เที่ยวชิลล์กันให้สุดใกล้ทะเลชิดหาด โอบรับบรรยากาศดูดีที่ My Beach Resort Phuket

หลังจากที่พวกเราใช้พลังใจไปกับการทำงานกันมาตลอดทั้งปี ทีนี้มันก็ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมประเพณีแบบรู้กันเองของเพื่อนๆ ชาวออฟฟิศที่ช่วงปลายปีแบบนี้ต้องรีบหาที่ไปเที่ยวเพื่อชาร์จแบตกันซักหน่อยแล้ว…อยากเที่ยว ไม่ต้องเดี๋ยว นัดแนะชวนเพื่อนให้พร้อม แล้วมาเที่ยวกับพวกเราค่ะ

My Beach Resort Phuket Aerial Shot My Beach Resort

My Beach Resort Phuket Press Trip Arrival Phuket

ทาง My Beach Resort Phuket ส่งทีมงานมาต้อนรับทีมสื่อมวลชนสายไลฟ์สไตล์ที่เพิ่งเดินทางมาถึง 

โดยทริปนี้สื่อมวลชนชั้นนำสายไลฟ์สไตล์ตั้งใจแพ็กกระเป๋าบินไปเที่ยวทะเลภูเก็ต ด้วยคำเชิญจากรีสอร์ทสุดหรูกลางใจเมืองภูเก็ตที่ชื่อ My Beach Resort Phuket นำทีมดูแลและบริหารงาน โดย คุณยูเรีย (Yulia Tribble-General Manager) ที่นี่ตั้งสวยโดดเด่นห่างจากทะเลอันดามันเพียงเล็กน้อย คืออยู่บนชายฝั่งตะวันออกที่มีความเงียบสงบของภูเก็ต หลีกหนีห่างไกลจากนานาความวุ่นวาย แต่ถ้าเกิดคุณๆ อยากชวนเพื่อนออกไปเดินเล่นท่องเที่ยวในตัวเมืองก็ใช้เวลาแค่เพียง 15 นาที แป๊บเดียวก็ถึงย่านเมืองเก่าภูเก็ตและแหล่งช้อปปิ้ง และใช้เวลา 45 นาทีไปสนามบินนานาชาติภูเก็ต ที่สำคัญฝากเขียนดาวร้อยดวงไว้ตรงนี้ มายบีชรีสอร์ทภูเก็ตยังได้รับคัดเลือกในคู่มือมิชลินไกด์ Thailand 2019 (The Michelin Guide 2019) สิ่งนี้เองที่ทำให้พวกเราในทริปทุกคนอยากจะบอกต่อและชวนเพื่อนๆ ให้บินมาพักผ่อนคลายกันให้สบายใจ เพราะพวกเราได้มาพักที่นี่แล้วรู้สึกชอบมากๆ ซะด้วยสิ…งั้น! เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟังกันดีกว่า ว่าที่ My Beach Resort Phuket มีบริการดีๆ อะไรมาให้คุณกันบ้าง พร้อมดูรูปกันไปเพลินๆ เพราะที่นี่สวยทุกมุม งานนี้ต้องถ่ายรูปอวดโซเชี่ยลให้โลกรู้สิคะ

My Beach Resort Phuket Exterior

My Beach Resort Phuket Lobby with Panoramic Sunset

My Beach Resort Phuket Miracle Lawn at Dusk

My Beach Resort Phuket Afternoon Tea 1

คุณยูเรียและเชฟเพิ่ม ให้การต้อนรับสื่อมวลชน พร้อมจัดเซ็ตน้ำชายามบ่ายที่มีทั้งของคาวของหวานไว้ทานคู่กับชากาแฟหอมกรุ่น

My Beach Resort Phuket Afternoon Tea 2

My Beach Resort Phuket Press Trip at Endless Summer Phuket

คุณยูเรียพาทีมสื่อมวลชนมาเที่ยวในตัวเมืองภูเก็ต เดินเล่นย่านเมืองเก่า แวะทานอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งที่ร้านอาหารวันจันทร์ และ  Endless Summer  

My Beach Resort Phuket Press Trip at Endless Summer Phuket 1

My Beach Resort Phuket Press Trip at Phuket

 

สถานที่พัก ห้องพัก:

ห้องพักของเราได้รับการออกแบบอย่างประณีตในธีมสีเอิร์ธโทนที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายสะดวกสบายด้วยพื้นที่กว้างขวางและการตกแต่งอย่างพิถีพิถันห้องพักบนเนินเขาทั้ง 82 ห้องมีความโดดเด่นและหลากหลายให้คุณเลือกสรรได้ตามความชอบส่วนตัวของคุณ อาทิ วิวทะเลภูเขาบรรยากาศที่ให้ความเป็นส่วนตัว หรือ ห้องพักริมสระที่สามารถเดินลงสระว่ายน้ำได้ทันที

My Beach Resort Phuket Deluxe Room

ดีลักซ์ (10) ผ่อนคลายไปกับห้องพักสไตล์เอิร์ทโทนขนาด 37 ตารางเมตรพร้อมระเบียงกว้างสำหรับการชมวิว

My Beach Resort Deluxe Poolview

ดีลักซ์พูลวิว (6) รื่นรมย์กับการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำพลางชมวิวริมสระน้ำจากห้องดีลักซ์พูลวิวขนาด 47 ตารางเมตรที่โอ่โถงและสะดวกสบาย

My Beach Resort Phuket Premier Seaview

พรีเมียร์ซีวิว (30) กินลมชมวิวทะเลจากระเบียงกว้างของห้องพักพรีเมียร์ซีวิวสุดหรู

My Beach Resort Phuket Premier Pool Access

พรีเมียร์พูลแอคเซส (12) จะนั่งหย่อนเท้าแช่น้ำชมวิวสระน้ำแล้วจิบเครื่องดื่มเย็นๆสบายอารมณ์หรือกระโดดลงสระว่ายน้ำโดยตรงจากระเบียงส่วนตัวของคุณก็สามารถทำได้ที่ห้องพรีเมียร์พูลแอคเซสขนาด 40 ตารางเมตรที่หรูหราและสะดวกสบาย

My Beach Resort Premier Seaview Studio

พรีเมียร์ซีวิวสตูดิโอ (12) รื่นนรมย์ไปกับทิวทัศน์ยามเช้าอันตระการตาของทะเลอันดามันจากอ่างอาบน้ำกลางแจ้งส่วนตัวในห้องพักแบบพรีเมียร์ ซีวิวสตูดิโอขนาด 46 ตารางเมตร

My Beach Resort Phuket Premier Beachfront

พรีเมียร์บีชฟร้อนท์ (6) ห้องพรีเมียร์บีชฟร้อนท์ขนาด 48 ตารางเมตรนี้ตั้งอยู่บนชั้นที่ให้ความเป็นส่วนตัวสามารถเดินไปยังชายหาดได้อย่างสะดวกสบาย

My Beach Resort Phuket Private Pool Beachfront

ไพรเวทพูลบีชฟร้อนท์ (6) ห้องพักสุดโรแมนติกขนาด 48 ตารางเมตรนี้อยู่ใกล้กับชายหาดที่สวยงามที่สุดและมีทางเดินตรงสู่สระว่ายน้ำจากเฉลียงส่วนตัว

 

สิ่งอำนวยความสะดวก:

My Beach Resort Phuket-My Bar

มายบาร์  รื่นรมย์ไปกับเครื่องดื่มเย็นๆพร้อมทัศนียภาพอันงดงามของทะเลอันดามันจากริมสระน้ำหรือบีชคาบาน่า

มายบอร์ดรูม ห้องสำหรับจัดประชุมหรือจัดเลี้ยงอาหารท่ามกลางทัศนียภาพที่สวยงามและแอร์เย็นฉํ่า

My Beach Resort Phuket-My Cafe

มายคาเฟ่  อิ่มอร่อยริมสระน้ำท่ามกลางสายลมและกลิ่นไอทะเล

มายฟิต ฟิตเนสที่ครบเครื่องไปด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายสุดทันสมัยและบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

My Beach Resort Phuket My Lounge

มายเล้าจน์ เพลิดเพลินกับ “สกายบาร์” และความสวยงามของอ่าวยนในมุมมองแบบ 270 องศา

มายพูล สระว่ายน้ำแบบ infinity pool จำนวน 2 แห่งพร้อมสระเด็กและลานอาบแดด

My Beach Resort Phuket Seafood Platter

My Beach Resort Phuket Drink 5

มาถึงในส่วนของอาหารและเครื่องดื่ม ที่ My Beach Resort Phuket ก็ถือได้ว่าจัดหนักจัดเต็มให้คุณได้อิ่มอร่อยกันทุกมื้อ รวมทั้งหน้าตาอาหารและเครื่องดื่มก็ดูดีชวนให้อยากชิมอยากดื่มทุกเมนูจริงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขอขอบคุณการดูแลและสร้างสรรค์ จาก  เชฟเพิ่ม-เพิ่มพร (Permporn Wilaipornsawai-Executive Chef) และ คุณเอื้อย-ประภาสิริ (Prapasiri Bunprasert-Food and Beverage Manager)

Chef Permporn Wilaipornsawai

My Beach Resort Phuket 3

My Beach Resort Phuket 4

My Beach Resort Phuket 2

My Beach Resort Phuket
105 ถนนอ่าวยนหมู่ 8 ตำบลวิชิตอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต 83000 ประเทศไทย
อีเมล์: info@mybeachphuket.com
เว็บไซต์: www.mybeachphuket.comเฟ
โทร: +66 (0)76 305 066 ถึง 69 แฟกซ์: +66 (0)76 305 064

 

ถ้าคุณอยากเที่ยวให้ได้ความทรงจำประทับใจจริงๆ ก็ต้องให้ร่างกายและหัวใจได้พักผ่อนอย่างดีที่สุดเช่นกันนะคะ

City Break Paris Part XL

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 40 (ตอนจบ)
Dinner in Paris (ต่อจากตอนที่แล้ว)
เท้าความกันนิดนึงครับเนื่องจากเป็นภาคต่อ สำหรับท่านที่ไม่ได้อ่านในตอนที่แล้วซึ่งผมได้พูดถึงร้านติดดาวมิชเชลินในปารีสของปี 2019 ทั้งหมด 9 ร้านซึ่งผ่านไปแล้ว 5 ร้าน เราก็จะพูดถึงร้านที่เหลือกันในวันนี้เลย

อย่างที่บอกเอาไว้ครับว่าหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหารที่ร้านอาหารระดับ 3 ดาวมิชเชลินคือการไปลอง Lunchtime Tasting Menu ครับ เพราะนอกจากจะได้อาหารจัดชุดโดยเชฟที่เราอย่างชิมฝีมือแล้วการจองก็จะไม่ยากเท่ามื้อค่ำ ที่ดีที่สุดก็คือราคาต่อหัวโดยเฉลี่ยนั้นจะถุกกว่ามื้อค่ำ 20-40% เลยทีเดียวขึ้นอยู่กับช่วงไหนเชฟจะแนะนำอาหารพิเศษแค่ไหน เรียกว่าอาหารกลางวัน เมนูระดับเริ่มต้นเหล่านี้จะช่วยเป็นจุดเริ่มต้นให้เรารู้จักและคุ้นเคยกับสุดยอดอาหารฝรั่งเศสระดับ 3 ดาวของมิชเชลินเป็นอย่างดี

พอดีผมไปเจอบทความที่เขียนโดย Food Blogger ที่ชื่อ Meg Zimbeck เขียนไว้ในหัวข้อ Report on Haute Cuisine ซึ่งได้ไปลองชิมมาทุกร้านแล้วก็เลยขอนำเรื่องราวน่าสนใจนี้มาแชร์ (credit : Parisbymouth.com & parisinsidersguide.com) เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกร้าน เพราะ Meg จะมีการสรุป เรื่องงบประมาณราคา,คุณภาพอาหารและบริการตลอดจนสิ่งที่เราจะได้สัมผัส ในแง่บรรยากาศประสบการณ์การที่ได้ไปกินที่ร้านนี้ ซึ่งน่าสนใจทีเดียว เรามาเริ่มจากร้านแรกที่ 6 กันเลย

6. Le Cinq เลอแซงก์ที่โรงแรม George V

City Break Paris Dinner In Paris Final 27

เป็นที่น่าสนใจที่จะทราบว่าผู้ตรวจสอบของมิชเชลินได้เพิกเฉยต่อบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างแย่ที่มีต่อร้าน Le Cinq เขียนลงหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกษ โดยนักวิจารณ์อาหารที่ชื่อ Jay Rayner ที่ได้มาลองแล้วบอกว่า “มื้อที่แย่ที่สุดที่เขาเคยทานมาในรอบ 18 ปี”

City Break Paris Dinner In Paris Final 2

ห้องอาหารสไตล์อาร์ตเดคโค Le Cinq เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1928 มันเคยถูกใช้เป็นสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการของนายพลไอเซนฮาวร์ในช่วงการปลดปล่อยปารีสให้เป็นอิสระในปี พ.ศ. 2487 เชฟ Christian Le Squer เข้าร่วมงานกับร้านอาหาร 2014 ด้วยความหวังว่าจะทำดาวดวงที่สามให้กับที่นี่ให้ได้ เหมือนกับที่เขาเคยทำสำเร็จให้กับร้าน Pavillon Ledoyen ในปี 2002 ซึ่งที่ร้าน Ledoyen ก็เก็บ Le Squer ไว้ไม่ยอมให้ไปอยู่ร้านไหนอีกจนปี 2014 และแล้วเขาก็ทำสำเร็จตามสัญญาโดยที่เขาทำให้ Le Cinq ซึ่งเป็นร้านระดับสองดาวได้ดาวดวงที่สามในคู่มือมิชลินปี 2016 นี่เอง

City Break Paris Dinner In Paris Final 13

Meg ชอบอาหารร้านนี้มาก คือให้คะแนนสูงๆได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ โดยเฉพาะ marinated sea scallops, sea urchin and coral crumble หอยเชลล์ทะเลหมักและเม่นทะเลโรยปะการังป่น ที่คร่อมเส้นแบ่งระหว่างความหวานและความเผ็ดด้วยรสชาติของนมสดและยีสต์หมัก ความแม่นยำและความสมดุลของ Le Squerนั้นยังคงรักษาไว้ในขณะที่การพยายามออกนอกกฎระเบียบนั้นเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง

City Break Paris Dinner In Paris Final 26

Le Cinq: onion gratin

City Break Paris Dinner In Paris Final 20

Le Cinq: Vegetarian Starter

City Break Paris Dinner In Paris Final 19

Le Cinq: dining room

Meg สรุปเกี่ยวกับ Le Cinqไว้ดังนี้
การบริการและประสบการณ์: ทุกแง่มุมของการบริการอย่างเป็นทางนั้นยอดเยี่ยม/รวมถึงการจับคู่ไวน์ที่แนะนำนั้นไม่มีที่ติ /จานมาถึงบนถาดเงินพร้อมฝาครอบเงินจะถูกยกออกพร้อมกันโดยบริกรในสูทดำ/ บรรยากาศการตกแต่งภายในของ ร้านอาหารระดับที่อยู่ใน TheFour Seasons นั้นหรูหราสมกับเป็นกลุ่มโรงแรมระดับนานาชาติ
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 145
•ตัวเลือกระหว่าง 2 ตัวเลือกสำหรับแต่ละคอร์สในเมนูอาหารกลางวัน

•ไวน์: การจับคู่อาหารที่แนะนำโดยร้านมีราคาอยู่ระหว่าง 21 – 26 ยูโรต่อแก้ว
•ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของมื้อกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 466
จุดเด่น: อาหารที่ทันสมัยและนวัตกรรมการบริการอย่างเป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่หรูหราคลาสสิก/ทางเลือกระหว่างคอร์สในเมนูอาหารกลางวัน
• สถานที่ตั้งและรายระเอียดเพิ่มเติม
Four Seasons Hotel George V, 31 Avenue George V
• 8th Arrondissement
Website…

 

7. Alléno Paris au PavillonLedoyen ปาวิญญอง เลอโดยง

City Break Paris Dinner In Paris Final 15

บางครั้งความมั่นคงอันยาวนานมันก็ถึงจุดเปลี่ยนแปลงแต่มันมักจะเป็นการเปลี่ยนแบบแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในวงการร้านอาหารระดับดาวมิชเชลินในปารีส ช่วงปี 2013 เชฟ YannickAlléno ยานนิคอัลโลโน่ มีอันต้องออกจาก Le Meurice(โรงแรมหรู 6 ดาวของปารีส)หลังจากอยู่มาในฐานะ Chef de Cuisine ที่นี่ยาวนานกว่าทศวรรษ Le Meuriceเลือก Alain Ducasse เป็นผู้สืบทอดเชฟ Yannick จากนั้นมีการแลกเปลี่ยนเชฟที่อื่นเกิดขึ้น ,ที่ ร้าน Ledoyen อันเป็นที่พำนักพักพิงอันยาวนานของเชฟ Christian Le Squer ก็เกิดจำเป็นต้องออกจาก Ledoyen และย้ายไปที่ Le Cinq และในที่สุดในการย้ายที่ทำให้ตกใจโลกอาหารของชาวปารีสก็คือ YannickAlléno ได้มากุมสายบังเหียนที่ PavillonLedoyen ร้านระดับตำนานที่เก่าแก่ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองที่มีมาตั้งแต่ปี 1792

City Break Paris Dinner In Paris Final 22

เชฟ Yannick Alléno ได้รับการฝึกฝนในห้องครัวที่ดีที่สุดของกรุงปารีสรวมถึง Hotel Royal Monceau, Hotel Sofitel Sèvres, ห้องอาหาร Drouantและที่ Les Muses ใน Hotel Scribe ที่ซึ่งเขาได้ทำดาวดวงแรกของร้านอาหารและได้รับดาวดวงที่สอง ในปี 2003, Alléno ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Chef de Cuisine ที่ Le Meurice ในเวลานั้นมีแค่ดาวมิชหนึ่งดวง แต่หนึ่งปีต่อมาดาวดวงที่สองได้รับรางวัลและในปี 2007 เลอมีร์ริซได้รับหนึ่งในสาม

City Break Paris Dinner In Paris Final 12

Meg บอกว่าเชฟยานนิคอัลเลนโน่ได้ต่อกรกับบรรดาเชฟคู่ต่อสู้ของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Allenoเน้นอัพเกรดอาหารชั้นสูงแบบดั้งเดิมโดยมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เขาคิดว่าเป็นจุดแข็งของอาหารฝรั่งเศส – นั่นคือซอส เขาใช้เทคนิคที่ทันสมัยกว่าเช่นความเข้มข้นของการแช่แข็งเพื่อขยายรสชาติและลดการพึ่งพาเนยและครีมอย่างหนัก แต่การแต่งเพลงยังคงเป็นภาษาฝรั่งเศสที่น่าจดจำ เขาเริ่มต้นของสควอช butternut ราดด้วยเมล็ดกรุบกรอบและมาพร้อมกับมูสขนมปังหมักเป็นจานที่ฉันจะไม่มีวันลืม

