มะเร็งเต้านม กับ 3 ไลฟสไตล์เสี่ยงมากที่สุด

 

ตุลาคม เป็นเดือนที่มีความหมายสำคัญในเรื่องสุขภาพของผู้หญิงทั้งโลก ด้วยการเตือนให้เราได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของ “เต้านม” อวัยวะสำคัญของความเป็นเพศหญิง

 

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่มีสถิติเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเป็นสาเหตุของอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งถึงแม้ว่าอัตราการเกิดโรคนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่เป็นเรื่องดีก็คือ วิทยาการของเทคโนโลยีการรักษายุคใหม่ที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถพูดได้ว่าขณะนี้ โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากมีการตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ ทำให้ทัศนคติแบบเดิมๆที่คิดกันว่าหากเป็นโรคนี้แล้วจะไม่มีทางรอด ได้ถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

 

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า สามารถพบอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนี้ได้ในผู้หญิง 1 คนของจำนวนผู้หญิงทุกๆ 8 คน และผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้จนถึงเธอมีอายุ 85 ปี ความเสี่ยงนี้จึงลดน้อยลงก็ตาม สิ่งที่เราควรจะรู้สึกกับตัวเลขสถิตินี้ไม่ใช่การ “ ตระหนก” แต่ควรเป็นการ “ ตระหนัก” ว่าปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านม กลายเป็นโรคธรรมดาที่เกิดได้ไม่ยากกับผู้หญิงทุกคนในโลก และขณะที่เรายังไปไม่ถึงการค้นพบวัคซีนใช้ป้องกันโรคมะเร็งเต้านมนี้ได้ เหมือนการพบวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คำแนะนำที่แพทย์และนักวิจัยมีก็คือ การปรับไลฟสไตล์เพื่อให้ลดความเสี่ยงจากโรคนี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุด

 

จากสถิติพบว่า ไลฟสไตล์ 3 สิ่งนี้คือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้มากที่สุด

 

 

healthcancer002

 

 

1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ไม่ว่าจะดื่มเป็นประจำหรือบางครั้งก็ตาม แต่ถ้าคุณดื่มไวน์วันละสองแก้วเป็นประจำ คุณก็จะมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งเต้านมได้ 51% หรือถ้าดื่มสัปดาห์ละ 3 -6 แก้ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้ประมาณ 15% ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ แอลกอฮอล์จะไปเปลี่ยนระดับของฮอร์โมนในร่างกายของคุณ ทั้งไปกระตุ้นการผลิตสารที่ก่อมะเร็งในร่างกาย รวมทั้งขัดขวางการทำงานของระบบภูมิต้านทานมะเร็งของให้มีประสิทธิภาพด้อยลงอีกด้วย

 

2. น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน: สิ่งนี้จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมให้ผู้หญิงในช่วงหลังจากหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ให้เพิ่มขึ้นอีก 42% ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะเซลล์ไขมันที่สะสมอยู่นั้นจะไปทำให้เกิดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ร่างกายมีฮอร์โนเพศหญิงมากเกินไป เอสโตรเจน จะไปกระตุ้นฮอร์โมนที่เป็นตัวรับมะเร็งเต้านมในร่างกายให้ให้มีการพัฒนาเติบโตขึ้นได้ และเมื่อมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ก็หมายถึงการมีไขมันวิสเซรัลในช่องท้องมากขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้มากกว่าไขมันที่สะสมในส่วนอื่นๆ

 

 

healthcancer003

 

 

3. การใช้ฮอร์โมนทดแทน (HRT): การรักษาอาการบกพร่องของฮอร์โมนโดยการให้ฮอร์โมนทดแทนหรือ Hormone Replacement Therapy (HRT) มักใช้รักษาสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้มากกว่าปกติเป็น 2 เท่า ในขณะที่ยังรับการรักษาด้วยวิธีนี้อยู่ ยิ่งใช้วิธีนี้นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่านั้น และยิ่งหากเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทนในแบบผสมผสาน ที่ใช้ฮอร์โมนทั้งเอสโตรเจนและ โปรเจสโทเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงทั้งคู่มาผสมผสานกันเพื่อเป็นฮอร์โมนทดแทน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นกว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ความเสี่ยงนี้จะมีอยู่ในช่วง 3 ปีหลังจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนในแบบที่ว่านี้แล้ว และยังไม่มีการระบุช่วงเวลาของความปลอดภัยว่าเมื่อไหร่ ดังนั้น หากคุณอยู่ในช่วงของการให้ฮอร์โมนทดแทน ก็ควรไปพบแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อเฝ้าระวังตัวเองจากความเสี่ยงนี้ให้ดีที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ไลฟสไตล์ของเราเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคนี้หรือไม่ การมีประวัติครอบครัวที่ไม่มีใครเคยป่วยด้วยโรคมะเร็ง ไม่ได้แปลว่าจะทำให้เราปลอดภัยจากโรคนี้เสมอไป หากมีไลฟสไตล์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากการปรับตัวเองด้วยการเลี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และไปพบแพทย์สม่ำเสมอหากใช้ฮอร์โมนทดแทนแล้ว ยังมีเคล็ดลับดีๆที่จะลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น สัปดาห์หน้า จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

