงวันหยุด Thanksgiving และคริสมาสต์ ยกไก่งวงจานนี้ออกมา รับรองทุกคนจะต้องร้องว้าว!

 

holiday-challenge-roasted-turkey-2

 

ปีนี้รู้สึกโชคดี ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ มีที่ให้สั่งซื้อ ราคาถูกกว่าที่เคยซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ตดังๆ หลายเท่า แถมรสชาติดีด้วย อบเสร็จแล้วเนื้อไม่แห้งค่ะ

คราวนี้สั่งที่ http://www.passiondelivery.com/products/whole-turkey-oven-roasted-6kg-approx-code-here  เป็นแบบที่อบมาแล้ว เขาแช่แข็งมา เราแค่มาเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา สัก 2 คืน แล้ววันงานก็เอามาอุ่นในเตาอบ ใช้ไฟ 160-170 °C (มีพัดลม) เรื่องความร้อนนี้ ต้องคอยสังเกตเอาเองนะคะ เพราะเตาแต่ละบ้านให้ความร้อนไม่เท่ากัน เวลาก็เช่นกันค่ะ วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้คอยสังเกตเอา จะมีไกด์ไลน์ให้บ้างก็เช่นว่า ตัวที่อบในรูปนี้ น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 4.5 กิโล อุ่นไฟอ่อนๆ ตามที่บอก ไปราวๆ 45-50 นาทีค่ะ

เคล็ดลับที่จะให้ไก่ออกมาผิวสวยขนาดนี้ เริ่มตั้งแต่

-เอาน้ำมัน (เราใช้น้ำมันเจียวจากมันไก่) หรือจะใช้ Clarified Butter ทาให้ทั่วตัวไก่เสียก่อน แล้วใช้เบคอนปิดบริเวณส่วนหน้าอก ส่วนบนสุดของน่อง (ปลายปีกให้ใช้กระดาษฟอยด์หุ้มไว้)

-หั่นแครอท หอมใหญ่ เซเลอรี่ เป็นชิ้นใหญ่ๆ คลุกกับน้ำมัน วางเรียงไว้ก้นถาด เติมน้ำสต๊อกไก่ หรือน้ำเปล่าเพียงเล็กน้อยแค่ไม่ให้ผักและน้ำที่ไหลจากไก่มาติดไหม้ก้นถาด จากนั้นควรเช็คไก่ ทุกๆ 15 หรือ 20 นาที โดยเอาน้ำจากในถาดผสมกับน้ำมัน หรือเนยที่ทำไว้ คอยราด หรือ ทาที่ผิวไก่ ขณะที่เราเอาไก่ออกมาราดน้ำผสมน้ำมัน เราก็คอยสังเกตว่าข้างในของตัวไก่ร้อนขึ้นดีตามที่ต้องการหรือยัง ที่บ้านใช้เทอร์โมมิเตอร์ สำหรับเช็คอาหาร จิ้มไปที่ส่วนที่หนาที่สุด เช่น หน้าอก ขาพับสะโพก ดูว่าอุณหภูมิประมาณ 55-60˚C ขึ้นไปก็ได้แล้วค่ะ (จริงๆ เนื้อไก่เวลาวัดว่าสุกหรือยัง ต้องให้เกิน 70-75°C แต่ในที่นี้ ถือว่าไก่สุกมาแล้ว ถ้าอบนานไป เนื้อจะแห้งค่ะ) เมื่อไก่ร้อนได้ที่ตามต้องการแล้ว ให้เอาเบคอน และฟอยด์ ออก อบต่อสัก 10 นาที พอให้ผิวได้สีสวย แล้วให้เอามาพักบนตะแกรงสักครู่ก่อนเสิร์ฟ โดยคลุมกระดาษฟอยด์ไว้หลวมๆ ด้านบน

 

holiday-challenge-roasted-turkey-3

ระหว่างนี้ก็ไปเตรียมอุ่นเกรวี่กับไส้ที่ทานกับไก่งวงที่เราทำไว้ล่วงหน้าแล้วพลางๆ  น้ำมันที่ได้จากการอบไก่ ให้เทใส่ถ้วยเก็บไว้ ก่อนเสิร์ฟ อาจราดบนตัวไก่อีกครั้ง เพื่อให้เป็นเงาสวยงาม เบคอน เอาออกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมรวมไปกับไส้ที่เตรียมไว้ ผักที่อบจนนุ่มแล้ว เติมลงไปในหม้อเกรวี่ (ยกเว้นฟักทอง ที่จะมาหั่นเรียงในจาน เพื่อเสิร์ฟไปพร้อมๆกับไก่)

