City Break Paris Part VI

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 6
By Paul Sansopone

และที่นี้เราก็มาทำความรู้จักสถาปัตยกรรมสำคัญๆ ช่วงยุคกลางของกรุงปารีสกัน

สถาปัตยกรรมแบบโรมันเนส (Romanesque)

City Break PARIS Romanesque Gothic 9

วิหารเซ็นต์ปีเตอร์แบบโรมันเนสที่มงมาตร์ที่ชื่อ Saint-Pierre de Montmartre

สถาปัตยกรรมยุคกลางของปารีสที่ยังอยู่ดี ส่วนใหญ่มักเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับความเลื่อมใสอย่างแรงกล้าในศาสนา เพราะตอนต้นยุคกลางถือเป็นยุคมืดหรือยุคแห่งความยากลำบากต้องการความหวังและที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ทำให้การก่อสร้างโบสถ์วิหารทำออกมาได้อย่างยิ่งใหญ่เพราะแรงศรัทธา โดยในยุคกลางช่วงแรก (ก่อนปี ค.ศ 1000) วิหารจะออกมาในสถาปัตยกรรมแบบโรมัน ที่เรียกว่า Romanesque ซึ่งตอนนั้นเทคนิคการก่อสร้างจะมาจากพวกโรมัน โบสถ์วิหารจะเป็นลักษณะที่เป็นกำแพงหนาทึบเพราะตัวกำแพงต้องรับน้ำหนักหลังคาวิหารด้วย ทำให้มืดแสงเข้าได้น้อย ส่วนซุ้มประตูหรือหน้าต่างก็จะโค้งเป็นตัว U คว่ำ (Round Arches) รับน้ำหนักรับแรงเครียดหรือstressได้แบบมีขีดจำกัด

City Break PARIS Romanesque Gothic 10

Saint-Pierre de Montmartre

หากสร้างอาคารสูงมากๆ หรือบริเวณนั้นมีการสั่นสะเทือนเพราะอยู่ในเขตแผ่นดินไหวมักถล่มง่าย อย่างไรก็ตามวิหารยุคกลางซึ่งถือว่าเป็นวิหารแห่งแรกๆ ของกรุงปารีสหรือพูดอีกอย่างก็คือวัดที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ของปารีสที่ต้องไปชมก็คือ

อารามแซงแฌแมงเดเพร Église et abbaye Saint-Germain des Prés

City Break PARIS Romanesque Gothic 7

ภาพเขียน Abbey of Saint-Germain-des-Prés ในสมัยแรก

สถานที่ตั้งของวิหาร แซงแฌแมงนั้น เคยเป็นสุสานของกษัตริย์เนอเตรีย Nuestria จากราชวงศ์เมโรวีเฌียงแห่งอาณาจักรแฟรงค์ หรือ ฟรังซ์ มาก่อนในช่วงศตวรรษที่ 5 ต่อมาวิหารได้ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 6 ยุคสมัยของพระโอรสกษัตริย์ Clovisที่ 1ที่พระนามว่า ชิลเดแบร์ที่ 1, Childebert I (ครองราชย์ในช่วง ค.ศ 511–558) ซึ่งกษัตริย์พระองค์นี้ท่านได้ไปรบชนะที่เมือง Saragossa ที่อยู่ในเขต Aragon ของสเปนแต่ไม่ยึดเมืองเพื่อเป็นการขอบคุณที่ชาวเมืองได้ให้เสื้อคลุมของนักบุญ Vincent และยังได้เศษไม้ที่เป็นส่วนหนึ่งของไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซูมาด้วยจึงต้องการสร้างสถานที่บูชา (Shrine) ของขลัง (Relic)หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้ โดยตั้งอยู่ในจุดที่พระองค์สามารถมองเห็นจากวังของพระองค์ที่เกาะซิเต้ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างวิหาร ณ จุดนี้ด้วย เพราะท่านสามารถมองข้ามแม่น้ำเซนมาก็จะเห็น