ปรับตั้งนาฬิกาชีวภาพ…เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

 

“เพราะนาฬิกาชีวภาพสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย หากนาฬิกานี้ของคุณรวนเรไป ก็ควรตั้งมันใหม่ให้ดีกว่าเดิม”

 

ถ้าคุณคือคนทำงานด้านคอมพิวเตอร์ ก็คงคุ้นเคยกับคำว่า รีบูท ( Reboot) ซึ่งหมายถึงการปิดเครื่องคอมแล้วเปิดใหม่เพื่อให้ระบบทำงานดีขึ้น การทำงานของนาฬิกาชีวภาพในร่างกายเรา ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานไปนานๆก็มีอาการรวนเรไปบ้าง วันนี้ เราจะมาชวนคุณรีบูทหรือปิดเปิดมันใหม่เพื่อปรับตั้งให้ระบบสุขภาพของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

 

 

รู้จักกับจังหวะของนาฬิกาชีวิต

ก่อนอื่นขอเล่าให้ฟังว่า ในระบบนาฬิกาชีวภาพร่างกายเรานั้น จะมีวงจรที่เรียกว่า วงจรจังหวะเซอร์คาเดียน (circadian rhythm) ซึ่งหมุนไปเป็นรอบๆละ 24 ชั่วโมงกับเศษอีกเล็กน้อย วงจรนี้จะทำงานตลอดเวลา แม้ในช่วงที่เราไม่สามารถรับรู้วันเวลาหรือกลางวันกลางคืนได้ในขณะนั้นก็ตาม เช่นเมื่ออยู่ใต้ทะเลหรือในถ้ำลึกๆที่แสงสว่างเข้าไปไม่ถึง หรือในคนตาบอด ก็ยังรู้สึกง่วงนอนหรือตื่นนอนได้เหมือนคนปกติจากวงจรที่ว่านี้ การที่วงจรนาฬิกานี้ที่หมุนไป ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนในตอนกลางคืนและตื่นในตอนเช้า ซึ่งการทำงานของวงจรเซอร์คาเดียน อาจแปรปรวนไปได้จากพฤติกรรมต่างๆเช่น การท่องหนังสือดึกเพื่อเตรียมสอบ หรือไปปาร์ตี้กับเพื่อนจนถึงเช้า ที่ทำให้ความรู้สึกง่วงนอนที่เคยมีอยู่นั้นหายไป

 

สิ่งที่ควรรู้ก็คือ เจ้าวงจรนี้มันไม่ได้ควบคุมเฉพาะเรื่องการนอนหลับหรือการตื่นนอนของเราเท่านั้น แต่ยังควบคุมระบบอื่นๆด้วยเช่น ความอยากอาหารและระบบการเผาผลาญอาหาร ดังนั้น เมื่อระบบวงจรนี้เสียหาย ก็จะไม่ใช่แค่ทำให้นอนไม่หลับเท่านั้น แต่ยังไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่างๆมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็งบางชนิด ทำให้อารมณ์หดหู่เศร้าหมอง ฯลฯ และต่อไปนี้คือวิธีปรับตั้งวงจรเซอร์คาเดียนของนาฬิกาชีวภาพของคุณ ให้เที่ยงตรงขึ้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี

 

 

เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพตอบรับกลางวันกลางคืนได้ดีขึ้น

 

healthtime002

 

ตื่นนอนเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว: หากคุณตื่นนอนตอนเช้ามืดที่ยังไม่เห็นแสงอาทิตย์ คุณก็จะเริ่มต้นเวลากลางวันของวันใหม่ด้วยระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงทำให้เหนื่อยล้าได้มากและเร็วกว่าปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 45 นาทีหลังจากที่คุณลุกออกมาจากเตียง และเมื่อเวลาของวันนั้นล่วงเลยไป ระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงตั้แต่เริ่มตื่นนั้น ก็สามารถไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจให้สูงขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ในที่สุด