ทีนี้เหลือแต่ถาดอบมีเศษเกรียมๆ ติดอยู่ ให้เอาไปตั้งบนเตาแก๊ส เติมเนยเล็กน้อย โรยแป้งสาลีลงไป ราวๆ 1 ช้อนโต๊ะ ผัดสักครู่ให้แป้งสุก แล้วเติมไวน์แดง หรือน้ำสต๊อกไก่ พยายามขูดเอาส่วนที่เกรียมๆ ติดกระทะ ออกมาให้หมด ตั้งให้เดือดอีกครั้ง แล้วเทกลับไปรวมกับเกรวี่ ตั้งไฟกลางไปสักครู่ ชิมรสครั้งสุดท้าย แล้วจึงกรองน้ำเกรวี่เพื่อเสิร์ฟค่ะ

Gravy for Turkey ( เตรียมไว้ล่วงหน้าได้เป็นอาทิตย์)

-โครงไก่ 1 ตัว สับเป็นขิ้นเล็กๆ (ดึงหนัง และมัน ออกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เจียวเอาน้ำมันเก็บไว้)

-หอมใหญ่ 1 หัว (สับหยาบ)/กระเทียมบุบ 2-3 กลีบ/ แครอท ½  หัว(หั่นชิ้นใหญ่) /เซเลอรี่ 1 ก้าน (หั่นชิ้นใหญ่)/ ต้นกระเทียม ½   ต้น (หั่นชิ้นใหญ่)

-ไวน์แดง หรือวิสกี้ ประมาณ ¼  ถ้วย

-น้ำสต๊อกไก่ หรือน้ำเปล่า (ประมาณ 800 ml หรือจนท่วมผักและกระดูก)

-เครื่องเทศที่ให้ความหอม เช่น ใบกระวาน, ก้าน Parsley, ข่อ Rosemary, ช่อ Oregano ใช้ใบต้นกระเทียมห่อมัดเข้าด้วยกันเป็นช่อ

-เกลือ พริกไทย สำหรับปรุงรส

 

วิธีทำ

-ผัดกระดูกไก่ที่สับไว้กับน้ำมันเพียงเล็กน้อย จนเป็นสีน้ำตาลสวย และบางส่วนติดกระทะ ตักขึ้นไว้ในชาม

-ใส่หอมใหญ่ ผัดจนหอมใหญ่เป็นสีใส ขูดเอาที่ติดก้นกระทะออกมาด้วย เติมกระเทียมบุบหยาบ

-เติมเหล้า ผัดให้เหล้าระเหยไปบ้าง

-เติมผัก (แครอท เซเลอรี่ ต้นกระเทียม) ผัดจนนุ่ม

-เติมน้ำสต๊อกไก่ หรือน้ำเปล่าจนท่วมผัก ใส่เครื่องเทศใบหอมๆ ต่างๆ ตั้งไฟให้เดือด แล้วลดเป็นไฟกลางค่อนข้างอ่อน

-ต้มไปจนผักนุ่ม ราวๆ ครึ่งชั่วโมง เติมน้ำถ้าดูว่าแห้งไป และคอยช้อนฟอง กับน้ำมันที่ลอยขึ้นมาบนผิวหน้าเสียบ้าง

-กรองเอาผักและกระดูกออก นำเอาน้ำที่ได้ กลับไปตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง หลังจากนั้นเบาไฟลง คอยเช็คดูว่า ความเข้มข้นได้ที่แล้ว ปิดไฟ

ถ้าหากต้องการให้ซอสข้นขึ้น ก่อนเสิร์ฟ ให้เติมตัวช่วยที่เรียกว่า เนยนวด (Kneaded butter) คือเนยนุ่มกับแป้งสาลี จำนวนเท่าๆ กัน นวดให้เข้ากันแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ เท่าปลายก้อย เก็บใส่ตู้เย็นไว้ เอาไว้สำหรับทำให้ซอสข้นขึ้น ในขั้นตอนสุดท้าย

 

holiday-challenge-roasted-turkey-4

Turkey Stuffing (ทำไว้ล่วงหน้าได้เช่นกัน) Super easy!

-เบคอน ประมาณ 6 แผ่น (หั่นชิ้นเล็ก)

-หอมแดง 3-4 หัว (สับละเอียด) + กระเทียมสับ ตามชอบ

-เซเลอรี่ 2 ก้าน (สับละเอียด)

-ใบโรสแมรี่ (สับละเอียด) ½ ชต

-แครนเบอรี่แห้ง 1 ถ้วย

-น้ำส้มสายชูกลั่นทำจากแอปเปิ้ล apple cider 200 ml

-ถั่วพิสตาชิโอ หรือ วอลนัท 1 ถ้วย (สับละเอียด)

-ไส้กรอกสด 300 กรัม (เอาแต่เนื้อ) Sloane’s sausage bf/ and /or Sloane’s Chorizo

-ผิวส้มขูด

-ไข่ไก่ 1 ฟอง

-ขนมปังป่น breadcrumbs 2 ถ้วย

-เกลือ พริกไทย ผง allspice , ground nutmeg

 

วิธีทำ

-ผัดเบคอนในกระทะจนมีน้ำมันออกมา เติมหอมแดงสับ เซเลอรี่สับ และกระเทียม ผัดไปจนนิ่มด้วยไฟอ่อนๆ ปิดฝาไว้สัก 10 นาที เติมแครนเบอรี่ และน้ำส้มแอปเปิ้ล เร่งไฟขี้นเป็นไฟกลาง และตั้งไปจนน้ำงวดลงเกือบแห้ง พักไว้ให้เย็นลง

-เติมเกลือ พริกไทย ผง allspice , ground nutmeg ไส้กรอกสด (เอาแต่เนื้อ) ผิวส้มขูด, ไข่ไก่ ถั่วพิสตาชิโอ หรือ วอลนัท และขนมปังป่น คลุกเข้าด้วยกัน

-ห่อด้วยกระดาษฟอยด์ แล้วนำไปอบ ไฟ 180 ˚C ประมาณ ½ ชั่วโมง

(ถ้าชอบ จะเปลี่ยนถั่ว เป็นเกาลัดก็ได้ค่ะ)

หั่นไก่งวง จัดใส่จาน ประดับด้วยฟักทองอบ มันฝรั่ง และบีทรูทอบ ผักกะหล่ำดาวลวก เสิร์ฟไส้ไว้ข้างๆ มีเกรวี่ กับ แครนเบอรี่ซอสเสิร์ฟไปพร้อมๆ กัน

 

holiday-challenge-roasted-turkey-5

 

ส่วนที่เสิร์ฟไม่หมด เช่น ปีก สะโพก อาทิตย์หน้าจะมาบอกสูตรที่ทำเป็น Winter Stew เติมแฮม ไส้กรอก มันฝรั่งเข้าไป อิ่มอุ่น อร่อย ไม่เสียของด้วยค่ะ

 

Shopping:  www.passiondelivery.com 

Turkey, Bacon, Sloane’s breakfast sausage, Sloane’s Chorizo, Pistachio

 

ยำข้าวทอด

 

สำหรับ 2-3 คน (ดัดแปลง จากหนังสือ อาหารชีวจิต ตำรับบ้านคุณชูเกียรติ เล่ม 2)

 

food003

 

ส่วนผสม

  • ข้าวกล้อง 1 ถ้วย
  • ข้าวเหนียวกล้อง ½ ถ้วย
  • คีนวาสีขาว (หุงสุก) ½ ถ้วย
  • พริกแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ
  • แป้งข้าวโพด
  • เห็ดหูหนูดำ (ผัดน้ำมัน) ¼ ถ้วย
  • เห็ดหูหนูขาว (ลวก) ¼ ถ้วย
  • ถั่วลิสงเค็ม ¼ ถ้วย
  • หอมเล็กเจียว ¼ ถ้วย
  • ขิงอ่อนซอย ¼ ถ้วย
  • ใบมะกรูดซอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ใบโหระพาซอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ต้นหอมซอย ตามชอย
  • พริกทอด พริกสด ตามชอบ
  • เกลือ ซีอิ๊วขาว พริกไทย ปรุงรส

วิธีทำ

  • ผัดพริกแกงกับน้ำมันพืชให้หอม
  • ใส่ข้าวที่หุงสุกแล้ว ลงไป ปรุงรสด้วย เกลือและซีอิ๊วขาว ปิดไฟ เติมใบมะกรูดซอย พักไว้ให้เย็น แล้วคลุกคีนวาที่หุงสุกแล้วลงไปด้วย
  • ปั้นข้าวให้เป็นก้อน คลุกในแป้งข้าวโพดบางๆ แล้วนำลงทอดในน้ำมันร้อนๆ จนเป็นสีเหลืองทองกรอบทั่ว ตักขึ้นใส่กระชอน หรือ วางบนกระดาษซับมัน
  • จัดแต่งลงจาน โดยวางส่วนผสมที่เหลือ ไปรอบๆข้าวทอด
  • ใส่น้ำยำ ไปในถ้วยเล็กๆต่างหาก ให้ผู้รับประทานคลุกเองที่โต๊ะ

 

food004

 

น้ำยำ

ส่วนผสม

  • ซีอิ๊วขาว
  • น้ำมะนาว
  • น้ำตาลปี๊บ
  • พริกป่น

วิธีทำ

  • ไม่ได้บอกจำนวนเพราะ น้ำยำนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบ้าน
  • ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ชิมรส และใส่ถ้วยเล็กๆ เสิร์ฟไปพร้อมกัน

 

ผลิตภัณฑ์คีนวามีจำหน่ายที่ www.passiondeliverly.com