แต่วิหารนี้กลับไม่ได้ใช้ชื่ออุทิศให้แซงค์แวงซง (นักบุญ Vincent) เนื่องจากในวันที่สร้างเสร็จพระราชาชิลเดแบร์ที่ 1 สวรรคต จึงมาใช้ชื่อวิหารว่าแซงแฌแมง (St.Germain) ตามชื่อนักบุญ Germain ที่เป็นพระราชาคณะ หรือ Bishop แห่งปารีสในขณะนั้น แต่วัดแห่งนี้ต่อมาก็มีเหตุการณ์หลายครั้งเช่นเคยถูกยึดโดยพวกไวกิ้งและเผาทำลายจึงมีการสร้างต่อเติมกันหลายครั้งหลายสมัย ที่เป็นต้นฉบับจริงๆ จะอยู่บริเวณมุมตึกซ้ายด้านใน หากยืนหันหน้าเข้าจากหน้าวิหาร นอกนั้นทำใหม่เลียนแบบพิมพ์เดิมทั้งหมดและยังมีที่ไม่ทำขึ้นใหม่ก็คือส่วนที่ที่เป็นกุฏิของพระหรือบาทหลวง Monastery นั้นเคยถูกนำไปใช้เป็นที่เก็บดินปืนในช่วง ปฏิวัติการปกครองของฝรั่งเศสในปี 1789 แล้วเกิดระเบิดขึ้นทำให้ไม่เหลือให้เห็นในวันนี้

แต่ก็ถือเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมีที่ดินมากมายจนมีการบริจาคที่ดินสร้างสถานศึกษาที่เก่าแก่ของปารีสแถบย่านละติน Quartier Latin แถวถนน St.Michel และย่านของวิหารเองกลายมาเป็นชุมชนที่นิยมและน่าอยู่ที่สุดในฝั่งซ้ายของปารีส

City Break PARIS Romanesque Gothic 2

**แอบบีย์ Abbey คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์

City Break PARIS Romanesque Gothic 4

ภายในของอารามแซงแฌแมงเดเพร

วิหารเซ็นต์ปีเตอร์แห่งมงมาตร์ Saint-Pierre de Montmartre
เราคงยังไม่พูดถึงวิหารซาเครเกอเรอะ Sacré-Cœur ที่เป็นที่สุดของวิหารในปารีสอีกแห่งที่อยู่ที่Montmartre เพราะไม่ได้สร้างในยุคกลางแต่เราจะพูดถึงวิหารเล็กๆ ในสไตล์ Romanesque นั่นคือ Church of Saint-Pierre de Montmartre ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ในเขต 18 และถือว่าเป็นวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในปารีสรองจากแซงแฌแมงเดเพร St. Germain-des-Prés
City Break PARIS Romanesque Gothic 8

ที่นี่เริ่มก่อสร้างในปี 1134 และแล้วเสร็จในช่วงศตวรรษที่ 12 โดยมีผู้ผลักดันคือสันตะปาปา อูเฌอเนียสที่ 3 Pope Eugenius III โดยสร้างทับโบสถ์ของราชวงศ์เมโรวีเฌียงเดิมอุทิศให้นักบุญปีเตอร์และนักบุญแซงเดนีส โดยการก่อสร้างเริ่มมาในแบบโรมันเนสแต่ก็พอดีเป็นช่วงสมัยรอยต่อก็เลยมีสไตล์กอติกปนอยู่ ที่นี่มีซุ้มประตูโค้งแบบแหลม Pointed Arch ที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาปัตยกรรมแบบกอติกแห่งแรก ในปารีส (1147) ในส่วนทางเดินกลางโบสถ์nave จะมีเสาหินดั้งเดิมแบบโรมันของวัดเดิมของราชวงศ์เมโรวีเฌียงหลงเหลืออยู่ ส่วนด้านหน้าคือ Western Façade นั้นมาปรับสร้างเป็นแบบ Neo-Classical Style ในปี1765 โดยล่าสุดในปี 1980 ก็มีการทำประตูสำริด 3 บานตรงทางเข้าซึ่งอุทิศให้ St. Denis, St. Peter และ Virgin Marry

 