 

 

จัดการงานที่ต้องใช้ความคิดก่อนมื้อเที่ยง: ระบบนาฬิกาชีวภาพของร่างกายจะมีความฉับไวในการคิดการตัดสินใจมากที่สุดในช่วงระหว่าง 9 โมงเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับเมลาโทนินซึ่งสนับสนุนการนอนหลับลดตัวลงจนอยู่ในระดับต่ำที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองจะตื่นตัว มีความกระตือรือร้นและสามารถโฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำได้มากที่สุด

 

 

ใช้ความคิดวิเคราะห์ปัญหาระหว่างเวลาบ่าย 2 โมงถึง 4 โมงเย็น: เป็นช่วงเวลาที่สมองมีความตื่นตัวเต็มที่และมีสมาธิมากที่สุด เหมาะกับการใช้ช่วงเวลานี้ไปคิดทบทวนปัญหาที่คุณต้องการจะแก้ไข รวมทั้งทำงานที่ต้องใช้ความทรงจำที่แม่นยำ เพราะเมื่อคุณมีสมาธิ ก็จะสามารถทบทวนความคิดไปมาอย่างเป็นอิสระมากขึ้น สนับสนุนให้เกิดความครีเอทีฟและการทำความเข้าใจกับปัญหาได้ดีขึ้น ปัญหาที่มีก็จะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมจากกระบวนการความคิดที่ได้กรองแล้ว

 

 

ปฏิเสธการบริโภคอาหารในเวลาที่คุณควรจะนอน: นาฬิกาชีวภาพของคุณจะควบคุมการใช้และเก็บสำรองพลังงานของ ร่ากายด้วย ดังนั้น หากคุณบริโภคอาหารในเวลาที่ธรรมชาติร่างกายควรจะนอนหลับพักผ่อน เช่นเวลากลางดึกหรือเช้ามืด โฮกาสที่คุณจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มก็เป็นไปได้มากกว่า ถึงแม้ว่าช่วงกลางวันที่ผ่านมาคุณจะบริโภคน้อยแค่ไหนก็ตาม

 

 

เพื่อรีเซ็ทเวลาให้นาฬิกาชีวภาพของคุณ

 

healthtime003

 

อย่านอนดึกตื่นสาย: การเข้านอนช้ากว่าเวลาปกติที่คุณเคยนอนเป็นประจำ ถึงแม้จะอ้างว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดนอนดึกได้ก็ตาม แต่รู้ไมว่าพฤติกรรมแบบนี้จะทำลายจังหวะของนาฬิกาชีวภาพของคุณ ทำให้แทนที่คุณจะรู้สึกสดชื่นจากการได้นานขึ้นในเช้าวันต่อมา จะกลายเป็นตื่นด้วยความรู้สึกเหนื่อยเพลียกว่าปกติไม่ว่าคุณจะใช้เวลานอนานแค่ไหนก็ตาม

 

 

เปิดม่านหน้าต่างทันทีที่ตื่น: แสงแดดอ่อนๆของยามเช้าจะช่วยลดระดับของเมลาโทนิน ดังนั้น ควรจัดเวลาเข้านอนให้เหมาะสมตรงเวลาทุกๆวันเพื่อให้คุณตื่นขึ้นมารับแสงแดดอ่อนยามเช้า เพราะแค่คุณเข้านอนช้ากว่าเวลาปกติเกินกว่า 6 นาที คุณก็มีแนวโน้มจะตื่นสายจนพลาดจากแสงอาทิตย์ตอนเช้านี้ไปได้แล้ว

 

 

ใช้เวลาสุดสัปดาห์ท่องเที่ยวแนวธรรมชาติ: เลือกไปพักแรมในที่ๆสัญญาณมือถือไปไม่ถึงหรือมีน้อยเวลาตั้งเต๊นท์ อาจฟังดูไม่มีความสะดวกแต่มันจะได้ผลดีในเรื่องการพักผ่อน มันคุ้มค่ามากที่จะใช้เวลาสักสองวันให้ตัวเองอยู่กับแสงธรรมชาติ ปลอดจากแสงหลอดไฟและสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ การห่างจากสิ่งเหล่านี้ จะช่วยรีเซ็ทนาฬิกาชีวภาพร่างกายได้อย่างดี

 

healthtime004

 

ออกกำลังกายในตอนบ่าย: การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าจะให้ดีกว่าก็คือในช่วงบ่ายระหว่างหลังมื้อเที่ยงกับก่อนมื้อเย็น การออกกำลังในเวลาช่วงนี้จะช่วยควบคุมนาฬิกาชีวภาพของคุณให้ทำงานดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอยู่ในวัย 30 ปี ขึ้นไป นี่เป็นเวลาไพร์มไทม์ในการออกกำลังกายของคุณเลยทีเดียว

 

 

เลี่ยงอาหารขยะ: อาหารเหล่านี้มีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งไขมันนี้จะไปทำลายระบบนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย โดยมันจะไปดีเลย์ระบบการนอนหลับตามเวลาปกติ และยังทำให้คุณอยากบริโภคมื้อดึกในเวลาที่คุณควรจะพักผ่อนนอนหลับ นี่คือการระบุของนักวิจัยของสหรัฐอเมริกา

 

ทั้งหมดก็เป็นวิธีตั้งเวลาใหม่ให้นาฬิกาชีวภาพของเราเดินตรงขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย ในการทำงานประจำวัน การตรงต่อเวลาจะทำให้เกิดการประสานงานของทุกๆฝ่ายได้อย่างสะดวก ทำให้งานลุล่วงไปได้ดี ในเรื่องของการดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ที่ระบบทุกอย่างก็จะต้องมีวงจรหมุนไปอย่างถูกต้อง มาตั้งนาฬิกาชีวภาพของเราให้มีความเที่ยงตรง เพื่อให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานสอดคล้องประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพกันดีกว่าค่ะ

8 สัญญาณเตือนน่ารู้…คุณแพ้กลูเตนอยู่หรือเปล่า

 

สัปดาห์ก่อน ดิฉันได้รับเมล์จากสมาชิกเพจท่านหนึ่ง เล่าปัญหาสุขภาพของระบบการย่อยอาหารที่ผิดปกติมาหลายปี รวมทั้งอาการไมเกรนที่ไม่ยอมหายขาด เธอเล่าว่ามีคนแนะนำให้ลองรักษาด้วยวิธีแพทย์ทางเลือก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะดีไหม เมื่อฟังจากอาการที่เธอเล่ามา ทำให้ดิฉันนึกไปถึงสภาวะแพ้สารอย่างหนึ่งคือ กลูเตน ( Gluten) ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนมากอาจเป็นแต่ไม่รู้ตัว ทั้งในชีวิตประจำวัน ก็มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารกลุ่มนี้เช่นพวกเบเกอรี่ กันเป็นประจำ ทำให้คิดว่า ถึงเวลาที่เราควรหาความรู้เรื่องนี้กัน

 

 

กลูเตน (Gluten)คืออะไร

กลูเตน Gluten เป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวของโปรตีน 2 ชนิดคือ กลูเตนิน (Glutenin) และ ไกลอะดิน (Gliadin) รวมกัน มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่ละลายในน้ำ มันจะทำหน้าที่เสมือนกาวเชื่อมส่วนของอาหารไว้ด้วยกัน มักจะพบกลูเตนในธัญพืชเช่นข้าวสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ และในอาหารเจที่จะใช้กลูเตนนี้แทนเนื้อสัตว์ รวมทั้งเบเกอรี่ที่ขายทั่วไป กลูเตน เป็นอาหารที่ก่อภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง และมีคนจำนวนมากที่มีแพ้สารนี้โดยไม่รู้ตัว

 

คนที่แพ้กลูเตนหรือมีความอ่อนไหว เมื่อบริโภคเข้าไป ร่างกายก็จะเกิดปฏิกิริยาต่างๆซึ่งแสดงออกว่าคุณกำลังแพ้สารกลูเตนนี้อยู่ ทั้งการปวดข้อ, ปัญหาท้องอืดจากแกสในกระเพาะอาหาร, อาหารไม่ย่อย, ความเหนื่อยเรื้อรังและความรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง รวมไปถึงไมเกรน ซึ่งหลายคนนึกไม่ถึงว่าจะมีสาเหตุมาจากการแพ้สารอาหารชนิดนี้

 

 