City Break Paris Dinner In Paris Final 21

City Break Paris Dinner In Paris Final 3

Ledoyen: interior

Meg สรุปเกี่ยวกับ Ledoyen ไว้ดังนี้
การบริการและประสบการณ์: ร้านอาหารที่เก่าแก่และเก่าแก่ที่สุด (1791) /บรรยากาศของร้านอาหารเหมือนได้นั่งกินอยู่ในบ้านต้นไม้ที่สง่างามพร้อมใบไม้ที่เผยให้เห็นผ่านผนังสามหน้าต่าง /บริการในห้องอาหารก็อบอุ่นและเป็นมืออาชีพ
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 128
•ไม่มีตัวเลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน
•ไวน์: การจับคู่กับอาหารที่แนะนำอยู่ระหว่าง€ 12-30 ต่อแก้ว
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 448
จุดเด่น: อาหารชั้นสูงของฝรั่งเศสแบบดั้งเดิม/ไม่มีตัวเลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/บริการที่เป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่หรูหราและคลาสสิก/ประวัติศาสตร์/พ่อครัวที่มีชื่อเสียง
• สถานที่ตั้งและรายระเอียดเพิ่มเติม
Carré des Champs-Élysées, 8 Avenue Dutuit
• 8th Arrondissement
Website…

 

8. Epicure atLe Bristol

City Break Paris Dinner In Paris Final 24

แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว คำว่า epicure นั้นหมายถึง …a person who takes particular pleasure in fine food and drink…
ร้านอาหาร Epicure ของ Chef Eric Frechonที่ Hotel Bristol เป็นสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากที่อยากได้ประสบการณ์ในการชิมร้านอาหารระดับ 3 ดาวครั้งแรกของเขาได้ไปลอง สัมผัสกับเมนูชิมที่ว่ากันว่าเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและจะคงอยู่ในหนึ่งในความทรงจำในระยะยาว
ความทรงจำนั้นจะเกี่ยวกับบริกรชายแต่งตัวดีหรือแต่งตัวดีอย่างเงียบๆ คึกคักเคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้องอันหรูหราเสิร์ฟขนมปังจากรถเข็นขนมปังพิเศษ เติมน้ำในแก้วคริสตัลและเสิร์ฟอาหารที่น่าสนใจพร้อมเพรียงกันไปที่โต๊ะ

City Break Paris Dinner In Paris Final 30

Meg บอกว่า Chef Éric Fréchon และร้านอาหาร Epicure ของเขา มีแฟนๆ เยอะมาก ดังนั้นเธอจึงคาดหวังว่าจะมีอะไรที่ทำให้เธอแปลกใจมากนัก

ประเภทอาหาร: มีศักยภาพมากมายที่นี่ แต่อาหารของ Fréchon เล่น มันplay safeปลอดภัยเกินไปสำหรับรสนิยมของเธอเล็กน้อย หอยเชลล์ทะเลดิบกับน้ำหอยนางรมและครีมแกงมะนาวไม่มีส่วนผสมของน้ำเกลือและมีเครื่องเทศน้อยมากคือหอยและครีม มันธรรมดาไปหน่อยขาดพลังใด ๆ ที่เชฟ Le Squer เคยนำเสนอบนจานที่เขาปรุงแต่งในแบบรสจัดจ้าน

City Break Paris Dinner In Paris Final 23

City Break Paris Dinner In Paris Final 25

City Break Paris Dinner In Paris Final 16

Meg สรุปเกี่ยวกับ Epicure ไว้ดังนี้
การบริการและประสบการณ์: นอกเหนือจากการจัดดอกไม้ที่สวยงามเธอพบห้องอาหารในโรงแรมหรูหราแห่งนี้ค่อนข้างล้าสมัยเกือบจะเป็นแบบต่างจังหวัดโดยเฉพาะการผสมผสานของผ้าม่านหนาเก้าอี้ลายสก๊อตและแก้วคริสตัล และในขณะที่เด็กๆอาจชอบผีเสื้อคริสตัลสีรุ้งที่ตกแต่งทุกโต๊ะ แต่มันก็เป็นทางเลือกที่แย่มากสำหรับร้านอาหาร /การบริการเป็นทางการพร้อมพนักงานที่มีความสามารถในการบริการจากรถเข็น
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 135
•ตัวเลือกระหว่าง 2 ตัวเลือกสำหรับแต่ละคอร์สบนเมนูอาหารกลางวัน
•ไวน์: การจับคู่กัอาหารที่แนะนำอยู่ระหว่าง 28-32 ยูโรต่อแก้ว
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 542
จุดเด่น: อาหารชั้นสูงฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมมีให้เลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/บริการที่เป็นทางการการตกแต่งภายในที่หรูหราคลาสสิก
• ที่ตั้งสถานที่และรายละเอียดเพิ่มเติม
112 Rue du Faubourg Saint-Honoré
• 8th Arrondissement
• Website…

 

9. Alain Ducasseที่ Plaza Athénée อาแรง ดูกาส์

City Break Paris Dinner In Paris Final 28

พ่อครัวซุปเปอร์สตาร์ของฝรั่งเศส ที่ไม่รู้ว่ามีวิธีจัดการอย่างไรแบบไหนในการหาและเก็บสะสมดาวมากมาย เขาบอกว่าเริ่มต้นด้วยการเลือกส่วนผสมที่ดีที่สุดและจ้างพนักงานที่ดีที่สุดและนักออกแบบที่ดีที่สุด ความหลงใหลล่าสุดของ Alain Ducasseคือไตรภาคีของปลาผักและธัญพืชซึ่งแปลว่ามุ่งเน้นไปที่สุขภาพแบบอาหารทะเลที่จับได้อย่างยั่งยืนผลิตผลเกษตรอินทรีย์และให้ความสำคัญของอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์น้อยมาก

City Break Paris Dinner In Paris Final 8

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเขามาเน้นเมนูที่เบากว่า, Ducasse ได้ปรับรูปลักษณ์และความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยการปรับปรุงใหม่ของร้านอาหารเกือบจะเหมือนกับเปลียนสไตล์การแต่งหน้า เน้นโคมไฟระย้าทองคำขนาดใหญ่และผ้าปูโต๊ะที่ขาวเหมือนแป้งที่เล่นล้อกับแสงไฟที่สาดผ่านคริสตัลที่เรียบง่ายตัดกับสีมืดๆของโต๊ะไม้โอ๊คขัดเงาเท่านั้น

City Break Paris Dinner In Paris Final 14

City Break Paris Dinner In Paris Final 5

Meg วิจารณ์ว่า ในขณะที่การหันความสนใจออกไปจากฟัวกราและคาเวียร์ ของบรรดาเชฟทั้งหลายโดยการออกแคมเปญอาหารประเภท”naturalité” ออกมาทำให้เธอมาเป็นแฟนตัวยงของArpègeและ Ledoyenร้านอาหารสองแห่งที่พยายามทำแบบเดียวกันและประสบความสำเร็จมาก อย่างไรก็ตาม แคมเปญ “naturalité” จาก Ducasseทำให้เธอ

City Break Paris Dinner In Paris Final 18

Meg สรุปเกี่ยวกับ Ducasse ไว้ดังนี้

การบริการและประสบการณ์: การตกแต่งด้วยโคมระย้าที่แยกชิ้นส่วนและฝักสีเงินเงารอบตัวเป็นเสน่ห์ หนึ่งในห้องรับประทานอาหารที่น่าประทับใจที่สุดที่ฉันมีความสุขกับการรับประทานอาหารบริการใจดี แต่ก็เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด เมื่อสั่งเมนูผักและปลาเราขอคำแนะนำเกี่ยวกับไวน์ขาวที่แตกต่างกันแต่ไม่ได้คำตอบแบบที่ควรได้จากหัวหน้าซอมเมอลิเอร์ การจับคู่ที่ตามมาคือบอร์โดซ์สีแดงสองแบบ – การจับคู่ที่ไม่ดีสำหรับปลาตรงข้ามกับที่เราร้องขอและมีราคาแพงกว่าที่อื่น นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของบริการสมัครเล่นที่ ADPA มีมากกว่านั้น แต่ฉันคิดว่าคุณเข้าใจ
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 380
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 1,084
•ไวน์: การจับคู่กับอาหารที่แนะนำโดยแก้วมีการจับคู่ที่ไม่ดีซ้ำซ้อนและมีราคาระหว่าง 30-38 ยูโร
จุดเด่น: อาหารประเภทปลาและผักมีให้เลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/บริการที่เป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่ทันสมัยงดงาม/ราคาแพงอย่างมาก

ที่ตั้งสถานที่และรายละเอียดเพิ่มเติม
Hotel Plaza Athénée, 25 Avenue Montaigne
• 8th Arrondissement
• Website…

ก็ผ่านไปแล้วนะครับสำหรับสุดยอดอาหารฝรั่งเศสร้านที่ติดดาว 3 ดวง ทั้ง 9 ร้าน รวมเป็นทั้งสิ้น 27ดวง แต่ก็อดที่จะพูดถึงอีกร้านไม่ได้นั่นคือร้าน L’Astrance ที่โด่งดังที่สุดเรื่องเมนูชิม มื้อกลางวันที่สุดคุ้ม เพราะร้านนี้เมื่อปี 2018 ก็ยังเป็นร้านในระดับมิชเชลิน 3ดาวอยู่ แต่ไม่รู้ว่าไปทำพลาดตรงไหนทั้งๆที่ตอนเป็น 3 ดาวนั้นก็ไม่ได้อยู่ปลายแถวเกือบจะเข้าTop5ด้วยซ้ำจากการจัดอันดับร้านแบบ Haut Cuisine ของMeg ผู้เป็น food Blogger คนเก่งของปารีสได้ลองชิมมาแล้วทุกร้านตามอันดับข้างล่างนี้

City Break Paris Dinner In Paris Final 17

 

L’Astranceตอนนี้ที่ 2 ดาว

L’Astranceลาสทร๊องซก็คือชื่อของดอกไม้พื้นเมืองจาก Auvergne เมืองบ้าเกิดของเชฟ Barbot

City Break Paris Dinner In Paris Final 10

City Break Paris Dinner In Paris Final 4

City Break Paris Dinner In Paris Final 29

เมื่อพ่อครัว Pascal Barbotและ maitre d ‘Christophe Rohat (ทั้งสองเคยเป็นเชฟของL’Arpège) ตัดสินใจเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ที่หรูหราในปี 2011 ผู้ที่หลงใหลในรสชาติอาหารจากฝีมือเชฟระดับท๊อป ต่างก็ร้องขอโต๊ะที่นี่ หลายปีต่อมาพวกเขายังคงได้รับการเคารพสักการะจากนักกินทั่วโลก มีแฟนคลับที่วนเวียนมาสั่ง
Tarte au foiegras, champignons และ agrumesฐานขนมกรุบกรอบราดด้วยชั้นของเห็ดกระดุมสีขาวบางๆ โรยด้วยความเอร็ดอร่อยของส้มและชั้นแอปเปิ้ลบาง ฟัวกราครีมฟูโรยด้วยเห็ดและผงพอร์ชินีแห้ง เรียบง่ายบริสุทธิ์ แต่ก็ซับซ้อน

City Break Paris Dinner In Paris Final 7

การเลือกเมนูของ Astranceคือความสูง (ความลึก?) ของมินิมัลลิสต์ด้วยเมนูชิมหลายคอร์สที่น่าแปลกใจเพียงสามเมนูเท่านั้น (หนึ่งในนั้นคือเมนูอาหารกลางวันเท่านั้น) เสิร์ฟพร้อมหรือไม่พร้อมไวน์ แต่ทุกคนแนะนำเมนู Astranceพร้อมไวน์ เนื่องจากมีเพียง 25 ที่นั่งในห้องอาหารสีเทาและมัสตาร์ดที่ทันสมัย ดังนั้นการจองจึงยากยิ่งต้อง วางแผนการจองล่วงหน้าหลายเดือน

City Break Paris Dinner In Paris Final 1

Meg บอกว่าร้านที่ฉันชอบมาเป็นประจำก็คือ Astrance นี่แหละส่วนใหญ่เป็นเพราะการบริการรวมถึงการจับคู่ไวน์ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฉันเคยได้รับ อาหารที่อร่อยอาจมีความทะเยอทะยานน้อยกว่าที่ฉันคาดไว้ แต่ราคาอาหารกลางวันทำให้ที่นี่เป็นข้อตกลงที่ดีที่สุดในเมือง Best deal in town!

ประเภทอาหาร: Pascal Barbotมักจะถูกจัดให้อยู่ในค่ายสมัยใหม่เช่นเดียวกับ Pierre Gagnaireแต่ฉันพบว่าอาหารเอเชียที่น่าสนใจของเขามีลักษณะเหมือนกันกับ William Ledeuilจาก Ze Kitchen Galerie ฉันไม่เคยกินหอยแมลงภู่หรือปลาที่ปรุงสุกอย่างสมบูรณ์แบบกว่าที่นี่ แต่การไว้ใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของ Barbotกับตะไคร้ใบโหระพาและมิ้นต์ไม่ต้องพูดถึงทาตร์เฟัวกราและเห็ดอมตะของเขา ฉันจะยังคงตื่นเต้นเสมอเมื่อได้กลับมา

City Break Paris Dinner In Paris Final 11

Astrance: interior

City Break Paris Dinner In Paris Final 6

Meg สรุปเกี่ยวกับ L’Astrance ไว้ดังนี้

การบริการและประสบการณ์: โต๊ะจำนวนน้อย/ได้รับการดูแลอย่างดีจากบริกรที่ร่าเริงต้อนรับและมีส่วนร่วม/นำโดย Christophe Rohat นี่คือห้องรับประทานอาหารที่ทันสมัยปราศจากถาดเงินและรถเข็นกลิ้งดังนั้นอย่าจอง Astranceหากคุณคาดหวังว่าจะได้แท่นสำหรับวางกระเป๋าถือของคุณ/ การจับคู่ไวน์ที่ประสบความสำเร็จและสนุกสนานที่สุดของร้านอาหารระดับสามดาวใด ๆ
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 70
•ไม่มีตัวเลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน
•ไวน์: เพิ่ม€ 50 ต่อคน (รวม€ 120) สำหรับการจับคู่กับแต่ละหลักสูตรรวมถึงแชมเปญหนึ่งแก้วบวกกับน้ำและกาแฟ
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 240
จุดเด่น: อาหารที่ทันสมัยและเป็นนวัตกรรมใหม่ให้บริการแบบสบาย ๆ มากขึ้น/การตกแต่งภายในที่เรียบง่ายทันสมัย/ไม่มีตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/การจับคู่ไวน์พิเศษราคาไม่แพง

ที่ตั้งสถานที่และรายละเอียดเพิ่มเติม

• 4 Rue Beethoven
• 16th Arrondissement
• Website…

 

City Break Paris Part XXXIX

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 39
Dinner in Paris (ต่อจากตอนที่แล้ว)
เมื่อตอนที่แล้วเราพูดถึงร้านอาหารติดดาวมิชลินในปารีส แบบที่เราสามารถไปกินได้โดยกระเป๋าไม่ฉีกคือมีราคาสมเหตุผลไม่ต่างกับร้านทั่วไปมากนักซึ่งจะเป็นเป็นร้านติดดาว มิชลิน 1-2 ดวงและในตอนนี้ซึ่งเป็นภาคต่อเราก็จะมาพูดถึงร้านที่ได้มิชลิน 3 ดาวทั้งหมดในปารีสสำหรับ ’ผู้ที่ไม่เกี่ยงราคาถ้าดีจริง’ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมีอยู่ด้วยกัน 10 ร้านแต่ในปี 2019นี้ประกาศผลล่าสุดเหลืออยู่เพียง 9 ร้านเท่านั้น เพราะร้านของ Chef Pascal Barbot ที่ชื่อว่า L’Astrance นั้นตกจากระดับ 3 ดาวลงไปเป็นระดับ 2 ดาวอย่างน่าประหลาดใจในปีนี้ แต่เรายังคงอดพูดถึงร้านนี้ไม่ได้อยู่ดีเอาเป็นว่าแนะนำทั้ง 10 ร้านไปเลย 2 ตอนจบครับ

Michelin Stars Restaurant In Paris 18

ร้านอาหารระดับ 3 ดาวของมิชลินในปารีส ทั้ง 9 ร้านนั้นต้องบอกว่าต้องใช้งบประมาณต่อมื้อสูงเอาเรื่องอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีรายได้ปานกลางแต่รสนิยมการกินสูงนั้นจะหมดสิทธิ์ซะทีเดียว ลูกค้าหลายคนที่เป็นผู้แสวงหาที่สุดของศิลปะการปรุงอาหารชั้นสูงของฝรั่งเศสแบบ Haute Cuisineนั้นก็ไม่ได้เป็นเศรษฐีแต่อย่างไรแค่เป็นนักกินพันธุ์แท้อยากได้ประสบการณ์ก็ได้ เช่นช่วงหลังร้านแบบนี้มีลูกค้าที่เป็น Food&Travel Blogger จากทั่วโลกก็เยอะอยู่

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหารที่ร้านอาหารระดับ 3 ดาวมิชลินคือการไปลอง Lunchtime Tasting Menu ครับ เพราะนอกจากจะได้อาหารจัดชุดโดยเชฟที่เราอย่างชิมฝีมือแล้ว การจองก็จะไม่ยากเท่ามื้อค่ำที่ดีที่สุดก็คือราคาต่อหัวโดยเฉลี่ยนั้นจะถูกกว่ามื้อค่ำ 20-40% เลยทีเดียวขึ้นอยู่กับช่วงไหนเชฟจะแนะนำอาหารพิเศษแค่ไหน เรียกว่าอาหารกลางวัน เมนูระดับเริ่มต้นเหล่านี้จะช่วยเป็นจุดเริ่มต้นให้เรารู้จักและคุ้นเคยกับสุดยอดอาหารฝรั่งเศสระดับ 3 ดาวของมิชลินเป็นอย่างดี

Michelin Stars Restaurant In Paris 9

พอดีผมไปเจอบทความที่เขียนโดย Food Blogger ที่ชื่อ Meg Zimbeck เขียนไว้ในหัวข้อ Report on Haute Cuisine ซึ่งได้ไปลองชิมมาทุกร้านแล้วก็เลยขอนำเรื่องราวน่าสนใจนี้มาแชร์ (credit : Parisbymouth.com & parisinsidersguide.com) เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกร้าน เพราะMeg จะมีการสรุป เรื่องงบประมาณราคา,คุณภาพอาหารและบริการตลอดจนสิ่งที่เราจะได้สัมผัส ในแง่บรรยากาศประสบการณ์การที่ได้ไปกินที่ร้านนี้ ซึ่งน่าสนใจทีเดียว เรามาเริ่มจากร้านแรกกันเลย

 

1. Pierre Gagnaire เพียร์กานแยร์

Michelin Stars Restaurant In Paris 26

Pierre Gagnaire: dining room

Pierre Gagnaire เริ่มอาชีพการทำอาหารเมื่ออายุได้ 14 ปีเขาได้รับรางวัลดาวมิชลิน 3 ดวงในปี 1993 แน่นอนว่าระดับPierre นั้นเขามีร้านอาหารอื่นๆ ในปารีสและทั่วโลก เช่น ลอนดอน ลาสเวกัส ฮ่องกง และโตเกียว Pierre ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักกินบ่อยครั้งที่ห้องรับประทานอาหารอันทันสมัยของเขา เนื่องจากเมนูและสูตรอาหารของเขาเปลี่ยนไปบ่อยครั้งและเป็นผู้นำเรื่องความสมัยใหม่ (Modern Cooking) หากนายธนาคารของคุณไม่ยอมให้คุณสั่งเมนูอาหารตามสั่งที่แพงสุดๆของร้าน ที่นี่ก็มี Tasting Menu เมนูชิมอาหารค่ำ, เมนูอาหารกลางวันราคาสมเหตุสมผลแต่เมนูทรัฟเฟิลสีดำราคาแพงก็ถือว่าคุ้มค่าหรือจะเริ่มต้นจากทาปาสเมนูที่เราจะได้อาหารเรียกน้ำย่อยจานเล็กหกถึงเจ็ดจานที่สร้างสรรค์อย่างดุเดือด ให้คุณได้สัมผัสถึงจิตวิญญาณของการต้อนรับในรูปแบบของ Pierre Gagnaire

Michelin Stars Restaurant In Paris 25

การปรุงอาหารของ Pierre Gagnaire นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นพ่อครัวระดับสามดาวที่ทันสมัยที่สุด แต่มันก็มักจะออกมายอดเยี่ยมอยู่กับร่องกับรอยมีความสม่ำเสมอ ความสนุกสนานของอาหารราวกับโดนฉีดด้วยอะดรีนาลีนเข็มใหญ่ที่กระตุ้นให้ประสบการณ์การกินที่นี่มันเร้าใจไม่เหมือนที่ไหน

Michelin Stars Restaurant In Paris 29

ประเภทอาหาร: อาหารจานโปรดที่ Meg ชอบก็คือหอยเชลล์ทะเลที่จับคู่กับกะเพราะปลา Caillette จากแค้วนเบรอตงสอดประสานกับมันสำปะหลัง Sunchoke ตามด้วยปลา Poularde ทีมีลักษณะคล้ายปลาทับทิมที่มาแบ่งเป็น 2 ซีกแล้วนำเสนอด้วยรูปแบบการปรุง 2 แบบไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าของหวานที่นี่ยอดเยี่ยมมากๆ

Michelin Stars Restaurant In Paris 14

Pierre Gagnaire: shrimp, onion, salsify

Michelin Stars Restaurant In Paris 22

ข้อสรุปของ Meg
การบริการและประสบการณ์ที่ได้รับ: ห้องรับประทานอาหารนั้นได้รับการตกแต่งในสไตล์ร่วมสมัยแต่อาจจะหรูหราน้อยกว่าร้าน 3 ดาวมิชลินร้านอื่นๆที่เป็นคู่แข่ง ที่น่าสังเกตุคือพนักงานเสิร์ฟนั้นดูไร้ความสุขเพราะไม่ค่อยยิ้มแย้มเท่าที่ควรแม้ว่าพวกเขาจะคอยเฝ้าสังเกตุคุณตลอดเวลาว่าคุณกำลังต้องการอะไร เช่นคุณแค่เกาจมูกก็จะมีบริกรวิ่งเข้ามาหาคุณแล้ว
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 160
•ไม่มีสามารถปรับเปลี่ยนตัวเลือกในรายหารเมนูอาหารกลางวันได้
•การจับคู่ไวน์: สามารถเลือก Wine Pairing ที่ทางร้านแนะนำในราคาอยู่ระหว่าง € 14-21 ต่อแก้ว
•ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของมื้อกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 486 (รวมเบ็ดดสร็จโดยประมาณ)
จุดเด่น: อาหารที่ทันสมัยและมีนวัตกรรม/การบริการที่เป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่เรียบง่าย/การจัดจานการตกแต่งจานที่น่าทึ่ง/ แต่ไม่มีตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวันจากเชฟผู้มีชื่อเสียง

ที่ตั้งและรายละเอียดร้านอยู่ข้างล่างนี้เลยครับ

Michelin Stars Restaurant In Paris 21

• Hotel Balzac, 6 Rue Balzac

• 8th Arrondissement

• Website…

 

2. Le PréCatelan เลอเพร่คัตทาลัน

บรรยากาศการกินที่นี่มันได้คะแนนมาตั้งแต่ตอนคุณนั่งรถผ่านสวนป่ากลางกรุงปารีสที่ชื่อบูโลนญ Bois de Boulogne แล้วคุณก็พบว่าตัวเองกำลังจะได้รับประทานอาหารใต้ต้นเกาลัดบนเฉลียงของ Napoleon III Pavilion ซึ่งสามารถมองเห็นสวนและสนามหญ้าที่ตกแต่งแบบ French Garden ที่ Le PréCatelan

Michelin Stars Restaurant In Paris 28

Le Pré Catalan: dining room

เชฟ Frederic Anton เฟรเดอริกแองทอนนำเวทมนตร์การทำอาหารมาสู่ร้านอาหารโดยได้รับ 3 ดาวในระยะเวลาอันสั้น Le PréCatelan เป็นร้านอาหารสำคัญของกลุ่ม Lenôtre (กลุ่มทำร้านอาหารและขนมจากนอร์มงดีและมีโรงเรียนสอนทำขนม/ขนมอบ) Frederic Anton มาร่วมกับกรุ๊ปเมื่อปี 1997 เมื่อร้านนี้มันมีดาวเพียงดวงเดียว Anton มาถึง Le Préหลังจากทำงานโดยตรงกับเชฟ Joël Robuchonที่ Jaminในร้านอาหารระดับ 3 ดาวของเขา

Michelin Stars Restaurant In Paris 16

เชฟ Frederic Anton

แม้ว่าคุณจะไม่อยากเลือกกินจากเมนูอาหารตามสั่ง(A la carte)sหลังจากเห็นราคาของมัน แต่คุณก็ยังสามารถมีความสุขกับเมนูอาหารกลางวันและได้ลิ้มลองความอร่อยที่ Chef Anton จัดให้ได้ เชฟคนนี้มีมีชื่อเสียงในเรื่อง Foie Gras กับ Port wineและหัวผักกาด สลัดปูกับเกรปฟรุ้ตพริกไทยอ่อนและรสชาติไทย ปลาห่อในสาหร่ายและไอศครีมเกาลัด

Michelin Stars Restaurant In Paris 23

Michelin Stars Restaurant In Paris 12
ข้อสรุปของ Meg
การบริการและประสบการณ์ที่ได้รับ:
บริการและประสบการณ์: เช่นเดียวกับที่ร้าน Ledoyen, L ‘Ambroisie และ Le Meurice ที่นี่ให้ความรู้สึกย้อนเวลากลับไปในอดีต บริการรถเข็นสำหรับแชมเปญและชีส ดูเหมือนร้านในอดีต ส่วนเสาหินอ่อนและโคมไฟระย้าก็เพิ่มความคลาสสิก ในส่วนการบริการก็ทำได้อย่างเป็นทางการและมีความสามารถสูง
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 110
•ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของมื้อกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 309
•ไวน์: การจับคู่ Wine Pairing กับอาหารที่แนะนำซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม € 40 ต่อคนนั้นยอดเยี่ยม
จุดเด่น: อาหารชั้นสูงของฝรั่งเศสแบบดั้งเดิม/มีตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/บริการที่เป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่หรูหราคลาสสิก

ที่ตั้งและรายละเอียดร้านอยู่ข้างล่างนี้เลยครับ

Michelin Stars Restaurant In Paris 3

Bois de Boulogne
• 16th Arrondissement
• Website…

 

3. Arpège

Chef Alain Passard

Michelin Stars Restaurant In Paris 15

หากคุณรู้สึกหิวและหากเงินไม่ใช่ปัญหา หลังจากเดินเล่นในพิพิธภัณฑ์ Rodin ที่อยู่ใกล้เคียงคุณอาจลองทานอาหารกลางวันที่ Arpège ได้เลย นั่นคือถ้าคุณควรวางแผนล่วงหน้าเพื่อทำการจอง ขอแนะนำ เมนูผักของ Chef Alain Passard ที่มุ่งเน้นไปที่ผลิตผลสดที่เก็บเกี่ยวได้โดยตรงจากสวนเกษตรอินทรีย์ของเขาเอง The Gardener’s Lunch เป็นเมนูอาหารระดับเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมหรือหากคุณรู้สึกเหนื่อยล้าต้องการเพิ่มกำลังวังชาด้วยโปรตีนซะหน่อย ก็ให้จองเมนูชิมที่ชื่อ Terre&Mer หรือ บกกับทะเล นั่นเอง (Surf&Turf)

เช่นเดียวกับพ่อครัวชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ Alain Passard เริ่มทำอาหารเมื่อเขาเป็นวัยรุ่น อาชีพการทำอาหารที่จริงจังของเขาเริ่มต้นในปี 1980 ที่ Ducd’Enghien (เป็นเหมือนลาสเวกัสของฝรั่งเศส) ซึ่งเขาได้ทำสูตรอาหารที่มีชื่อเสียงที่เขาเสิร์ฟมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น chaud-froidegg with maple and chives เขาเปิด Arpege ในปี 1986 และได้รับสามดาวในทศวรรษต่อมา พ่อครัวที่มีชื่อเสียงในระดับปรมาจารย์ในปารีส ดูได้จาก ผู้ที่ฝึกฝนภายใต้การดูแลของ Passard ได้แก่

ความเห็นของMeg ก็คือ ร้านอาหารระดับสามดาวร้านนี้ที่ เป็นสถานที่ที่คุณจะรักหรือเกลียด คือถ้าชอบก็ชอบมากๆก็ไม่ชอบไปเลย เพราะเชฟ Alain Passard มีลูกศิษย์ลูกหาเยอะและหลายคนขึ้นมาเป็นเชฟแนวหน้ากันหมดเช่นเดียวกับเขา เช่น David Toutain, Bertrand Grébaut ก็กำลังทำงานเวทมนตร์ที่คล้ายคลึงกันคือทำอาหารในสไตล์เดียวกันหรือซ้ำซ้อนกันแต่ในราคาเพียงที่ถูกกว่าพอสมควร ก่อนจอง Arpège ต้องถามตัวคุณเองว่า: คุณต้องการชิมฝีมือเชฟระดับปรมาจารย์คือ Passard เท่านั้น ใช่หรือไม่ หรือต้องการผักประดิษฐ์จากสวนผักที่เขาทุ่มเทให้มันออกมาวิเศษไม่เหมือนใคร

Michelin Stars Restaurant In Paris 27

Arpège: assorted vegetable amuses bouche

Michelin Stars Restaurant In Paris 11

Michelin Stars Restaurant In Paris 24

Arpège: baby boar with hibiscus, onion and turnip

Michelin Stars Restaurant In Paris 5

Arpège: dining room
• บริการ & ประสบการณ์: บริการน่ารัก /การต้อนรับที่ไม่ซับซ้อนและไม่เป็นทางการมากเกินไป /ชอบการจับคู่ไวน์ที่แนะนำจากซอมเมลิเย่ร์
• •ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: € 140
•ไม่มีตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน
•ไวน์: การจับคู่ที่แนะนำอยู่ระหว่าง € 14-28 ต่อแก้ว
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 517
จุดเด่น: อาหารที่ทำจากปลาและผัก/บริการแบบสบาย /การตกแต่งภายในที่เรียบง่ายทันสมัย/การตกแต่งจานที่งดงาม แต่ไม่มีทางเลือกในเมนูอาหารกลางวันจากเชฟผู้มีชื่อเสียง

ที่ตั้งและรายละเอียดร้านอยู่ข้างล่างนี้เลยครับ

84 Rue de Varenne
• 7th Arrondissement
• Website…

 

4. Guy Savoy

Michelin Stars Restaurant In Paris 7

Guy Savoy ผู้ซึ่งเป็นเชฟที่รักศิลปะและแฟชั่นกล่าวว่าร้านอาหารของเขา ซึ่ง ตกแต่งด้วยไม้แอฟริกาสีเข้ม และหนังสีเบจและภาพวาดสมัยใหม่ นั้นเป็นเหมือนโรงเตี๊ยมในศตวรรษที่ 21 ของเขา เขาอธิบายถึงสไตล์ของเขาว่า “สบาย ๆ ” และขยายความรู้สึกผ่อนคลายในห้องรับประทานอาหารของเขา ส่วนอาหารของเขาก็ตกอยู่ในระหว่างความหรูหราที่แท้จริงกับความเรียบง่ายแบบสุดๆ ตัวอย่างเช่นจานเด่นของเขา อาติโช๊คและซุปทรัฟเฟิลสีดำ

Michelin Stars Restaurant In Paris 31

หากคุณต้องการที่จะลองรับประทานอาหารที่ร้านอาหารระดับ 3 ดาวมิชลินแต่กลัว่าค่าใช้จ่ายจะสูงไปต้องมาที่นี่เลยครับเพราะ Guy Savoy เสนอเมนูอาหารกลางวันในราคาที่สมเหตุสมผล ทุกวันซึ่งรวมถึงสามคอร์สเมนูในราคาเพียง 130 ยูโรพร้อมไวน์ที่แก้วราคาเริ่มต้นที่ 10 ยูโร แต่ ข้อเสนอนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อคุณจองออนไลน์ หรือถ้าจะให้ดูเท่หน่อยก็ต้องจองเมนูColours, Textures and Flavours สี,ผิวและรสชาติ 12 คอร์ส ในราคาต่อหัวที่ €415 หรือประมาณ 15,000 กว่าบาทครับ
Megคิดว่ามันวิเศษมากที่ Guy Savoy มุ่งมั่นที่จะนำเสนอเมนูอาหารกลางวันที่ราคาถูกกว่าเพื่อดึงดูดผู้คนในวงกว้าง คำทักทายเบื้องต้นซึ่งถูกส่งมอบให้กับทุกโต๊ะโดยกล่องเล็กๆที่เขียนว่า “อาหารมื้อนี้ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาสองชั่วโมงกับสิบห้านาที”

Michelin Stars Restaurant In Paris 20

Guy Savoy: seafood

Michelin Stars Restaurant In Paris 2

Guy Savoy: showcase

Michelin Stars Restaurant In Paris 6

• บริการ & ประสบการณ์: บรรยากาศและสถานที่ก็อย่างที่Savoyบอกไว้เลย”ตกแต่งด้วยไม้แอฟริกาสีเข้ม และหนังสีเบจและภาพวาดสมัยใหม่ นั้นเป็นเหมือนโรงเตี๊ยมในศตวรรษที่ 21”/ บริการเป็นมืออาชีพและปรับให้เข้ากับความต้องการของนักทานที่มีประสบการณ์น้อยกับการรับประทานอาหารระดับสามดาว พวกเขาทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: €170 (รวมทั้งหมด)
•ไม่มีตัวเลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 340
•ไวน์: ห้าไวน์ที่แตกต่างกันรวมถึงแชมเปญเพื่อเริ่มต้นรวมอยู่ในเมนูฤดูใบไม้ร่วงของเรา (รวมถึงน้ำและกาแฟ)

Michelin Stars Restaurant In Paris 8

จุดเด่น: อาหารชั้นสูงของฝรั่งเศสแบบดั้งเดิม/ไม่มีตัวเลือกระหว่างตัวเลือกในเมนูอาหารกลางวัน/บริการที่เป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่เรียบง่ายทันสมัย/การจับคู่ไวน์/ราคาโดยรวมไม่แพงนัก

สถานที่ตั้งและรายละเอียด
Monnaie de Paris Museum, 11 Quai de Conti
• 6th Arrondissement
• Website…

 

5. L’Ambroisie ลัมโบรสซี

Michelin Stars Restaurant In Paris 19

Chef Bernard Pacaudหนึ่งในพ่อครัวที่สุขุมที่สุดของชุด Michelin ดำเนินการร้านอาหารที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในปารีส บางคนอาจโต้แย้งว่าเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุด ทันทีที่คุณมาถึงภายใต้ร้านที่สวยงามของสถานที่ในศตวรรษที่ 17 คุณจะได้สัมผัสกับความสง่างามของการตกแต่งภายในที่ได้รับอิทธิพลจากเวียนนา

Michelin Stars Restaurant In Paris 17

มีสองสิ่งที่ไม่ซ้ำกันเกี่ยวกับ l’Ambrosie ประการแรกเป็นร้านอาหารระดับสามดาวที่ดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดของปารีสโดยถือดาวตั้งแต่ปี 1988 อันดับที่สองเป็นร้านอาหารตามสั่งเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีเมนูรสชาติ (Tasting Menu)ราคาปานกลาง

Michelin Stars Restaurant In Paris 13

พ่อครัวและเจ้าของ Bernard Pacaud ตอนนี้อายุมากกว่า 70 ปีและดำเนินกิจการร้านอาหารกับดาเนียลภรรยาของเขากับมาติเยอลูกชายของพวกเขา พวกเขาเปิด l ‘Ambroisieในปี 1981 (ปีลูกชายของพวกเขาเกิด) บนฝั่งซ้าย ในปี 1986 พวกเขาย้ายไปยังตำแหน่งปัจจุบันบน Place des Vosges

Michelin Stars Restaurant In Paris 1

ร้านนี้ต้อนรับแขกระดับไหนนั้นเราคงไม่ต้องพูดถึง

Meg บอกว่าแม้ว่าฉันจะไม่สามารถกลับมาบ่อยๆ(เพราะราคาของที่นี่)ได้ ฉันก็มีความสุขมากที่ L’Ambroisie มีอยู่ ในขณะที่เพื่อนร่วมงานของเขาหลายคนกำลังเปลี่ยนโฟกัสไปที่ส่วนผสมที่เรียบง่ายกว่านี้เพื่อทำราคาให้ถูกลง แต่ Bernard Pacaud ก็ยังใช้ส่วนประกอบที่เป็นคาเวียร์อยู่ ยังคงเป็นต้นแบบของการหัวสูงของชนชั้นสูงได้อย่างสมบรูณ์แบบ ประเภทอาหารโดยเฉพาะอาหารแบบโอลคลาสสิกนี่ก็ใกล้เคียงกับความสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้ในฝรั่งเศส แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าอาหารตามสั่งที่นี่มีราคาแพงอย่างสุดๆ

Michelin Stars Restaurant In Paris 10

L’Ambroisie: porton

Michelin Stars Restaurant In Paris 30

L’Ambroisie: sea bass, artichoke, caviar

Michelin Stars Restaurant In Paris 4

L’Ambroisie: lobster, garlic,

การบริการและประสบการณ์: ห้องรับประทานอาหารที่นี่มีความสวยงามระดับขุนนางในย่านที่พำนักของชนชั้นสูงในถิ่นเดส์โวสเกส/ การบริการอาจไม่เป็นประชาธิปไตยนัก/ในทำนองเดียวกัน ซอมเมลิเออร์ของเราทำให้ไวน์อุ่นไปหน่อยตอนปลายมื้อ
•ราคาของเมนูอาหารกลางวัน: อาหารตามสั่งทั้งมื้อกลางวันและมื้อค่ำ ราคาเฉลี่ยการสั่งซื้อสามคอร์สต่อคนคือ 320 ยูโร
•ทางเลือกระหว่างห้า starters สิบหลักสูตรหลัก (main course)และสี่ของหวาน
•ไวน์: การจับคู่แบบเป็นแก้วไม่ค่อยมีตัวเลือกหาก คุณต้องการสั่งซื้อขวดที่นี่ ซอมเมอลิเย่ร์ได้แนะนำ 2011 PouillyFuisséSécret Mineral 2011 จาก Denis Jeandeauในราคา€ 130
•ราคารวมอาหารกลางวันสำหรับ 2 ท่านรวมถึงน้ำไวน์และกาแฟ: € 795
จุดเด่น: อาหารฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมชั้นสูงมีให้เลือกระหว่างตัวเลือกอาหารตามสั่ง แต่ไม่มีเมนูอาหารกลางวัน/บริการอย่างเป็นทางการ/การตกแต่งภายในที่หรูหราคลาสสิก/ราคาแพงอย่างมาก

สถานที่ตั้งและรายละเอียดเพิ่มเติม
9 Place des Vosges
• 4th Arrondissement
• Website…

(credit: Parisbymouth.com & parisinsidersguide.com)

 

โปรดติดตามเรื่องราวของอีก 5 ร้านที่เหลือในตอนหน้านะครับ

City Break Paris Part XXXVIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 38

Dinner in Paris (Restaurant ตอนที่ 1)
ประสบการณ์อาหารมื้อเย็นในปารีสเมื่อ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้แนะนำร้านอาหารในแบบ Brasserie บราสเซรี กันไปแล้ว ซึ่งมันเป็นอะไรที่ค่อนข้าง Traditional คงไว้ซึ่งจารีตประเพณีและการอนุรักษ์เก็บรักษาของดีในอดีตเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งร้านหรือรายการอาหารที่เป็นอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ มาคราวนี้อยากจะแนะนำร้านอาหารในแบบ Restaurant ซึ่งจริงๆแล้วคำว่า Restaurant นั้นก็มาจากภาษาฝรั่งเศสนั่นเอง พวก Bristro, Café หรือ Brasserie มันก็เป็นแขนงหนึ่งหรือ sub-set ของ Restaurant อีกต่อหนึ่งคือทุกแบบก็เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น แต่ในสมัยก่อนคำว่า Restaurant ในฝรั่งเศสจะหมายถึงร้านอาหารที่เป็นทางทางการที่สุดส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงแรม มีเมนูเล่มใหญ่พิมพ์อย่างดีไม่ใช่เขียนบนกระดานดำ, มี Wine List ให้เลือกเยอะจากทุกภูมิภาค ในขณะที่ Bristro อาจมีให้เลือกเฉพาะท้องที่ ในภัตราคารจะมีการจัดโต๊ะ เรียงมีดเรียงแก้วไวน์แดงขาวหรือน้ำแบบเฉพาะเจาะจง มีพนักงานเสิร์ฟแต่งเครื่องแบบดำขาว และผู้ไปใช้บริการก็ต้องมีมารยาทในการกินและการแต่งกาย คือต้อง observe พวกTable Etiquette และ Dress code แต่ยุคสมัยนี้มันเปลี่ยนไปแล้วไม่มีร้านไหนสนใจเรื่องมารยาทหรือการแต่งกายเท่าไร ขอให้เราเอาเงินไปจ่ายเยอะๆเป็นใช้ได้ การเลือก Restaurant สมัยนี้ก็เปลี่ยนไป เพราะจะต้องเน้นเรื่อง Social Media ด้วย จานต้องแต่งสวยร้านต้องมีดาวมิเชลลินมันถึงจะอินเทรนด์

เรารู้กันอยู่ว่าสถาบันมิชลินมันเป็นของฝรั่งเศสและรู้จักอาหารฝรั่งเศสดีที่สุด ทำหน้าที่ตัดสินคัดเลือกอาหารฝรั่งได้อย่างเป็นที่ยอมรับแพ่รหลาย(อาหารชาติอื่นยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร) แล้วปารีสก็เป็นเมืองหลวงที่ได้ดาวมิชลินมากกว่าทุกเมืองในยุโรป คือ 100ดวง (ปี2017) โดยเป็นร้านที่ได้ 3 ดาว ถึง 10 ร้าน ไหนๆเรามาถึงปารีสกันแล้วควรหาโอกาสลองร้านอาหารฝรั่งเศสติดดาวสักมื้อก็ไม่เลวนะครับ

ผมก็เลยจะขอแนะนำร้านอาหารติดดาวมิชลินในปารีสแบบ 2 ตอนจบ โดยตอนแรกจะเป็นร้านติดดาว (1-2 ดวง) ที่เราสามารถไปกินได้โดยกระเป๋าไม่ฉีก คือมีราคาสมเหตุผลไม่ต่างกับร้านทั่วไปมากนัก ส่วนตอนที่2 ผมจะแนะนำร้านที่สำหรับผู้ที่ไม่เกี่ยงราคาถ้าดีจริง ก็เลยจะแนะนำเฉพาะร้านที่ได้มิชลิน 3 ดาวในปารีสทั้ง 10 ร้าน
ที่มาของ มิชลินสตาร์เป็นอย่างไร คงไม่พูดถึงแล้วนะครับเพราะน่าจะเคยเขียนถึงไปแล้ว

 

ร้านอาหารติดดาว 8 ร้านในปารีสที่เราสามารถไปกินมื้อเย็นได้ในงบประมาณที่เหมาะสม

1.ร้าน LES FABLES DE LA FONTAINE เล ฟ๊าฟบ์ เดอลา ฟองตานน์
ร้านอาหาร, อาหารทะเล, ฝรั่งเศส, เมดิเตอเรเนียน, $$$

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 12

เชฟ David Bottreau ได้รับโอนร้าน Les Fables de la Fontaine มาจากเชฟ Christian Constant ในปี 2548 แล้ว Bottreau ก็ได้นำเชฟสาวดาวรุ่งที่ชื่อ Juliet Sedefdjian มาเป็นหัวหน้าพ่อครัว โดยมีสถาปนิกคือ Luis Aleluia รับผิดชอบออกแบบตกแต่งสถานที่แห่งนี้ให้เรียบง่ายจากวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ หินและเหล็กดัด
แล้วก็ตั้งใจเน้นเป็นรายการอาหารทะเลจากทางใต้ (French Riviera) ที่นำเสนอจานคลาสสิกในรูปแบบใหม่ โดยราคานั้นไม่ต่างกับร้านอาหารทั่วๆไปในปารีส คือ เมนูอาหารชุดกลางวันในวันธรรมดาเริ่มต้นจาก 28 ยูโร ส่วนมื้อเย็นจะเป็นเมนูที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นใช้ชื่อว่าเมนู Carte Blanche ราคาเริ่มต้นที่ 75 ยูโรคุ้มมากๆ

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 16

จานปลาที่ Les Fables de la Fontaine

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 18

จานเรียกน้ำย่อยหรือ ENTRÉES ที่ Les Fables de la Fontaine

 

2.Septime เซปติมม์
ร้านอาหารร่วมสมัย, ฝรั่งเศส, $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 25

Septime เป็นร้านอาหารที่น่าสนใจบนถนน Rue de Charonne ดังนั้นการได้รับยืนยันการจองโต๊ะที่นี่สำหรับมื้อเย็นถือเป็นเรื่องท้าทาย แต่มันเป็นความพยายามที่คุ้มค่าสำหรับประสบการณ์ที่ได้มากินที่นี่แน่นอน อาหารสมัยใหม่สดทันสมัยและนำเสนอได้ดี มีแต่รายการ Tasting Menu 4 steps หรือ 7 steps คือเหมือนเราไม่มีสิทธ์เลือก มันขึ้นอยู่กับเชฟที่นำเสนอและคัดเลือกรายการอาหารที่เหมาะกับวันนั้นเป็นแบบอาหารญี่ปุ่นสไตล์ โอมากาเสะ Omakase อาหารจานพิเศษของที่นี่คือประกอบด้วย raw venison with tarragon เนื้อกวางดิบกับใบเทอรากอน และ Kalamata olives, whiting with endives and orange butter,ปลาทรายแก้วกับมะกอกคาลามาต้า และผักชิโคริกับซอสเนยส้มส่วนของหวานก็พายมะตูมป่น quince and verbena crumble

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 2

Paris Cray ที่ Septime
City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 26

อาหารจานปลาที่ Septime

 

3. BENOIT เบนัวต์
ร้านสไตล์ Bistro, French, $$$

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 11

บิสโทรแท้ๆอายุกว่า100ปี ที่เชฟระดับโลก Alain Ducasse ได้มาเป็นเจ้าของ

มีประวัติมากมายที่ Benoit เพราะเป็นร้านเก่าแก่เปิดให้บริการมากว่า100 ปีแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2455 ถือเป็นร้านอาหารบิสโทรแบบคลาสสิกเพียงแห่งเดียวของกรุงปารีสที่ได้ดาว Michelin ครอบครัวตระกูล Petit เป็นเจ้าของมา 93 ปีแล้วจึงส่งต่อไปยังทีมงาน Alain Ducasse เชฟระดับโลกที่ได้ดาวเยอะแยะ ตั้งแต่ในปี 2005 บรรยากาศที่นี่อบอุ่นเสมอจากการตกแต่งภายในด้วยกำมะหยี่สีแดงกับขอบทองเหลืองเงาวับ สลับกับกระจกแกะสลักและคอลัมน์หินอ่อน เชฟ Alain Ducasse ตั้งใจที่จะนำเสนอจานคลาสสิกของอาหารฝรั่งเศสทั้งหมด ให้ท่านสามารถสั่งได้ที่นี่ เพราะเดี๋ยวนี้เชฟส่วนใหญ่ไปเน้นจานfusionกันหมด มาที่นี่เพื่อการดูมีรสนิยมในการเลือกร้าน ถ้าต้องการประหยัดก็ให้ลองเมนูอาหารกลางวัน 39 ยูโรที่ การันตีในรสชาติมีการปรุงอย่างรอบคอบ ต้องถือว่าข้อเสนอที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 8

จานเรียกน้ำย่อยที่เบนัวต์

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 6

จานปลาที่เบนัวต์

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 9

จานหลัก สเต็กกับเห็ดตามฤดู

 

4.LA TABLE D’EUGÈNE ลาต๊าบล์ดูจีนน์
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 21

ความสมดุลของจารีตประเพณีกับความทันสมัยที่ La Table d’Eugène ได้รับการยึดถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยChefชื่อ Geoffroy Maillard และ sous-chef François Vaudeschamps ทั้ง 2 ร่วมกันสร้างเมนูอาหารที่ซับซ้อน อีกทั้งมีการอัพเดทเมนูทุกสิบวันให้เป็นเมนูตามฤดูกาลโดยแท้ ที่นี่เน้นวัตถุดิบที่เป็นผักสมุนไพรและเนื้อสัตว์จากเครือข่ายผู้ผลิตรายย่อยไม่ใช่สั่งจากsupplierเจ้าใหญ่ เชฟที่นี่ อ้างว่า “การทำอาหารที่นี่ใช้จินตนาการมากกว่าสูตร” ให้ลองสั่งTasting Menu แบบเมนูชิมห้าคอร์ส ในราคา 89 ยูโร หรือถ้าเลือกที่แปดคอร์สไหว ก็ 120 ยูโร จัดไปครับ

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 14

อาหารและการตกแต่งจานที่ La Table d’Eugène

 

5.LA TABLE DU 11 ลาต๊าบลืดูอ๊งซ์

ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 17

La Table du 11 ซึ่งเป็นร้านอาหารที่พ่อครัวและคนกินมีความใกล้ชิดกัน เพราะที่นี่จัดห้องที่มีครัวแบบเปิดในบรรยากาศสบายๆ มีหัวหน้าพ่อครัวและเจ้าของคือ Jean-Baptiste Lavergne-Morazzani ได้รับรางวัล ดาวมิชลิน จากประสบการณ์อันยาวนานกว่าทศวรรษที่ทำงานภายใต้เชฟกอร์ดอนแรมเซย์ที่ร้าน Trianon Yannick Allénoที่โรงแรม Le Meurice และกับเชฟ Philippe Bélissent ที่Cobéa Lavergne-Morazzani เชฟได้มาเปิดกิจการที่เป็นอิสระเป็นเจ้าของด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกซึ่งมีทำเลอยู่ที่เมืองแวร์ซายย์ หากท่านมีโปรแกรมไปเที่ยวชมพระราชวังแวร์ซายอยู่แล้วห้ามพลาดการได้ไปลองชิมฝีมือเชฟ Jean-Baptiste

 

6.LA TRUFFIÈRE ลาทรูฟแฟร์

ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 15

La Truffière เพิ่งต้อนรับหัวหน้าพ่อครัวคนใหม่ Christophe Poard ไม่นานนี้ ก่อนที่เขาจะมาปารีสเขาเคยทำงานในห้องครัวที่มีชื่อเสียงของ Casino de Deauville ซึ่งเป็นร้านอาหาร Schwarzwald stube ที่มีดาวสามดาวในเมือง Antwerp ในประเทศเบลเยี่ยม และก่อนหน้านั้นที่ Château d’Hassonville เมือง Carlsbad Plaza สาธารณรัฐเช็ก นับตั้งแต่การมาถึงของเขาที่ La Truffière

เขาได้ทำsignature menu ของเขาเพิ่มชื่อเสียงเพิ่มให้กับร้านนี้ เหมาะมากสำหรับคนรักอาหารทะเล และจานชีส signature menu สามคอร์สของร้านนี้สามารถลิ้มลองได้เพียง 40 ยูโร ในมื้อกลางวัน

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 1

ภายในร้าน La Truffière

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 10

จานปลาที่ La Truffière

 

7.SATURNE ซัตตูเอิน
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 13

เชฟคู่หูที่อยู่เบื้องหลัง Saturne,ก็คือเชฟ Sven Chartier และเชฟ Ewen Le Moigne ดูมีความเรียบง่ายแต่มีคุณภาพเหนือที่ไหนๆ ผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้เป็นของตกแต่งทั้งหมดดูดีมีรสนิยมและมีเอกลักษณ์ยิ่งถ้าได้เห็นตัวเมนูของพวกเขาซึ่งสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่ดีที่สุดในสิ่งที่นำเสนอของวันนั้นๆ ร้านอาหารเป็นที่นิยมมากของกลุ่มนักธุรกิจ เมนูอาหารกลางวันแบบสามคอร์สที่ราคาอยู่ที่ 45 ยูโรถือว่ายอดเยี่ยมและต้องลองเมนูอาหารกลางวันแบบ Carte Blanche ในราคา 85 ยูโร หรือถ้าเราเน้นมื้ออาหารค่ำงบประมาณก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 4

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 5

บรรยากาศภายในร้านที่เรียบง่าย

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 24

ด้านหน้าร้านอาหาร Saturne, ปารีส

 

8.Garance การองซ์
ร้านอาหารฝรั่งเศส $ $ $

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 20

Garanc เป็นของเชฟใหญ่ Guillaume Iskandar และ sommelier ผู้รู้ผู้กำกับซื้อเข้าดูแลและแนะนำไวน์ ชื่อGuillaume Muller ซึ่งเคยทำงานร่วมกับceleb chefคือ Alain Passard ที่ร้านอาหาร l’Arpège ซึ่งเป็นร้านมิเชลลินสามดาวของเขาได้ตัดสินใจมาเปิดร้านGaranc แห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก Les Invalides พวกเขาได้ร่วมกันสร้างประสบการณ์การรับประทานอาหารที่เบ็ดเสร็จในเรื่องการออกแบบและรสชาติที่ต้องจดจำเมนูอาหารกลางวันที่นี่เริ่มต้นเพียง 42 ยูโรส่วนมื้อเย็นก็เพิ่มขึ้นไม่มาก

City Break in Paris Restaurant 1 Michelin Star 7

คุณภาพอาหารที่สัมผัสได้

 

เจอกันคราวหน้าจะเป็นตอนจบของ City Break Paris จะปิดท้ายด้วย การแนะนำสุดยอดร้านอาหารฝรั่งเศสในปารีสที่ได้ดาวมิชลิน 3 ดวงซึ่งทั้งหมดมี 10 ร้านด้วยกัน เข้าconcept “ไปทั้งทีต้องมีซักมื้อ” ชื่อจั่วหัวBlogใหม่ในเร็วๆนี้ของผม ที่สามารถใช้เป็นคู่มือการไปกินร้านอาหารในต่างประเทศแบบรู้จริง ไม่ใช่แนะนำแต่ชื่อร้านแล้วไม่รู้จะสั่งอะไร จองอย่างไร งบประมาณเท่าไรต่อมื้อ

City Break Paris Part XXXVII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 37

Dinner in Paris (Brasserie ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วพูดถึงที่มาของบราเซรี่และมีการแนะนำ Brasserie แบบแรกไปคือแบบที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ มาตอน 2 นี้จะแนะนำบราเซรีแบบสุดคลาสสิก 8 แห่งของกรุงปารีสที่มีการตกแต่งร้านตรงกับยุคที่บราเซรี่ถือกำเนิดมาก็คือยุคศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบ Art Deco และArt Nuevo ในสมัย Le Bell Époque ที่ปารีสรุ่งเรืองกว่าเมืองไหนๆในยุโรป

1. La Fermette Marbeuf อยู่แถว ถนนช็องเซลีเซ

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 2

La Fermette Marbeuf คือร้านอาหารในกรุงปารีสยุคปี 1900 ที่ห่างจากถนนหลักอย่าง Avenue George V และ Champs-Elysees เพียงไม่กี่ก้าว มันเป็นตัวแทนของร้านบราเซรี่ของยุค Belle Epoque ของศตวรรษที่ผ่านมาอย่างแท้จริง และเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วได้มีการค้นพบวัสดุตกแต่งของเดิมในยุคก่อนที่ถูกเก็บไว้ แทบจะเป็นเหมือนกับการค้นพบใหม่ของสุสานตุตันคาเมนเลยทีเดียว มันมีวัสดุ เช่น โมเสคยุคอาร์ตนูโว กระจกลายอาร์ตนูโวลวดลายดอกทานตะวัน ลายนกยูง แมลงปอ และผู้หญิงสวย ตลอดจนเสาเหล็กหล่อและเพดานแก้วที่สามารถนำมาตกแต่งใหม่ได้ทั้งหมด

พ่อครัว Gilbert Isaac ก็ยังคงยึดติดกับอาหารคลาสสิกแบบฝรั่งเศส เช่น เนื้อไก่ผสมตับอ่อนกับหอมผัดมัสตาร์ด ปลากระพงย่างทั้งตัวในโป๊ยกั๊กและ Baba Rhum และที่นี่ก็ยังคงเป็นฮอตสปอตสำหรับคนดังในฝรั่งเศสที่จะปรากฏตัวให้เห็นที่ร้านนี้อยู่เสมอ

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 3

Coq au vin ที่  La Fermette Marbeuf ในหม้อเหล็กหล่อยี่ห้อ STAUB จากแค้วน Alsace เช่นเดียวกับต้นฉบับของร้านแบบ  Brasserie

 

2. Chez Jenny ในย่าน Folie-Méricourt

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 4

บราเซรี่ที่มีเสน่ห์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แห่งนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 1930 แล้วก็เติบโตขึ้นมาต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการเป็นร้านอาหารที่โรเบิร์ตเจนนี่ ชาวสตราสบูร์กผู้ก่อตั้ง ได้ทุ่มเทตั้งใจพิสูจน์ฝีมือจน Chez Jenny นั้นไม่ต้องพิสูจน์อะไรอีกแล้ว มันติดลมบนแบบถ้าไม่มีการจองโต๊ะคงจะมีที่นั่งลำบาก ร้านตกแต่งด้วยประดับตกแต่งด้วยโทนสีแดงสว่างไสว ดูมีเสน่ห์แบบร้านโบราณที่มีความขลัง มาลองอาหารแบบอัลซาสที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 5

Choucroute Strasbourgeoise

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 6

Chez Jenny ยังคงให้บริการอาหาร Alsatian ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าที่ภักดีเสิร์ฟโดยพนักงานเสิร์ฟในชุดประจำถิ่นอัลซาส ต้องลองอาหารที่เป็นไส้กรอกอัลซาสกับมันฝรั่ง จานหลักก็ต้องหมูย่างคาราเมลกับน้ำผึ้งในกะหล่ำปลีดองที่ยอดเยี่ยมและตบท้ายด้วยพุดดิ้งลูกแพร์ตุ๋นกับ Sorbet ลูกแพร์ และ Eau de vie

 

3. Bofinger ย่านเลอมาเร่ส์

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 7

ประวัติร้านนี้เริ่มจากเจ้าของคนแรกที่ชื่อ Bofinger เดิมหนีออกจากบ้านของเขาที่ Alsace ในช่วงสงครามมาตั้งรกรากในปารีส แต่ร้านนี้ก็มีการเปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาคุณภาพที่ไร้ที่ติ

Bofinger ดึงดูดฝูงชนจำนวนมากมารับบรรยากาศแบบอาร์ตนูโวที่แท้จริงที่เป็นบรรยากาศของบราสเซอรี่แท้ๆ ในยุค Bell Époque มาที่นี่ควรนั่งชั้นล่างเพื่อบรรยากาศดีที่สุดในการรับประทานอาหาร และถ้าคุณสามารถขอให้นั่งในห้องอาหารหลักใต้โดมกระจกเพื่อประสบการณ์โรแมนติกอย่างแท้จริงก็จะถือว่าไม่เสียเที่ยว

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 8

การเลือกเมนูตามสั่งอาจเริ่มต้นด้วย Langoustine Terrine ตามด้วยปลาแซลมอนทาร์ทปรุงรสเข้มข้น และสเต็กปลา หรือตับของลูกวัวพร้อมกับแตงโมปรุงสุก อีกทางเลือกหนึ่งคือคุณอาจจะทานหอยนางรม ตามด้วยเนื้อสเต็กเนื้อแกะก็ได้ตามด้วย Cheese Plate ก่อนจบด้วยของหวาน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 9

 

4. La Coupole ย่าน Montparnasse

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 10

La Coupole ใน Montparnasse เป็นบราเซรี่ตกแต่งแบบอาร์ตเดคโคที่ได้รับการยกย่องอย่างไม่ธรรมดา ไม่ว่าในเรื่องความอร่อยของรสชาติอาหารและบรรยากาศในห้องอาหารอันกว้างขวางที่ได้รับการตกแต่งอย่างพิถีพิถัน ถือเป็นแถวหน้าของศิลปะย่าน Rive Gauche ที่บรรดาศิลปินอย่าง Picasso, Jean-Paul Sartre และ Simone de Beauvoir เคยพำนักอยู่และเคยป็นลูกค้าประจำที่นี่ ผู้คนมาที่นี่จากทั่วทุกมุมโลกเพื่อประทับใจกับความงดงามของมัน พื้นที่ทั้งหมด 1000 ตารางเมตรและมีเสาเกะกะอยู่ถึง 33 ต้น เปิดบริการตั้งแต่ปี 1927 แต่เหมือนว่ายิ่งเปิดนานยิ่งดัง อาจเป็นเพราะราคาไม่แพงมาก คุ้มค่าการมาเยือน

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 11

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 12

 

5. Brasserie Julien ย่าน Strasbourg-Saint-Denis

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 1

Brasserie Julien หนึ่งในร้านอาหารที่สวยที่สุดในปารีสที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แบบอาร์ตนูโว จากเส้นโค้งที่เต็มไปด้วยความรู้สึกของประตูไปยังกระจกแกะสลักอันงดงาม สีโทนอัญมณีสีเขียว ให้ความรู้สึกหนักแน่น มีผนังที่ทาสีอย่างพิถีพิถันตัดกับแถบไม้มะฮอกกานีและพื้นกระเบื้องโมเสคที่มีรายละเอียดแบบมหัศจรรย์ Brasserie Julien เป็นต้นแบบของการศึกษาศิลปในรูปแบบของปารีสแห่งยุค 1900

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 13

ร้านอาหารแห่งนี้เหมือนจะพานักกินให้ได้เดินทางสู่ความรุ่งเรืองของเมืองปารีสในอดีตในยุคแรกที่มีดนตรีแจ๊สและนักเขียนเฮมิงเวย์รวมทั้งนักวาดที่ชื่อปีกัสโซ ดู Brasserie Julien ได้สร้างรูปแบบอาหารที่หรูหราตามแบบฉบับของสไตล์และรสชาติของกรุงปารีสอย่างแท้จริง

 

6. ร้าน Brasserie Floderer หรือเมื่อก่อนนี้เรียกว่าBrasserie Flo, ย่าน Strasbourg-Saint-Denis

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 14

คุ้มค่ากับการค้นหา เหมือนกับคุณได้พบโลกที่ยังยืนนิ่งอยู่ Brasserie Flo เป็นแรงบันดาลใจจากเจ้าของที่เคยทำโรงเบียร์ในเขต Alsace เป็นเวลาหลายปีจึงมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างอาหารฝรั่งเศสและเยอรมันทำให้ร้านไดเนอร์สแห่งนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักกินและนักดื่ม

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 15

เมนูที่ทันสมัยของ Brasserie Flo เหมือนเป็นส่วนผสมนานาชาติที่ดีที่สุดจากการสร้างสรรค์อาหารที่คัดสรรมาอย่างดี ในช่วง Paris Fashion Week จะหาโต๊ะยากหน่อยเพราะผู้ที่เคยมาแล้วมักกลับมาซ้ำต่อเนื่อง ต้องลองสั่ง Foie gras และ Chateaubriand Steak ที่นี่

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 16

 

7. ร้าน Le Vaudeville

ร้านอาหาร อันงดงามแห่งนี้ถ้าได้ไปเยี่ยมก็จะเหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปในปี 1920 ที่กรุงปารีส ได้รับการออกแบบโดยทีมงานเดียวกันที่อยู่เบื้องหลังร้าน La Coupole (บราเซอรี่ที่เอ่ยถึงก่อนหน้า) ใช้แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์จากโรงละครเก่าที่อยู่ติดกัน สามารถดึงดูดคนในท้องถิ่นที่สนใจจานหอยนางรมสด, ซุปหอมหอมและสเต็กทาร์ตาร์อาจต่อด้วยเนื้อลูกวัวแม้สั่งเยอะก็ไม่ต้องกลัวว่าต่องจ่ายเยอะ เพราะราคาถือว่ารับได้ทีเดียว

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 17

 

8. ร้าน La Rotonde
ร้านอาหารที่ไม่มีวันตกต่ำราคาไม่แพงแต่หรูหราและอร่อยอย่างนี้ เป็นหนึ่งในร้านอาหาร Brasseries ที่ดีที่สุดในกรุงปารีส ตั้งอยู่ใกล้กับ Rue de la Gaite อยู่ในย่านธุรกิจมานานกว่าศตวรรษและตั้งอยู่ใกล้ย่าน Montparnasse อันทันสมัย ตกแต่งบุภายในด้วยกำมะหยี่สีทับทิมและอุปกรณ์ทองเหลืองเป็นสถานที่ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบสไตล์คลาสสิกแบบฝรั่งเศส เปิดให้บริการจนถึง 2 นาฬิกาของวันใหม่

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 18

City Break Paris Part 37 Dinner In Paris 19

รูปนี้เป็นรูปที่ช่างภาพหนังสือพิมพิ์ฝรั่งเศส ถ่ายภาพประธานาธิบดีมาครงไว้เมื่อครั้งมารับประธานอาหารที่ร้าน La Rotonde

Traveloka พาเที่ยว นอนฟิน กินฟรี ทริปนี้ที่ LALA MUKHA TENTED RESORT KHAO YAI

Traveloka (ทราเวลโลก้า) ผู้ให้บริการจองตั๋วเครื่องบินและที่พักออนไลน์ชั้นนำ (Online Travel Agency หรือ OTA) และยังเป็นอันดับหนึ่ง บริษัทด้านเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดในในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดกิจกรรม “Traveloka พาเที่ยว นอนฟิน กินฟรี ทริปนี้ที่ LALA MUKHA TENTED RESORT KHAO YAI” โดยได้พาสื่อมวลชนร่วมทริปเขาใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตใกล้กรุงเทพฯ ในช่วงกรีนซีซั่นนี้ พร้อมสัมผัสประสบการณ์นอนเต็นท์ซาฟารีแบบ Glamping เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ต้องการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ณ ลาลา มูก้า เต็นท์ รีสอร์ท เขาใหญ่ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการจัดทริปพาสื่อมวลชนไปเที่ยวเป็นครั้งแรกของ Traveloka

Traveloka Trip at Lalamukha 1

ซึ่งทริปดังกล่าวนี้ เราได้เริ่มออกเดินทางจากกรุงเทพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2018 ประมาณ 9 โมงเช้า มุ่งตรงสู่เขาใหญ่โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากทริปนี้เน้นเรื่องกิน ฟินเรื่องพักผ่อน ดังนั้นสถานที่แรกที่เราทำการเช็คอินคือร้านจันผา เขาใหญ่ ซึ่งเป็นร้านอาหารชื่อดังในเขาใหญ่ไม่ว่าใครได้มาเที่ยวไม่ควรพลาดที่จะแวะลิ้มรสชาติความอร่อยเด็ดขาด

Traveloka Trip at Lalamukha 13

Traveloka Trip at Lalamukha 5

Traveloka Trip at Lalamukha 3

Traveloka Trip at Lalamukha 2

Traveloka Trip at Lalamukha 14

Traveloka Trip at Lalamukha 4

หลังจากอิ่มท้องกันแล้วก็มุ่งตรงสู่ที่พักและเพื่อให้สื่อมวลชนทุกท่านได้พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติในรูปแบบประสบการณ์ที่แตกต่าง ที่พักจึงเป็นแบบ Glamping หรือที่พักแบบเต็นท์หรูติดแอร์ ณ ลาลา มูก้า เต็นท์ รีสอร์ท เขาใหญ่ที่ออกแบบในสไตล์โมเดิร์นผสานกลิ่นอายซาฟารีอย่างลงตัว โดยในห้องพักยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน นี่จึงเป็นที่พักอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการใกล้ชิดธรรมชาติและดื่มด่ำการพักผ่อนอย่างเต็มรูปแบบภายในเต็นท์หรูไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ ห้องพักของที่นี่จะแบ่งออกเป็น 3 โซน โดยเริ่มต้นจาก โซนอีโค ซาฟารี (EcoSafari Tents) ห้องพักเต็นท์แบบอีโค ห้องน้ำรวม, ดีลักซ์ ซาวานนา เต็นท์ (Deluxe Savanna Tents) ห้องพักเต็นท์ที่มีห้องน้ำในตัวเพื่อความเป็นส่วนตัว และลอท์ฟ ทรี เฮาส์ (Loft Tree House) บ้านต้นไม้ที่เหมาะสำหรับนักเดินทางแบบครอบครัว

Traveloka Trip at Lalamukha 16

คุณณัฐพล กาญจนะวรนันท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล ทราเวลโลก้า ประเทศไทย

คุณณัฐพล กาญจนะวรนันท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล ทราเวลโลก้า ประเทศไทย กล่าวว่า “ทราเวลโลก้า เป็นผู้ให้บริการจองตั๋วเครื่องบินและที่พักอันดับหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตลาดเพื่อให้บริการเพิ่มเติมอีก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้ใช้บริการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประมาณ 30 ล้านคน เรามองเห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร ที่มีผลโดยตรงต่อไลฟ์สไตล์โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ค้นหาตั๋วเครื่องบินและที่พักได้ง่ายๆ ทั้งทางเว็บไซด์ และแอปพลิเคชั่น เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้การเดินทางท่องเที่ยวง่ายขึ้น ให้คนใช้ชีวิตสะดวกขึ้น

Traveloka Trip at Lalamukha 24

Traveloka Trip at Lalamukha 8

Traveloka Trip at Lalamukha 7

และเพื่อเป็นการขอบคุณสื่อมวลชนที่ให้การตอบรับ Traveloka อย่างดีเสมอมา นอกจากทริปนี้ เราจะพาทุกท่านกินฟรี นอนฟินแล้ว ยังมีกิจกรรมให้สื่อมวลชนได้ร่วมสนุกพร้อมจับสลากเล่นเกมเพื่อชิงรางวัลต่างๆ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท อาทิ ตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพ-สิงคโปร์ จาก มาเลเซียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines) บัตรของขวัญแทนเงินสดจองตั๋วเครื่องบินและที่พักจาก Traveloka และของที่ระลึกอีกมากมายเช่นกัน

หลังจากได้รับฟังข้อมูลดีๆ จากทางผู้บริหารของทราเวลโลก้า จากนั้นสื่อมวลชนได้แยกย้ายกันไปพักผ่อน สูดกลิ่นอายธรรมชาติ เพื่อพร้อมกลับมาเจอกันอีกครั้งในช่วงหัวค่ำ มีปาร์ตี้และรับประทานอาหารกันอย่างสนุกสนาน

Traveloka Trip at Lalamukha 6

Traveloka Trip at Lalamukha 17

Traveloka Trip at Lalamukha 25

Traveloka Trip at Lalamukha 18

Traveloka Trip at Lalamukha 19

เช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนจะเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ พวกเราก็ได้แวะไปไปร้านกาแฟ  The Birder’s Lodge ได้ชื่อว่าเป็นร้านดังของที่นี่อีกด้วย

Traveloka Trip at Lalamukha 20

Traveloka Trip at Lalamukha 21

Traveloka Trip at Lalamukha 26

Traveloka Trip at Lalamukha 22

Traveloka Trip at Lalamukha 23

 

สามารถติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่
www.traveloka.com/th หรือ www.facebook.com/TravelokaTH
www.lalamukha.com หรือ www.fackbook.com/Lalamukha

City Break Paris Part XXXVI

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 36

Dinner in Paris (Brasserie ตอนที่ 1)
ผมได้เคยแนะนำเรื่องอาหารกลางวันในปารีสไปแล้วก่อนหน้านี้ เราได้รู้จักร้านอาหารแบบBistro และ Parisian Café ซึ่งก็เป็นเหมือน All Day Dining ตามหัวมุมถนนต่างๆกันไปแล้ว ในตอนนี้จะพูดถึงมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่เป็นจริงเป็นจังหรือค่อนข้างเป็นทางการหน่อย เพราะชาวปารีสใช้เวลาเฉลี่ยในการกินอาหารมื้อเย็นในภัตตาคาร ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว และเป็นวิถีของชาวฝรั่งเศสที่ถือว่าเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผมก็เลยขอแนะนำทางเลือกมื้อค่ำ ใน 2 รูปแบบ ก็คือถ้าอยากกินแบบหรูหราเป็นทางการหน่อยเราต้องไปร้านอาหารในแบบภัตตาคารที่อาจบริหารโดยเชพที่มีชื่อ Celebrity Chef ติดดาวมิเชลแลง แต่แบบนี้ในปัจจุบันก็หาไม่ยากไม่ว่าเมืองไหนก็มี ทีนี้ถ้าท่านชอบแบบสบายๆไม่ถึงกับformalมากและไปเมืองอื่นไม่ค่อยเจอนอกจากมาปารีสก็ต้องไปร้านแบบ Brasseries ซึ่งวันนี้เราจะแนะนำว่าที่มาของมันและบุคลิกรูปแบบของมันเป็นอย่างไร

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 1

Brasseries
ในช่วงปี 1870-71 ซึ่งเป็นช่วงปีที่หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1หรือ หลุยส์ นโปเลียน ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศสต่อจากการปกครองแบบกษัตริย์ในยุคสุดท้ายของราชวงศ์บูรบง คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป ซึ่งในช่วงนี้ฝรั่งเศสก็ทำสงครามอีกครั้งเป็นสงคราม Franco-Prussian War ซึ่งเป็นสงครามก่อนที่รัฐ Prussia จะถูกผนวกรวมเป็นประเทศเยอรมันเพราะตอนนั้นชนชาติเยอรมันประกอบด้วยแคว้นใหญ่ที่มีปรัสเซียและบาวาเรียเป็นหลัก และแคว้นเล็กแคว้นน้อยที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและออสเตรียเป็นส่วนใหญ่ การรวมชาติเยอรมันครั้งนั้นนำโดย บิสมาร์ค (Otto Von Bismarck) นายกรัฐมนตรีผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

บิสมาร์คสรุปว่าฝรั่งเศสและออสเตรียคืออุปสรรคในการรวมชาติเยอรมันจึงทำสงคราม Franco-Prussian War และได้ชัยชนะทำให้แคว้นอัลซาส-ลอเรนน์ Alsace และ Lorraine ของฝรั่งเศสตกไปเป็นของเยอรมัน (ก่อนจะกลับไปเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหลังจากเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1)

ช่วงนี้เองที่ชาวอัลซาส (หรือที่เรียกว่า Alsatians อัลเซเชี่ยน ซึ่งท่านที่เลี้ยงสุนัขจะรู้ดีว่าสุนัขพันธุ์ German Sheppard นั้นก็มีต้นกำเนิดมาจากอัลซาสเพราะมักเรียกว่าพันธุ์ อัลเซเชี่ยน) อพยพหนีเข้ามาอยู่ในปารีส และเนื่องจากชาวอัลซาสนั้นรับวัฒนธรรมเยอรมันมาเต็มๆ เพราะเขตนี้อยู่ติดพรมแดนเยอรมัน พอเข้ามาปารีสจึงมาเปิดร้านอาหารในแบบที่ขายไส้กรอกกับกระหล่ำปลีดอง ที่เยอรมันเรียกว่า Sauerkraut (ในฝรั่งเศสเรียกว่า Choucroute ชูครุท) เป็นหลัก และนำวัฒนธรรมการดื่มเบียร์เข้ามา ดังนั้น ร้านอาหารแบบชาวอัลซาสจึงเป็นเหมือน,ไมโครบริวเวอรี่ (Micro Brewery) คือมักมี Beer from tap หรือเบียร์สดขาย ซึ่งเรียกแบบฝรั่งเศสก็คือ Brasserie (บราสเซรี) นั่นเอง

บุคลิกรูปแบบของ Brasserie นั้นมันแตกต่างจาก Bistro ซึ่งมักเป็นร้านเล็กๆ แต่บราเซรี่ มันมักเป็นร้านขนาดใหญ่มีหลายโต๊ะ

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 2

แล้วมันก็ไม่เชิงเป็นโรงเบียร์ (Beer Hall) ที่มีบุคลิกแบบโรงเตี๊ยม Tavern ในสไตล์ยุโรปยุคกลางเหมือนของอังกฤษหรือเยอรมัน เพราะการตกแต่ง Brasseries นั้นมันดูหรูหรากว่ามาก แต่ลดทอนความโอ่อ่าฟุ่มเฟือยในสไตล์พระเจ้าหลุยส์ลงมา โดยผสมผสานความเป็นธรรมชาติ มีลวดลายเหล็กดัด ในแบบสถาปัตยกรรมยุค Art Nouveau ซึ่งเกิดในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ใกล้เคียงกับช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย 1870-1871 นั่นเอง บางร้านก็มีสไตล์ Art Deco ซึ่งก็เป็นสถาปัตยกรรมของยุคถัดมาก่อนเข้าช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และในช่วงว่างระหว่างสงครามปรัสเซียจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1นั้นเองที่ปารีสพุ่งขึ้นสู่ช่วงpeak หรือช่วงทอง Golden Era ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าช่วง La Belle Époque มีความเจริญด้านอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านบันเทิง หรือชิ้นงานศิลป์ ซึ่งผมเคยอธิบายไปก่อนหน้าในตอนก่อนๆนี้จึงไม่ขออธิบายซ้ำแต่เพียงจะบอกว่าหากท่านต้องการบรรยากาศย้อนยุคกลับไปในช่วง La Belle Époque นั้นก็นี่เลยครับ ให้เลือกไปกินอาหารเย็นสักมื้อที่ร้าน brasserie เก่าแก่ เดิมๆที่ยังมีเมนูพิเศษแบบดั่งเดิม เช่น เนื้อวัว Chateaubriand ในซอส Bearnaise หรือปลา Sole ในซอสMeunière ตบด้วย Rum Baba พร้อมกับครีมวานิลลาที่เสิร์ฟโดยพนักงานเสิร์ฟมือโปรในชุดดำขาว โดยมีค่าใช้จ่ายมาตรฐานในช่วงระหว่าง 18 ถึง 30 ยูโรสำหรับอาหารจานหลัก(Main Course) หรือถ้าเลือกเป็นชุดเมนูอาหาร 3 คอร์ส ก็ประมาณ 45-90 ยูโร ถือว่าราคาคุ้มค่าสำหรับประสบการณ์แบบปารีสแท้ๆ …ผมเลยจะขอแนะนำร้านดังต่อไปนี้

แบบแรกคือแบบ Brasserie ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ ต้องบอกว่าในยุคเริ่มต้นของร้านอาหารแบบนี้มันอยู่ในช่วงการเดินทางด้วยรถไฟกำลังเริ่มเฟื่องฟู (ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม)จึงไม่แปลกเลยที่จะมีการลงทุนทำร้านอาหารดีไว้ที่สถานีรถไฟ หรือใกล้ๆสถานีรถไฟต่างๆในปารีส เพื่อต้อนรับนักเดินทางที่มาถึงปารีสจากที่ต่างๆ หรือจะเก็บไปกินก่อนกลับก็แล้วแต่

ผมขอแนะนำร้าน Brasserie ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ สัก 3 แห่งที่เก่าแก่และมีชื่อมาถึงปัจจุบัน
Terminus Nord สถานีรถไฟเหนือ Gare du Nord (credit pic from: http://www.maksinwee.com)

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 3

Terminus Nord เปิดมาตั้งแต่ปี 1925 ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟด้านทิศเหนือ Gare du Nord ที่ใช้เดินทางไปอังกฤษ,เบลเยี่ยม,เนเธอร์แลนด์ มันเป็นเหมือนร้านต้นแบบของร้านอาหารแบบกรุงปารีส ยินดีเสมอที่จะต้อนรับผู้มาเยือน City of Light มหานครแห่งสีสันแห่งนี้ มีเพดานที่ตกแต่งยอดเยี่ยมด้วยโคมไฟระย้าสไตล์ Art Deco มีกระจกสีสันสดใสตกแต่งด้วยลาย Mucha ทำให้ Terminus Nord มีศิลปในแบบผสมกับ Art Nouveau ด้วยจึงมีเสน่ห์ดูยั่วยวน แบบปารีสแท้ ที่นี่มีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยชาวปารีสเองและผู้มาเยือนที่เป็นทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวมารวมตัวกัน เพื่อจะได้เพลิดเพลินไปกับเมนูในบราสเซอรี่แบบฝรั่งเศสแท้ๆ ที่ผสมผสานระหว่างอาหารสไตล์ปารีสแบบดั้งเดิมและในแบบที่เสิร์ฟในชนบทและสร้างสรรค์โดยพ่อครัว Pascal Boulogne

และแน่นอนว่าที่นี่มีไวน์ชั้นดีของแต่ภูมิภาคเพื่อให้รสอาหารมันถึงรสถึงชาติมากขึ้นไปอีก จึงขอแนะนำ Terminus Nord ที่ๆจะให้ประสบการณ์มื้อเย็นที่น่าจดจำสำหรับทุกคนที่มาเที่ยวกรุงปารีสแบบ ‘The Ultimate Parisian Experience’

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 4

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 5

Choucroute Garnie เมนูหลักที่เป็นอาหารอัลซาส Alsatian แท้ๆที่เหมือนอาหารเยอรมัน Sauerkraut กับไส้กรอกนั่นเอง แต่รสชาติของฝรั่งเศสนุ่มนวลกว่าเหมาะกับการตบด้วยไวน์ขาว เพราะของเยอรมันนั้นมักหนักไปทางเค็มซึ่งเหมาะกับการดื่มเบียร์

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 6

หอยเอสกาโกต์ หรือ Burgundy Snails หมักด้วยไวน์ Chablis

Le Train Bleu ที่สถานีลิยง Gare de Lyon
หากท่านจะมุ่งลงใต้ด้วยรถไฟแบบ Mr.Bean ที่จะลงไปเที่ยว Cote d’azur ชายฝั่งภาคใต้ของฝรั่งเศส ในภาพยนต์เรื่องMr. Bean’s Holiday (2007) ท่านก็น่าจะเผื่อเวลาเพื่อแวะกินร้านอาหาร ‘เลอแทรงน์เบลอ’ เช่นเดียวกันนะครับ

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 7

สำหรัประวัติของที่นี่ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อปารีสกำลังจะได้รับการจัดแสดงนิทรรศการสากลครั้งใหม่ในปี 1900 (พ.ศ. 2443) หลังจากที่สถานีรถไฟ Saint-Lazare สร้างเสร็จและเปิดไปในปีในปี 1889(พ.ศ.2432 ปีเดียวกับที่หอไอเฟลสร้างเสร็จและมีการจัดแสดงนิทรรศการสากลครั้งแรก) ก็ได้มีการเปิดตัวสถานีลิยง Gare de Lyon เพื่อรองรับการขยายธุรกิจของ บริษัท PLM กับเส้นทางเดินรถไฟใหม่ Paris Lyon Marseille ซึ่งดำเนินการสายของเครือข่ายตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โครงการนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นสถาปนิก Marius Toudoire ผู้สร้างหอระฆัง (Tower-tower) ขนาด 64 เมตรและอาคาร façade อนุสาวรีย์ของสถานี ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งหนึ่งของปารีสได้เลยทีเดียว

การบริหารจัดการของบริษัทรถไฟต้องจัดการเรื่องอาหารที่ดีเยี่ยมเป็นจุดขายของเส้นทางนี้ จำเป็นต้องมี Catering ที่มีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางที่เน้นความหรูหรา สะดวกสบาย โครงการร้านอาหารที่ชื่อบุฟเฟ่ต์ที่สถานีจึงเกิดขึ้นโดยสถาปนิกคนเดียวกัน

ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่สถานีด้รับการทำพิธีเปิดโดยประธานาธิบดีแห่ง สาธารณะรัฐ คือ Emile Loubet ในปี 1901

จนกระทั่งในปี1963 (ในปีพ. ศ. 2506) อัลเบิร์ตชัล wได้เปลี่ยนชื่อร้านบุฟเฟ่ต์เป็นร้าน “เลอรถไฟ Bleu” (รถไฟสีฟ้า) เพื่อเป็นตำนานของเส้นทาง« Paris-Vintimille »ซึ่งเป็นเส้นทางลงใต้ที่มีจุดหมายปลายทางเป็น Côte d’Azur

การแกะสลักการขึ้นรูป Moldings โคมไฟระย้าและภาพเฟรสโกครอบคลุมผนังทั้งหมดของร้านอาหารนั้นมีความประณีตประดิษฐไม่ต่างกับพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษที่ 1900 มีการใช้ศิลปินชาวฝรั่งเศสจำนวนยี่สิบเจ็ดคนที่ได้รับรางวัลประกวดงานศิลปที่กรุงโรม( Prix de Rome )ในช่วงนั้นมาช่วยกันทำ
มีภาพวาดบนผืนผ้าใบ41ภาพที่วาดโดยศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากชองยุคนั้นได้แก่ François Flameng, Henri Gervex, Gaston Casimir Saint-Pierre, René Billotte พวกเขาเน้นให้เห็นมุมมองของเมืองใหญ่และงานของบริษัทรถไฟ PLM ช่วง ศตวรรษที่ 20: Paris, Lyon, Marseille, Orange, Villefranche, Monaco, Nice, Saint-Honorat, the Mont-Blanc massif, etc.

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 8

ห้องอาหารที่ชื่อรถไฟสีฟ้าขบวนนี้ สวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณและม้านั่งไม้โอ๊กใหญ่ อบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบหรูคลาสสิกแบบฝรั่งเศส และแน่นอนว่าที่นี่เสิร์ฟอาหารฝรั่งเศสคลาสสิกด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า กุ้งก้ามกรามที่เสิร์ฟบนสลัดน้ำมันวอลนัท ที่แนะนำให้เป็น Starter

ตามด้วย Pistachio-studded saucisson de Lyon

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 10

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 11

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 12

นอกจากบรรยากาศเป็นที่น่ารื่นรมย์แล้ว ราคาอาหารและไวน์ก็มีราคาสมเหตุสมผลทีเดียว ไม่ควรพลาดชิมนะครับ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ร้านนี้มีแฟนประจำเป็น Celeb เช่น Coco Chanel, Salvador Dali และ Brigitte Bardot

ร้าน MOLLARD ที่อยู่แถวสถานีรถไฟ Saint-Lazare

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 13

ในประวัติศาสตร์ของปารีส เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1837 นับเป็นความสำเร็จของระบบรถไฟของฝรั่งเศส เพราะถือวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นด้วยการมีขบวนรถไฟแห่งแรกจาก สถานีรถไฟ Saint-Lazare ไปยัง Saint-Germain ย่านแซง – ลาซาร์ตอนนั้นยังเป็นย่านชานเมืองเกือบเป็นชนบท

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 14

ต่อมาย่านนี้ก็เจริญขึ้นเพราะในช่วง ค.ศ. 1862-1867 มีการก่อสร้างวิหาร Saint-Augustin โดย BALTARD จึงตามมาด้วยอาคารพาณิชย์และเกิดร้านอาหารที่ถือว่าเป็นเสมือน Brasserie แห่งแรกของกรุงปารีสที่มีชื่อว่าMOLLARD

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 15

ร้านสร้างในรูปแบบที่ทันสมัยมีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงามที่สุดของกรุงปารีส
ในปี ค. ศ.1896 นั้น MOLLARD สร้างเสร็จถือเป็นร้านอาหารที่เก๋ไก๋ที่สุดและเป็นจุดนัดพบของผู้ที่ต้องการความหรูหรา ถือเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทันสมัยที่สุดจากกรุงปารีส

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 16

จนถึงทุกวันนี้แม้ว่า MOLLARD จะดูเก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่มันก็ยังเปิดบริการให้ผู้มาเยือนที่ต้องการสัมผัสรสชาติ ของปารีสแท้ๆ และความขลังของประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของร้านที่มีอายุกว่า 180 ปีแห่งนี้ของปารีส

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 17

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 18

เมนูกุ้ง Lobster Termidor ของร้าน Moullard

City Break Paris Brasseries Dinner in Paris 19

เมนู Plateaux Royal หรือ ทะเลรวมมิตร

 

City Break Paris Part XXXV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 35

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 4 (Life in the court)

เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงตารางกิจกรรมสันทนาการยามบ่ายของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ซึ่งมักจะมีกิจกรรมในสวนแวร์ซายหรือถ้ามีการล่าสัตว์ก็บริเวณในป่ารอบๆแวร์ซาย จึงมีการพูดถึงการสร้างสวนแห่งนี้ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 Phases หรือ 4 ช่วง แต่พูดถึงช่วงแรกไปช่วงเดียวก็เลยไปพูดถึงเรื่องระบบสุขอนามัยของแวร์ซายเสียยืดยาวจึงต้องมาต่อเรื่องสวนและกิจกรรมของพระเจ้าหลุยส์ ช่วงหลังพระอาทิตย์ตกกันในวันนี้และถือเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายด้วยครับ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -2

กลับมาเรื่องสวนแวร์ซายในช่วงก่อสร้างเพิ่มครั้งที่สองจากปีคศ. 1664 – 1668 จะมีน้ำพุใหม่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกับการทำแปลง Bosquets ใหม่ “ด้วยขั้นตอนนี้ทำให้สวนแห่งนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการออกแบบภูมิประเทศแบบสมมาตร มีเอกลักษณะเป็น jardin à la française หรือ French Formal Garden อย่างแท้จริง มีน้ำพุ Grotte de Téthys (น้ำพุแห่งทะเลกรีก Thetis) และบ่อน้ำลาโตเน่ Bassin de Latone และ Bassin Apollon (น้ำพุเทพเจ้ากรีกพระเจ้าอพอลโล จะเห็นน้ำพุที่มีเทพอพอลโลและรถศึกของเขาโผล่ออกมาจากทะเล) ในวันเปิดใช้น้ำพุนั้นผู้ให้สัญญาณคำสั่งนกหวีดก็คือพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั่นเอง

City Break Paris Life in the Court Part 35 -3

สวน Versailles ช่วงที่สามหรือPHASE III นั้นอยู่ในช่วงปี 1680 – 1685 ได้เปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre มาเป็นการออกแบบของสถาปนิกคนใหม่ที่ชื่อ Jules Hardouin-Mansart! ซึ่งเขาได้ ปรับเปลี่ยนการออกแบบของ Le Nôtre โดยการขยายสนามหญ้าระหว่างน้ำพุไปจนถึงขนาดของปัจจุบันที่เราและเขาได้เพิ่มบ่อน้ำขนาดใหญ่แบบเหลี่ยมคู่ (เรียกว่าคลองแกรนด์ (Canal) และคลอง Petite (แนวนอน)) เพื่อเป็นตัวแทนของแม่น้ำใหญ่สองสายของประเทศฝรั่งเศส

City Break Paris Life in the Court Part 35 -4

ภาพบนเป็นระบบทดน้ำจากแม่น้ำเซนไปที่แวร์ซาย ซึ่งทำให้ระบบน้ำพุคูคลองในสวนแวร์ซายมีชีวิตชีวาอยู่ต่อเนื่อง แต่ไม่เห็นมีการพูดถึงระบบระบายน้ำเสีย

สวน Versailles ช่วงที่ 4 (PHASE IV) คือขั้นตอนสุดท้ายเกิดขึ้นช่วงปีค.ศ. 1704 – 1785. อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน วันที่ 1 ปี 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์จากโรคปากเท้าเปื่อยที่แวร์ซายส์ และในปี ค.ศ. 1722 หลุยส์ที่ 15 กลับมายังแวร์ซายส์ เขาไม่ได้ใช้เงินจำนวนมากในวังเช่นเดียวกับคุณปู่ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14) สวนจึงมีการเปลี่ยนแปลงแค่เล็กน้อย

โดยสรุป Gardens of Versailles ทั้งหมดมีต้นไม้ อย่างน้อย 200,000 ต้น หากนำมาวางเรียงเป็นทางยาวจะได้ถึง 81 กิโลเมตรของแถวต้นไม้ มีไม้ดอกที่ให้ดอกไม้ในช่วงอากาศอบอุ่นเฉลี่ยประมาณ 210,000 ดอกกระจายทั่ว parterres มีน้ำพุที่มีระบบพ่นน้ำกว่า 50 จุด ซึ่งไหลผ่านท่อน้ำยาวรวมกันวัดได้ 21 ไมล์ มีถนนยาวรวมกัน 12 ไมล์ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กว่า 1900 เอเคอร์ (4807ไร่)

เวลา 18.00 น. หรือ 19.00 น พิธีกินเลี้ยงหรือฉลองยามค่ำ

พระเจ้าหลุยส์ที่14 มักนิยมการจัดงานปาร์ตี้ให้มีความบันเทิงกลางแจ้ง เช่น งาน Evening Gatherings ในขณะเดียวกันท่านก็จะไปลงนามในหนังสือสำคัญมากมายที่เตรียมโดยเลขาธิการของที่บ้านในสวนของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรด ซึ่งเธอจะได้ทำการศึกษาเอกสารสำคัญเหล่านั้นไว้ก่อน เธอถือเป็นหนึ่งใน 4 เลขาธิการแห่งรัฐ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -5

ภาพบนเป็นภาพของ Mme de Maintenon มาดามแมงเตนอง พระราชสนมคนโปรดและเลขาธิการแห่งรัฐ โดยที่ภาพซ้ายนั้นเป็นภาพวาดสีน้ำมันจากตัวจริงแต่ภาพขวาคือดาราที่แสดงเป็นพระนางในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

City Break Paris Life in the Court Part 35 -6

อย่างไรก็ตามพระเจ้าหลุย์ที่14 ก็ยังมีสนมคนโปรดมากที่สุดอีกรายหนึ่ง ที่อาจไม่ได้ให้อำนาจรัฐแต่พระองค์ทรงมีลูกด้วยกับ Francois-Athenais ในภาพซ้ายที่วาดจากตัวจริงและภาพขวาก็คือดาราที่แสดงเป็น Francois ในซีรี่ส์เรื่อง”Versailles”

แม้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะแต่งงานกับสมเด็จพระราชินีมาเรีย – เทเรสในปี ค.ศ. 1660 แต่พระองค์ไม่ได้มีนางเพียงคนเดียว ดังนั้นเมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านพักมาดามแมงเตนองทุกๆเย็น มาดามก็เหมือนกลายเป็นภรรยาคนที่สองของท่าน (แม้ว่าการสมรสไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการหรือยอมรับ) ในขณะนั้นท่านอาจศึกษาแฟ้มเอกสารสำคัญกับ 1 ใน 4 เลขาธิการของรัฐ ท่านก็ได้รับความเพลิดเพลินไปกับการได้ใกล้ชิดกับของมาดามไปด้วย

เวลา 22.00 น. พิธีอาหารมื้อเย็นSupper Fit for a King
ฝูงชนรีบเข้าห้องรับแขกของพระเจ้าหลุยส์เพื่อมาร่วมรับประทานอาหารเย็นที่ Royal Table กษัตริย์เสด็จประทับที่เสวยกับสมาชิกในพระราชวงศ์ เมื่ออาหารเสร็จสิ้นแล้วพระมหากษัตริย์เดินข้ามห้องและเข้าร้านเพื่อทักทายผู้หญิงในศาล จากนั้นเขาก็เกษียณในตู้เพื่อสนทนากับครอบครัวและเพื่อนสนิทของเขาได้อย่างอิสระ

City Break Paris Life in the Court Part 35 -7

ในเวลา 4 ทุ่ม ฝูงชนจะเข้ามาจนเต็มห้องรับรองหรือ Antichambre ในบริเวณ Kings Suite เพื่อเป็นสักขีพยานในงานเสวยอาหารค่ำของกษัตริย์ พระราชาและพระราชินีจะเสด็จมาด้วยกัน อาหารค่ำแบบราชสำนักจะประกอบไปด้วยการเสิร์ฟจากอาหารจานเปลถึง 40 จานที่มักเสิร์ฟชุดละ 8 จานซึ่งสามารถนำจานไปใช้ซ้ำได้ 5 ครั้งในระหว่างมื้อ อาหารจะประกอบไปด้วยซุป, สลัด, เนื้อสัตว์, ผัก และของหวาน “อาหารทุกจานถูกลิ้มรสก่อนโดยคนรับใช้สนิท เพื่อตรวจสอบสารพิษ และใช้คนเสิร์ฟเป็นจำนวน 100 คน หากเป็นงานใหญ่ก็ถึง 1,000 คนที่ต้องเดินไปห้องครัวที่อยู่ไกลไปอีกอาคารหนึ่ง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะถูกแบ่งหน้าที่ออกไปเป็น “เจ้าหน้าที่พระโอษฐ” ทำหน้าที่ตักเสิร์ฟ, เจ้าหน้าที่ลำเลียงจานไปที่โต๊ะ และ “เจ้าหน้าที่กุณโฑ (officer of the goblet) ทำหน้าที่เทเครื่องดื่ม และยังมีเจ้าหน้าที่จัดจานอาหารวางผ้ากันเปื้อนและดูรูปแบบของโต๊ะให้ต้องมีสีของพระราชวงศ์ Bourbon: คือสีทอง สีแดง หรือสีเงิน แก้วก็ต้องทำด้วยคริสตัลเจียรแบบบาคาร่า ส่วนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ อย่างเช่น มีด ส้อม และเครื่องเทศปรุงรสจะถูกเก็บไว้ในกล่องพิเศษ แต่ถึงอย่างนั้นพระเจ้าหลุยส์นิยมทานอาหารด้วยมือแม้การใช้ส้อมกับมีดจะเริ่มใช้เป็นธรรมเนียมกันแล้วก็ตาม และเนื่องจากห้องครัวอยู่ห่างไกลจากห้องรับประทานอาหาร นั่นอาจทำให้อาหารเย็นชืดก่อนที่จะถูกเสิร์ฟ ดังนั้นพวกเขาก็เลยคิดค้นที่ครอบอาหารแบบระฆังเงินเพื่อใช้ครอบจาน (Silver Bell Food Covers) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็ที่แวร์ซายนี่แหละ เพื่อให้อาหารอุ่นจนถึงเวลาเสิร์ฟ ธรรมเนียมนี้เลยถูกใช้ต่อมาโดยเฉพาะกับร้านอาหารชั้นดี แล้วพอมีฝาครอบเงิน วัสดุอีกอย่างที่ทำตามกันมาก็คือส้อมหรือ forkนี่แหละครับ ก่อนหน้านั้นคนฝรั่งเศสใช้มีดกับมือเป็นหลัก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -8

ภาพบนและล่างเป็นบรรยากาศบนโต๊ะอาหารหากมีการจัด Grand Dinner ขึ้นที่แวร์ซาย

City Break Paris Life in the Court Part 35 -1

 

City Break Paris Life in the Court Part 35 -9

ภาพนี้จะเป็นบรรยากาศของยามพลบค่ำที่บริเวณสวนแวร์ซายที่ใช้จัดงานเฟสติวัลต่างๆ

 

ในโอกาสต่างๆ ที่พระราชวังแห่งนี้จะมีการจัดงานใหญ่ๆ (fêtes) ซึ่งมักใช้เวลาหลายวันหลายคืน มีแขกรับเชิญหลายร้อยคน โดยจะจัดในสวนแวร์ซายพวกแขกเหรื่อจะชื่นชมสวนหย่อมหรือไปที่โรงละครหรือเต้นรำ แน่นอนว่าต้องมีการแข่งกันในเรื่องเครื่องแต่งกาย ในตอนปิดฉากงานปาร์ตี้ก็จะมีการแสดงดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม

City Break Paris Life in the Court Part 35 -10

ในโอกาสพิเศษถ้าเป็นงานใหญ่พระราชาจะทรงตัดสินใจเองว่าใช้เมนูอาหารอะไร การแสดงจะเป็นแบบไหน หรือธีมของงานปาร์ตี้จะเป็นแบบไหน จะต้องแต่งกายอย่างไร เช่น ท่านจะมอบหมายให้มีการเตรียมรายการอาหารที่เป็น Menus-Plaisirs du Roi มีการตกแต่งจานที่สวยงาม ส่วนทางด้านงานแสดงพระองค์มักมีรูปแบบที่อิงตำนานเทพเจ้ากรีก เรื่องราวของอัศวินจากยุคกลางหรือบทกวีร่วมสมัย และใช้แกรนด์คาแนลเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณพระราชวังและถูกสร้างขึ้นตามคลองแห่งเวนิสคลอง Grand & Petite เป็นฉากและแกนหลักของงาน fêtes centered มีการจำลองย่อขนาดเรือที่มีจริงในกองทัพเรือฝรั่งเศส เพื่อจำลองสงครามทางน้ำ เพื่อความบันเทิงในคลอง มีแม้แต่เรือกอนโดลาเสมือนอยู่ในท่าเมืองเวนิสจริงๆ ในบทละครแบบโรแมนติก

City Break Paris Life in the Court Part 35 -11

ในช่วงหนึ่งของงาน fêtes du nuit พระเจ้าหลุยส์ก็อาจมีช่วงเวลาที่ท่านสามารถผ่อนคลายไปกับการสนทนากับคนรู้จักสนิท เหล่าสมาชิกของพระราชวงศ์ คณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่สนมคนโปรดได้บ้าง

เวลา 23.30 น. พิธีถวายพระพร ส่งพระเจ้าหลุยส์เข้านอน
พิธีกรรมสาธารณะนี้เรียกว่าคูชเช่ coucher หรือเข้านอนจะตรงข้ามกับพิธี Levée: ( Rising ) หรือตื่นขึ้นมา

City Break Paris Life in the Court Part 35 -12

กษัตริย์ของฝรั่งเศสจะถูกห้อมล้อมอย่างตลอดต่อเนื่องด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาอยู่ในที่พำนักของพระราชวงศ์และยึดมั่นในจรรยาบรรณ การปรากฏตัวในพิธีต่างๆ เหล่านี้ก็มักจะได้รับการตอบแทนด้วยเงินช่วยเหลือ ของขวัญ ที่พักในพระราชวังแวร์ซาย การเชิญไปงานเฉลิมฉลองและพิธีการอื่นๆ เป็นประจำ การได้เป็นคนยืนถือเทียนขณะที่พระองค์เปลื้องผ้าเปลี่ยนชุดเป็นชุดนอนนั้นถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

 

จบเรื่องแวร์ซายแล้วครับ สำหรับเรื่องราวของ City Break Paris ก็จะมาถึงเรื่องราวช่วงสุดท้าย นั่นคือ มื้อเย็น และกิจกรรมยามค่ำในปารีส ซึ่งก็จะเป็นประมาณ 4 ตอนจบเช่นกัน แล้วพบกันที่นี่ครับ

City Break Paris Part XXXIV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 34

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 3 (Life in the court)

เวลา 13.00 น. พิธีอาหารกลางวัน

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -2

โดยหลักการแล้วอาหารมื้อกลางวันนี้จะจัดให้พระองค์เสวยแบบส่วนตัว แต่ความเป็นส่วนตัวของพระองค์มักจะไม่มีอยู่แล้วเพราะผู้ติดตามทั้งหลายก็ใช้เวลานี้กราบทูลเรื่องต่างๆได้อยู่

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -3

หลังจากทรงงาน กษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปเสวยพระอาหารกลางวันของพระองค์ตอน 13.00 น. ในพระตำหนักส่วนพระองค์หรือห้องบรรทมพระองค์เองโดยนั่งที่โต๊ะที่หันหน้าไปทางหน้าต่าง โดยหลักการอาหารมื้อนี้จะเป็นแบบส่วนตัว แต่พระเจ้าหลุยส์ที่14 ก็ยอมรับรองแขกผู้ชายซึ่งได้อยู่ในพิธีตื่นจากเตียง (levée)ในตอนเช้า ให้ได้เข้ามาร่วมพระราชเลี้ยงอาหารกลางวันของพระองค์ด้วยก็เลยกลายเป็นพิธีมโหฬารที่มีผู้เข้าร่วมหลากหลายด้วยกัน

บุคคลที่มีเกียรติมากที่สุดจะมีสิทธิ์ที่จะมอบผ้าเช็ดมือให้กษัตริย์ เพื่อให้ท่านทรงเช็ดมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร จะมีสุภาพบุรุษ 6 คนทำหน้าที่เสิร์ฟพระกระยาหาร และพิธีการอันยืดเยื้อไร้ประโยชน์นี้ก็เป็นที่มาของการทำให้พระองค์ได้เสวยอาหารที่เย็นชืดนั่นเอง

ช่วงบ่ายเวลา 14.00 น พิธีสันทนาการ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -4

โดยปกติพระองค์จะประกาศโปรแกรมสำหรับช่วงบ่ายที่ตั้งใจจะทำในช่วงเช้าของวันนั้น (ในพิธีตื่นจากเตียง) ในทุกๆฤดูกาลพระเจ้าหลุยส์ชอบที่จะอยู่กลางแจ้งในที่โล่ง บ่ายวันรุ่งขึ้นท่านอาจจะไปล่าสัตว์ในป่ารอบๆแวร์ซายหรือเดินเล่นหรือขี่ม้าเล่นในสวนก็แล้วแต่ ในช่วงเวลาดังกล่าวพระองค์จะทรงผ่อนคลายและมีอารมณ์ที่ดี ดังนั้นพวกข้าราชบริพารก็ชอบที่จะมาห้อมล้อมพระองค์เผื่อได้รับความสนใจและได้รับความโปรดปรานจากท่าน สวนของแวร์ซายยังมีสวนสัตว์ (ménagerie) ที่เต็มไปด้วยสัตว์ เช่น ม้าลายและยีราฟ ที่ได้รับมอบมาจากประเทศในแอฟริกาและเอเชีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -1

พระราชาทรงมีกิจกรรมล่าสัตว์ถือเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของราชวงศ์บูร์บอง จะเกิดขึ้นบริเวณป่าทึบรอบแวร์ซาย โดยหัวหน้าหน่วยกองกำลังล่าสัตว์จะจัดให้เกมส์การล่า มีความบันเทิงไม่น่าเบื่อ ในระหว่างการล่าสัตว์กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 อนุญาตให้ผู้คุ้มกันท่านพกอาวุธและมีสิทธิ์ยิงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการล่าสัตว์ พระเจ้าหลุยส์ทรงโปรดปรานสุนัขล่าสัตว์ของท่านมาก ท่านมีสุนัขล่าสัตว์กว่า 100 ตัว และจำชื่อพวกมันได้ทั้งหมด เพราะล่าสัตว์บ่อยมากบนหลังม้า โดยความช่วยเหลือจากสุนัขของท่าน พระเจ้าหลุยส์จะไล่ล่าเป็นเวลาหลายชั่วโมงในช่วงบ่ายที่แวร์ซาย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -5

บางครั้งท่านก็ไล่ล่าไปกับสุนัขตัวเดียวเท่านั้นหากตัวอื่นตามไม่ทัน และในการล่าสัตว์ขุนนางหญิงจะติดตามการล่าสัตว์ในรถม้า เมื่อสิ้นวันพระเจ้าหลุยส์ที่14 จะเสนอรางวัลที่ดีที่สุด (เช่น กวาง) กับผู้หญิงที่ท่านโปรด

หากท่านตัดสินใจที่จะเดินเล่นก็จะเดินเท้าในสวนหรือนั่งรถม้ากับสุภาพสตรีคนโปรดในสำนัก ต้องยอมรับว่าบริเวณสวนของแวร์ซายนั้นมีภูมิทัศน์ในรูปแบบของการออกแบบสวนอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศส มีเอกลักษณ์ที่เป็นพิธีการและมีความเฉียบขาดเพื่อสะท้อนถึงอำนาจของกษัตริย์

แต่ก็ถึงตอนนี้ก็ต้องกล่าวถึงสวนและปัญหาซึ่งเป็นภาพในด้านลบของแวร์ซายสักเล็กน้อย สวนแวร์ซายถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1630 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 ได้ว่าจ้างสถาปนิกภูมิทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งยุค นายอังเดรเลอโนต์เพื่อออกแบบสวนพระราชวังภาคพื้นดิน ซึ่งในท้ายที่สุดมีถึง 4 ขั้นตอนของการก่อสร้างสวนกว่าจะจบลงก็ไปถึงยุคที่หลุยส์ที่16 ครองราชย์ สวนแห่งแวร์ซายส์ระยะที่ 1 ก็คือตอนระยะแรกของการก่อสร้างสวนเริ่มขึ้น

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -6

บริเวณ Orangerie ลานปลูกต้นส้มmandarin ที่มีสายพันธุ์จากเมืองจีน

ลำดับแรกของงานคือการปรับเปลี่ยนและจัดเรียงชุดไม้พุ่มที่มีอยู่ทั้งหมด (กลุ่มของต้นไม้ชนิดเดียวกัน) ในบริเวณ เมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้นเมื่อปีคศ.1664 ก็ต้องถือว่าเป็นสวนที่น่าประทับใจที่สุด โดยเฉพาะเมื่อ (สวน) Orangerie เสร็จสมบูรณ์ Orangerie เป็นสวนส้มที่มีมากกว่า 1,000 ต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ส้มจากเมืองจีนมีกลิ่นหอม ตอนหลังนำมาปลูกบริเวณรอบๆพระราชวังเพื่อดับกลิ่น เพราะก็เป็นที่รู้กันว่าแวร์ซายไม่มีห้องน้ำและห้องสุขาเวลาจะปลดทุกข์ไม่ว่าหนักหรือเบาก็จะมองหากระโถนที่อาจมีแอบหลบมุมอยู่ตามห้อง แต่กระโถนมักจะเต็ม ทำให้ผู้มาทีหลังก็จะอาศัยตามเหลือบมุมของอาคารในพระราชวังนั่นแหละ ส่วนคนใช้ที่ทำหน้าที่เทกระโถนก็มักง่าย จะใช้วิธีเปิดหน้าต่างและเทลงไปเลย เพราะเต็มตลอดเทกันไม่ทัน ลองคิดดูว่าอยู่กันหลายพันคนแต่ไม่มีห้องสุขาหรือห้องน้ำ ความคิดในการนำสวนส้มมาปลูกนั้นตอนแรกก็จะให้พวกผู้ติดตามแขกเหรื่อทั้งหลายมาปลดทุกข์กันในสวนส้มนอกวัง แต่เวลาอากาศหนาวมากๆหรือกลางวันแสกๆก็มักไม่มีใครลงมาประเจิดประเจ้อจึงใช้เหลือบมุมลึกลับต่างๆของพระราชวังนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -7

ว่ากันว่ากลิ่นที่แวร์ซายนั้นไม่ต่างกับการที่เราไปเข้าห้องส้วมสาธารณะตามชนบทของเมืองจีนเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วที่ไม่มีระบบสุขอนามัยหรือ hygiene ใดๆ

ที่มันควรต่างกันก็ตรงแวร์ซายนั้นเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่แต่กลับไม่ให้ความสำคัญด้านนี้ ทั้งที่ระบบระบายน้ำ Sewer หรือระบายของเสียนั้น โรมันทำมานานแล้วก่อนจะมีคริสต์ศาสนาด้วยซ้ำ(ก่อนสมัยแวร์ซายสร้างเสร็จตั้งกว่า1000 ปี) แม้อาจจะไม่ใช่ผู้ริเริ่มแต่โรมันคือผู้พัฒนาให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยโรมันนั้นสร้างห้องสุขารวม Communal Toilets แบบสาธารณะ(มักอยู่ไม่ไกลจากที่อาบน้ำสาธารณะแบบ Roman Bath) มีให้เห็นหลายๆแห่งที่เคยเป็นเมืองขึ้นของโรม เช่น รูปข้างล่างนี้พบที่เมืองโบราณในตุรกีที่ชื่อ Ephesus

42-64089355

แต่โรมันไม่ได้มีการพัฒนาห้องสุขาในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการใช้กระโถน Potty อยู่แล้วนำไปเททิ้งตอนเช้าที่ระบบระบายน้ำเสียของเมือง(ถ้าเป็นเมืองใหญ่แบบโรม) ต่อมายุคกลางก็เริ่มพัฒนาเป็นที่นั่งเท่ๆแต่ก็ซ่อนกระโถนไว้ด้านในอยู่ดี ไม่ได้ต่อกับระบบระบายน้ำที่ต้องมีการเดินท่อมากมายแบบสมัยนี้ ถ้าเป็นในวังที่นั่งก็จะออกแบบดีหน่อย เช่น ข้างล่างนี้เป็นอุปกรณ์ถ่ายทุกข์ที่อยู่ในแวร์ซายในยุคของพระนางมารีอังตัวเนตสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -9

แม้จะมีการประดิษฐโถส้วมชักโครกที่ต่อท่อระบายน้ำทิ้งในปี 1596 โดยนาย John Harington จากแคว้น Yorkshire ของอังกฤษที่จดสิทธิบัตรเอาไว้ ฝรั่งเศสที่ไม่ถูกกับอังกฤษอยู่แล้วก็ไม่ยอมรับ เพราะมีความเชื่อโบราณว่าถ้ามีการต่อท่อระบายของเสียลงไปในท่อน้ำทิ้ง Sewer นั้น จะมีสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท่อน้ำทิ้ง เช่น หนู งู โผล่ออกจากส้วมแบบนี้เข้ามาในบ้านได้ ความเชื่อเรื่องนี้ทำให้การพัฒนาเรื่องสุขานี้ช้ามาก เพราะกว่าจะสมบูรณ์แบบก็มาในปี 1852 โดยนาย George Jennings ซึ่งจดสิทธิบัตรไว้มีต้นแบบที่ใกล้เคียงของปัจจุบันนี้ พวกเราสมัยนี้โชคดีมากที่เกิดมาในยุคที่ระบบสุขอนามัยค่อนข้างสมบูรณ์แบบแล้ว

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -10

จริงๆแล้วผู้ที่เข้ามาอยู่ที่แวร์ซายจะได้รับคู่มือเรื่องสุขอนามัยให้ปฎิบัติตาม แต่ไม่มีใครสนใจเพราะมักง่ายและยึดเอาความสะดวกเข้าว่า

อย่างไรก็ตามแวร์ซายไม่ได้มีปัญหาแค่กลิ่นของเสียจากการขับถ่ายของผู้คนที่นั่นเท่านั้น แม้กลิ่นของเสียก็หนักแล้วยังมาเจอกลิ่นตัวอีกน่ะสิครับ เพราะข้าราชบริพารหรือ Courtiers ที่อยู่ใน Court ไม่อาบน้ำ ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการอาบน้ำอุ่นทำให้รูขุมขนเปิดกว้างและมีเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายได้ง่าย ยิ่งไม่นานก่อนหน้านั้นในยุโรปเจอปัญหาไข้กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดมาในประวัติศาสตร์ยุโรป เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้

ดังนั้นภาพสวยหรูของแวร์ซายในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่14 นั้นเป็นแบบ” สวยแต่รูปจูบไม่หอม” จริงๆ ดูรูปข้างล่างนี้ประกอบ

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -11

หรือรูปข้างล่างนี้โชว์ให้เห็นความแตกต่างของรูปตอนแอ๊ปกับรูปชีวิตจริง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -12

ภาพด้านบนและล่างคือเหตุการณ์เดียวกันคือสิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในแวร์ซายของบรรดาขุนนางทั้งหลาย ก็เหมือนตอนวางท่าให้ถ่ายรูป(สมันนั้นไม่มีกล้องต้องจ้างศิลปินวาดเอา) แต่สำหรับความเป็นจริงแล้วผู้เคยเข้าไปในแวร์ซายแล้วเล่าต่อๆกันมาบอกว่าในแวร์ซายนั้นเหม็นมากๆ(บรรยากาศจะเป็นแบบรูปล่างต่างหาก)ในช่วงยุคของหลุยส์ที่14 มาดีขึ้นก็ยุคของหลุยส์ที่15 ไปแล้ว ที่มีการลงทุนระบบน้ำเพื่อช่วยระบายของเสีย

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -13

กลายเป็นว่ายิ่งไม่อาบน้ำก็เกิดการนำน้ำหอมมาใช้กันดับกลิ่นเหม็น แล้วยังมีการนำแป้งและเครื่องสำอางมาใช้จะเห็นว่าจะมีการแต่งหน้าขาววอก ทาปากกับแก้มมีแดงสด แม้แต่ผู้ชายก็แต่งหน้า เพื่อกลบเกลื่อนโรคผิวหนังกลากเกลื้อนที่เกิดจากความสกปรกไม่อาบน้ำนั่นเอง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -14

พระเจ้าหลุยส์ที่14 เองท่านก็ไม่ใช่ผู้นิยมน้ำชำระล้างเช่นกัน มีเกร็ดประวัติศาสตร์ว่าตลอดรัชกาลพระวรกายของพระองค์ก็มีโอกาสสัมผัสน้ำไม่เกิน 3 หน แต่ท่านก็ทรงเป็นผู้นำแฟชั่นโดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงเพราะท่านมีพระวรกายที่ไม่สูง อีกทั้งพระเกศาร่วงหมดเมื่อพระชันษาแค่ 25 จึงมีแฟชั่นวิกผมเข้ามาอีกด้วย โดยวิกผมก็เป็นทรงสูงเพื่อเสริมบุคลิกที่พยายามใช้รองเท้าส้นสูงช่วยแล้วต่อหนึ่ง

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -15

ภาพบนเป็นรูปพ่อค้าขายน้ำหอมและเครื่องสำอางค์ในแวร์ซาย

โดยสรุปแวร์ซายส์นั้นไม่มีสุขอนามัยเอาซะเลยจนกระทั่งถึงยุคของมารีอังตัวเนตที่เป็นราชนีชาวออสเตรียจึงมีอ่างอาบน้ำในส่วนของ Queen Apartment เนื่องจากพระนางเป็นชาวออสเตรียซึ่งอาจชอบอาบน้ำมากกว่าไม่ใช้แนวคิดของฝรั่งเศส แต่ก็พบว่าพระนางทรงเครื่องสำอางและน้ำหอมแบบชาวฝรั่งเศสเช่นกัน

ดูจากภาพข้างล่างจะเป็นภาชนะใส่เครื่องสำอางและน้ำหอมของพระนาง

Versailles' dirty secrets - Toute L'Histoire [720p].mp4_001621240

ที่ใส่เครื่องประทินโฉม หรือเครื่องสำอาง ในสมัยของมาเรียอังตัวเนต ส่วนภาพล่างเป็นที่ไส่น้ำหอม

City Break Paris Lifein The Court Part 34 -16

แต่จุดที่ไม่ดีในเรื่องสุขอนามัยนี้ก็ถือเป็นการจุดประกายเริ่มต้นทำให้อุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางของฝรั่งเศสกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในทุกวันนี้ของประเทศ และถือได้ว่าเป็นของดีที่สุดในโลก ไม่น่าเชื่อว่าเคยมีบริษัทสบู่แห่งหนึ่งทำวิจัยออกมามีข้อสรุปว่าคนฝรั่งเศสคือผู้ใช้สบู่ต่อคนต่อก้อนเฉลี่ยนานที่สุดคือสบู่หมดช้าที่สุด จึงเป็นที่เชื่อว่าสิ่งที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาและการใช้น้ำหอมดับกลิ่นอาจทำให้ชาวฝรั่งเศสน่าจะมีการอาบน้ำน้อยครั้งกว่าชาติอื่น(วิจัยนี้ทำมานานแล้วปัจจุบันอาจมีผลที่เปลี่ยนไป)

 

ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของแวร์ซายครับ โปรดติดตามได้ที่นี่ต่อไป

City Break Paris Part XXXIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 33

‘พระราชวังแวร์ซาย’ (ต่อ)

ชีวิตในแวร์ซาย ตอน 2 (Life in the court)

City Break Paris Life in Versailles Part II -15

รูปข้างบนนี้มองออกจากพระราชวังไปจะเห็นอาคารโค้งรูปตัว U 2 อาคารซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นคอกม้าสำหรับม้า 2,500 ตัว ที่เก็บรถโค้ชเทียมม้าอีก 200 คัน และยังมีคอกหมาล่าสัตว์อีกเป็นพันตัว

ความหมายของคำว่า Life in the (royal)court ก็จะหมายถึงชีวิตของผู้เกี่ยวข้องกับพระราชวังแห่งนี้ทั้งหมดเพราะหลังจากวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1682 ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประกาศให้พระราชวังแวร์ซายส์เป็นที่ตั้งของรัฐบาลฝรั่งเศส “ในทางปฏิบัติระบบราชการทั้งมวลก็ต้องย้ายออกจากกรุงปารีสไปยังแวร์ซายชานเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระราชวังหรูหราแห่งนี้ Courtiers หรือผู้ติดตามทั้งหลายรวมๆ กันแล้วถึง 20,000 คนซึ่งประกอบด้วยทหาร 9,000 นาย, คนรับใช้ สนมกำนัล 5,000 คน ลอร์ดและสมาชิกขุนนางผู้ดีน้อยใหญ่ประมาณ 1,000 คน ที่อยู่ประจำและที่ไปๆ มาๆ อีกกว่า 1,000 ราย และสุดท้ายเป็นข้าราชการอีก 4-5,000 คนที่ต้องมาอยู่ใกล้ชิดที่นี่เพื่อจัดการงานราชการให้ลุล่วง การมาอยู่ในพระราชวังนั้นก็เพื่ออยู่ในสายตาของพระองค์และเรียกใช้งานได้ มีระเบียบว่าพวกเขาต้องสวมเสื้อผ้าใหม่ (มี dress code) สำหรับงานเลี้ยงของกษัตริย์ (fêtes) และโอกาสทางสังคมที่สำคัญอื่นๆ พวกเขาอาจขออนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้เป็นระยะ ๆ นอกเหนือจากคนแต่ละระดับแล้ว ยังมีม้าอีก 2,500 ตัว รถโค้ชเทียมม้าอีก 200 คัน และหมาล่าสัตว์อีก 5,000 ตัวที่อยู่รอบๆ พระราชวัง

และแน่นอนว่าชีวิตของผู้คนทั้งหมดรวมทั้งสัตว์เหล่านั้นจะมีกิจกรรมและหน้าที่ขึ้นอยู่กับตารางภารกิจประจำวันของพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งเมื่อครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงราชพิธีแรกของพระเจ้าหลุยส์ ที่14 ไปแล้ว นั่นคือพิธีการตื่นจากเตียง หรือ พิธี Levée: ( Rising ) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 8:00 น.ของทุกวันจนจบพิธีประมาณเกือบ10:00 น. คือเมื่อเสวยอาหารเช้าเสร็จ (อ่านรายละเอียดของพิธีได้ในบทความตอนที่แล้ว) วันนี้จะเริ่มพิธีต่อไปเลยดังนี้

10:00 น. พิธีการทางศาสนา
จะมีการตั้งขบวนขึ้นในห้องโถงกระจก Hall of Mirrors ที่ตรงทางออกของ King’s Apartments และพระมหากษัตริย์ก็จะจะนำขบวนข้าราชบริพารของพระองค์ผ่าน Hall of Mirrors และผ่าน State Apartments ไปยังโบสถ์หลวงเพื่อสวดมนต์ตอนเช้า ระหว่างทางเดินผู้ที่ได้มารวมตัวกัน 2 ข้างทางก็จะได้พบกษัตริย์ บางคนอาจกราบทูลสั้นๆ กับพระองค์หรือส่งใบคำร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษร

City Break Paris Life in Versailles Part II -13

ภาพบนจำลองเหตุการณ์ของกษัตริย์เสด็จผ่านห้องโถงกระจก

City Break Paris Life in Versailles Part II -3

มาถึงตรงนี้คงต้องขอพูดถึง Hall of Mirrors ห้องโถงกระจกที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่แวร์ซายนี้ออกแบบโดย Jules Hardouin-Mansart และการตกแต่งภายในเป็นหน้าที่ของ Charles Le Brun ในปี 1678 มีความยาว 73 เมตร มากกว่าครึ่งของสนามฟุตบอล และความสูง 12 ½ เมตร หรือเท่ากับสูงประมาณตึกสามชั้น มีหน้าต่างขนาดใหญ่และสูงแบบ French Window ที่มองไปยังสวนแวร์ซาย 17 บานแต่ละบานจะอยู่ตรงข้ามกับกระจกบานขนาดใหญ่ 17 บาน ที่สะท้อนแสงอาทิตย์อันอ่อนโยนดุจเรืองแสงจากพระเจ้าเข้ามาทุกๆ เช้า ห้องโถงกระจกประกอบด้วย: กระจก 357 บาน, ประตูกระจก 17 บาน โคมไฟระย้าขนาดใหญ่ 17 จุด โคมไฟระย้าขนาดเล็ก 26 จุด ผนังหินอ่อน เพดานฉาบปูนมีภาพที่เปรียบเสมือนสวรรค์มีขึ้นเพื่อเตือนผู้ที่ได้เห็นให้ตระหนักถึงสิทธิอันชอบธรรมของพระมหากษัตริย์และช่วงเวลาแห่งชีวิตอันรุ่งโรจน์ของสุริยะกษัตริย์หรือหลุยส์ที่ 14 ต้องบอกว่าช่างกระจกสุดยอดของโลกในตอนนั้นต้องเป็นช่างกระจกจากเมืองเวนิส ซึ่งถูกจ้างมาด้วยเงินที่มากโขอยู่ เพราะปกติช่างเวนิสจะไม่ยอมเปิดเผยความลับด้านวิชาการทำกระจกให้ใครเพราะมีโทษร้ายแรงมาก แต่เพราะความโลภนี่เองหลังจากทำงานที่แวร์ซายเสร็จก็ถูกทางการเวนิสส่งคนมาเก็บช่างคนนั้นเสียไม่ได้ใช้เงินอยู่ดี (มีเขียนอยู่ในเกร็ดประวัติศาสตร์)

City Break Paris Life in Versailles Part II -16

รูปของอามาเดอุส โวฟกัง โมสาร์ตเมื่อครั้งมาเล่นคอนเสิร์ตที่แวร์ซายตอนอายุเพียง 7 ขวบ รับพระราชทานจาก Marquise de Pompadour มาดามปอมปาดูพระสนมเอก ในรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15

ห้องโถงกระจกที่แวร์ซายเป็นที่ที่กษัตริย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ใช้รับรองบุคคลสำคัญ เช่น เอกอัครราชทูตและแต่ละสัปดาห์ อาจมีงานบอลสวมหน้ากากและคอนเสิร์ต เพลงแบบ Baroque Music ที่อาจเป็นวงเล็กแบบ trio หรือ Quartets ที่มีนักดนตรีชื่อดังเช่น Mozart จาก Salzburg ที่เคยถูกเชิญมาเล่นคอนเสิร์ตที่นี่ตอนอายุเพียงแค่ 7 ขวบ (แต่ตอนมาที่แวร์ซายคือปี 1763 ตรงกับยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15) งานที่จัดขึ้นที่นี่จะจำกัดจำนวนแขก ต้องเป็นข้าราชบริพารระดับสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมได้

City Break Paris Life in Versailles Part II -9

นักเปียโนชื่อดังของยุคปัจจุบันที่ชื่อแลงแลง Lang Lang ได้มีโอกาสไปเปิดคอนเสิร์ตตามคำเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศสโดยเขาได้บรรเลงเพลงของโมสาร์ตและโชแปง ซึ่งเป็นเพลงที่เคยถูกเล่นในแวร์ซายแห่งนี้

ห้องกระจกนี้ถือเป็นห้องประวัติศาสตร์ที่มีการลงนามทำสนธิสัญญาสำคัญมากมาย เช่นเมื่อครั้งจักรวรรดิเยอรมันได้ประกาศรวมเป็นประเทศในปี 1871 และสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งลงนามสงบศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งลงก็ในห้องนี้

City Break Paris Life in Versailles Part II -8

โบสถ์หลวง Royal Chapel มองจากด้านนอกอาคาร

จากนั้นพระองค์ก็จะเดินไปยังที่สุดทางเดินซึ่งจะเป็นโบสถ์หลวง Royal Chapel ซึ่งพระองค์จะเข้าร่วมพิธีมิสซาตอนช่วง 10:30 น. กษัตริย์และพระราชวงศ์เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ใช้พื้นที่ชั้นสองของโบสถ์ ผู้ติดตามส่วนที่เหลือจะต้องใช้พื้นที่ชั้นล่าง

City Break Paris Life in Versailles Part II -17

โบสถ์หลวง Royal Chapel ภายในอาคารชั้นล่าง สำหรับข้าราชบริพาร

พีธีสวดรับศีล(mass) ซึ่งกินเวลานานครึ่งชั่วโมง จะมีคณะนักร้องประสานเสียงร้องเพลงแบบ Chapel Music ที่แต่งขึ้นโดยนักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศสอย่าง Lully & Lalande ซึ่งถือว่ามีชื่อเสียงของยุโรปมักจะร้องเพลงใหม่ๆ ถวายอยู่เสมอ

City Break Paris Life in Versailles Part II -5

การแสดงคอนเสิร์ต เพลงแบบ  Baroque Music ใน Royal Chapel ที่แวร์ซาย
City Break Paris Life in Versailles Part II -6

โบสถ์หลวง Royal Chapel ภายในอาคารชั้น 2 สำหรับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

มาตรงนี้ต้องขอพูดถึงโบสถ์ของแวร์ซายสักหน่อย โบสถ์หลวงแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนักบุญเซนต์หลุยส์บรรพบุรุษและนักบุญอุปถัมภ์ของพระราชวงศ์ฝรั่งเศส สร้างเสร็จในปีพ. ศ. 1710 ถือเป็นอาคารสุดท้ายที่สร้างขึ้นในแวร์ซายภายใต้การปกครองของหลุยส์ที่ 14 และที่โบสถ์แห่งนี้นี่เองที่ใช้ทำพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระนางมารีอังตัวเนตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งถือเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ใช้แวร์ซายเป็นที่ประทับอีกด้วย

City Break Paris Life in Versailles Part II -12

ภาพเหตุการณ์วันอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนต จัดที่โบสถ์หลวง Royal Chapel ส่วนภาพล่างเป็นภาพจากภาพยนตร์ที่จำลองเหตุการณ์วันสำคัญดังกล่าว

City Break Paris Life in Versailles Part II -4

 

11:00 น. พิธีการทรงงานหรือรับรองแขก
พระองค์จะกลับไปที่อพาร์ตเมนต์ของกษัตริย์ เพื่อทรงงานโดยมีตารางประชุมสภาต่างๆ จัดในห้องประชุมของพระองค์โดยทุกวันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ (ทุกๆ สองสัปดาห์ครั้ง) จะมีประชุมสภาแห่งรัฐ ส่วนสภาสูงจัดขึ้นในวันอังคาร และวันเสาร์เป็นการประชุมสภาการเงิน ในขณะที่วันศุกร์จะเป็นประชุมสภามโนธรรม (ศาสนา) แล้วในช่วงเว้นก็จะมีสภาจัดการ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของชาติ) ได้พบกันทุกๆ สองสัปดาห์ในวันจันทร์ที่สลับกันกับการประชุมสภาแห่งรัฐ

City Break Paris Life in Versailles Part II -1

ภาพด้านบนจะมีรูปของ Jean-Baptiste Colbert หัวหน้าคณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำเรื่องอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปต่างๆ โปรดสังเกตว่ามีแผนที่โลกและลูกโลกซึ่งสมัยนั้นฝรั่งเศสมีอาณานิคมอยู่ในทวีปอเมริกาทั้งในเขตประเทศแคนนาดาปัจจุบัน และแถวมลรัฐหลุยส์เซียนนา ที่ได้มาในปี 1682-1782 ซึ่งที่มาของชื่อรัฐนี้ก็คือชื่อพระองค์นั่นเอง ชื่อในภาษาฝรั่งศส คื อ Louisiane จริงๆ แล้วมันไม่แค่บริเวณรัฐหลุยส์เซียนนา แต่แผ่นดินนี้รวมที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ทั้งหมดไปจนถึงแผ่นดินแคนนาดา น่าเสียดายที่นโปเลียนเอาแผ่นดินผืนนี้ไปขายให้อเมริกาเพื่อใช้หนี้ประเทศในปี 1803

City Break Paris Life in Versailles Part II -11

ในช่วงเวลาของวันช่วงนี้กษัตริย์ยังสามารถตัดสินใจหรือตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ร่วมกับรัฐมนตรี 5-6 คนที่ทำงานร่วมกับพระองค์ ส่วนใหญ่เมื่อได้รับคำแนะนำก็มักจะพูดน้อยคอยแต่รับฟังอย่างใกล้ชิดและการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะมาจากพระองค์ โดยเมื่อตัดสินใจแล้ว Jean-Baptiste Colbert หัวหน้าคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ประกาศเป็นคำสั่งซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว ไม่มีการต่อรองใดๆได้อีก

City Break Paris Life in Versailles Part II -18

หรือหากมีอาคันตุกะต่างแดนหรือมีนักการทูตนัดเข้าเฝ้าก็ใช้เวลาช่วงนี้ได้ ตามภาพด้านล่าง

City Break Paris Life in Versailles Part II -7

 

โปรดติดตามเรื่องราวของแวร์ซายได้ใหม่ในครั้งหน้า ซึ่งคราวหน้าเราจะมาพูดถึงแวร์ซายในแง่ลบกันบ้าง