คุณใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อจะลดน้ำหนัก แต่ทำยังไงก็ยังไม่เห็นผลก้าวหน้าใดๆ บางทีอาจเป็นเพราะสิ่งที่คุณทำอยู่นั้นมีความเชื่อผิดๆบางอย่างแฝงอยู่ ทำให้มันพลาดไปก็ได้ เรามาทบทวนวิธีและความเชื่อที่คุณใช้ เพื่อฟื้นฟูระบบเผาผลาญอาหารและทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นด้วยกัน
1. เพราะบริโภคมื้อดึกทำให้อ้วนขึ้น: “ไม่จริง” สาวกมื้อดึกคงจะยิ้มดีใจกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆกันมานาน ความจริงคือในตอนกลางคืนร่างกายของเราไม่ได้มีการเก็บไขมันไว้มากกว่าเวลาอื่นๆของวันแต่อย่างใด แต่ชนิดอาหารที่เราบริโภคเข้าไปนั่นต่างหาก ที่จะทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเวลาที่เราบริโภคอาหาร การวิจัยล่าสุดพบว่า การบริโภคมื้อดึกไม่ได้เป็นสาเหตุของการมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้ถูกพิสูจน์โดยการทดลองกับอาสาสมัครที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะถูกจัดให้บริโภคอาหารมื้อใหญ่เป็นอาหารเช้า ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะถูกจัดให้บริโภคมื้อใหญ่ในช่วงเวลาหลัง 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทำแบบนี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือนก็พบว่า กลุ่มที่บริโภคมื้อใหญ่หลังจาก 2 ทุ่ม กลับสามารถลดปริมาณไขมันในร่างกายได้มากกว่ากลุ่มแรกที่บริโภคมื้อเช้าเป็นมื้อหนักถึง 10% และสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่ากลุ่มแรกถึง 11% การทดลองนี้เป็นบทสรุปว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับเวลาในการบริโภค แต่สิ่งที่เป็นปัญหาน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็คือ การที่เราบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูงนั่นต่างหาก ที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าเป็นเวลาใดก็ตาม
2. บริโภคมื้อเล็กๆบ่อยๆตลอดวันจะช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญอาหารได้ดีกว่า: “ ไม่จริง” ความช้าหรือเร็วของระบบการเผาผลาญอาหาร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของมื้ออาหารที่เราบริโภคระหว่างวันว่าบ่อยแค่ไหน การบริโภคมื้อเล็กๆบ่อยๆอาจจะช่วยคุณไม่ให้บริโภคอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไป แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้เร็วขึ้นพราะร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้นตามที่คุณเชื่อแต่อย่างใด และก็ไม่ได้ให้ผลใดๆกับระบบการเผาผลาญอาหารของคุณด้วย
3. การบริโภคแต่อาหารแคลอรี่ต่ำตลอดเวลาจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้เร็วกว่า: “ ไม่จริง” ถ้าคุณบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่น้อยกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการใช้งานในแต่ละวัน อัตราการเผาผลาญอาหารของร่างกายคุณก็จะลดลงตามไปด้วย มันจึงทำให้ยากขึ้นที่คุณจะลดน้ำหนักลง จากการวิจัยพบว่า การไดเอ็ตที่บริโภคอาหารต่ำกว่า 1200 แคลอรี่ต่อวัน จะนำไปสู่อัตราการลดลงอย่างน่าวิตกของระบบการเผาผลาญอาหารของร่างกายหรือที่เรียกว่า Resting Metabolic Rate ( RMR)
4. ร่างกายไม่ได้เผาผลาญแคลอรี่จากอาหารทั้งหมดได้เท่ากัน: “ จริง” ข้อสุดท้ายนี้แหละที่เป็นเรื่องจริงเพียงข้อเดียว เมื่อเราบริโภคอาหารเข้าไป ร่างกายของเราก็จะต้องย่อยอาหารหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความสามารถในการย่อยอาหารของร่ากายจะแบ่งออกคือ สำหรับกาหารที่ได้รับทั้งหมด มันจะสามารถเผาผลาญอโปรตีนได้ 20 – 30 % สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้ 6 % และสามารถเผาผลาญไขมันได้เพียง 3% เท่านั้น เมื่อรู้แบบนี้ ทำให้สิ่งที่เราควรระลึกถึงเมื่อบริโภคอาหารก็คือ ควรจะโฟกัสไปที่การบริโภคโปรตีนให้มากกว่าอย่างอื่นในมื้ออาหาร เพราะมันเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถเผาผลาญได้เร็วกว่าแม้ว่าเราจะยังไม่ได้ไปออกกำลังกายใดๆเลย กระบวนการนี้ถูกรู้จักกันในชื่อว่า Thermal Effect of Food หรือ TEF ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบริโภคเนื้อไก่ที่มีแคลอรี่ 1,000 แคลอรี่ และบริโภคไอศกรีมที่มีแคลอรี่ 1,000 แคลอรี่เท่าๆกัน คุณก็จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะไอศกรีม ไม่ใช่เนื้อไก่ที่ร่างกายได้เผาผลาญไปหมดแล้ว เพราะไอศกรีมที่บริโภคเข้าไป มันจะถูกเผาผลาญไปได้เพียงแค่ 3% เท่านั้น และที่เหลืออยู่ก็กลายเป็นไขมันสะสมอยู่ในร่างกายคุณนั่นแหละ เมื่อเทียบกับโปรตีนที่ถูกเผาผลาญไปแล้ว 20 – 30%
เล่ามาถึงตอนนี้ ก็คงทำให้คุณรู้ว่าต่อไปเราจะปรับเปลี่ยนวิธีบริโภคกันอย่างไร จะได้มีหุ่นสวยทันรับปีใหม่กันได้ทัน ทีนี้สวยแล้ว หุ่นดีแล้ว ก็เตรียมตัวมีความสุขกับเทศกาลงานฉลองที่จะมาถึงเร็วๆนี้กันได้เลยค่ะ