อาหารชนิดใดบ้างที่มีกลูเตน

อันดับหนึ่งเลยก็คือ ข้าวสาลี (Wheat) คือธัญพืชที่เราพบได้ในส่วนประกอบของอาหารประเภทพาสต้า ซีเรียลและขนมปัง สำหรับน้ำสลัดและซุปต่างๆนั้นก็มีสารกลูเตนนี้อยู่บ้างแต่ก็มักจะในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และนอกจากข้าวสาลีแล้วข้าวบาร์เลย์และข้าวไรน์ ก็เป็นธัญพืชอีกสองชนิดที่ถูกระบุว่ามีกลูเตน เราจะพบข้าวไรน์ในเบียร์ ขนมปังและซีเรียล การบริโภคอาหารเหล่านี้และเครื่องดื่มที่ว่านี้ ก็จะทำให้คนที่แพ้กลูเตนเกิดอาการแพ้กำเริบขึ้นมา

 

โรคหรืออาการที่อันตรายที่สุดของการแพ้กลูเตน คือโรคที่เราเรียกกันว่า โรคเซลีแอค (Celiac disease) เป็นสภาวะความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่ส่งผลให้ลำไส้เล็กได้รับความเสียหาย เช่น เกิดการอักเสบของผนังลำไส้เล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ไม่เต็มที่ จึงตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอีกมากมายเช่น กระดูกพรุน, มีบุตรยากจากการที่สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ตลอดจนความเสียหายของระบบประสาทส่วนต่างๆ ฯลฯ โรคเซลีแอคนี้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคออโต้อิมมูนหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่ง ที่จะไปทำให้เกิดปัญหากับลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ถูกโจมตีจากโรคนี้โดยตรง โดยกลูเตนที่บริโภคเข้าไปนี้ จะไปลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมสารอาหาร และเมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังอื่นๆของสุขภาพร่างกายในระยะยาว

 

จากสถิติการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า ปัจจุบันนี้ในประชากร 100 คน จะมี 1 คนที่มีอาการแพ้กลูเตนโดยที่เป็นโรค เซลีแอค นี้ ซึ่งบ่อยครั้งที่พบว่า คนที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตนนี้จะไม่รู้ตัวและคิดว่าตัวเองเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆหรือจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร, โรคลำไส้อักเสบ, โรคไมเกรนจากความเครียดสะสม ฯลฯ ด้วยความไม่คาดคิดว่าสิ่งนี้เกิดจากการแพ้อาหาร แต่หลังจากที่พวกเขาได้กำจัดกลูเตนออกไปจากการบริโภค ปัญหาสุขภาพที่เคยเกิดขึ้นก็สิ้นสุดลง

 

 

คุณกำลังแพ้กลูเตนอยู่หรือเปล่า:

ลองสำรวจตัวเองดู หากคุณมีอาการเหล่านี้หลังจากบริโภคอาหารที่มีสารกลูเตนเข้าไปละก็ เชื่อได้เลย

 

 

healthgluten002

 

 

1. รู้สึกหมดแรงและเหนื่อยเรื้อรัง: จากการศึกษาแสดงว่าความเหนื่อยหรืออาการหมดแรง มีความเกี่ยวพันกับการแพ้สารกลูเตน โดยเชื่อว่านี่คือปฏิกิริยาที่เกิดจากความเกี่ยวข้องกันกับระบบการเก็บสำรองพลังงานของร่างกายและระบบการติดเชื้อ

 

 

2. ปัญหาของผิวพรรณ: หากเรามีอาการแพ้กลูเตน ก็จะเกิดอาการของโรคผิวหนังต่างๆเช่นสิว โรคผิวหนังภูมิแพ้,เริม ทั้งยังรวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆของผิวหนังเช่นอาการคัน ผิวเป็นรอยแดงเหมือนรอยไหม้, ตุ่มพุพองและผื่นต่างๆ

 

 

3. เจ็บปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ: แค่คุณมีอาการอ่อนไหวต่อกลูเตน ก็จะนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่ายๆและการเจ็บปวดข้อต่อต่างๆของร่างกาย ในขณะเดียวกัน มีรายงานได้ถูกตีพิมพ์โดยวารสารของสมาคมโรคไขข้อของสหรัฐอเมริกา ระบุความเกี่ยวข้องกันของการแพ้กลูเตนว่า สารนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องไขข้ออักเสบและการปวดข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกายด้วย

 

 

healthgluten003

 

 

4. ภาวะสมองตื้อ หลงลืมง่าย (Brain fog): หนึ่งในสิ่งที่น่าตกใจของอาการแพ้กลูเตนก็คือเรื่องนี้ ซึ่งเป็นอาการสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการสมองเสื่อมในที่สุด

 

 

5. ความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน: สารแอนตี้บอดี้ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ IgA antibodies ที่พบในระบบการย่อยอาหารและน้ำลาย เป็นสารที่ช่วยป้องกันเราจากโรคหวัด โรคไข้หวัดและโรคต่างๆอีกมากมาย การแพ้กลูเตนจะไปมีผลเสียโดยตรงกับสารนี้ ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น

 

 

6. ไมเกรนเรื้อรังและอาการปวดศีรษะ: ไมเกรนได้รับการจัดว่าเป็นอาการปวดศีรษะที่ทรมานที่สุดในอาการปวดศีรษะทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ มีรายงานศึกษาหนึ่งแสดงว่า ผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตนจะมีแนวโน้มของการเป็นไมเกรนได้ง่ายและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่แพ้สารอาหารดังกล่าว

 

 

healthgluten005

 

 

7. ปัญหาของฟันและสุขภาพช่องปาก: อาการอื่นๆของการแพ้กลูเตนได้แก่ โรคปากนกกระจอก (canker sore) อาการร้อนใน และแผลเปื่อยในช่องปาก เนื่องจากคนที่แพ้กลูเตนมักจะมีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ ซึ่งแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพฟันของเราทุกคน

 

 

8. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ: เหตุผลของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ก็คือ ความบกพร่องของระบบการดูดซึมอาหาร และการซึมผ่านของลำไส้ที่เป็นไปได้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากใครที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มเพราะเหตุนี้ และได้หยุดบริโภคกลูเตน ก็จะสามารถกลับมาสู่น้ำหนักตัวปกติเดิมของตัวเองได้อีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้กลูเตนนี้เป็นเรื่องธรรมดาของคนในเมืองใหญ่ที่จะเกิดอาการนี้ขึ้นได้ไม่แปลกประหลาด จากการบริโภคอาหารพวกเบเกอรี่ที่มีส่วนประกอบของข้าวสาลี และผู้บริโภคแบบมังสวิรัติที่ใช้กลูเตนเป็นส่วนประกอบแทนเนื้อสัตว์

 

 

จะแก้ไขอย่างไรถ้ารู้ว่าแพ้กลูเตน

 

 

healthgluten004

 

 

คำตอบก็คือ อาการนี้ไม่มีทางหายขาด แต่เมื่อรู้สึกว่าแพ้กลูเตน ก็ควรเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารนี้เสีย โดยเปลี่ยนเป็นอาหารแป้งที่ปราศจากกลูเตน อันได้แก่ ข้าวโพด, มันฝรั่ง, ข้าว, แป้งข้าวเจ้า, แป้งมันสำปะหลัง, แป้งข้าวเหนียว, ถั่วเหลือง, บัควีท, เมล็ดแฟล็กซ์ , ควินัว, แป้งข้าวโพดคอร์นมีล ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้ เป็นอาหารประเภทแป้งที่ระบุว่า ปราศจากสารกลูเตน ( gluten – free)

 

สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้ก็คือ ถึงแม้อาการแพ้กลูเตน จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การเลี่ยงจากอาหารแป้งกลุ่มที่มีกลูเตน ก็จะทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่นั้นสงบลงได้ หากคุณพบว่าแพ้สารอาหารชนิดนี้ การเลี่ยงจากมันถือว่าเป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด

 

หวังว่าเรื่องนี้ คงเป็นข้อพิจารณาที่ดีให้กับทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพอยู่นะคะ ลองสำรวจดูว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการทั้งแปดอย่างนี้หรือเปล่า ปัญหาสุขภาพหลายเรื่องเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา หลายครั้งที่เราคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โต แต่จริงๆมันอาจมาจากสาเหตุเล็กนิดเดียวที่คุณสามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ไม่ยาก การหมั่นสังเกต จะเป็นกระจกสุขภาพให้ตัวคุณเองได้ดีที่สุดค่ะ

พลังคู่อาหารช่วยต้านโรค

 

ของอะไรที่อยู่กันเป็นคู่ก็จะช่วยสนับสนุนกันได้ดีกว่า รวมทั้งคู่อาหารเหล่านี้ที่จะให้ผลดีต่อสุขภาพคุณเป็นสองเท่า

 

เรารู้ว่าอาหารและพืชผักหลายชนิดมีประโยชน์ แต่รู้ไหมว่า การนำมันมาบริโภคคู่กัน ก็จะทำให้ได้รับพลังสารอาหารที่ช่วยป้องกันโรคได้ดีขึ้นกว่าเดิมกว่าที่จะบริโภคมันแบบเดี่ยวๆ มาดูการจับคู่อาหารเหล่านี้ที่เราจัดไว้ให้คุณ

