City Break: New York City, Part V

เบรกกิน (ต่อ)  มื้อกลางวัน Lunch Break

มาเมืองนี้ถ้าเป็นมื้อกลางวัน ผมอยากแนะนำอะไรที่เป็นอาหารแบบอเมริกันที่โดดเด่นของเมืองนี้สัก 2-3 อย่างให้เลือก ซึ่งเราก็ทราบดีอยู่แล้วว่าถ้าไม่ใช่ Business Lunch แล้ว คนอเมริกันก็มักจะทานอะไรง่ายๆ เลยครับ แบบแซนด์วิชหรือเบอร์เกอร์นั่นแหละถูกต้องเลย แต่เราก็ต้องไปลองร้านที่ดังที่สุดของอาหารประเภทใช้มือช่วย (จับเข้าปาก) นี้ด้วย

 

Pastrami Sandwiches (แซนด์วิชเนื้อ) จาก Top New York Deli :

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-16

มันคืออะไร  คำว่า Deli นั้นมันย่อมาจากคำว่า Delicatessen หรือ “delicacies” ที่หมายถึง fine food ในภาษาอังกฤษ  แล้วมันขายอะไรล่ะ Delis มันขายเยอะแยะไปหมดแต่ที่เราสนใจก็คือ Delis ที่ขายอาหารชาวยิวโดยเฉพาะ และสำหรับคนที่ชอบทานเนื้อนี่เลย Pastrami  Sandwiches ซึ่งคือแซนด์วิชเนื้อสไลด์ที่ผ่านการทำหมักแบบ Brine คือทำให้สุกด้วยการแช่ในน้ำเกลือแล้วนำมารมควันจนหอมก่อนนำมาต้มให้นิ่ม ทานกับ Pickle แตงกวาดองและมัสตาร์ด โดยต้องประกบด้วยขนมปังที่ทำจากข้าวไรย์ หรือบางคนอาจชอบเป็น Rachelแซนด์วิชไส่โคลสลอว์กับ Pastrami หรือจะสั่ง Reuben แซนด์วิชที่ใช้คอร์นบีฟและซาวเออเคล้า พวกนี้มันกลายเป็นกูร์เมต์แซนวิชแบบนิวยอร์กไปแล้วทั้งๆ มีที่มาจากความยากจนในกลุ่มชาวยิวที่มาจากยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ซึ่งต้องใช้เนื้อราคาถูกแบบส่วนที่เหนียวเคี้ยวยาก เช่น Brisket แต่เมื่อมาผ่านกรรมวิธีแล้วมันออกมานุ่มแบบเนื้อชั้นดี แล้วถ้าอยากลองก็ห้ามไปลองที่อื่นนะครับ ต้องที่ร้าน ต่อไปนี้….เท่านั้นที่เป็นระดับสถาบันไปแล้ว

 

1.ร้าน KATZ’S DELICATESSEN

ราคา pastrami: $16.99

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-17

Katz’s Delicatessen เป็นร้านแบบเรียบง่ายเปิดมาตั้งแต่ปี 1888 ต้นตำรับโรมาเนียนยิวที่อพยพเข้ามานิวยอร์ก ไม่ต่างจากการที่คนจีนแต้จิ๋วจากซัวเถามาเยาวราชแล้วมาทำร้านอาหารดังขึ้นมายังไงยังงั้น  ขึ้น Subway สาย F มาลงที่ถนน 2 มาเลยปิดดึกครับ Deli ต้องปิดดึกเพราะมันเป็นเหมือนร้านข้าวต้ม คือคนเมาออกมาแล้วหิวก็พึ่งได้ วันศุกร์เปิดถึงเช้าเลยครับ Katz’s Deli จำไว้เลย ที่นี่มีลูกค้าระดับประธานาธิบดีคลินตันและคนดังๆ มากมาย

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-19

 city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-10

ที่อยู่ตามนี้ 205 East Houston Street (corner of Ludlow St.)

New York City, 10002
Tel: (212) 254-2246
https://katzsdelicatessen.com/
Subway: F train to 2nd Ave.

 

 2.ร้าน2nd AVENUE DELI

ราคา Pastrami: $16.95

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-7

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-8

ร้าน 2nd Avenue Deli มีชื่อเสียงติดอันดับ สลับกันขึ้นอันดับ1ในแต่ละปีกับร้าน Katz คือมีแฟนเยอะพอๆ กัน ที่นี่คือสวรรค์ของแซนด์วิชเนื้อสไลค์ราดด้วยมัสตาร์ด ประกบด้วยขนมปังจากแป้งข้าวไรย์ (Succulent, thin-sliced pastrami on rye with mustard) แล้วต้องทานกับแตงกวาดองที่มี 2 แบบให้เลือก ที่นี่มีบรรยากาศสนุกสนานในแบบนิวยอร์กแท้ๆ น่าไปลองครับ

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-6

ที่อยู่คือ

162 E 33rd St (off 2nd Ave.)
New York, NY
(212) 689-9000
www.2ndavedeli.com
Subway: #6 to 33rd Street

 

3.CARNEGIE DELI

ราคา pastrami  $17.99 

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-11

 city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-3

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-23

ที่นี่ชื่อเสียงก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน หลายคนบอกว่าเยี่ยมที่สุดด้วยซ้ำ แต่แพงกว่าที่อื่นนิดหน่อยเพราะให้มาจานใหญ่มาก แต่ถ้าเราเห็นว่าจะกินไม่หมดจะสั่งที่เดียวมาแชร์กันรู้สึกทางร้านเค้าจะชาร์จค่าแชร์ $3 ด้วย เนื่องจากนักวิจารณ์ท้องถิ่นบอกว่าที่นี่เนื้อเหนียวกว่าคู่แข่ง ทำให้ได้ตำแหน่งเป็นรองไป แต่ที่นี่ก็มีชีสเค้กที่ยอดเยี่ยมเป็นการทดแทน

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-18

ที่อยู่ 854 7th Avenue (near 55th St.)

New York, NY 10019
Tel: (212) 757-2245
www.carnegiedeli.com/
Subway: N/R/Q/W to Seventh Ave

 

Hamburger สำหรับแฟนพันธุ์แท้ที่ต้องการสัมผัสเบอร์เกอร์แบบนิวยอร์กเกอร์ :

มาอเมริกาก็ต้องทาน Hamburger อาหารประจำชาติอเมริกาซึ่งมีวิวัฒนาการเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 1800 กับผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาจากเมือง Hamburg เมื่อก่อนเรียกว่า Hamburg Steak คือใช้เนื้อบดมาทำเป็นก้อนคล้าย Meatball แต่ตอนหลังมีการเอาขนมปังมาประกบเป็นแบบ แซนด์วิช เพื่อให้สะดวกต่อวิถีที่เร่งรีบแบบอเมริกันจนกลายเป็น Fast Food Hero มีร้านอยู่ทุกมุมเมืองของแทบทุกประเทศ แต่ก็มีช่วงที่ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสุขภาพแล้วมีการอ้างว่าอาหารจานด่วนคืออาหารจานขยะที่มีแคลอรี่สูง ทำให้ความนิยมมันตกต่ำไประยะหนึ่ง

แต่ช่วงหลังนี้ถือเป็นยุคของการกลับมาเกิดใหม่ของแฮมเบอร์เกอร์ที่เรียกว่ายุค Renaissance of Hamburger ทำให้ Burger กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง มีร้านเบอร์เกอร์ในแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด ส่วนใหญ่มาในรูป Premium Burger ที่เน้นคุณภาพของเนื้อและวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ มากขึ้น ทำให้ผู้ที่หยุดกินไปเพราะกลัวปัญหาโรคอ้วนต่างๆ นานา เริ่มกลับมากินใหม่ แต่อย่างไรก็แล้วแต่บรรดาเบอร์เกอร์คลาสสิกรุ่นเก่าก็ยังเป็นที่นิยมเสมอในอเมริกา

Premium Burger ในอเมริกาตอนนี้

BOBBY’S BURGER PALACE ผู้ก่อตั้งคือ Bobby Flay’s คือ Celebrity Chef ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาจาก TV ช่อง Food-Network เขาทำร้านอาหารหลายแห่งที่เกี่ยวกับ การปิ้งย่าง (Grilling) แต่ร้าน Premium Burger ของเขานั้นดังสุดๆ โดยเฉพาะที่เวกัส

BGR: THE BURGER JOINT

ต้นกำเนิดแถว Philadelphia ที่นี่คุยว่าเนื้อของเขาหรูสุดๆ เลี้ยงดูอย่างดี ไม่มีการฉีดสารกระตุ้นไม่มียาปฏิชีวนะ และได้วิ่งได้ใช้ชีวิตในทุ่งโล่ง เมื่อมาเป็น Patty ก็ไม่มีแช่แข็งและมีกระบวนการตากแห้งที่ไม่เหมือนใครทุกคนที่เป็นแฟนเบอร์เกอร์บอกต้องลองให้ได้

FIVE GUYS

Five Guys มีต้นกำเนิดแถว Washington, DC ตั้งแต่ปี 1986 ราคาไม่ถูก แสดงว่าต้องมีดี เติบโตไม่หยุด

ในขณะที่ตลาด Classic Burger ที่ไม่ได้สนสุขภาพอะไรมากมาย ก็ยังได้รับความนิยมสุดๆ อยู่เหมือนเดิม และเจ้าแห่ง Classic Burger ก็ต้องนี่เลย