สถาปัตยกรรมแบบกอติก Gothic Style

City Break PARIS Romanesque Gothic 3

เนื่องจากการสร้างวิหารในสมัยนั้น หลักการที่สำคัญคือต้องพยายามทำให้สูงที่สุดเพื่อให้ได้เข้าใกล้กับพระเจ้าที่อยู่เบื้องสูงแต่สถาปัตยกรรมแบบโรมันเนสมีขีดจำกัดในการทำให้อาคารสูงโปร่ง จึงทำให้ใน 140 ปีต่อมา (คศ.1140) เกิดสถาปัตยกรรมแบบกอติก Gothic Style ซึ่งถือกำเนิดในฝรั่งเศสนี่เองและก็เพราะมาจากแรงศัรทธาเป็นหลักใหญ่ โดยแบบกอติกนี้คือการพัฒนาด้านวิศวกรรมมีการปรับปรุงในหลักการใหญ่ๆก็คือซุ้มประตูแบบโค้งแหลมคล้ายตัว Vตรงยอด (ซุ้ม) โค้ง (Pointed Arches) จะทำให้รับน้ำหนักและแรงเครียดลงแนวดิ่งได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนำซุ้มโค้งตั้งแต่ 2 ตัวมาไข้วกันเป็นตัว X ที่เรียกว่า Cross Vaults เป็นที่มาของ ‘เพดานสัน’ จะทำให้รับน้ำหนักหลังคาได้ดีไม่ต้องพึ่งกำแพงหนาๆ มารับน้ำหนัก

‘หน้าต่างกุหลาบ’หรือ Rose Window

โบสถ์กอติกจึงใช้กำแพงที่มีหน้าต่างเยอะๆ ได้ทำให้รับแสงได้มากและหน้าต่างก็นิยมที่จะประดับด้วย Stained Glass หรือแก้วย้อมสีที่ทำโดยการผสมสารที่แตกต่างกันให้ได้สีนั้นๆ ออกมาและมักทำเป็นภาพเรื่องราวในพระคัมภีร์เพราะผู้คนสมัยนั้นอ่านหนังสือไม่ได้ การสอนศาสนาจึงมาในรูปแบบของรูปภาพเล่าเรื่อง และมักจะมีไฮไลท์อยู่ตรงหน้าต่างทรงกลมด้านหน้าโบสถ์ที่เรียกว่า ‘หน้าต่างกุหลาบ’ หรือ Rose Window

ภาพ Stained Glass หรือแก้วย้อมสีที่มักทำเป็นภาพเรื่องราวในพระคัมภีร์

แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีปัญหาซะทีเดียวหากต้องสร้างอาคารสูงมากก็หนีไม่พ้นแรงดันแบะออกด้านนอกทำให้ต้องมีการคิดระบบค้ำยันจากด้านนอกของผนังที่ก่อบนรากฐานของ Cross Vaults ทั้งหลายเหล่านี้ ตัวค้ำยันนี้เรียกว่า ‘ค้ำยันแบบปีก Flying Buttresses’ ซึ่งจะทำหน้าที่Support ตัวอาคารจากด้านนอกเป็นตัวกระจายน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาลงดิน เราจะสังเกตเห็นว่าโบสถ์กอติกนั้นดูจากด้านนอกเหมือนมีขาแบบแมงมุมอยู่ 2 ด้านของอาคาร และความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้โบสถ์กอติกจะมีลักษณะสูงโปร่งสง่างาม

ภาพตัวอย่างของค้ำยันแบบปีก Flying Buttresses

จึงถือว่าสถาปัตยกรรมกอติกนั้นเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า “แบบฝรั่งเศส” (Opus Francigenum) คำว่า “กอติก” มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

เอาเป็นว่าถ้าเรามาถึงปารีส เราควรต้องไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรม กอติก ให้ได้ อย่างน้อยก็ 1ใน 3 วิหาร ที่ผมแนะนำต่อไปนี้ครับ…แต่คงต้องติดตามตอนต่อไปใน City Break Paris ตอนที่ 7 นะครับ

City Break Paris Part III

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 3
By Paul Sansopone

…… “แม้ว่าย่านนี้จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักแต่ความที่มีแม่น้ำเซนให้เดินเลียบเลาะไป ยิ่งถ้าชอบออกกำลังเป็นประจำทุกวัน ต้องวิ่งหรือขี่จักรยาน แถบนี้เหมาะมากมีสวนสาธารณะเปิดโล่งไม่อึดอัด”…

พักย่านไหนดีในปารีส
เรารู้ว่ามาปารีสทั้งทีก็ควรอยู่ในเมืองชั้นในก็คือภายในกรอบถนนวงแหวน แต่มันไม่ละเอียดพอ คราวนี้เราจะลงรายละเอียดลงไปอีกหน่อยให้รู้ว่าเขตไหนเป็นอย่างไร ต้องขอบอกว่าแต่ละ Neighborhood หรือที่นี่เรียกว่า ก๊า(ก)ร์ติเอ (Quartier )ของกรุงปารีสนั้นมีบุคลิกที่แตกต่างกันพอสมควรทีเดียว จริงๆ ของกรุงเทพฯ ก็มี Em-quartier ซึ่งเคยมีการถกเถียงกันใน social network แบบสนุกสนานว่าควรอ่านแบบไหนจึงจะถูก

ย่านไหนในปารีสที่เราควรเลือกจองที่พัก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 1860 ปารีสถูกแบ่งออกเป็น 20 เขตเทศบาลหรือที่เรียกว่า ‘อารรองดีสมงท์’ ( arrondissements) ซึ่งถ้าดูจากแผนที่มันจะถูกวางเรียงแบบลักษณะก้นหอย ขดเป็นวงจากในม้วนวนขวาออกนอกโดยที่ด้านในสุดจะเป็นเขต 1 และนอกสุดก็คือเขต 20 โดยก่อนหน้านั้นปารีสมีแค่ 12 เขตเท่านั้น แต่ละเขตมักจะถูกแบ่งออกไปเป็น 4 ย่านหรือแขวง เรียกว่า Quartier การ์ติเอ และที่มีชื่อก็เช่น Quartier Latin, Quartier des Champs-Élysées และ Quartier Saint-Germain-l’Auxerrois ในแต่ละเขตก็จะมีสำนักงานเขตของตัวเองที่เรียกว่าโอเตลเดอวิล ( Hôtel-de-Ville)และรวมทุกเขตก็มีสถานีตำรวจอยู่ถึง 350 แห่ง

City Break PARIS Population density map of Paris in 2012

1st Arrontissement of Paris – Louvre
2th Arrondissement of Paris – Bourse
3th Arrondissement of Paris – Temple
4th Arrondissement of Paris – Hôtel-de-Ville
5th Arrondissement of Paris – Phantéon
6th Arrondissement of Paris – Luxembourg
7th Arrondissement of Paris – Palais-Bourbon
8th Arrondissement of Paris – Élysée
9th Arrondissement of Paris – Opéra
10th Arrondissement of Paris – Enclos-St.Laurent
11th Arrondissement of Paris – Popincourt
12th Arrondissement of Paris – Reuilly
13th Arrondissement of Paris – Gobelins
14th Arrondissement of Paris – Observatoire
15th Arrondissement of Paris – Vaugirard
16th Arrondissement of Paris – Passy
17th Arrondissement of Paris – Batignolles-Monceau
18th Arrondissement of Paris – Butte-Montmartre
19th Arrondissement of Paris – Buttes-Chaumont
20th Arrondissement of Paris – Ménilmontant

แต่ถ้าเราดูภาพใหญ่สมัยก่อนที่จะมีการแบ่งเป็น 20 เขตแบบนี้ ปารีสนั้นถูกแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ฝั่งแม่น้ำเซน (La Seine) คล้ายกรุงเทพฯกับฝั่งธนบุรีในสมัยก่อน โดยแบ่งเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา แต่คนช่างสงสัยมักจะถามว่าทำไมไม่เรียกว่าฝั่งเหนือหรือฝั่งใต้เพราะดูจากแผนที่มันไม่น่าจะเรียกฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ต้องอธิบายว่าไม่งั้นมันต้องก็มีฝั่งตะวันออกและตะวันตกด้วย เพราะแม่น้ำเซนมันไหลมาจากใกล้เมืองดีจง Dijon เข้าเขตปารีสทางตะวันออกเฉียงใต้แล้วก็โค้งไปออกจากปารีสทางตะวันตกเฉียงใต้แล้วไหลต่อไปลงทะเลเหนือที่เมืองท่าชื่อ เลอ อาฟร์ Le Havre (ให้ดูรูปจากแผนที่ด้านบน) จะเห็นว่าตอนเข้าตอนออกมันก็จะมีฝั่งตะวันออกและตกด้วยทำให้งง เค้าก็เลยแบ่งเป็นฝั่งซ้ายและขวาโดยถือจากการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก เนื่องจากแม่น้ำมันจะไหลจากต้นกำเนิดไปสู่ทะเล ถ้าเรานั่งเรือเข้ามาตามกระแสน้ำ (down stream) เข้าสู่เขตเมืองปารีส ขวามือของเราก็จะเรียก“ฝั่งขวา”ส่วนซ้ายมือก็คือ “ฝั่งซ้าย”เท่านั้นเองง่ายๆ

ในยุคแรกนั้นความเจริญเริ่มมาจากฝั่งซ้ายเพราะมีย่านละติน การ์ติเย ลาแตง Quartier Latin ซึ่งมีศูนย์การศึกษายุคเริ่มต้นเกิดขึ้นที่นั่นซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และในสมัยนั้นมีการสอนเป็นภาษาละติน

ทีนี้เราก็ลองมาพิจารณากันดูว่าน่าพักฝั่งไหนมากกว่ากันซึ่งผมก็จะขอสรุปความน่าสนใจออกมาให้เลือกเฉพาะเขตที่น่าสนใจจริงๆ เท่านั้น

 

I. ปารีสฝั่งขวาThe Right Bank “La Rive Droite”

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 13

ถ้าดูจากแผนที่ของเมืองปารีสแล้วมันก็คือเขตฝั่งที่อยู่เหนือแม่น้ำเซนแต่ถูกเรียกว่าฝั่งขวา มันมีความหนาแน่นของอาคารสำนักงานสถานที่ทำการค้าขายตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวที่เพียบพร้อมไปด้วยแหล่งเอ็นเทอร์เทน และพร้อมสรรพไปด้วยแหล่งอาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้งตลอดจนที่อยู่อาศัยราคาแพง ทำให้มันพลุกพล่านวุ่นวายอยู่บ้างแต่บรรยากาศมันคึกคักและมีชีวิตชีวาตลอดเวลา แม้ในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ฝั่งนี้มีเขตเทศบาลอยู่ถึง 14 เขต (arrondissements) ขอแนะนำเขตที่น่าสนใจดังนี้

เขต 1 และเขต 2 ย่านเลอาน Les Halles, ลูฟร์ Louvre และปาเลส์ ฮัวยัล Palais Royal

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 10

ย่านนี้ถือว่าเป็นย่านสุดเก๋ très chic ใจกลางปารีส ไม่ว่าคุณจะเดินเล่นไปตามริมแม่น้ำเซน promenade of the Seine สุดโรแมนติกหรือเข้าชมพิพิธภัณฑ์ Louvre ที่เป็นที่สุดของโลกด้านศิลปะสะสม เดินเล่นไปบนถนน boulevardที่มีเอกลักษณ์ของที่นี่หรือชมสวน Jardin des Tuileries แม้แต่จะช็อปปิ้งแบบไม่หยุด ย่านนี้มีครบทุกอย่างจริงๆ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือไวน์บาร์ ข้อเสียมีอย่างเดียวคือtouristเยอะไปหน่อย

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 15

 

เขต 3และเขต 4 ย่านมารายLe Marais, เกาะแซงหลุยส์ Ile St-Louis และเกาะซิเต้ Ile de la Cité

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 17

ย่านมาราย เป็นย่านTrendyมีความสมัยใหม่ก้าวล้ำแบบไม่ต้องหรูหรา มี Art Galleries มี Brand Start Up และ SMEของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะย่านถนน Rue de Bretagne โดยรวมแล้วเป็น Neighborhood ที่มีความคึกคักทั้งกลางวันกลางคืน เป็นแหล่งชาวยิวและชาวเกย์

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 12

ย่าน Marais พอตกกลางคืนก็คึกคักไม่น่าเบื่อ

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 16

ในขณะที่ย่านเกาะแซงหลุยส์และซิเต้มีความโรแมนติกน่าเดินเล่นถ่ายรูป มีโบสถ์และสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ให้ดูพอควรเช่น วิหารโนเตรอดาม Cathedral of Notre Dame, วิหาร St-Chapelle, หรือ Conciergerie หากข้ามสะพานที่ต่อจากเกาะซิเต้หลังโบสถ์โนเตรอดามไปยังเกาะแซงหลุยส์ก็ให้เดินไปตามถนนสายเมนของเกาะคือ St.Louis en l’Ile ก็จะเจอร้านไอติม หมายเลข1ของกรุงปารีส นั่นคือ แบรติลยง Bertillon (เราจะพูดถึงร้านนี้ตอนแนะนำเรื่องอาหารการกินในปารีสต่อไป)

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 5

 

เขต 8, 16 และเขต 17 ย่านชองเซลิเซ่ Champs-Élysées และฝั่งตะวันตกของปารีส Western Paris 

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 7

ย่านนี้คือย่านหรูหราที่เงินและอำนาจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นย่านธุรกิจและร้านค้าที่ขายของแบบไม่ต้องง้อลูกค้าเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟหรือร้านอาหารก็เช่นกัน มันเหมาะที่จะมาเดินเที่ยวชมมากกว่ามาหาโรงแรมเพื่อพักแถวนี้ซึ่งก็มีให้เลือกเยอะอยู่ แต่ผมว่ามันขาดเสน่ห์ของความเป็นท้องถิ่นแบบต้นตำรับ(Local Charm) เพราะดูเป็นการค้าเกินไป เช่น ตื่นเช้ามาอยากจะหาร้านกาแฟเล็กๆ กับครัวซองส์หอมๆ สักชิ้นมันมักจะเจอแต่ร้านที่ตั้งใจจะขายแต่นักท่องเที่ยว มันได้รับฉายาว่าเป็นสามเหลี่ยมทองคำ The “Golden Triangle” โดยเฉพาะในย่าน 3 ถนนนี้ คือ ถนน Montaigne, George V, และถนน Champs-Élysées เหมาะกับผู้ที่ชอบบรรยากาศหรูหรา และชอบแต่งตัวดีๆ ตลอดเวลา

 

เขต 9 และเขต 10 ย่านโอเปร่าOpéra และคลองแซงมาแตง Canal St-Martin 

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 18

ย่านนี้น่าจะเหมาะกับท่านที่ชอบเดินช็อปปิ้งแบบเดินได้ทั้งวัน เพราะมีห้างแปรงตอง และแกลเลอลี่ลาฟาแย็ต (Printempt ,Gallerie La Fayette) 2 ดีพาร์ทเม็นท์สโตรส์หลักของนครหลวงแห่งนี้และร้านค้าย่อยๆ อีกพอสมควร แล้วก็ยังมีร้านอาหารและร้านกาแฟดีๆ แบบup scale ให้เลือกพอสมควร ในขณะที่ย่านที่อยู่ติดกัน คือย่านคลองแซงมาแตง(Canal St-Martin neighborhood) จะเป็นอีกแบบที่คนปารีเซียนท้องถิ่นชอบไปhangout คือเป็นย่านที่ติดดินหน่อยแต่ก็เท่มีสไตล์ ไม่มีฟอร์มไม่ฟอร์มัล

 

เขต 18 ย่านปิกัลPigalle และย่านมงมาตร์ Montmartre

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 3

ปิกัลเคยเป็นย่านโคมแดงของกรุงปารีสแต่ในปัจจุบันนี้ปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นย่านnightlifeที่ลดความอีโรติกลงไป แต่ก็ยังมีความคึกคักอยู่เ พราะมันมี มูแลงรูจ (Moulin Rouge) กังหันลมสีแดง คลับคาบาเรต์ชื่อดัง อยู่ใกล้ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการท่องราตรีของที่นี่มานมนาน ถึงเคยมีการเปรียบว่าย่าน ปิกัลนั้นก็เหมือน นรกภูมิที่อยู่เชิงเขามงมาตร์ที่เปรียบเป็นสวรรค์ภูมิเพราะมีวิหาร Sacré Cœur (ซัคเคร เกอ(เรอะ) ที่ตั้งอยู่นะจุดสูงสุดของปารีสและมีความศักดิ์สิทธิ์ ส่วนบริเวณรอบๆ ก็ยังถือเป็นย่านศูนย์รวมของเหล่าบรรดาศิลปิน จิตรกร ที่มาปล่อยฝีมือและขายผลงานแถบนี้อยู่

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 8

 

เขต 11ตะวันออก และ12 ย่านรีพุบบริค République, บาสตีล์ Bastille และปารีส

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 14

แถบนี้ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยมาก แต่สะท้อนถึงบรรยากาศความเป็นอยู่แท้ๆ ของชนชั้นกลางชาวปารีเซียนอาจรวมถึงผู้อพยพอยู่บ้าง เพราะที่นี่เคยเป็นย่านโรงงานเก่า ปัจจุบันมันเป็นแหล่ง Hangout ตอนหลังเลิกงานมีร้านอาหารแบบBistroหรือ Brasseries ในแบบต้นฉบับของ Paris ตลอดจนไวน์บาร์และคาเฟ่ที่มีบรรยากาศสนุกสนาน ผมก็ชอบย่านนี้ครับไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมากและที่จอดรถก็หาง่ายหน่อย
II. ปารีสฝั่งซ้าย The Left Bank “La Rive gauche”
ในขณะที่ฝั่งขวามีความเป็นการค้ามากกว่าฝั่งซ้ายซึ่งมีสวนสาธารณะที่เปิดโล่ง กระทรวง ทบวง กรม และสถานศึกษา แต่ก็ไม่ใช่ว่าฝั่งซ้ายจะขี้เหร่และไม่สนุกคึกคัก เนื่องจากฝั่งนี้เป็นย่านนักศึกษามหาวิทยาลัยและบรรดาศิลปินartistที่มีอุดมการณ์ ย่านที่จะแนะนำก็ดังนี้ครับ

เขต 5 ย่านละติน Latin Quartier

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 4

ความที่เป็นแหล่งนักศึกษาเพราะมีสถาบันการศึกษาชั้นนำอยู่หนาแน่นเช่นมหาวิทยาลัย Sorbonne และอื่นๆ เช่น École Normale Supérieure, École des Mines de Paris, Panthéon-Assas University, Schola Cantorum, และ Jussieu University Campus ทำให้ย่านนี้คึกคักแบบวัยรุ่นและไม่แพงมากมาตั้งแต่สมัยก่อนซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของพวกฮิปปี้ บุปผาชน นักศึกษาศิลปกรรม นักศึกษารัฐศาสตร์นิติศาสตร์ที่มีอุดมการณ์สูง เรียกว่าถ้ามีการประท้วงเดินขบวนก็มักเริ่มจากย่านนี้ แต่ปัจจุบันมันมีสไตล์เป็นของตัวเองตามยุสมัย มีร้านอาหารแบบBistroคลับพับบาร์ทุกรูปแบบ แต่ถ้าชอบร้านขนมปังต้นตำรับระดับartisanในย่านนี้ ให้ไปที่เลขที่ 8 rue Monge จะเป็นร้านดั่งเดิมก่อนจะมีสาขามากมายของ Eric Kayser ที่มักได้รับโหวตให้เป็นร้านที่มีขนมปังฝรั่งเศส (Baguette) และCroissant ที่อร่อยที่สุดในปารีส (จริงหรือไม่เราจะเก็บไว้คุยกันตอนเรื่องอาหารการกินในปารีส)

City Break PARIS Eric Kayser

ส่วนร้านขายของทั่วไปก็เป็นแบบมีสไตล์ในราคาไม่ต้องคิดเยอะ แต่ย่านนี้ก็มีร้านอาหารดีราคาแพงอย่าง ตูดาร์ชง Tour d’Argent อยู่ใกล้ๆ และก็มีสวนสาธารณะลุกซอมบูรก์ ( Luxembourg Gardens ) อยู่ ได้บรรยากาศแบบชีวิตในเมืองแบบ New York, London และถ้าชอบพิพิธภัณฑ์โรมันก็น่าไปชม Museum Cluny

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 11

 

เขต 6 แซงแจแมง เด เพรส์ St-Germain-des-Prés

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 2

เขตที่น่าสนใจที่สุดในฝั่งซ้ายก็คงเป็นเขตนี้มันเป็น Glamorous Neighborhood ที่เป็นที่ชื่นชอบของนักปราชญ์, ศิลปิน,จินตกวี ทั้งชาวฝรั่งเศสและต่างชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วอย่างเช่น Delacroix, ManetหรือBalzac, Benjamin Franklin, Hemingway หรือแม้แต่ Pablo Picasso ก็ยังเคยฝากผลงานที่เป็นรูปที่ชื่อว่า Guernica ตอนที่เขามาอยู่ในย่านนี้ในปี1937 นอกจากนั้นบรรดาศิลปินแจ๊สทั้งหลายอย่าง Miles Davis หรือ John Coltrane ก็แวะเวียนกันมาเล่นในคลับแจ๊สที่มีอยู่พอสมควรในแถบนี้ แต่แฟนฟุตบอลที่ชื่อชอบทีม PSG (Paris Saint Germain) คงทราบนะครับว่า Home Stadium ของทีมที่ชื่อ ปาค เดอ แปรง Parc De Princes นั้นไม่ได้อยู่ย่านนี้ แต่ไปอยู่ทางใต้ของ Bois de Boulogne ใกล้กับสนามเทนนิส ฮอลอง การอส Roland Garros ที่ใช้แข่ง French Open โน่นเลย

City Break PARIS Pablo Picasso GUERNICA

ปัจจุบันชาวปารีส(ท้องถิ่นแท้ๆ แบบไม่ใช่มาจากต่างจังหวัด)มักอยากจะมีอพาร์ตเมนท์อยู่ในเขตนี้ มันมีร้านอาหารร้านกาแฟที่ติดโผ เช่น ร้านกาแฟ Les Deux Magots, Café de Flore หรือBrassarie Lipp มีร้านขายของแบบไม่เชย และมี Modern Art Galleries เหมาะกับคนที่มีความเป็น‘อา-ตีส’มากหน่อย และชอบลองอะไรที่เป็นท้องถิ่นแท้ๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวเยอะแยะ

City Break PARIS Les Deux Magots

City Break PARIS Arrondissements & Accommodation 1

สำหรับ Landmark ของที่นี่นั้นต้องอย่าลืมไปแวะเที่ยวโบสถ์ St-Germain-des-Prés

 

เขต 7 ย่านหอไอเฟล Eiffel Tower

City Break PARIS Eiffel Tower

แม้ว่าย่านนี้จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักแต่ความที่มีแม่น้ำเซนให้เดินเลียบเลาะไป ยิ่งถ้าชอบออกกำลังเป็นประจำทุกวัน ต้องวิ่งหรือขี่จักรยาน แถบนี้เหมาะมากมีสวนสาธารณะเปิดโล่งไม่อึดอัด แถวๆ ใกล้หอไอเฟลที่มองเท่าไรก็ไม่เบื่อหรือจะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ดอเซ่ Musee d’Osay ที่มีศิลปะ Impressionism หรือจะล่องเรือไปตามแม่น้ำเซนทานมื้อเย็นก็ไม่เลว ผมว่าหากชอบถ่ายรูปและบรรยากาศโรแมนติก ชอบสะพาน ย่านนี้ก็เหมาะครับ

รู้จักย่านที่น่าสนใจของปารีสกันพอสมควรแล้ว ก็แค่ใช้ Booking Application ที่ท่านใช้อยู่จองโรงแรมได้เลยครับแค่filterตัวsearch engineของappให้เอาที่พักในเขตที่คุณชอบเท่านั้น คราวหน้ามาดูกันว่าประสบการณ์ท่องเที่ยวในเมืองหลวงแห่งนี้นั้นไม่ควรพลาดที่ไหน

หมายเหตุ : การออกเสียงภาษาท้องถิ่นที่เขียนเป็นตัวเอียงนั้น เป็นการใช้ภาษาไทยเขียนให้ออกมาใกล้เคียงเท่านั้นเพื่อให้ได้อรรถรส อาจไม่ใช่ภาษาเขียนและการออกเสียงที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการ