เรื่องดีๆที่ร่างกายได้จากการงีบหลับ

เพราะเทรนด์ของการ “นอนกลางวัน” กำลังอยู่ในความสนใจ ก็เลยขอเล่าให้ฟัง ว่าจริงๆแล้วการงีบหลับหรือนอนพักผ่อนในเวลาสั้นๆระหว่างวัน ให้สิ่งดีๆต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด และรู้ไหมว่า บรรดาคนดังหรืออัจฉริยะของโลกหลายคน ก็มีพฤติกรรม”หลับระหว่างวัน”กันมาแล้วทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ในสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด มีถึง 85%ที่มีวงจรการนอนหลับแบบเป็นช่วงๆหรือที่เรียกว่า polyphasic sleep ซึ่งเป็นพวกที่จะใช้เวลาในการนอนแค่วันละ 3-4 ชั่วโมง แต่ร่างกายจะได้ประโยชน์และได้พักผ่อนเหมือนกับการนอนหลับลึกของเวลาปกติ ซึ่งจะมีแพทเทิร์นของการงีบหลับที่หลากหลาย ซึ่งทุกแพทเทิร์นจะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ซึ่งมนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่มีพฤติกรรมการนอนไม่เพียงพอตามจำนวนชั่วโมงที่แนะนำการงีบหลับจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยสมดุลระดับพลังงานในร่างกาย

ตามทฤษฎีแล้ว พฤติกรรมการงีบหลับของเราจะแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือแบบฉุกเฉิน, แบบกิจวัตร และแบบเตรียมตัวมาก่อน อย่างไหนเป็นยังไงมาค่ะจะเล่าให้ฟัง

การงีบหลับแบบฉุกเฉิน (Emergency napping) คำอธิบายง่ายๆก็คือ เวลาที่เราทำงานจนเหนื่อยโทรมกลับมาถึงบ้านแล้วก็หลับน็อคไปอย่างรวดเร็วแบบที่ตัวเองก็ไม่คิดมาก่อน แน่นอนที่การหลับแบบนี้ไม่ใช่การหลับเพื่อสุขภาพดี แต่เป็นเพราะร่างกายเกิดอาการฟิวส์ขาดขึ้นมาต่างหาก

การงีบหลับแบบกิจวัตร (Habitual napping) สิ่งนี้เกิดขึ้นจากร่างกายถูกฝึกอยู่เป็นประจำให้มีการนอนหลับในช่วงเวลาเดียวกันของทุกๆวันเช่นทุกๆวันคุณจะต้องนอนหลับราวๆ 40 นาทีทุกๆสี่โมงเย็นเป็นต้นไป แบบนี้เป็นต้น เป็นการตั้งสวิทช์ให้กับร่างกายอย่างหนึ่ง

การงีบหลับแบบเตรียมตัวมาก่อน (Preparatory napping) เป็นการงีบหลับเพื่อเตรียมร่างกายก่อนจะต้องไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานๆ ที่คุณจะไม่มีโอกาสได้นอน เช่นหมอที่จะต้องผ่าตัดตลอดคืน หรือเมื่อต้องขับรถเดินทางไกลๆเป็นเวลานานๆ เป็นต้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับแนะนำว่า เราควรใช้เวลางีบหลับประมาณ 20-30 นาทีต่อวันเพื่อช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานและความกระตือรือร้นของสมองให้ดีขึ้น

ผลดีของสุขภาพจากการงีบหลับ:สิ่งนี้ให้อะไรดีๆอะไรกับคุณบ้าง

Health Napping 2

1. คุณมีความสุขมากขึ้น ในช่วงเวลาของการงีบหลับประมาณ 20-30 นาทีนั้น คุณจะรู้สึกว่าตัวเองได้พักผ่อนและสดชื่นขึ้น สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจให้มีความสุขได้มากขึ้นเมื่อตื่นขึ้นมา ซึ่งความรู้สึกสดชื่นที่ว่านี้ จะมีอยู่ประมาณ 30 นาทีหลังจากการตื่น จากนั้นก็จะหายไป
2. คุณเอาชนะความรู้สึกซึมเซาระหว่างวันได้ วัฏฏจักรของระบบนาฬิกาชีวภาพในร่างกายเราจะทำให้รู้สึกง่วงซึมเซาในช่วงเวลาราวๆบ่าย 3 โมงซึ่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการศึกษาและระบุว่า การงีบหลับเป็นวิธีดีที่สุดในการต่อสู้กับมัน
3. คุณทำสิ่งผิดพลาดน้อยลง การงีบหลับจะช่วยพัฒนาความตื่นตัวของร่างกาย ให้มีประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้นมีสมาธิมากขึ้น ลดความผิดพลาดและการเกิดอุบัติเหตุ
4. คุณมีการปฏิบัติและแสดงออกที่ดีขึ้น การศึกษาขององค์การนาซาพบว่าหากให้นักบินอวกาศที่อยู่ระหว่างการฝึก ได้มีการงีบหลับ 40 นาทีระหว่างวันจะทำให้มีพัฒนาการในด้านการฝึกเพิ่มขึ้น 34% และความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นถึง 100%.
5. คุณได้รับการฟื้นฟูความจำ การวิจัยของมหาวิทยาลัยซาร์แลนด์ ประเทศเยอรมันพบว่าการงีบหลับ 45 นาทีจะช่วยพัฒนาระบบความจำของสมองได้ถึง200%
6. คุณมีความคิดสร้างสรรค์งานได้ดีขึ้น การวิจัยแสดงว่าการงีบหลับจะช่วยให้สมองซีกขวาของเราซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์มีความกระตือรือร้นขึ้นในการที่จะสื่อสารกับร่างกาย
7. คุณมีสุขภาพระบบหัวใจที่ดีขึ้น การศึกษาที่ทำโดยคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอเธนส์ ประเทศกรีซร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าผู้ที่งีบหลับ 30 นาทีระหว่างวันสามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงได้ 37%

Health Napping 4

8. คุณอยากบริโภคอาหารขยะน้อยลง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเบอร์กเลย์พบว่าการอดนอนจะมีผลต่อสมองส่วนหน้าหรือคอร์เท็กซ์ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและควบคุมตัวเองการอดนอนจะทำให้คุณรู้สึกอยากบริโภคอาหารขยะมากขึ้น
9. คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น เมือคุณรู้สึกง่วงนอน ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนเกรลินน้อยลง ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำให้เราเกิดความหิว มีการศึกษาแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกันของการอดนอนและการเพิ่มขึ้นของเกรลินในร่างกายที่ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงสูงของโรคเบาหวานการวิจัยแนะนำว่า การงีบหลับสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มความรู้สึกไม่อยากบริโภคอาหารทำให้เราบริโภคน้อยลง
10. คุณอารมณ์อ่อนไหวน้อยลง คนที่นอนไม่พอมักมีแนวโน้มอารมณ์อ่อนไหวและทะเลาะกับคนอื่นๆได้บ่อยกว่า เมื่อเทียบกับคนที่นอนเพียงพอและได้งีบหลับระหว่างวันที่จะมีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่าคนอดนอน
11. คุณจะลดความเสี่ยงการบาดเจ็บลง จากสถิติพบว่า การเกิดอุบัติเหตุบนถนน หรืออุบัติเหตุจากการบริโภคยาผิดพลาด มักมีสาเหตุจากการนอนที่ไม่เพียงพอกับความต้องการร่างกาย

Health Napping 3

12. คุณผลิตผลงานได้มากขึ้น เพราะผลของการได้งีบหลับช่วยเพิ่มศักยภาพของการผลิตงานและการแสดงออกให้ดีขึ้นนั่นเอง
13. สมองของคุณได้รับการป้องกันจากการรับข้อมูลมากเกินไป การงีบหลับช่วยให้สมองของคุณมีการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆที่โอเวอร์โหลดอยู่ให้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่ามันมีความเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างการงีบหลับกับการสนับสนุนความจำของสมองที่ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม
14. คุณตัดสินเรื่องต่างๆได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น สำหรับสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจของเรานั้น การอดนอนจะให้ผลทางลบกับสมองส่วนนี้โดยตรง นำไปสู่การตัดสินที่ผิดพลาดจากการขาดความคิดควบคุมผิดชอบการงีบหลับจึงช่วยให้สมองได้พักผ่อน และคุณก็จะไม่รู้สึกโทษตัวเองกับการตัดสินใจเรื่องต่างๆในภายหลัง

ที่นี้มารู้ข้อมูลพฤติกรรมการนอนหลับของเหล่าคนดังและอัจฉริยะระดับโลกที่มีแพทเทิร์นการนอนแบบPolyphasic Sleepหรืองีบหลับเป็นช่วงๆระหว่างวันกันบ้างโทมัส อัลวา เอดิสัน มีนิสัยนอนหลับแบบเป็นช่วงสั้นๆตลอดวันแทนการหลับยาว, โดนัลด์ ทรัมป์ นอนเพียง 3-4 ชั่วโมงต่อคืน, วอลแตร์ นอนวันละ 4 ชั่วโมงต่อคืน, โมสาร์ท นอน 5 ชั่วโมงต่อคืน โดยจะแต่งเพลงราวๆตี 1 และตื่นขึ้นในตอน 6 โมงเช้า, ลีโอนาโด ดาวินชี ไม่นอนตอนกลางคืน แต่จะใช้การงีบหลับ 20 นาทีในทุกๆ 4 ชั่วโมงตลอดวัน เป็นต้นเห็นไหมคะว่า คนดังและบรรดาอัจฉริยะระดับโลก เขาก็ไม่ได้นอนกันยาวๆ

Health Napping 1

สิ่งที่สำคัญที่สุดของของการนอนหลับพักผ่อนก็คือคุณภาพของการนอนที่คุณได้ หากนอนคืนละหลายๆชั่วโมงแต่ร่างกายไม่ได้มีการพักผ่อนจริงๆจากการหลับลึก ก็ไม่มีประโยชน์อะไร การงีบหลับหรือการนอนกลางวันไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้าย อย่าลืมเล่าเรื่องนี้ให้เจ้านายของคุณฟัง แล้วก็หาที่งีบหลับให้มิดชิดเป็นที่เป็นทางกันด้วย จะได้งีบหลับกันได้สบายใจแบบไม่ต้องฝันร้ายขอให้หลับสบายตื่นมาพร้อมทำงานทุกท่านนะคะ