In-N-Out Burger “DOUBLE-DOUBLE ANIMAL-STYLE, IN-N-OUT”

Harry Snyder เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 1948 ถือเป็นร้านอาหาร Drive Thru แห่งแรกของ California’s ร้านนี้ไม่มีการใช้วัตถุดิบแช่แข็ง (No Frozen meat and fries) Cooked-to-orderรอคิวหน่อย แต่รับรองเต็มแคลลอรี่แน่ (คล้ายโฆษณาแอร์รับรองว่าเต็ม BTU)

Fatburger

แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าไม่ยั้ง ใครกลัวอ้วนก็ถอยไป ไม่แน่จริงไม่อยู่ถึงทุกวันนี้เปิดมาตั้งแต่ 1952, โดย Lovie Yancey Cooked-to-order, just the way you want it ร้านนี้มีเอกลักษณะตรงที่จะมีเพลงกล่อม ส่วนใหญ่เป็นเพลงของศิลปินผิวสี มีตั้งแต่เพลงแนว Soul, Blues, ยัน Hip Hop โดยอ้างว่า Lovie ผู้ก่อตั้งชอบฟังเพลงมากๆ แต่ผมว่าจะเอาใจลูกค้าประจำที่เป็นกลุ่มผิวสีนั่นเอง

ที่กล่าวไปด้านบนทั้งหมดเป็นการเกริ่นถึงธุรกิจแฮมเบอร์เกอร์ที่มีมูลค่าเกือบ 80,000 ล้านดอลล่าร์ในอเมริกา โดยผู้ที่ได้ส่วนแบ่งตลาดสูงสุดอันดับ 1 (35%) และ2 (15%) ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่เรามานิวยอร์กซิตี้ทั้งทีจะมากิน Mc Donald’s หรือ B.King คงไม่ใช่ ผมขอแนะนำร้านข้างล่างนี้ครับ

 

Shake Shack ที่ MADISON SQUARE PARK, NYC

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-9

ร้าน Shake Shack เกิดจากรถเข็นฮอทดอกในสวนสาธารณะจัตุรัสเมดิสัน Madison Square Park มีคนต่อคิวซื้อไม่หยุดจนในปี 2004, Shake Shack ได้เปิดอย่างเป็นทางการ เพราะได้สัญญาทำ Kiosk จากเทศบาลเมืองนิวยอร์ก และแน่นอนว่าต้องรักษาความเป็นธรรมชาติของสวนเอาไว้ เวลาผ่านไป 10 ปี คิวร้านนี้ยังยาวเหยียดรอนานเป็นชั่วโมงอยู่ จนทำให้คนต้องเข้าไปเช็คก่อนในเว็บของร้าน เขาจะมี webcam ถ่ายทอดสด (real time) ว่าคิวยาวหรือไม่  ที่ผมแนะนำให้มาทานที่ Madison Square Park เพราะเป็นต้นกำเนิดของร้าน เพราะถ้าไปสาขาในเมืองมันก็ไม่ขลัง เนื่องจากในต้นปี 2015 ร้านที่เริ่มต้นจากรถเข็นแห่งนี้ได้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก NYSE  ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก Madison Square Park เท่าไหร่

มีการทำunderwrite J.P. MorganMorgan Stanley และ Goldman Sachs ในตอนนั้นราคาIPOของ

Shake Shack คือ $21 ต่อหุ้น แต่เมื่อกลางปี2015มันก็ขึ้นไป $90 ปัจจุบันมันมีสาขามากมายเช่นที่ Seoul, Tokyo, London, Cardiff, Istanbul, Moscow, Muscat, Beirut, Dubai, Abu Dhabi, Doha, Kuwait City, Riyadh, อีกไม่นานก็คงมีที่กรุงเทพ

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-20

Danny Meyer เจ้าของร้านเคยให้สัมภาษณ์ว่า “สิ่งที่มันยากคือความง่ายนั่นเอง เพราะ Hamburger หรือ Hot Dogs มันคืออะไรที่ง่ายและใครก็ทำได้” แต่สิ่งที่ Shake Shack เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ใช่ของง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ซะแล้ว

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-22

มาที่ร้านในสวนแห่งนี้ คุณจะได้รู้จักอาหารอเมริกันแบบ 101 คือนอกจาก Hamburger (ที่ตอนหลังนี้จะมีแบบที่ใช้เนื้อ Angus) หรือ Hot Dogs ก็ต้องลอง “Shack-Ago Dog,” ที่เป็นฮอทดอกสไตล์ชิคาโก้ซึ่งมีเครื่องเยอะแบบ Relish, Onion, Cucumber, Pickle, Tomato, Sport Pepper, Celery Salt and Mustard เครื่องดื่มย้อนยุคต้อง Shake ซึ่งเป็นที่มาของชื่อร้าน และเป็นที่ยอมรับกันว่ามันเป็น Milk Shake ที่อร่อยที่สุดในนิวยอร์ก และไหนๆ มาแล้วควรลองให้ครบสูตรต้องมี Frozen Custard ด้วย ที่น่ารักที่สุดก็คือเขามีอาหารหมาอยู่ในเมนูด้วย เพราะนิวยอร์กเกอร์ส่วนใหญ่ที่เดินในสวนนั้น เขามักจะไม่ลืมเอาเพื่อนสี่ขาของเขามาออกกำลังด้วย

shakeshack.com

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-1

 

Lobster Rolls (แซนด์วิชกุ้งใหญ่) :

ท่านที่ไม่ทานเนื้ออาจจะบ่นว่าทำไมผมจึงแนะนำแต่อาหารกลางวันที่ทานไม่ได้ ผมก็เลยขอเพิ่ม Lobster Rolls (แซนด์วิชกุ้งใหญ่) ที่น่าสนใจมากๆ สำหรับ No beef passenger

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-21

ก็เพราะว่านิวยอร์กอยู่ไม่ไกลจากเขต New England States ซึ่งประกอบด้วยรัฐ 6 รัฐ ได้แก่Connecticut, Maine, Massachusetts, New Hampshire, Rhode Island และ Vermont  ทั้งหมดถือเป็นรัฐเก่าแก่ที่เป็นยุคเริ่มต้นของประเทศนี้ เนื่องจากการอพยพของชาวอังกฤษยุคแรกมักมาตั้งรกรากอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา บริเวณนี้จึงเรียกว่า New England ซึ่งถ้าท่านมานิวยอร์กช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือฤดู Fall นี้ ผมแนะนำให้เช่ารถขับขึ้นไปชม New England Foliage หรือ ใบไม้เปลี่ยนสีของเขตนี้ และแวะทาน Maine Lobster กับ Clam Chowder แต่ถ้าท่านไม่มีเวลาผมแนะนำอาหารมื้อกลางวันง่ายๆ แบบนิวอิงแลนด์ที่เน้นความหนานุ่มของกุ้งลอบส์เตอร์จากรัฐเมน ซึ่งหาทานได้ในนิวยอร์กในราคาพอๆ กัน อีกทั้งรสชาติและความสดยอดเยี่ยมไม่แตกต่าง ลองเลยครับ 3 ร้านนี้   ไม่ต้องไปคิดถึงร้าน Burger and Lobster ที่อยู่ Soho หรือ Mayfair ในLondon เลยนะครับ มันจะมาสู้ของแท้ต้นตำหรับได้อย่างไร

 

1.ร้าน LUKE’S LOBSTER

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-4

ตอนที่ Luke Holden มาถึง New York ใหม่ๆ ในปี 2007 เขาเริ่มต้นอาชีพใน Wall Street เป็น Investment Banker แต่เนื่องจากพื้นฐานเขามาจากรัฐ Maine ดินแดนที่โด่งดังเรื่องกุ้งก้ามใหญ่ และพ่อเขาก็เป็นพ่อค้ากุ้งอยู่ด้วยเลยเริ่มเห็นโอกาส เพราะในยุคนั้นใครจะกิน Lobster Rolls ในเมืองนี้ ต้องเข้าร้านหรูหน่อยและต้องจ่ายตั้ง $30 ต่อจาน ซึ่งมันแตกต่างจากแถวบ้านเกิดเขาที่รัฐเมน เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานแล้วเปิดร้านแบบที่เขาคุ้นเคยที่เมนและตั้งชื่อLuke’s Lobster อยู่แถวย่าน East Village มีเมนูไม่กี่รายการแต่ที่ขาดไม่ได้คือ Lobster Rolls และ Chowders ซึ่งเป็นของดีจากเขต New England นั่นเอง ซึ่งมันได้ผลดีเขาสามารถขยายสาขาไปได้ถึง 10 สาขา ก็มันคุ้มราคาเอามากๆ Lobster Rolls ของที่นี่มีเนื้อเยอะโดยเป็นเนื้อกุ้งจากก้ามและข้อเป็นchunk  วางไปบนขนมปัง (roll) ที่ทา mayo บางๆ แล้วก็เนยมะนาว Lemon Butter โรยด้วยเครื่องเทศพิเศษของร้าน “special seasoning” ที่ไม่เหมือนใคร เรียกว่าในราคา $15 นั้น ใครก็ต้องอยากลองครับเรียกว่าราคาเท่ากับไปกินที่รัฐเมนต้นตำรับเลย

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-5

และที่น่าสนใจมากในราคาแค่ $13, แซนด์วิชปู Crab Roll ของร้านนี้ต้องสั่งมาลอง ผ่าแบ่งกันก็ยังได้หากจุกจากแซนด์ด์วิชกุ้งอันแรกไปแล้ว

 

2.ร้าน RED HOOK LOBSTER POUND

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-2

Red Hook Lobster Pound ที่นี่โดดเด่นด้วยเนื้อกุ้งที่ให้มาเยอะโดยเป็นเนื้อกุ้งจากก้ามและข้อเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช้ส่วนหางเพราะส่วนนั้นจะไม่นุ่มและหวานเท่า เขาจึงไปใช้กับเมนูอื่นเช่นสลัดแทน และแซนด์วิชที่นี่มีให้เลือก 3 แบบ คือ 1.แบบเย็นไส่มาโยเนส์ หรือแบบรัฐเมน (Maine-style) 2.แบบอุ่นไส่เนย หรือแบบรัฐคอนเนคติคัต (Connecticut-style) 3.แบบ Tuscan (เป็นแบบดัดแปลง ใช้ใบ Basil คลุกน้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชูในสไตล์ทัสคานี) ส่วนขนมปังก็จะใช้ขนมปังแบบฮอทดอก Hot Dog Buns ที่ทาเนยแล้วย่างก่อนโรย ปาปริก้าเล็กน้อยแล้วก็วางแตงกวาดองอ้วนๆ สไตล์บรุ๊คลินและอาจโรยด้วยหอมซอยเล็กน้อย ที่นี่รับประกันความสดของกุ้งด้วยการมีแท็งค์ไส่ท่ออ๊อกซิเจนวางไว้ให้เห็นเลยในราคา $16  มันทำให้คุณไม่ต้องขับรถเลาะชายฝั่งไปถึงเขต New England เพื่อจะกินอาหารจานนี้ไปแถว East Village ใน NYC ก็พอแล้ว

 

3.ร้าน ED’S LOBSTER BAR

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-15

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-14

Ed McFarland เคยทำงานอยู่ที่ร้านอาหารทะเลชื่อดังของนิวยอร์กที่ชื่อ Pearl Oyster Bar แต่เห็นโอกาสและคิดว่าสูตร Lobster Roll ของเขาแตกต่างจากร้านอื่น และสูตรของ Ed ยังไส่ส่วนหางกุ้งที่อาจโดนบ่นว่าเหนียวไป และยังใส่น้ำส้มสายชูที่ทำจากไวน์แดงและเสนอขายในราคาที่แพงกว่า 2 เจ้าแรก คือจานละ $29 แต่ที่นี่เน้นมานั่งทานไม่ใช่ขายแบบสไตล์แซนด์วิชจานกระดาษก็เลยแพงกว่าซึ่งการที่ขายแพงกว่าได้ย่อมต้องมีอะไรดีกว่าเสมอนะครับ

มาถึงตอนนี้บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมผมถึงไม่แนะนำสุดยอดอาหารจานด่วนของที่นี่ที่มากับผู้อพยพชาวอิตาลีบ้างล่ะ ผมต้องบอกว่าไม่ได้ลืมครับแต่ผมจัด New York Pizza ไว้ในตอนต่อไปที่ชื่อ “เบรกทานอาหารว่าง Snack Break” โปรดติดตามนะครับ

 

City Break: New York City, part IV

ตอนที่ผ่านมา

City Break: New York City, Part I

City Break: New York City, Part II

City Break: New York City, Part II


เบรค-กิน (แนะนำของกินต่อจากคราวที่แล้ว)

มื้อเช้าแบบคลาสสิก (Full Breakfast @ Classic Diners in NYC)

 

“…ถ้าชอบสไตล์คลาสสิก ก็เหมือนกับที่เราไปปารีสต้องไปทานอาหารที่ Bistro ในเขต 11 หรือในลอนดอนเราต้องลองอะไรที่เป็น English Traditional Pub เช่น Mayflower ร้านชื่อดังริมแม่น้ำเทมส์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1620 เรามา NYC ก็ไม่มีข้อยกเว้น ควรต้องไปลอง Classic American Diners ที่มักเปิด 24/7 หรือ A.M to P.M เป็นที่พึ่งของพวกที่มีอาการ แฮงค์โอเวอร์เดินมึนเข้ามาสั่งมิลค์เชคตั้งแต่เช้ามืด…”

 

new-york-city-iv-01

Cr:empire-diner

 

ไดเนอร์ส (Diners) ก็คือร้านอาหารในแบบอเมริกันขนานแท้ ที่เป็นรากเหง้าหรือต้นแบบของร้านอาหารจานด่วน fast food ซึ่งก็คือต้นแบบของระบบแฟร์นไชส์ อีกทั้งเป็นต้นแบบของระบบ Drive Thru ซึ่งเมื่อก่อนมันคือ Drive in คือจอดสั่งในรถ และกินในรถ แต่จอดอยู่ในบริเวณร้านเป็นสถานที่แฮงค์เอ้าท์ของหนุ่มสาวยุค 50’s จะมีรถ muscle car และรถ convertible มาจอดกัน สะท้อนถึงวัฒนธรรมความสะดวกเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพแบบอเมริกัน

 

new-york-city-iv-06

 

ว่ากันว่าธุรกิจไดเนอร์เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นของปี 1900 ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาแถบรัฐนิวยอร์ก คอนเน็กติกัต และรัฐในเขตนิวอิงแลนด์ ซึ่งผู้คนแถบนี้มีฐานะมักจะมีรถขับ ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับธุรกิจรถยนต์นั่นเอง การไปไดเนอร์แบบไม่มีรถก็คงต้องเป็นเมืองแบบนิวยอร์กซิตี้ในแมนแฮตตันเท่านั้น ซึ่งเดี๋ยวนี้เหลือไดเนอร์อยู่ไม่ถึง 10 แห่งแล้ว ถึงอยากเชียร์ให้ไปทานก่อนมันจะสูญพันธุ์ไปอีกไม่นานนี้

 

new-york-city-iv-02

 

ร้านแบบไดเนอร์มักจะมีเอกลักษณ์พิเศษคือต้องมี Neon sign ป้ายชื่อร้านทำด้วยไฟนีออนกระพริบสีสด และร้านมักจะเป็นลักษณะแบบยาวแคบ มีเคาร์เตอร์จุคนได้ไม่เยอะ จึงเกิดบริการที่สามารถสั่งมากินในรถที่จอดหน้าร้าน การออกแบบร้านก็เลียนแบบตู้เสบียงของรถไฟซึ่งมักจะเรียกว่า Diner car เช่น dining cars ของ Pullman ซึ่งมักตกแต่งด้วยอลูมิเนียมหรือ stainless steel ในศิลปแบบ Art-Deco จริงๆ แล้วมันมีที่มาเพราะ Diners เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการลงทุนเยอะ แค่ต้องการเช่าที่ว่างแล้วใช้อาคารสำเร็จรูปหรือ Pre fabrication แบบมาประกอบ หรือยกมาตั้งแบบตู้คอนเทนเนอร์ได้ทันทีไม่มีการใช้เวลาสร้างนานๆ ซึ่งปรากฎว่าบริษัทที่สร้างตู้ไดเนอร์ก็มักจะเป็นบริษัทที่สร้างหรือตกแต่งตู้เสบียงรถไฟนั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์คือต้องขนย้ายง่ายเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ในปัจจุบันนี้ ที่ไส่หัวลากพ่วงไปที่ไหนก็ได้ในอเมริกา และมักจะตั้งอยู่ไก้ลจุดขึ้นลงทางด่วน (freeway exit) หรือลานจอดรถกว้างๆ ไก้ลมอลล์

 

new-york-city-iv-07

 

แม้ว่าในระยะหลังจะเปลี่ยนแปลงไปเยอะ คือมาในหลายรูปแบบไม่ได้เป็นร้านริมถนนที่เป็นสแตนอโลนแล้ว มีการย้ายเข้ามาในตึกมากขึ้น แต่ก็มักมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ ถ้าไม่เปิดขายตลอด 24/7 ก็ต้องเปิดแต่เช้ามืด และปิดดึก เช่น ห้าทุ่มเที่ยงคืนเป็นอย่างต่ำ ยังไงก็ต้องเปิดขายอาหารเช้า แบบอเมริกันคือมีแฮมเบคอน (กรอบ) และไข่สดหรือแพนเค้ก และอาจเป็นลักษณะ all day breakfast ก็ได้ คือมีอาหารเช้าขายทั้งวัน ไม่ใช่หยุดขายหลังจาก 10 โมงแบบภัตตาคาร นอกจากนั้นในเมนูมักจะขายอาหารอเมริกันเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นฮอทดอก เบอร์เกอร์ มิลค์เชค แพนเค้ก โซดาป็อป สลัดหรือแซนวิซต่างๆ และแม้ว่าจะในเมนูจะมีเหมือนอาหารอิตาเลียนอยู่แต่ก็จะเป็นอาหารอิตาเลียนแบบอเมริกัน ใครที่ชอบบรรยากาศแบบอเมริกันย้อนยุคหรือนึกถึงสมัยหนังทีวีขาวดำแบบเรื่อง “Leave it to beaver (หนูน้อยบีเวอร์) ละก้อ ต้องเข้าไดเนอร์เท่านั้น แล้วเราจะไปทานอาหารเช้าที่ไดเนอร์ชื่อดังของนิวยอร์กที่ไหนดี ผมอยากให้ไปลองที่ไดเนอร์เหล่านี้ครับ

 

Empire Diner

new-york-city-iv-08

Empire Diner (cr:empire-diner.com)

 

Empire Diner อยู่ในย่าน Chelsea ที่นี่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่ปี 1946 ถึงกับต้องปิดไปครั้งหนึ่งและกลับมาเปิดใหม่ในปี 1976 แต่ก่อสร้างโดยใช้แบบไดเนอร์ของช่วงปี 1940 มาเป็นโครงก็คือศิลปแบบโครเมียมรถไฟ Art Deco และยังตกแต่งภายในได้ย้อนยุคสมจริง มีลูกค้าเยอะพอสมควร แต่ก็ไม่วายต้องปิดตัวอีกครั้งแล้วมาเปิดใหม่ในปี 2014 คราวนี้ปรับเรื่องอาหารให้ทันสมัยขึ้นมาโดย Chef Amanda Freitag จาก Food Network มีเมนูอาหารทะเลเพิ่มมา ไม่หิวไม่เป็นไรแค่แวะไปชิมมิลค์เชคก็พอแล้ว ที่อยู่คือ 210 10th Ave. เว็บไซต์ empire-diner.com

 

Tom’s Restaurant

new-york-city-iv-03

ด้านนอกของ Tom’s Restaurant

 

ร้านนี้ดังมากในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แม้ว่าการตกแต่งจะเป็นแบบอยู่ในอาคารไม่ใช่แบบสแตนอโลน เหมือนไดเนอร์ต้นตำหรับ แต่ที่นี่เปิดมาตั้งแต่ปี 1940 โดยครอบครัวอพยพชาวกรีซที่ชื่อ Thanasi (Thomas) ก็เลยเรียกสั้นๆ ว่า Tom ร้านนี้มีปรากฏอยู่ในหนังหลายเรื่องแม้แต่ในบทเพลงของ Suzanne Vega ยังกล่าวถึง “Tom’s Diner” ที่อยู่ 2880 Broadway เว็บไซต์ tomsrestaurant.net

 

Pearl Diner

new-york-city-iv-04

 

Pearl Diner’s อยู่ที่ย่าน financial district เป็นที่นิยมชมชอบของทุกเพศทุกวัยที่ทำงานอยู่ย่านวอลล์สตรีทอยู่บนถนน Pearl street หาไม่ยากหากท่านมาเดินถ่ายรูปกับสะพานบรุกลินหรือ charging bull กระทิงบุกแถวๆ นี้ละก็มาลองทานครับร้านนี้เคยปิดไปครั้งหนึ่งเมื่อนิวยอร์กโดนพายุเฮอร์ริเคน ที่นี่เป็น Greek-diner สไตล์ของแท้ คือชาวกรีซนั้นเป็น ชาติที่นิยมทำธุรกิจไดเนอร์มากที่สุดในบรรดาผู้อพยพที่เข้ามาในอเมริกาในสมัยนั้น ที่นี่จึงถือเป็น classic diners ที่แท้จริงสั่งเลยครับ “fluffy pancake and two eggs over easy please”  ที่อยู่ 212 Pearl St New York NY, 10038 (212) 344-6620 เว็บไซต์ pearldinernyc.com

 

new-york-city-iv-05

 

สำหรับคนที่อยากลองแล้วไปอยู่เมืองที่มันไม่มี original diner หลงเหลืออยู่ก็ให้ทำแบบผมเลยครับเข้าร้าน Denny’s หรือ “Waffle house”ก็ได้บรรยากาศ Nostalgia เก่าๆ ในอดีตแบบที่เราต้องการเพราะมันมีคอนเซ็ปต์แบบเดียวกับไดเนอร์ ทุกอย่าง

คราวหน้าเราจะไปทานมื้อกลางวันในนิวยอร์กด้วยกัน

City Break: New York City, Part III

ตอนที่ผ่านมา

City Break: New York City, Part I

City Break: New York City, Part II


เบรค-กิน (แนะนำของกิน)

 

.. “อาหารเช้าแบบแปลกใหม่ แฟนซี ที่แพงหน่อยแต่บรรยากาศ รีแล็กซ์ ไม่อึดอัดต้องสำรวมมาก ถ้าอยากลองสั่งจานเด็ดของที่นี่ให้คนพิเศษที่ไปด้วยก็ต้องนี่เลยครับ Frittata ไข่เจียวอิตาเลียนที่ชื่อ ‘Zillion Dollar Lobster Frittata’ ถือเป็นอาหารจานไข่ที่แพงที่สุดในโลก..”

 

new-york-city-iii-02

Cr: heroineinheels

 

เรื่องของกินไม่ว่าเมืองไหนๆก็ย่อมมีเอกลักษณ์และจานอร่อยแบบท้องถิ่นของที่นั่น ไม่ต้องเป็นของแพงหรือต้องติดดาว มิชเชลินคุณก็ได้ประสบการณ์กินที่เยี่ยมยอดแบบนิวยอร์เกอร์ได้ ผมขอเริ่มจากมื้อเช้าไล่ไปจนมื้อเย็น โดยมื้อเช้าผมก็จะมีทางเลือกให้ 3 แบบ คือแบบด่วน,แบบหรู และ แบบคลาสสิก เลือกเอาแล้วแต่ไลฟ์สไตล์ของแต่ละท่าน

 

I. มื้อเช้าแบบด่วน (Quickie !)
การเริ่มต้นวันที่เร่งรีบตอนเช้าของชาวนิวยอร์กในยุคที่คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา และไม่ต้องการอาหารเช้าแบบหนักท้องมากก็เหมือนกับทุกที่ๆ ปัจจุบันมักนิยมอาหารเช้าแบบ quickie เช่นเป็น Toast หรือ Croissantกับ กาแฟ แต่ถ้ามา NYC ผมขอแนะนำเป็น เบเกิ้ล (Bagel) ซึ่งมันคือของดีท้องถิ่นที่นี่ และถ้าคุณเคยแค่ลองเบเกิ้ลส์ในเมืองไทย หรือที่อื่นๆ แล้วคิดว่าเบเกิ้ลมันไม่เห็นจะได้เรื่องตรงไหนเลย ขออย่าเพิ่งด่วนสรุปจนกว่าจะได้มาลองขอแท้ๆ ออริจินอลซะก่อน

 

new-york-city-iii-01
Cr.pic:animalnewyork.com

 

อย่างที่เราทราบว่าวัฒนธรรมของนิวยอร์กได้รับอิทธิพลจากผู้อพยพจากประเทศต่างๆ จากยุโรปค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะชาวอิตาเลียนจากทางใต้ และชาวยุโรปเชื้อสายยิวที่มาจากทางเยอรมัน โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ที่อพยพมาในช่วงก่อนสงครามโลก ดังนั้นวัฒนธรรมเรื่องอาหารก็ติดตามมาด้วยเป็นเรื่องธรรมดา เบเกิ้ลก็เช่นกัน เป็นขนมปังรูปวงแหวนของชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวที่อพยพมานิวยอร์ก ทำจากแป้งข้าวสาลีและยีสต์ที่นำไปต้มก่อนอบ ว่ากันว่าทำขึ้นมาเพื่อฉลองชัยชนะของกษัตริย์โปแลนด์ชื่อ John III Sobieski ที่มีชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมัน ในสงคราม Battle of Vienna เมื่อปี 1683 ขนม Bajgiel (ชื่อที่เรียกแบบชาวโปล) กลายเป็นอาหารประจำของชาวโปล และชาวสลาฟในศตวรรษที่ 16 จริงๆ แล้วคำนี้มันมาจากภาษาท้องถิ่นของเยอรมันคือ Beugel หมายถึงวงแหวนหรือกำไล มีหลายรูปแบบคือแบบที่มีถั่วมีงาขาว และงาดำโรยหน้า

 

new-york-city-iii-03

 

ในนิวยอร์ก เบเกิ้ลมักจะทานกับ cream cheese ซี่งผลิตจาก Philadelphia ไกล้ๆ และ lox ซึ่งก็คือปลารมควัน (มักเป็นปลาแซลมอน) ถือเป็นอาหารประเพณีของชาวยิวที่กลายมาเป็นอาหารท้องถิ่นนิวยอร์ก และมักทานเป็นอาหารเช้าแทน ABF ที่เป็น American Trilogy หมายถึง Bacon, Toast & Eggs ในขณะที่ใช้แทนขนมปังทำแซนวิชได้ด้วย

ไม่ใช่แค่ NYC แต่ในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมไปถึงแคนาดาที่มีสไตล์เฉพาะของเมืองมอนทรีลอัล (Montreal-style bagel) ซึ่งจะใช้มอลต์และน้ำตาล ไม่ใช้เกลือ และต้มในน้ำผสมน้ำผึ้งก่อนอบด้วยเตาอบใช้ฟืน ในขณะที่เบเกิ้ลของเมืองโทรอนโตจะไม่หวาน และอบด้วยเตาอบธรรมดาเหมือนของนิวยอร์ก และในบรรดาหลายๆ รูปแบบนั้นนักชิมเบเกิ้ลบอกว่าของนิวยอร์กถือว่าอร่อยที่สุด ซึ่งผมขอพาคุณไปลองที่ 2-3 ร้านที่ติดอันดับต้นๆ ของร้านขายเบเกิ้ลที่อร่อยที่สุดในนิวยอร์ก

 

new-york-city-iii-10

1. Absolute Bagels

ที่นี่อยู่บนนถนนบอร์ดเวย์ย่าน Upper West Side ที่นี่มีเบเกิ้ล 16 แบบให้เลือก ทานกับท็อปปิ้งหลากหลายเช่น cream cheeses blueberry, sun-dried tomato, walnut-raisin, Tofutti, deli meats, salads และปลารมควัน (smoked fish) ราคาประมาณ $6 ต่อชิ้น (ที่อยู่: 2788 Broadway (ตัดกับถนน 107-108) New York 10025)

 

new-york-city-iii-09

2.Barney Greengrass

ร้านนี้เป็นร้านเดลี่มีชื่อเรื่องขายปลาสเตอเจียนที่ไข่เอามาทำคาเวียร์ แต่ก็มีอาหารและของดีหลายอย่างรวมทั้งเบเกิ้ล อยู่ระหว่างถนน 86th-87th ถ้าอยู่ไม่ห่างจากแถวนั้นน่าจะไปลองครับ

 

new-york-city-iii-06

3.Russ& Daughters

ร้านเดลี่แห่งนี้ถือว่าชื่อดังพอสมควร เป็นร้านโปรดหรือร้านแนะนำของเชฟที่ผมชื่นชอบคือ Anthony Boudain ที่นี่มีของดีสำหรับ appetizers หรืออาหารเรียกน้ำย่อยหลากหลาย มาทานเบเกิ้ลแล้วซื้อ cold cut หรือ corn beef กลับไปทานกับไวน์ก็ไม่เลวครับ มาที่นี่ไม่เสียเที่ยว ถ้าท่านพักอยู่แถวถนน AllenกับOrchard ย่าน Lower East Side

หากไม่มีเวลาไปเสาะหาเบเกิ้ลชั้นดีที่มันไกลจากที่พักมาก แต่มีแผนไปช็อปปิ้งที่ห้างดังของที่นี่ชื่อ Barney’s ก็ที่นั่นแหละครับจะมี coffee shop ของห้างชื่อ Fred’s

 

new-york-city-iii-08

Cr: mstrausman

 

ชื่อนี้จริงแล้วเป็นชื่อของลูกชาย Barney ที่เป็นเจ้าของห้างนั่นเอง เค้าบอกกันว่าเบเกิ้ลที่นี่แหละดีที่สุดไม่ต้องไปหาที่ไหนอีก อาจจะดูหรูหราเกินการไปกินแค่เบเกิ้ล ก็ไม่เป็นไรครับ แก้เขินด้วยการซื้อพวกอาหารสำเร็จแบบบรรจุขวดเช่น พวก peanut butter หรือ cookies มาเป็นของฝากเพื่อนได้ มันดูแพงเพราะ packaging ดีมากๆ ถ้าใครนึกไม่ออกว่าของฝากแบบนี้หน้าตาแบบไหนลองไปดูร้าน Dean & Deluca (ในกรุงเทพฯ) แผนกที่ซื้อกลับบ้าน

 

II.มื้อเช้าแบบหรูที่ Waldorf Astoria หรือ Norma’s

 

เมื่อเราพูดถึงอาหารเช้า คงต้องพูดถึงอาหารเช้าจานนี้ซักหน่อย นั่นคือ Egg Benedict ครับเพราะเชื่อกันว่าอาหารจานนี้มีต้นกำเนิดมาจากที่ NYC นี่เอง จริงๆ แล้วเรื่องเล่ามีอยู่หลายเวอร์ชั่น แต่ที่มีลงเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ชื่อ New York Times ในปี 1942 คงจะน่าเชื่อถือได้ที่สุด เรื่องมีอยู่ว่าในปี 1894 ที่  Waldorf Astoria โรงแรมหรูหราที่สุดแห่งหนึ่งของนครนี้ มีลูกค้าประจำของโรงแรมชื่อ Lemuel Benedict นายหน้าค้าหุ้นอยู่ wall street เดินเข้ามาสั่งอาหารเช้าแบบไม่เหมือนใคร เพราะเขาเชื่อว่าสูตรนี้จะแก้อาการเมาค้างของเขาได้ ซึ่ง Oscar Tschirky ซึ่งเป็น maître d’hôtel ของที่นี่ชอบไอเดียนี้จึงนำไปให้เชฟปรับปรุงเพิ่มเติมออกมาเป็นอาหารเช้าจานหนึ่งขึ้นมาในเมนูของที่นั่น และตั้งชื่อตามลูกค้าคนนี้ มันคือจานที่ชื่อ Egg Benedict นั่นเอง

 

new-york-city-iii-12

Caviar Eggs Benedict ที่ห้องอาหาร Oscars Brasserieโรงแรม Waldorf Astoria (cr:travelsupermarket.com)

 

Eggs Benedict ก็มีหลายเวอร์ชั่นเหมือนเรื่องเล่าที่มา แต่มาตรฐานต้องมี English muffin ที่อบร้อนแล้ว ผ่าซีกก่อนวางทับด้วยเบคอนแคเนเดียน (Canadian bacon -จะมีมันน้อยแบบแฮมทำจากส่วนสันนอกหมู ไม่ได้ทำจากส่วนท้องของหมูแบบ American Bacon) ตามด้วยการวางโปะด้วยด้วยไข่น้ำ (poached eggs) แล้วราดซอสฮอลลันแดส (hollandaise sauce) ซึ่งเข้มข้นด้วยเนยสดและไข่แดงจึงจะครบสูตร หากคุณอยากจะไปกินแบบต้นตำรับคงต้องไปเริ่มต้นเช้าวันนั้นที่ห้องอาหารเช้าโรงแรม Waldorf Astoria และหากคุณอยู่ที่นิวยอร์กตรงกับวันอาทิตย์จะคุ้มค่ามาก หากคุณเลือกทาน Sunday Brunch ที่โรงแรมนี้ ซึ่งจะเปิดช่วง 10.00 – 14.00 น. ที่เอ้าท์เล็ตชื่อ Peacock Alley Restaurant มีชื่อขนาดติดอันดับ 1 ใน 10 ของ Brunch (อาหารมื้อสาย) ที่ดีที่สุดในอเมริกา

 

new-york-city-iii-05

Buffet Breakfast at Waldorf Astoria (Peacock Alley Restaurant) (cr:10best.com)

 

แต่หาก Waldorf ดูเก่าแก่แบบคลาสสิกเกินไปสำหรับวัยรุ่นอย่างเรา คงต้องหาอะไรที่ทันสมัยหน่อย ผมแนะนำให้ไปทาน All Day Breakfast ที่ Norma’s ที่โรงแรม Le Parker Meridien (ที่อยู่ 119 W 56th St.)

 

new-york-city-iii-07

 

ที่นี่เป็นที่นิยมมากๆ สำหรับบรันช์ และอาหารเช้าแบบแปลกใหม่แฟนซี ที่แพงหน่อยแต่บรรยากาศรีแล็กซ์ไม่อึดอัดต้องสำรวมมาก ถ้าอยากลองสั่งจานเด็ดของที่นี่ให้คนพิเศษที่ไปด้วยก็ต้องนี่เลยครับ Frittata ไข่เจียวอิตาเลียนที่ชื่อ ‘Zillion Dollar Lobster Frittata’ ถือเป็นอาหารจานไข่ที่แพงที่สุดในโลก (The world’s most expensive omelette บันทึกไว้ใน Guinness Book of Records) ประกอบด้วย คาเวียร์ 280 กรัม และกุ้งอีก 450 กรัม เสิร์ฟบนไข่ผสมมันฝรั่งทอดแบบอิตาเลียน ราคาจาน $1,000 สำหรับสั่งทานกันหลายคนมาแบ่งกัน แต่เขาก็มีแบบที่เล็กให้ลองในราคา $100

 

new-york-city-iii-11

 

เรื่องอาหารเช้ายังไม่จบนะครับ คราวหน้าจะเป็นเรื่องสำหรับคนที่ชอบ full Breakfast แบบคลาสสิก มานิวยอร์คทั้งทีต้องมี ABF แบบออริจินอลที่ไดเนอร์ ครับ และสำหรับใครที่ตื่นสายจะทานเป็นแบบเป็นมื้อสาย (Brunch) ที่ร้านแบบไดเนอร์สก็เหมาะ คราวหน้าผมจะพาไปรู้จัก American Diner และทานอาหารเช้าที่นั่นกัน

 

เรื่อง: ภูษิต แสนโสภณ

City Break: New York City, part II

เบรก-เที่ยว (แนะนำเรื่องเที่ยว) (ตอนต่อจาก City Break: New York City, Part I )

 

3. ไปดูละคร Broadway ที่ Theater District

new-york-city-part-2-08
Cr: pixiz

 

ถ้าต้องการสัมผัสย่านที่ไม่เคยหลับใหลเอกลักษณ์ของ “City that never sleeps..”จากเพลงดังของ Frank Sinatra ละก็ต้องไปแถบ Theater District ที่อยู่ระหว่างถนน 7th กับ 8th ตัดกับถนน 42 ขึ้นไปจนถึงถนน 57 ที่นี่คือย่านละครบอร์ดเวย์ที่เป็นละครแบบมิวสิกคัลกว่า 30 โรงมีทั้งแบบลงทุนสูง และแบบทุนน้อยแต่ไม่ด้อยคุณภาพ ดูแล้วเพลินครับ แต่ต้องศึกษาเนื้อเรื่องมาก่อนจึงจะสนุก เลือกเอาครับจะเป็นเรื่องคลาสสิก แบบ Les Miserables ที่ Victor Hugo เขียนเป็นหนังสือไว้ หรือ Cats ที่เป็นผลงานชิ้นเอกของ Andrew Lloyd Webber จากลอนดอน หรือยุคใหม่หน่อยชอบเพลงของ ABBA ก็ Mama Mia! เขียนบทโดย Catherine Johnson ชาวอังกฤษ ตั๋วเริ่มต้นจากราคาประมาณ $57 แต่ต้องเช็คเวลาแสดง และจองล่วงหน้าซะหน่อยครับ แต่ถ้าไม่เลือกโชว์เราสามารถแวะซื้อตั๋วที่บู๊ท TKTS booth ที่ Times Square ที่นี่ขายตั๋วลดราคาที่มีการแสดงวันนั้น แล้วที่นั่งว่างอยู่เหมือน last minute ticket ทำนองนั้น

ถ้าไม่ชอบละครเพลง มาแถวนี้ก็ควรแวะไปเดินเล่น Times Square ทีนี่หลายคนมักจะถามว่านาฬิกามันอยู่ตรงไหน เพราะนึกว่าที่เรียกว่า Times Square ก็คงเพราะมีหอนาฬิกาเพื่อดูเวลา แต่ไม่ใช่ครับ เมื่อก่อนที่นี่เรียกว่า Long acre square แต่พอปี 1904 บริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ชื่อ The New York Times ย้ายมาสร้างตึกสำนักงานใหญ่ที่นี่ ก็เลยเปลี่ยนชื่อมาเป็น Times Square ตั้งแต่นั้น

 

new-york-city-part-2-02

Cr:suburbantours.com

 

สำหรับ เหตุการณ์สำคัญของ Times Square ก็คือทุกวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่นี่จะมีประเพณี count down หย่อนลูกบอลหรือ ‘Ball drop’ ตอนเที่ยงคืน ซึ่งทำมาตลอดตั้งแต่ปี 1907 จนถึงทุกวันนี้ เป็นมหกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่ที่หลายๆ ประเทศพยายามเอาไปเลียนแบบแม้แต่บ้านเรา

 

4.ไปปิคนิคที่ CENTRAL PARK

new-york-city-part-2-01
Cr: wikipedia

 

เมื่อผมมานิวยอร์ก สิ่งที่ผมชอบอย่างหนึ่งคือ เวลาเดินเหนื่อยแล้วอยากพักผมจะไปหาซื้ออาหารและดื่มแบบ to go ในร้านชื่อดังหน่อยเช่น ฮ็อตด็อกจากร้าน Papaya King ที่ถนน 86th แล้วมาปิคนิคใน Central Park (ถ้าเลือกอาหารไม่ถูก เดี๋ยวรออ่านในตอนผมแนะนำของกินใน NYC ได้) หรืออาจหาซื้อฮ็อตด็อกหรือเบอร์เกอร์จากรถเข็นในปาร์คเลยก็ได้

อีกอย่างที่ชอบคือการไปดูคน ‘people watching’ คืออยากดูและสังเกตกิจกรรมของคนท้องถิ่น ที่ไม่ใช่นักท่องเที่ยว แม้ว่าจะยากหน่อยสำหรับสมัยนี้ เพราะนักท่องเที่ยวมักไปทุกที่ แต่ ที่ Central Park จริงๆ แล้วออกแบบมาให้ ชนิวยอร์กเกอร์ เพราะรูปแบบการอยู่อาศัยแบบ อพาร์เมนต์มันต้องมีปาร์ค และบรรยากาศแบบตึกระฟ้าทั้งหลายมันก็ต้องเบรคด้วย green area ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ช่วงทางใต้ของปาร์คระหว่างถนน 59th ถึง 72nd จะคนเยอะหน่อย ถ้าต้องการความสงบก็ให้เดินขึ้นเหนือไปอีกครับ

 

5. ไปเซลฟี่กับ BROOKLYN BRIDGE

new-york-city-part-2-07

 

ในยุคของการเดินทางท่องเที่ยวในยุคที่ทุกคนต้อง ‘Selfie’การถ่ายรูปกับแบคกราวน์เท่ห์ๆ มันจำเป็นมากๆ ผมว่าภาพถ่ายที่ถ่ายมาจากฝั่ง Brooklyn ตรงแถว Brooklyn park ริมแม่น้ำ East แล้วเห็นสะพานชื่อเดียวกัน แล้วมองไปทางฝั่ง Lower Manhattan ที่เป็นย่านfinancial districtนั้น จำต้องมีเลยครับ หรือถ้าเป็น hardcore เราไปถ่ายบนสะพานบนทางที่จัดให้เดินแบบ promenade เป็นแบบ boardwalk อยู่สูงกว่าระดับถนนถ้ามาจากทางฝั่ง Brooklyn มันจะมีทางลงใต้ดินตรงถนน Washington แล้วทางจะพาไปทางขึ้นสะพานเองมีผู้ที่มาเล่นสเก็ตบอร์ดหรือขี่จักรยานเล่นเยี่ยมมากๆวิวสวยสุดแม้จะต้องเดินนานหน่อยกว่าจะข้ามได้เป็นสุดยอดประสบการณ์ ข้างๆ กันจะเป็นสะพาน Manhattan แต่ไม่ถือเป็นแลนด์มาร์คของ NYC

 

new-york-city-part-2-05

new-york-city-part-2-06

 

เมื่อข้ามไปฝั่ง financial district ก็มีจุด Photo point เยอะที่ผมแนะนำก็คือ ‘Charging Bull – กระทิงบุก’ สัญลักษณ์ของ NYSE ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ที่เป็นที่สุดของตลาดที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก และเดินไม่ไกลก็จะเป็นอนุสรณ์สถาน 9/11 Memorial ที่มีรูปแบบเป็นน้ำตกฝีมือมนุษย์ man-made waterfalls ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกา คือมีขนาดเท่ากับฐานของตึก WTC ที่เคยอยู่ที่นี่เดิมทั้ง 2 ตึกนั่นเอง แล้วก็มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั้ง 2,983 คน จารึกไว้บนแผ่นทองแดงที่จะอยู่รอบๆ

 

6.ไปดูงานศิลปะ และศึกษาความเป็นมาของธรรมชาติวิทยาที่ MUSEUM OF MODERN ART และ AMERICAN MUSEUM OF NATURAL HISTORY

new-york-city-part-2-04

 

ผมมักให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เสมอ การที่เรามีโอกาสได้ไปที่ไหนแล้วเราควรต้องฉลาดขึ้นไม่ใช่มีแค่เซลฟี่ หรือช้อปปิ้งเท่านั้น Museum of Modern Art มีผลงานชิ้นเอกของ Picasso ที่ชื่อ Les Demoiselles d’Avignon หรือของ Van Gogh ที่เป็นภาพที่เราคุ้นกันดีที่ชื่อ Starry Night ส่วน American Museum of Natural History คือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

7. ไปดูวิวแบบซูเปอร์แมน โดย Liberty Helicopters

new-york-city-part-2-03

 

หนังเรื่องซูเปอร์แมน ตอนที่แสดงโดย Christophe Reeve เป็นตอนที่เทคนิคการถ่ายทำด้วย blue screen เริ่มนำมาใช้ใหม่ๆ ทำให้การบินของ ซูเปอร์แมนดูเหมือนจริงน่าทึ่งสำหรับแฟนหนังในยุคนั้น ซึ่งจำได้ว่า ซูเปอร์แมนบินโชว์บ่อยเหลือเกินแต่ก็วนไปมาอยู่เหนือนครนิวยอร์กนี่เอง เพราะในหนัง นครนี้ถูกสมมุติให้เป็นนคร Metropolis ที่ Clarke Kent มาทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ The Daily Planet ผมจึงขอแนะนำว่า ถ้าต้องการสุดยอดทิวทัศน์ของมหานครแห่งนี้แบบที่ซูเปอร์แมนเห็น คงต้องใข้บริการของ Liberty Helicopter ในราคา $150 เราจะได้ชมวิวจากจุดที่ถูกนำไปถ่ายโปสการ์ดจากมุมสูงของนครแห่งนี้ ในเวลาบินประมาณ 15 นาทีก็ไม่เลวครับให้ไปที่ Downtown Heliport, East River Piers หรือโทร 212-967-6464 เว็บไซด์ libertyhelicopter.com

 

ตอนต่อไปเราจะมาคุยกันเรื่องของกินของที่นี่ ว่ามาแล้วห้ามพลาดอะไร….

 

เรื่อง: ภูษิต แสนโสภณ

ก้าวใหม่ของ Donna Karan และ Makeup Backstage ฝีมือคนไทย

ดอนน่า คาราน (Donna Karan) ดีไซเนอร์ฝีมือเก๋าที่สร้างแบรนด์ของตัวเองเมื่อ 31 ปีที่แล้วในชื่อของตัวเอง Donna Karan หลังฝึกปรือฝีมือเป็นผู้ช่วยดีไซเนอร์กับห้องเสื้อ Anne Klein อยู่หลายปี จนปี 1974 แอนน์ ไคลน์เสียชีวิตมีการเปลี่ยนหัวหน้าดีไซเนอร์ คารานจึงลาออกมาเปิดห้องเสื้อของตัวเองชื่อว่า Essential ในปี 1985 ต่อมาปี 1988 เธอสร้างแบรนด์ของตัวเองในชื่อ Donna Karan New York และ DKNY ไลน์เสื้อผ้าสายวัยรุ่น อีก 2 ปีก็มี DKNY Jeans และ DKNY Men ในปี 1992

 

dkny-01

dkny-02

dkny-03

 

เธอลาออกจากการเป็นซีอีโอแต่ยังคงเป็นดีไซเนอร์และประธานบริษัทอยู่หลัง Moët Hennessy Louis Vuitton (LVMH) เข้าซื้อเมื่อปี 2001 พอปี 2015 เธอก็ตัดสินใจอำลาตำแหน่งทั้งหมดเพื่อไปทุ่มเทให้กับแบรนด์ใหม่ ‘Urban Zen’ ที่จริงๆ แล้วริเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2008 กับดีไซเนอร์ซอนย่า นัททอล (Sonja Nuttall) โดยล่าสุดได้เดินโชว์ครั้งแรกที่ New York Fashion Week ไปเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา เสื้อผ้าแบรนด์นี้นำเสนอในสไตล์เรียบง่ายแต่ทันสมัย มีกลิ่นอายตะวันออกผสานตะวันตก มีทั้งชุดกระโปรงเจอร์ซี่, กางเกงทรงจ๊อดปูร์หลวมๆ, เสื้อกิโมโนผ้าไหมพองๆ, ผ้าพันคอผืนโตและเครื่องดับทำจากหนัง ส่วนใหญ่ดีไซน์มาในโทนสีน้ำตาลช็อกโกแลต, สีแดงไวน์ และสีดำคลาสสิก

 

dkny-04

dkny-05

 

แต่มีอะไรมากกว่าการโชว์เสื้อผ้าครั้งแรกในชื่อใหม่ของดอนน่า คารานก็คือความภาคภูมิใจของคนไทยอย่างเราๆ เพราะเบื้องหลังการสร้างสรรค์สีสันบนใบหน้านางแบบตาน้ำข้าวทั้งหลาย หัวหน้าเมกอัพอาร์ติสท์ (Head Makeup Artist) ที่ควบคุมและดูแลสไตล์การแต่งหน้าทั้งหมดของนางแบบเป็นคนไทย (จะดีใจและภูมิใจน้อยกว่านี้ได้อย่างไร?) และเมกอัพอาร์ติสต์คนไทยคนนั้นชื่อว่า แบงค์ ณัฐดนัย บุณยรัตผลินหรือ Bank Natdanai โดยแบงค์ได้ประชุมและปรึกษาคอนเซ็ปต์กับดอนน่า คารานว่าต้องการสไตล์ไหน ซึ่งคอนเซ็ปต์เมกอัพคือ ‘Ethnic’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผู้หญิงอินเดียที่ใช้ดินสอเขียนขอบตาสีดำเข้มหรือที่เรียกว่าคาจาล (Kajal) เขียนขอบตานางแบบ ส่วนผิวหน้าก็ให้ดูเนียนเป็นธรรมชาติ ไม่ใช้แป้ง ปัดแก้มเบาๆ ด้วยสีน้ำตาลอมชมพู เรียวปากใช้สีน้ำตาลอมชมพูเช่นกัน นอกจากทำแบ็คสเตจที่แบงค์เลือกใช้ทีมงานผู้ช่วยเป็นคนไทยทั้งหมดแล้ว ได้ยินมาว่าดอนน่ายังให้แบงค์ไปแต่งหน้าให้กับนางแบบเพื่อทำ Look Book อีกด้วยนะคะ ปลื้มใจแทนแบงค์จริงๆ หลายคนคงสงสัยว่าแบงค์ ณัฐดนัยเป็นใครถึงได้ไปร่วมทำงานที่นั่น

 

dkny-08

dkny-07

dkny-06

dkny-10

 

แบงค์เป็นหนึ่งในคนที่ไปตามล่าหาฝันที่ตั้งใจว่าอยากเป็นช่างแต่งหน้าฝีมือดี หลายปีแล้ว (ไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี) ที่แบงค์ไปตามล่าฝันไกลถึงนิวยอร์กกว่าจะมาได้ถึงจุดนี้ นอกจากแบงค์จะทำงานที่นิวยอร์กแล้วเวลากลับมากรุงเทพก็มาร่วมทำงานกับนิตยสารที่นี่อย่าง L’Officiel Thailand, Women’s Health Thailand, Harper’s Bazaar Thailand, Lips และอีกมากมาย แถมยังเป็นครูสอนแต่งหน้าอีกด้วย

นอกจากชื่นชมยินดีกับหนึ่งความสำเร็จของคนไทยแล้วแฟชั่นโชว์ครั้งนี้ของ Urban Zen ที่มีคอนเซ็ปต์ See-Now-Shop-Now จบโชว์ช้อปได้ รวดเร็วทันใจ ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่สุดฮิตของหลายๆ แบรนด์ที่นิวยอร์ก หลังจากมีคอนเซ็ปต์นี้ไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมาค่ะ

 

(ภาพ: Bank Natdanai; richestcelebrities.org; livingly.com; observer.com; chaos-mag.com; wwd.com )

City Break: New York City, Part I

…. “ไม่ว่าผมจะมานิวยอร์กซิตี้ (NYC) กี่ครั้งก็แล้วแต่ มันก็ยังทำให้ผมได้เร้าใจได้ทุกครั้งไป เมื่อรู้สึกว่าเครื่องบินกำลังลดระดับลงสู่ 1 ใน 3 สนามบินของที่นี่มันเหมือนได้ยินเพลงของ Frank Sinatra ร้องเพลงที่เป็นชื่อเมืองนี้ดังขึ้นมาในหัว..”

 

แม้ว่านิวยอร์ก จะเป็นเมืองที่เก่าไปเรื่อยๆ (ดูจากอายุของมัน) แต่มันก็กลับไม่เคยแก่มันดูทันสมัยอยู่เสมอและยังคงเป็นผู้นำ หรือเป็นที่หล่อหลอมด้านวัฒนธรรมของชาวอเมริกันหลายรูปแบบดังเป็นที่รู้จักว่าที่นี่คือ “The Great American Melting Pot”

มันเริ่มมาจากการเป็นเมืองท่าที่รองรับผู้อพยพจากยุโรปโดยเฉพาะชาวดัชท์ในสมัยปี 1609 ทำให้ตอนนั้นมันมีชื่อว่า ‘New Amsterdam’ จนกระทั่งมันเติบโตกลายเป็นอัครมหานครต้นแบบของโลกที่ขยายตัวในแนวสูง แต่ก็มีการจัดการที่นครในยุคหลังๆก็ยังสู้ไม่ได้

แต่ผมก็ไม่อยากพูดถึงด้านบวกแต่เพียงอย่างเดียวเพราะมันก็มีเรื่องเร้าใจด้านลบอยู่ด้วย ผมเคยมาที่นี่ 6-7 ครั้งอาจดูเหมือนไม่บ่อยแต่ก็ได้ผ่านการทดสอบทุกรูปแบบของมหานครแห่งนี้พอสมควรไม่ว่าจะเป็นการโดนล้วงกระเป๋า,โดนจัดฉากหลอกโดยคนท้องถิ่นผิวสีที่เราต้องควักเงินจ่ายเหมือนโดนปล้นแต่ NYPD ทำอะไรไม่ได้ หรือแม้แต่ได้ลองใช้บริการ911เรียกรถพยาบาลฉุกเฉินโดยมีทีมช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ที่ทำตามขั้นตอนเหมือนในหนังทุกอย่าง

 

เบรค-พัก (แนะนำเรื่องที่พัก)

 

อย่างที่ผมพูดถึง,ที่นิวยอร์กนั้นถ้าคุณอยู่ผิดที่ผิดทางหรือผิดเวลามันไม่ค่อยดีเท่าไรดังนั้นเราควรเลือกที่พักในทำเลที่ไว้ใจได้แม้ว่าจะต้องจ่ายแพงซักหน่อย(อย่าประหยัดเกินไปเชื่อผม)

 

new-york-city-part1-05

 

New York City (NYC) แบ่งออกเป็น 5 เขตเรียกว่า Borough ก็มี Manhattan, Brooklyn, Queens, Bronx และ Staten Island และอย่างที่ทราบย่านเศรษฐกิจสุดหรูสุดแพงก็คือเขต Manhattan หลายคนคิดหนักเมื่อเห็นราคาห้องพักในเขตนี้ สำหรับผมถ้าชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียหลายๆด้านออกมาแล้วผมว่าอยู่ย่าน Brooklyn น่าจะดีที่สุดครับ มันอยู่ทางใต้ของManhattanซึ่งมองกลับเข้ามาจากฝั่งบรุ๊คลินจะเห็นวิวแถบ Financial District ของ Lower Manhattan สวยมากครับ ที่สำคัญย่าน Brooklyn เดี๋ยวนี้เก๋ไก๋ทันสมัยแล้วไม่เหมือนกับตอนที่ผมมาที่นี่ครั้งแรกเมื่อปี’75

 

new-york-city-part1-04

 

ที่นี่อุดมสมบรูณ์ไปด้วยคาเฟ่ร้านอาหารหลากสไตล์ การไปเที่ยวในแมนฮัตตันก็แค่มุดลงใต้ดินเพียงไม่กี่สถานีเราก็อยู่ Theater District แล้วลองค้นรายละเอียดของโรงแรมในบรุ๊คลินเหล่านี้ดูครับ 2โรงแรมท้ายสุดจะได้วิวที่สวยหน่อย

 

Wythe Hotel: 80 Wythe Ave, 718-460-8000, wythehotel.com, ราคาเริ่มจาก $195

Nu Hotel: 85 Smith St, 718-852-8585, nuhotelbrooklyn.com, ราคาเริ่มจาก $189

Condor Hotel: 56 Franklin Ave, 718-526-6367,condorny.com, ราคาเริ่มจาก $199

Henry Norman Hotel: 251 N. Henry St, 718-951-6000, henrynormanhotel.com, ราคาเริ่มจาก $169

Aloft New York Hotel: 216 Duffield St, 718-256-3833, aloftnewyorkbrooklyn.com, ราคาเริ่มจาก $199

Marriott Brooklyn: 333 Adams St, 718-246-7000, marriott.com, ราคาเริ่มจาก $249

 

new-york-city-part1-03

 

เบรก-เที่ยว (แนะนำเรื่องเที่ยว)

 

1.ไปเข้าฉากหนังclassicที่ EMPIRE STATE

ใครจะบอกว่ามันล้าสมัยหรือเชยอย่าไปสนใจครับ Empire State เป็นอนุสรณ์สถานที่มีคุณค่า ตึกในสไตล์ Art Deco หลังนี้เป็นสัญลักษณ์ของมหานครนี้ต้อง ขึ้นไปดูวิวจากชั้น 86 หรือชั้น 102 เพื่อให้ได้บรรยาศของ NYC จากมุมสูงแล้วลองนึกถึงฉากภาพยนต์ที่เราเคยดูกันไม่ว่าจะเป็นที่สุดของหนังคลาสิกอย่าง ‘An affair to remember’, ‘Sleepless in Seattle’ หรือแม้แต่ ‘King kong’ สำหรับผมช่วงเวลาที่ควรขึ้นไปชมวิวควรเป็นช่วงไกล้พระอาทิตย์ตก เพื่อจะได้ดูช่วงพลบค่ำที่นิวยอร์ก จะสวยมากเมื่อไฟจากทุกอาคารทยอยเปิดขึ้นพร้อมๆ กัน

 

new-york-city-part1-01

 

2. ไปยกมือสนับสนุนสันติภาพบนโลกใบนี้ที่ STATUE OF LIBERTY

สำหรับผู้อพยพจากยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวอเมริกัน ที่ต่างทยอยข้ามแอตแลนติกมาแบบต้องทนทรมานกับการป่วยเพราะอาการเมา เรือหรือความแออัดในเคบินชั้นประหยัด แต่เมื่อเค้าเห็นสิ่งนี้ก่อนได้เยียบแผ่นดินอเมริกา มันก็ทำให้อาการเมาเรือหรือป่วยไข้แทบจะหายไป มันกลายเป็นความหวังเป็นนิมิตรหมายของการเริ่มต้น รวมทั้งการได้อิสระภาพของหลายๆ คน ใช่แล้วครับผมหมายถึง ‘เทพีเสรีภาพ’ ถ้าคุณอยากมีความรู้สึกแบบเดียวกัน ผมแนะนำให้ไปขึ้นเรือเฟอร์รี่ที่ Battery Park ใช้เวลาไม่นาน ได้รูปสวยๆ ของ NYC ด้วยถ้าถ่ายกลับมาจากเรือ และยังมีพิพิธภัณฑ์ผู้อพยพ อยู่ไกล้ๆบนเกาะ Ellis หากใครสนใจ

 

new-york-city-part1-02

 

ความหมายและความเป็นมาของ Statue of Liberty คือ Liberty Enlightening the World หรือ La Liberté éclairant le monde ในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง สันติภาพนำการรู้แจ้งเห็นจริงมาสู่โลก เป็นศิลปะแบบ neoclassical ตั้งอยู่บนเกาะ Liberty Island ในอ่าวธรรมชาติของ New York ทำด้วยทองสำริดออกแบบโดย Frédéric Auguste Bartholdi, ชาวฝรั่งเศสจากเมืองโกม่าแถบอัลซาส แต่สร้างโดยปรมาจารย์แห่งโครงสร้างโลหะนั่นคือ Gustave Eiffel ผู้สร้างหอไอเฟล แต่งานนี้สร้างเสร็จก่อนหอไอเฟล 3 ปีคือในปี 1886 มันเป็นของขัวญจากชาวฝรั่งเศสมอบให้ชาวอเมริกัน ในฐานะพันธมิตรที่มีส่วนร่วมช่วยให้อเมริกาชนะสงคราม civil warได้อิสระภาพจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม เทพีนี้ก็คือเทพีของโรมันที่มีชื่อว่า Libertas ถือคบเพลิงให้แสงสว่างความรู้แจ้งและหนังสือ (กฎหมาย และหลักการ) แห่งการประกาศอิสระภาพ American Declaration of Independence ในวันที่ 4 กรกฎาคม  1776

 

โปรดติดตามต่อใน City Break: New York, part II

 

 

 


 

Intro..

ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณคุณนนที่ให้เกียรติผมมามีส่วนร่วมใน The Editors Society ในฐานะ guest editor โดยได้เสนอพื้นที่ให้ผมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเดินทาง ในแบบที่แตกต่าง น่าสนใจ ในสไตล์ที่ผมถนัด บังเอิญว่าประมาณ 10 กว่าปีให้หลังมานี้ ผมเดินทางค่อนข้างบ่อย และให้ความสนใจกับอาหารการกินของท้องถิ่นที่ผมเดินทางไปเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน หรือไปเที่ยว ก็เลยเป็นที่มาของ ‘City Break series’ เรื่องที่คุณสามารถจะติดตามอ่านได้ที่นี่ครับ

 

Concept..
ความหมายของ ‘city break’ ก็คือ A short holiday หรือ weekend break ในเมืองใหญ่มันก็คือการได้พักเบรคจากการงานสักวันสองวันก่อนต้องไปเริ่มภาระกิจที่ค้างไว้ต่อไป หรือเบรคหลังจากจบโครงหนึ่งก่อนไปขึ้นโครงการใหม่ หรือการได้มา business trip งานแฟร์ ออกบู๊ท พบลูกค้าในต่างประเทศ แล้วเบรคต่อ 2-3 วัน

มันเป็นการพักผ่อนแบบสั้นๆ เหมาะกับชีวิตสมัยใหม่ ยุคที่การเดินทางสะดวกราคาถูกลง มีเที่ยวบินให้เลือกเยอะ จะเลือก No frill Airlines หรือจะเป็น Business class ของ Major Airlines ก็จะได้ super seating คือจ่ายเท่าสมัยก่อน แต่บริการเหนือกว่าเดิมเยอะ แล้วก็ไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับคนงานเยอะที่ชอบบอกว่าไม่มีเวลา เพราะสมัยนี้คนเราน่าจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ในโลกขอให้มี wi-fi

ในยุโรป มันเป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะแต่ละประเทศห่างกันออกไปไม่เกิน 2 ชั่วโมงบิน การเดินทางช่วงบ่ายวันศุกร์ กลับบ่ายวันอาทิตย์นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ หรือแม้จะไปฝั่ง east coast ของอเมริกามันก็ 5 ชั่วโมงแก่ๆ เท่านั้นนั่งดูหนังเพลินๆ บนเครื่องไปยังไม่ถึง 2 เรื่องก็พบตัวเองอยู่บนถนนสาย 5th ใน NYC แล้ว

เดี๋ยวนี้ city break package ที่รวมเอาตั๋วเครื่องบินกับโรงแรมที่พักก็หาง่ายแสนสะดวก คุณจัดการจองทางมือถือระหว่างนั่งรถไฟใต้ดินกลับไปแพ็คกระเป๋าที่บ้านยังได้ ไม่ต้อง plan กันนาน ที่สำคัญยิ่งถ้าได้จองโรงแรมเล็กๆ แบบ unique แบบ boutique ที่เก๋ไก๋ทันสมัยด้วยแล้ว city break 2-3 วันของคุณอาจเป็นอะไรที่น่าจดจำไม่แพ้ทัวร์ 10 วัน 7 คืนที่คุณไปมาก็ได้

อย่างไรก็ได้มีการทำ Research ออกมาว่าเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวแบบระยะสั้นนี้ เพื่อหาข้อสรุปว่ากิจกรรมไหนคือกิจกรรมที่นักเดินทางสมัยใหม่ให้ความสำคัญมากที่สุด ในระหว่าง เที่ยวชมสถานที่ กีฬา หรือการฟื้นฟูสุขภาพ เช่น กอล์ฟ สกี หรือสปา ช๊อบปิ้ง และสุดท้ายคืออาหารการกิน ปรากฏว่า กิจกรรมการกิน ชนะในคะแนนที่ท่วมท้น ผมเลยขอโฟกัส หรือเน้นเรื่องอาหารการกินของเมืองนั้นๆ มากหน่อย

สำหรับในตอนแรกนี้พอดีเมื่อวันก่อนได้ดูถ่ายทอดสด Tennis U.S Open จาก Flushing Medows ที่ Corona Park ใน New York ผมเลย ขอเสนอเรื่องนิวยอร์กเป็นการประเดิมเลยครับอาจจะมี 3-4 ตอนจบ

 

เรื่อง: ภูษิต แสนโสภณ

 

เครดิตภาพ: statuecruises.comresources.vrbo.com, pixabay และ Aloft Hotel