 

ไข่กับผักโขม: ช่วยสมดุลการมองเห็นของสายตา

 

healthfood004

 

ไข่แดงและผักโขม ทั้งคู่เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยลูทีน (lutein) และซีแซนทิน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์สองชนิดที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสุขภาพนัยน์ตาส่วนมาคูล่า ( macula) ซึ่งเป็นพื้นที่รูปกรวยสีออกเหลือง ที่อยู่ใจกลางเยื่อชั้นในของลูกตาให้มีสุขภาพดี เมื่อเราบริโภคสองอย่างนี้ด้วยกัน ร่างกายก็จะดูดซึมสารแคโรทีนอยด์จากผักโขมได้มากกว่าเดิมถึง 8 เท่า ที่เป็นแบบนี้เพราะแคโรทีนอยด์เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำมัน จึงซึมสู่ร่างกายง่ายกว่าเมื่อมันถูกย่อยในน้ำมันของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีในไข่แดง

 

หัวหอมกับข้าวกล้อง: พัฒนาภูมิต้านทานของร่างกาย

ข้าวกล้องเป็นข้าวที่อุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งจำเป็นต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย และหัวหอมก็มีสารประกอบของอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ออร์กาโนซัลเฟอร์ (organosulfur) ซึ่งได้รับการวิจัยพบว่าสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ เมื่อสองสิ่งนี้ถูกนำมาบริโภคด้วยกัน ข้าวกล้องที่อุดมด้วยสังกะสีก็จะถูกย่อยได้ง่ายขึ้น ทั้งร่างกายคุณก็จะสามารถดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีขากข้าวกล้องได้มากขึ้นกว่าเดิมถึง 159% อีกด้วย

 

ผงกะหรี่กับพริกไทยดำ: ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

 

healthfood005

 

ในผงกะหรี่มีส่วนผสมของขมิ้นที่มีสารเคอร์คูมิน ( curcumin) สารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยลดการผลิตอินซูลินในร่างกายหลังมื้ออาหารลงได้ถึง 20% ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในระยะยาวให้กับคุณ แต่ข้อเสียของสารเคอร์คูมินนี้ก็คือ ร่างกายของเราไม่สามารถจะดูดซึมได้ดีนัก ทำให้มันถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งหากบริโภคคู่กับพริกไทยดำป่นผสมด้วยเล็กน้อย พริกไทยดำจะมีสารไพเพอรีน ( piperine) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยที่เพิ่มความสามารถในการดูดซึมเคอร์คูมินในผงกะหรี่ให้มากขึ้นถึง 2,000% เลยทีเดียว

 

ปลาซาร์ดีนกับมะเขือเทศอบหรือนึ่ง: ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

ซาร์ดีนและมะเขือเทศอบ อาหารทั้งสองชนิดนี้ ต่างก็มีสารอาหารที่ช่วยสุขภาพของหัวใจที่แตกต่างกัน โดยซาร์ดีนจะมีกรดไขมันโอเมก้า -3 และมะเขือเทศจะมีสารไลโคปีน (lycopene) ซึ่งการบริโภคมันคู่กันก็จะให้ผลดีมากขึ้นในการป้องกันโรคหัวใจ มีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มน้ำมะเขือเทศคู่กับการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยโอเมก้า -3 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าผู้หญิงที่ดื่มแต่น้ำมะเขือเทศเดี่ยวๆ ถ้าถามว่าทำไมเป็นแบบนี้คำอธิบายหนึ่งก็คือ กรดไขมันโอเมก้า -3 ทำให้ไลโคปีนถูกย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

บร็อคโคลีต้มกับผักแรดิช: ช่วยป้องกันอาการปวดข้อ

บรอคโคลีเป็นอาหารที่อุดมด้วยสาร ซัลโฟราเฟน (sulforaphane) สารอาหารที่ช่วยชลอการถูกทำลายของกระดูกอ่อนของข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการพัฒนาไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อม (osteoarthritis) แต่สารซัลโฟราเฟนในพืชมักจะสลายไปเมื่อมันถูกความร้อนจากการปรุงที่อุณหภูมิสูงเกินไป หรือการแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น การแก้ปัญหานี้ ทำได้โดยปรุงมันคู่กับผักแรดิชรสชาติเผ็ดรอ้น ซึ่งจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไมโรซิเนส (myrosinase) ช่วยฟื้นฟูคุณสมบัติของซัลโฟราเฟนที่มีอยู่ ในบรอคโคลีได้

 

เนื้อไก่กับชีส: ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม

 

healthfood003

 

เมื่อเราบริโภคเนื้อไก่กับชีสด้วยกัน ก็คือการให้ร่างกายได้รับวิตามินบีสำคัญถึง 3 ใน 8 ชนิด นั่นก็คือโฟเลท, วิตามินบี6 และวิตามินบี12 ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินที่มีบทบาทอย่างมากกับร่างกาย จากการวิจัยของสหรัฐอเมริกา

 

คำอธิบายหนึ่งของการฟื้นฟูสมองได้ก็คือ เมื่อร่างกายขาดสารโฟเลท วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ระดับของกรดอมิโนชนิดหนีงที่ชื่อว่า โฮโมซิสเตอีน (homocysteine) ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และระดบที่สูงขึ้นของโฮโมซิสเตอีนนี้เอง ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการหดตัวของสมองในวัยที่เพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การสูญเสียความจำและโรคสมองเสื่อม

 

เนื้อสัตว์แดงกับโรสแมรี่: ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

เนื้อสัตว์แดง เป็นอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี 12 และยิ่งหากเป็นสัตว์เนื้อแดงที่เลี้ยงด้วยหญ้าหรือที่เรียกว่า grass-feed ก็จะอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า -3 อย่างไรก็ตาม หากมันถูกนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงๆเช่นบาร์บีคิว มันก็จะเกิดการก่อตัวของสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า กรดฮีทเทอโรไซคลิก ( heterocyclic acid) หรือ HCA ขึ้นในอาหาร

 

โรสแมรี่ที่ถูกผสมลงไปในการหมักเนื้อแกะเมื่อนำไปปรุงอาหาร จะช่วยบดการก่อตัวของสารof HCA นี้ลงได้ประมาณ 30 -100% ทั้งนี้เพราะโรสแมรีมีสารประกกอบต่างๆอย่างน้อยถึง 3 ชนิดที่จะช่วยบล็อกการก่อตัวของสาร HCA ไม่ให้ก่อตัวขึ้นในระหว่างการปรุงเนื้อสัตว์ด้วยความร้อนดังกล่าว

 

อโวคาโดกับแครอท: ช่วยฟื้นฟูระดับวิตามิน เอ ของร่างกาย

 

healthfood002

 

จับคู่พืชผักสองชนิดนี้เข้าด้วยกัน จะทำร่างกายของคุณสามารถดูดซึมแคโรทีนจากมันได้มากกว่าปกติถึง 6 เท่า และร่างกายก็จะนำสารนี้ไปแปรสภาพเป้นวิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญกับสุขภาพผิวหนัง การมองเห็นของสายตาและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของร่างกาย อโวคาโดช่วยในเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากสารเบต้าแคโรทีน เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำมัน ดังนั้น ร่างกายของเราจึงขะสามารถนำเบต้าแคโรทีนไปใช้ได้ดีกว่า เมื่อเราบริโภคมันคู่กับพืชที่อุดมด้วยไขมันอย่างอโวคาโด

 

ถั่วชิคพีกับน้ำมะนาว: ช่วยต่อต้านความเหนื่อยล้า

ถั่วชิคพี เป็นอาหารที่อุดมด้วนธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยต้านความเหนื่อยล้า ซึ่งปัญหาคือร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กในถั่วนี้ได้ยากกว่าธาตุเหล็กที่อยู่ในเนื้อสัตว์เช่นเนื้อแกะ แต่ก็มีทางแก้ไขได้ โดยนำถั่วนี้มาบริโภคด้วยกันกับน้ำมะนาวซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี ปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นจากวิตามินซีที่มีสภาวะเป็นกรด ก็จะทำให้ธาตุเหล็กในถั่วนี้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า

 

ยังมีคู่อาหารอีกหลายอยางที่คุณสามารถจับคู่กันเพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น ขอเพียงแต่เรารู้จักสารสำคัญในอาหารเหล่านั้นและคุณสมบัติข้อดีข้อด้อยที่ร่างกายจะนำไปใช้ ก็จะได้คู่หูดูโอสนุกๆของเมนูอีกหลายรายการ ปรุงอาหารคราวหน้า อย่าลืมเลือกเมนูจับคู่ให้พืชผักเหล่านี้ เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของทุกคนนะคะ