City Break Paris Part XIV

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 14
อาหารเช้าในปารีส (ตอนจบ)

แบบไม่ธรรมดา
ความหมายของอาหารเช้าแบบไม่ธรรมดาที่ปารีส มันก็คือแบบที่มันแปลกออกมาสักหน่อย เช่นปกติแล้วที่ฝรั่งเศสจะไม่นิยมกินไข่เป็นอาหารเช้า เช่นเดียวกับประเทศในยุโรปภาคพื้นทวีปที่ทานอาหารเช้าแบบ continental breakfast ดังนั้นถ้าร้านไหนมันโดดเด่นจัดอาหารเช้าแบบเต็มที่มีไข่ ผมก็ถือว่ามันเป็นแบบไม่ธรรมดาแล้ว หรืออะไรที่มันมีความ Unique หรือเก๋ไก๋ไม่ธรรมดาก็อยู่ในหมวดนี้

1. แบบแพนเค้ก (Galette with andouille) แพนเค้กฝรั่งเศสกับไส้กรอกหมูอานดูอี่
ว่ากันว่าต้นตำรับแพนเค้กแบบอเมริกันก็คือเครปของฝรั่งเศส แต่ต้นตำรับเครปของฝรั่งเศสมาจากเขต Brittany หรือ Breton ซึ่งเคยถูกปกครองโดยอังกฤษมาก่อน และความที่คนอังกฤษนิยมทานอาหารเช้าแบบชุดใหญ่มีไข่มีไส้กรอกหรือแฮม ก็เป็นไปได้ว่าเป็นที่มาของอาหารที่ขึ้นชื่อของBreton จานนี้

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 20

มาทำความรู้จักกับแพนเค้กฝรั่งเศสที่มีอยู่ 2 แบบครับ
แบบแรกก็คือเครป Crêpes จะใช้แป้งแบบทำจากข้าวสาลี หรือ Wheat Flour ที่จะทำได้แผ่นบางมักใช้ทาหรือเติม filling ที่ใช้ทานเป็นของหวาน (sweet) มีต้นตำรับมาจากทางเหนือของบริตานี่(Basse -Bretagne)ที่ขึ้นชื่อก็คือ”Suzette”
แบบที่สองก็คือกาแร๊ต Galettes ใช้ทานเป็นของคาว (Savory) มักใช้แป้ง Buckwheat ที่จะทำให้สีออกเข้มขึ้นและแผ่นจะหนาหน่อย มีต้นตำรับมาจากทางเหนือของบริตานี่ (Haute-Bretagne)

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 15

และจานที่ผมแนะนำนี้ต้องทานกับไส้กรอกหมูชื่อดังของบริตานี่ก็คือ Andouille de Guémené ซึ่งต้นตำรับก็มาจากแถวหมู่บ้าน Guemene โดยลูกชาวนาที่ชื่อ Joseph Quidu, คิดสูตรนี้ขึ้นมาเมื่อปี1930 ทำจากไส้หมูและเนื้อหมูส่วนท้องนำมารมควัน ใครมาแถบนี้ต้องแวะกินหรือซื้อกลับบ้านกัน เหมือนเราไปแวะซื้อแหนมที่ขอนแก่นนั่นแหละครับ

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 10

จานข้างบนนี้คือกาแร๊ตกับไส้กรอกอานดูอี่และแอ๊ปเปิ้ล

ทีนี้ถ้าเราจะทานเป็นอาหารเช้าหรือมื้อสายแบบ Brunch ที่ถูกต้องตามวัฒนธรรมของเขา เราต้องทานคู่กับ Apple cider ครับ ให้สั่ง Sorre cider ไม่ใช่น้ำส้มหรือน้ำผลไม้แบบอื่น เพราะบริตานี่หรือนอร์มงดีคือแหล่งปลูกแอปเปิ้ลที่มีชื่อที่สุดของฝรั่งเศส และเนื่องจากเราอยู่ในปารีสร้านที่จะแนะนำให้ไปทานอาหารจานนี้ก็คือ ร้าน Bretons Crêperie, 56 Avenue de la République, 75011 Paris

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 18

2. อาหารจานไข่

อย่างที่บอกว่าโดยวัฒนธรรมและคนฝรั่งเศสไม่นิยมทานไข่เป็นอาหารเช้า เพราะที่นี่เป็นสไตล์ Continental ฺBreakfast การทานไข่จึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดาไปโดยปริยาย แต่ถ้าผมจะแนะนำร้านที่ขายอาหารเช้าแบบอังกฤษหรืออเมริกันที่ขายไข่ดาวเบคอนมันก็ธรรมดาไปครับ เรามาทานไข่แบบฝรั่งเศสดีกว่า นี่เลยครับขอให้สั่ง oeufs en cocotte เอิฟอองโก๊ต หรือไข่อบในถ้วยเซรามิคแบบ Ramekins ซึ่งเค้าจะผสม Cheeseหรือมัสตาดและอื่นๆ มีหลายสูตร น่าสนใจ

oeufs en cocotte เอิฟอองโก๊ต

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 22

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 19

หรือบางครั้งก็จะดัดแปลงมาอบในขนมปัง คล้ายกับที่เวลาเราไปทานซุป Clam Chowder แถวนิวอิงแลนด์

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 9

หรือสำหรับคนที่ชอบไข่ลวกที่ฝรั่งเศสจะมีจานไข่ที่เรียกว่า oeufs à la coque เอิฟอาลาคอ๊ก คือเขาจะไม่กินไข่ลวกอย่างเดียวแต่มักจะมีtoastหรือแฮมหั่นเป็นแท่งหรือผักที่ใช้dipลงไปในไข่ลวกแล้วจึงกิน

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 11

oeufs à la coque เอิฟอาลาคอ๊ก

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 17

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 21

Crème Brulee French Toast ปกติ French Toast จะจุ่มไข่กับนมและลงกะทะแต่สูตรนี้จะจุ่ม Crème Brulee

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 14

Caprese Eggs Benedict ดัดแปลงมาจาก Caprese สลัดที่มีมะเขือเทศใบโหระพาอิตาเลี่ยนและมอสซาเรล่าสดที่ทำจากนมกระบือ โดยมาใส่ไข่แบบ Poach Egg และราด Hollandaise Sauce

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 1

Croissant Croque Madame ดัดแปลงมาจาก Croque Madameที่ใช้toastกับ Gruyere Cheese

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 5

อาหารจานไข่ในปารีส ขอแนะนำให้ไปที่ร้าน Eggs & Co 11 rue Bernard Palissy, อยู่เขต 6th ย่านแซงแฌแมงเดเพร Saint-Germain-des-Prés

หรือหากอยูในเขต 10 ให้ไปลองที่ร้าน Holybelly 5 Rue Lucien Sampaix, 75010 Paris, France ซึ่งทำอาหารจานไข่ได้อร่อยและขนมปังก็สดใหม่สั่งจากร้านดังชื่อ Du Pain et Des Idées ที่อยู่ไม่ไกล และทีเด็ดที่นี่ต้องลองสั่ง ไส้กรอกดำ ทำมาจากเลือดหมูที่เรียกว่า บูแดง boudin noir sausage

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 7

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 2

3. อาหารเช้าแบบปิกนิก
ให้ไปที่ร้าน Claus ร้านแบบ Specialty Store for Breakfast อยู่ในเขต 1 (ตอนนี้น่าจะมีมากว่า1สาขา) เป็นร้านอาหารที่เน้นอาหารเช้าหรือเรียกว่า Dedicated to Breakfast เลยครับ “l’épicerie du petit-déjeuner”, ร้าน Claus ถือเป็นร้านแบบ Delicatessen ที่ชำนาญอาหารเช้าโดยเฉพาะ สำหรับคู่หนุ่มสาวที่มีความโรแมนติกต้องการสั่งอาหารเช้าใส่ตะกร้าไปกินแบบปิกนิกกับแฟนที่ริมแม่น้ำเซน เปลี่ยนบรรยากาศให้มาที่นี่เท่านั้นรับรองไม่ธรรมดาแน่นอนครับ

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 13

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 12
4. อาหารเช้าแบบเข้าฉาก Painting ของเหล่าศิลปินดัง
สุดท้ายคงต้องแนะนำร้าน Le Consulat 18 Rue Norvins, 18ème คือต้องบอกว่าร้านที่จะแนะนำนี้ไม่ได้สมัยใหม่หรือมีเมนูโดดเด่นมากมาย มันได้บรรยากาศมากๆ ทำให้อาหารมื้อเช้าของท่านเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมและยังเป็นการตามรอยเหล่าจิตรกรและศิลปินชื่อดังอีกด้วย
อยู่ที่ย่าน Butte Montmartre ในสมัยก่อนก็เป็นเหมือนหมู่บ้านเล็กๆ ที่เหล่าศิลปินก่อนดังจะมาใช้เป็นที่พักพิงและวาดรูปขาย ซึ่งศิลปินก่อนดังพวกนั้นก็รวมทั้ง Pissarro, Sisley, Cézanne, Toulouse-Lautrec, Renoir, Monet, Zola et Vincent Van Gogh ที่กลายเป็นศิลปินระดับปรมาจารย์ในเวลาต่อมา และแน่นอนว่าเหล่าศิลปินนั้นถ้าขายภาพได้มีเงินขึ้นมาก็ต้องฉลองโดยเฉพาะที่โรงเตี๊ยมและไวน์บาร์ที่ชื่อ La Bonne Franquette ที่เปิดมา 400 ปีแล้วเคยบันทึกไว้ว่าได้เคยต้อนรับศิลปินเหล่านี้ทุกคน

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 3

แต่เนื่องจากเรากำลังแนะนำเรื่องอาหารเช้าไม่ใช่ไวน์ก็เลยขอแนะนำร้าน Le Consulat เลอ กองซูลา ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับร้าน La Bonne Franquette ซึ่งก็เป็นร้านกาแฟเก่าแก่มากๆ เช่นกัน ถือเป็น Historic Café ของปารีส ซึ่งมีศิลปินดังๆ ในอดีตมากินอาหารเช้าที่นี่และร้านนี้ยังปรากฏในรูปPainting ของศิลปินดังมากมาย ผมก็เลยอยากแนะนำถ้าคุณจะต้องมาเที่ยวมงมาร์ตอยู่แล้ว

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 16

ที่มี Setting และLocation แบบทำให้เรานึกถึงหนังฝรั่งเศสหลายเรื่องที่ถ่ายทำย่านมงมาร์ต ซึ่งโดยเฉพาะเรื่อง Amélie ที่ได้หลายรางวัลยอดเยี่ยมนำแสดงโดย Audrey Tautou แม้ว่าในหนังเธอจะแสดงเป็น Waitess อยู่อีกร้านนึงใกล้ๆ กันที่ชื่อ Café des2 Moulins แต่ไม่ดังเท่า Le Consulat ที่มักจะเต็มตลอดในวันที่อากาศดีๆ ถ้าเราไม่ไปแต่เช้าจริง ก็ถ้าเราได้นั่งจิบกาแฟบนterraceที่มี backdrop เป็น Sacré-Cœur แถมยังเป็นร้านประวัติศาสต์ของกรุงปารี มันไม่ธรรมดาแน่นอนครับ
Le Consulat 18 Rue Norvins, 18ème

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 8

บรรดารูป Painting ที่มีร้าน Le Consulat

City Break Paris French Breakfast Pancake & Egg 6

 

City Break Paris Part XIII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 13

อาหารเช้าในปารีส (ตอน 2)

แบบคลาสสิก (ต่อ)
ในเมื่อพูดถึงครัวซองต์ไปในตอนที่แล้ว ครั้นจะไม่พูดถึงบาแก็ตต์คงไม่ได้ ก็ภาษาไทยเองก็ได้คำว่า “ขนมปัง”มาจากภาษาฝรั่งเศสนั่นเอง คือตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าหลุย์ที่ 14 ซึ่งตรงกับยุคของสมเด็จพระนารายณ์ ที่ประเทศไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว คณะทูตของฝรั่งเศสนำโดยเชอร์วัลลิเยร์ เดอโชมงค์ เป็นผู้นำขนมปังเข้ามาและคำว่า “ปัง” ก็เพี้ยนมาจากคำฝรั่งเศสว่า ‘ pain’ อ่านว่า “แปง หรือ ปัง” นั่นเอง

City Break Paris French Breakfast Baguette 1

City Break Paris French Breakfast Baguette 6

และในบรรดาขนมปังหลายหลากที่ฝรั่งเศสมีอยู่ ไม่มีแบบไหนที่โดดเด่นเท่ากับบาแก็ตต์ เพราะสัญลักษณ์ของฝรั่งเศสนอกจากหอไอเฟิลแล้วก็คงจะหนีไม่พ้นขนมปัง ‘กระบอง’หรือบาแก็ตต นี่แหละครับ ขนมปังถือว่าสำคัญมาก สังเกตได้ว่าถ้าเราเข้าไปในร้านอาหารฝรั่งเศสแท้ๆ นั้น ขนมปังอุ่นๆ จะมาเสิร์ฟก่อนอย่างอื่น แล้วมันก็ใช้ทานประกอบกับอาหารทุกคอร์ส เริ่มจากซุป, อาหารเรียกน้ำย่อย (hors d’oeuvre), อาหารจานหลัก, เนยแข็ง เพราะฉะนั้นถ้าขนมปังไม่ได้เรื่อง อย่างอื่นก็จบไปด้วย

ไม่มีใครอยากจะล้อเล่นเรื่องขนมปังกับชาวฝรั่งเศสอีก หลังจากเมื่อครั้งที่ชาวกรุงปารีสเดินขบวนกันไปที่ พระราชวังแวร์ซายส์ เพื่อจะกราบทูลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงทราบว่าพวกเขาอดอยาก ไม่มีขนมปังจะกินกันแล้ว แต่กลับเจอประโยคเด็ดของพระชายาท่านคือพระนาง มารี อังตัวแนต ที่ตอกกลับมาว่า “ไม่มีขนมปังก็ให้ไปกินเค้กแทนสิ” “Qu’ils mangent de la brioche” ว่ากันว่านั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา (แต่หลังจากที่ผมค้นคว้าแนวลึกก็ปรากฏว่าเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะนักประวัติศาสตร์บอกไม่มีหลักฐานแต่เป็นการปรักปรำพระนาง เพราะมีคนไม่ชอบเยอะ Lady Antonia Fraser,ผู้เขียนอัตชีวประวัติของพระราชินีฝรั่งเศสพระองค์นี้ที่ได้ค้นคว้า และศึกษาบุคลิกลักษณะอุปนิสัยที่แท้จริงของพระนาง ยืนยันว่าท่านไม่ใช่คนที่จะพูดประโยคแบบนี้ในสถานการณ์แบบที่เย้ยหยันคนที่กำลังลำบาก แล้วพระนางก็มักจะทำตรงข้ามด้วยซ้ำ เพราะมักจะช่วยเรื่องการกุศล และที่แน่ๆ คือพระนางค่อนข้างฉลาดหลักแหลมรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร)

City Break Paris French Breakfast Let Them Eat Cake

ต้นกำเนิดบาแก็ตต์
จริงๆ ไอ้เจ้าบาแก็ตต์ซึ่งมีลักษณะเหมือน ’กระบอง’ ตามชื่อของมันนั้น เพิ่งจะนิยมทำรูปทรงนี้เมื่อปี 1920 นี่เอง เพราะมีกฎหมายออกมาห้ามไม่ให้อบขนมปังระหว่างช่วงสี่ทุ่มถึงตีสี่ (รบกวนชาวบ้านตอนเวลานอน)ทำให้ขนมปังต้นตำรับของชาวฝรั่งเศส รูปร่างกลมๆ คล้ายลูกบอลที่มีชื่อว่าขนมปัง “บูล” (Boule) นั้นทำไม่ทันขาย เพราะใช้เวลาอบนานกว่า ต้องปรับเปลี่ยนรูปทรงให้อบเสร็จเร็วขึ้นจริงๆ แล้วไอ้ขนมปังบูลนี่ต่างหากที่คนฝรั่งเศสกินกันมานมนานจนเป็นที่มาของคำว่าเบเกอรี่ของภาษาฝรั่งเศสที่ออกเสียงว่า “บูลองเฌอรี” (Boulangerie)

City Break Paris French Breakfast Boule

ขนมปัง “บูล” (Boule)

บาแก็ตต์ นั้นต้องมีขนาดยาวประมาณ 28 นิ้ว หรือ 70 ซม. กรอบนอกนุ่มใน จะให้อร่อยต้องทานแบบอบใหม่ๆ เพราะจะหอมและกรอบกว่า สีด้านนอกจะเป็นสีทองที่เปลือก(Crust) จะกรอบเกือบแข็ง เนื้อด้านในจะเป็นสีครีมไม่ขาวมาก เคี้ยวค่อนข้างเหนียวนิดหน่อย ต้องมีเทคนิคการบั้ง

ที่เอาขนมปังกระบองนี้มาพูดในเรื่องอาหารเช้า ก็เพราะว่า 70% ของชาวฝรั่งเศสทั้งประเทศจะทานขนมปังแบบนี้เป็นอาหารเช้า เพราะปกติบาแก็ตต์จะมีติดบ้านคนฝรั่งเศสไว้ตลอดเวลา แต่ครัวซองต์จะขึ้นอยู่กับว่าวันไหนไปตลาดหรือลงไปซื้อตอนเช้ากลับเข้ามาหรือไปทานที่ร้านกาแฟ

City Break Paris French Breakfast Baguette 8

วิธีทานบาแก็ตต์เป็นอาหารเช้าก็ทำเป็น Tartine (ตาทีน) จะใช้มีดที่มีฟันเลื่อยหั่นออกมาขนาดยาวสัก 4-5นี้ว แล้วจากนั้นก็จะสไลด์แนวนอนผ่ากลางให้กลายเป็น 2 แผ่นแล้วทาเนยในแผ่นแรก ส่วนแผ่นที่ 2 นั้นทาเนยก่อนแล้วทาแยมผลไม้ (Confiture) ทับอีกที ถ้าจะให้ดีที่สุดต้องทาด้วยเนย จาก เขตบริตานีหรือนอร์มองดี และแยมชั้นดี หรือที่เรียกกันว่า Gourmet Jam ที่มีขายตามร้าน Specialty Store อย่าง Fauchon, Hédiard หรือร้านเฉพาะที่ขายแต่แยมพิเศษ เช่น La Chambre aux Confitures ในปารีส

เมื่อคราวที่แล้วเราพูดถึงเนยชั้นดีระดับมี AOC กันไปแล้ว คราวนี้ขอพูดถึงแยมบ้างเล็กน้อย พอดีไปเห็นTOP10 ของแยมจากร้านดังๆ ในปารีส (credit: https://girlsguidetoparis.com) เลยขอนำมาแชร์ครับ

City Break Paris French Breakfast Baguette 5

แยมชั้นดีที่ขายอยู่ที่ร้าน La Chambre aux Confitures

Top 10 Parisian Confiture
1. Confiture Abricot Gingembre (แยมapricot และขิง) จากร้าน La Chambre aux Confitures
2. Confiture Cassis et Violette จากร้าน La Chambre aux Confitures
3. Confiture Extra de Figues Blanches จากร้าน Aubertine
4. Fortnum & Mason’s Lemon Curd จากร้าน La Grande Epicerie
5. Abricot Confit จากร้าน A la Mère de Famille
6. Dulce con Leche/Confiture du Lait จากร้าน La Cocotte
7. Confiture Clémentines de Corse จากร้าน Fauchon
8. Mara des Bois Confiture de Ré by Le Jardin de Lydie จากร้าน Aubertine
9. Confidiet Rhubarbe จากร้าน Aubertine
10. Miel du Gâtnais จากร้าน Hédiard

City Break Paris French Breakfast Baguette 7

ทีนี้มารู้จัก Chef ที่เก่งเรื่องทำแยมระดับ Artisan เป็นที่ยอมรับในบรรดาร้านอาหารดังหรือโรงแรม 5 ดาวของปารีส เช่น ร้านอาหารของchef ระดับ 3 ดาวมิเชแลงอย่าง Alain Ducasse หรือ Chef Michel Troisgrois ของร้าน Maison Troisgros ที่ Lyon หรือ Patisserie Chef ชื่อดัง Pierre Hermé ต่างก็ไว้วางใจใช้ Artisan Jam ของ Christine Ferber เป็นส่วนประกอบของอาหารหรือของหวานที่เชฟเหล่านี้ทำ และโรงแรม 5 ดาว อย่าง Crillon หรือ Georges V ในปารีส, Four Seasons ในฮ่องกง, หรือ Connaught ในลอนดอน ก็จะใช้แยมของ Christine Ferber เสิร์ฟกับชุดน้ำชาตอนบ่าย

City Break Paris French Breakfast Baguette Christine Ferber Jam

Christine Ferber และทีมงานของเธอไม่ได้มีร้านอยู่ที่ปารีส แต่จะอยู่ในเขต Alsace อัลซาส (ติดชายแดนเยอรมัน) ที่หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ Niedermorschwihr ตั้งอยู่ใจกลางสวนผลไม้ ที่จะเก็บมาผลิตแยมครั้งละไม่เกิน 4 กิโลกรัม โดยจะทำในหม้อทองแดงชั้นดีแบบโบราณและสูตรเก่าแก่เพื่อให้ได้แยมที่ดีที่สุด

กลับมาพูดถึงเจ้า บาแก็ตต์ ต่อ ว่าบทบาทของมันที่มีต่อชีวิตประจำวันของคนฝรั่งเศสนั้นมันไม่ได้เป็นแต่อาหารเช้าเท่านั้นนะครับ แน่นอนว่าคงไม่มีใครทานบาแก็ตต์ได้หมดในครั้งเดียว ยกเว้นจะเป็นครอบครัวใหญ่ ถ้าเหลือชาวฝรั่งเศสก็จะทิ้งไว้บนโต๊ะนั่นแหละครับ ตกกลางวันก็เอาไปทำเป็นแซนวิชต่อแบบง่ายเลยก็เป็น Sandwich aux fromage et jambon และแน่นอนว่า Jambon หรือหมูแฮมแบบบ้านเรานั้นที่ดีที่สุดต้องเป็น Jambon de Paris ครับ

บาแก็ตต์ที่เริ่มเก่าหรือค้างคืนก็จะเริ่มแข็งจะต้องทานแบบเปียกๆ หน่อยจะได้นุ่ม ดังนั้นวิธีทานบาแก็ตต์ค้างคืนก็มีดังนี้นะครับ ถ้าเป็นมื้อเช้าจะใช้วิธีจุ่มกับช็อกโกแลตร้อนหรือกาแฟที่ใช้นมต้มแล้วมาผสมกาแฟทีหลัง ฝรั่งเศสเรียกว่า ‘กาเฟ โอ เลต์’ Café au lait ส่วนใหญ่แล้วตอนเช้าเขาจะทานกาแฟแบบนี้กัน โดยจะใส่ถ้วยค่อนข้างใหญ่เป็นเหมือนชามเลยครับ ใหญ่กว่าmugปกติเยอะ

City Break Paris French Breakfast Baguette 4 Cafe au Lait

ถ้าเป็นมื้อเย็นก็หั่นเป็นลูกเต๋าทานโดยจุ่มกับเนยแข็งกรุยแยร์ (Gruyere) เคี่ยวกับไวน์ขาวทานเป็นแบบ Cheese Fondu หรือจะเอาไปโรยชีส Gruyere อบ แล้วโยนลงไปในซุปหัวหอมก็ได้ (French Onion Soup) สุดท้ายถ้ามันแข็งมากก็เอามาขูดให้เป็นเกล็ดขนมปัง (Bread Crumb) ใส่ขวดโหลเก็บไว้ทำอาหารอย่างอื่นต่อได้ เห็นความหลากหลายของบาแกตต์หรือยังครับ

ข้อเท็จจริง(fact) : ในฝรั่งเศสนั้นมีร้านทำขนมปังมากกว่า 35,000 ร้าน ผลิตขนมปังได้ 3.5ล้านตันต่อปี (คนไทยผลิตข้าวได้เฉลี่ย 30ล้าน ตันต่อปี) ในบรรดาขนมปังทั้งหมดที่ขายได้หลาย 10 ชนิดนั้น 1 ใน 3 เป็นบาแก็ตต์ซึ่งขายได้ตกวันละ 10 ล้านชิ้นในฝรั่งเศสอย่างเดียว ปัจจุบันคนฝรั่งเศสนิยมการบริโภคบาแก็ตต์น้อยลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 150 กรัมต่อวัน จากที่เคยเฉลี่ยอยู่ที่ 500 กรัมต่อวันในสมัยศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้เนื่องจากบาแก็ตต์นั้นทำจากแป้งขาวซึ่งมีปริมาณ Gluten ค่อนข้างสูง ทำให้หันมานิยมบริโภคขนมปังที่ทำจากธัญพืช Whole Grain มากขึ้น (credit:Culinaria France by AndreDomine)

ร้านแนะนำ สำหรับท่านที่ต้องการจะลองทานบาแก็ต์ตรสชาติดั้งเดิมติดอันดับในปารีสก็ต้องนี่เลยรายชื่อของร้านที่มักติด Top10 ในการประกวดการแข่งขันการทำบาแก็ตต์ประจำปี “Grand Prix de la Baguette de Paris” และร้านที่ชนะจะได้รับเกียรติจากพระราชวังเอลิเซ่ ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ให้เป็นผู้จัดส่งบาแก็ตต์ขึ้นโต๊ะประธานาธิบดีทานทุกเช้าตลอดปีนั้น ๆ

Paris’ Top Baguettes
1. Le Grenier à Pain Abbesses, 38 rue des Abbesses, 75018
2. Brun Boulangerie Patisserie 193 rue de Tolbiac Paris, 75013
3. Huré, 150 avenue Victor Hugo, 75016
4. L’Académie du Pain, 30 rue d’Alésia, 75014
5. Le Puits d’Amour, 249 boulevard Voltaire, 75011
6. Le Moulin du 16ième, 152 avenue de Versailles, 75016
7. Tchouassi 63 rue de Turbigo, 75003
8. Aux Pains Garnis, 25 avenue Saint Ouen, 75017
9. Gourmandises d’Eiffel, 187 rue De Grenelle, 75007
10. Douceurs et Traditions, 85 rue Saint Dominique, 75007
(Credit: http://parisbymouth.com/paris-bakeries/ )

แต่ผมขอแนะนำให้ไปกิน 2 ร้านแรกครับก็คือ
1. ร้าน Le Grenier à Pain 38 rue des Abbesses, 75018
เป็นร้านแบบเบสิคดั้งเดิมแต่ได้รางวัลที่ 1“Grand Prix de la Baguette de Paris” เรื่องบาแก็ตต์ เราต้องลองครับถ้าเป็นเซียนขนมปังจริงๆ ซึ่งบางช่วงต้องต่อคิวยาวหน่อยครับ ถ้าโชคดีก็จะเจอกับคุณ Djibril Bodian ซึ่งเป็น Artisan หรือเปรียบเสมือนศิลปินผู้สร้างสรรค์รสชาติและรูปลักษณะกลิ่นสีของบาแก็ตชนะเลิศนี้ ลูกค้าของเขามักจะขอถ่ายรูปด้วยเพราะถือว่าเขาคือ Celeb

City Break Paris French Breakfast Baguette 4

City Break Paris French Breakfast Baguette Chef Djibril Bodian

คุณ Djibril Bodian เป็น Artisan หรือเปรียบเสมือนศิลปินในการสร้างสรรค์ขนมปังฝรั่งเศสหรือบาแก็ตต์จนได้รางวัลชนะเลิศ

2. ร้าน Brun 193 rue de Tolbiac Paris, 75013
ร้านนี้ดูทันสมัยกว่าและมีเอกลักษณะตรงที่ขนมปังของเขาจะเป็นหัวแหลมหน่อยเหมือนปากปลาโลมา ต้องบอกว่าบางช่วงก็ต่อคิวยาวเหยียดไม่แพ้กันครับ

City Break Paris French Breakfast Baguette 3

City Break Paris French Breakfast Baguette 2

 

เป็นอันว่าเราจบเรื่องอาหารเช้าแบบคลาสสิกไปแล้ว เดี๋ยวตอนหน้าเราจะไปลองอาหารเช้าแบบไม่ธรรมดากันนะครับ

City Break Paris Part XII

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 12

อาหารเช้าในปารีส
เที่ยวโนตเตรอดามกันมา 4 ตอนแล้วจะเที่ยวต่ออีกตอนคงจะเหนื่อย ตอนนี้เลยขอสลับเป็นเรื่องกินบ้างครับ มาปารีสทั้งทีมันต้องครบสูตร สำหรับตอนนี้คงต้องเริ่มจากมื้อแรกของวันก็คือมื้อเช้า

Le Petit Déjeuner

City Break Paris French Breakfast 8

จริงอยู่การมาปารีสสมัยนี้ไม่จำเป็นทานอาหารเช้าที่เรียบง่ายแบบ Tartine Au Beurre หรือ Croissant กับ กาแฟ ที่ชงจากนมต้มที่เรียกว่า กาเฟ โอ เลต์ เหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว เพราะโลกมันเปลี่ยนไปมาก ตัวเลือกมันเพิ่มมากขึ้นเพื่อไม่ให้ซ้ำซากจำเจ ผมจึงขอนำเสนอในสองรูปแบบก็แล้วกันครับ

I.แบบคลาสสิก

ยังไงๆ ผมก็ยังชอบสไตล์คลาสสิกของที่นี่ เพราะกลิ่นหอมของครัวซองต์เนยสดตอนออกจากเตาอบใหม่ๆ นั้น ทำให้คุณรู้สึกเลยว่าชีวิตที่ดีของวันนี้นั้นต้องเริ่มจากครัวซองต์สักชิ้น ผมเคยลงจากเครื่องตอนเช้าที่สนามบินปารีสที่คนที่นี่เรียก Roissy แล้วก็ขึ้นรถไฟ RER เข้ามาโผล่ที่สถานนีปารีส เหนือ Gare Du Nord ตอนก่อน 7 โมงเช้า ยังจำได้ว่ากลิ่นหอมของครัวซองต์ก็ลอยมาจากร้าน Café แถวนั้นซึ่งมันแทบจะเป็นเหมือนมนต์สะกดให้ต้องตามกลิ่นนั้นไป แบบไม่สนใจอะไรอย่างอื่นแล้ว

จากขนมแบบเพลสทรี่อบกรอบ (Flaky Not Crunchy) ที่เป็นอาหารเช้าของฝรั่งเศสมา 200 กว่าปีแล้ว แต่มันกลับไม่ใช่สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสคิดขึ้นมาเอง ว่ากันว่ามันเป็นของฮังการีต่างหาก Croissant มาจากคำว่า Cresant ที่แปลว่าพระจันทร์เสี้ยว ต้นกำเนิดมาจากการที่พวกเติร์ก(แห่งอาณจักรออตโตมานส์เจ้าของธงที่มีรูปพระจันทร์เสี้ยว)ได้พยายามจะบุกยึดฮังการีโดยการขุดอุโมงค์ลอดใต้กำแพงเมืองบูดาเปสเข้ามาตอนเช้ามืด แต่พวกพนักงานร้านขนมปังซึ่งก็ตื่นแต่เช้ามืดมาอบขนมเหมือนกันเกิดได้ยินเสียงเข้าเลยไปแจ้งทหารให้เข้าไปป้องกันเมืองไว้ทัน พอได้รับชัยชนะก็เลยฉลองด้วยการทำขนมปังเพรสทรี่อบเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวนี้ขึ้นมา เพราะเป็นสัญลักษณ์ของพวกเติร์กหรืออิสลาม(สังเกตจากธงตุรกี) คงเหมือนได้กินพวกเติร์กมั้งครับ

City Break Paris French Breakfast 4

รู้ถึงเจ้าแห่งเมืองขนมของโลกต้นกำเนิดขนมอบกรอบแบบ Pastry ที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลก็คือกรุงเวียนนา ซึ่งก็เอาสูตรนี้มาทำแล้วก็ทำเป็นที่นิยมจนกระทั่งสมเด็จพระนางมาเรีย เทเรซ่า จักรพรรดินีแห่งราชวงศ์แฮบสเบิร์วก ซึ่งต้องการมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสตอนนั้นได้ส่งพระราชธิดาพระองค์ดังชื่อว่า “มารี อองตัวเนตต์” มาสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ XVI ก็เลยมาพร้อมกับวัฒนธรรมการกิน Croissant ด้วย จึงทำให้ขนมพวก Puff Pastryแบบนี้ในฝรั่งเศสมีชื่อเรียกหรือมีขายอยู่ในร้านประเภท Viennoiseries** หมายถึง “ร้านขนมเพรสทรีแบบเวียนนา” จนทุกวันนี้กลายเป็นว่าไม่มีใครทำครัวซองต์ได้หอมและอร่อยเท่ากับชาวฝรั่งเศสแม้แต่เมืองต้นตำรับ ***(ร้านขนมในฝรั่งเศสถ้าเป็นขนมหวานจะขายใน Patisseries แต่ถ้าเป็นขนมแบบ Pastry จะขายใน Viennoiseries แต่หลายๆครั้ง ร้านทั้ง 2 แบบก็มีทั้งเพรสทรี่และขนมหวาน รวมทั้งขนมปังซึ่งปกติจะขายใน Boulangerie ดูภาพด้านล่างคือร้านดังของฝรั่งเศสที่เป็นทุกแบบที่พูดถึง)

City Break Paris French Breakfast PAUL

แต่เพราะอะไรรู้ไหมครับที่ฝรั่งเศสทำขนมอบกรอบเเบบนี้ได้เหนือกว่า ก็เพราะเนยสดครับ เนยของฝรั่งเศสที่มาทางเหนือหรือแถบตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แคว้นบริตานี่หรือและนอร์มองดีนั้น สามารถผลิตเนยมีชื่อและหาคู่แข่งยาก เป็นเนยระดับ AOC (Appellation D’Origine Controlee) ที่มีอยู่แค่ 4 แหล่งเท่านั้น
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนยสดที่ทำตามกรรมวิธีแบบโบราณจากนมวัวที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบสมัยใหม่(Unpasteurized Milk)

แต่ก่อนจะไปดูว่ามีเนยดังอะไรบ้าง ขอพูดถึงวิธีการทำเนย(เหลว) แบบ Butter และข้อแตกต่างของมันกับเนยแข็ง (Cheese) เป็นเกร็ดความรู้สักนิดก็คือ

City Break Paris French Breakfast Butter Cheese 1

City Break Paris French Breakfast Butter Cheese

รูปข้างบนเป็นเครื่องปั่นนมเพื่อทำเนยแบบโบราณ

• เนยเหลว (Butter) ทำจากไขมันในนม ซึ่งเกิดจากการปั่นนม ไขมันจะรวมตัวกันเป็นเม็ด จากนั้นก็กรองน้ำออกไป นำไขมันมาเติมแบคทีเรีย Steptococcus Lactic กับ Leuconostoc citrovorum ซึ่งจะทำให้เนยมีกลิ่น และรสชาติเฉพาะตัว
• เนยแข็ง (Cheese) จะเริ่มทำจากเนยเหลว แต่จะใช้ระยะเวลานานกว่า ต้องรอจนกรดที่แบคทีเรียสร้างขึ้นทำให้นมจับตัวกันเป็นก้อนเคิร์ดcurd จากนั้นจะเติมเอนไซม์เรนนินลงไป เพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของนม ซึ่งจะทำให้มีการแยกส่วนที่เป็นน้ำ หรือหางนม Whey ออกมาจะทำให้เนยแข็งขึ้น มีการเติมเกลือลงไปเพื่อไล่ความชื้น หลังจากนี้จะนำไปบ่มด้วยแบคทีเรียหรือ รา อีกครั้ง

ทีนี้มาดูแหล่งผลิตเนยชั้นยอดของฝรั่งเศส ซึ่งเนยเหล่านี้มีคุณสมบัติเด่นคือคุณภาพของนมและความCreamy ของ Texture มีการละลายที่ช้ากว่าเพราะความหนาแน่นมากกว่าจะทำให้คุณสมบัติการเคลือบ เช่น เคลือบเส้นพาสต้าดีกว่าแถมยังมีเรื่องของรสที่มีความเค็มเล็กน้อยและกลิ่นซึ่งจะมี Hazelnut Note ทำให้ได้รับตราสัญลักษณคุ้มครองแหล่งกำเนิด AOC ของฝรั่งเศสและยังได้ AOP ตราสัญลักษณคุ้มครองแหล่งกำเนิดของ EU อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดก็มี 4 ย่านในรูปข้างล่าง

City Break Paris French Breakfast 13

แต่ถ้าให้แนะนำแบบที่หาซื้อทานได้ง่ายแม้ในเมืองไทยก็หาไม่ยากนั้น ให้จำแค่ 2 แหล่งนี้ก็พอคือ
1. Beurre d’Isigny จาก Normandy
Beurre Isigny เป็นประเภทของเนยนมวัวที่ทำในบริเวณอ่าว Veys แถบหุบเขาที่มีแม่น้ำที่ไหลลงผ่านลงไปที่อ่าวได้แก่ บริเวณโดยรอบ Isigny-sur-Mer รวมทั้งบริเวณ Manche และ Calvados ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

City Break Paris French Breakfast 3

โฆษณาเนย Isigny ตั้งแต่ปี 1900

เนย Isigny จะมีสีทองตามธรรมชาติอันเป็นผลมาจากระดับ Carotenoids ที่สูง ทำให้เนยมีไขมัน 82% และอุดมไปด้วยกรดโอลิอิกและเกลือแร่ (โดยเฉพาะโซเดียม) เกลือเหล่านี้ให้รสชาติและทำให้เก็บรักษาได้นาน

City Break Paris French Breakfast 1

เนย AOP Charentes-Poitou

2. Beurre Charentes-Poitou
Charentes-Poitou เป็นชื่อของแหล่งกำเนิดของเนยฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงของภูมิภาค New Aquitaine รวมทั้งในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ Pays de la Loire เนยนี้ผลิตขึ้นเฉพาะจากครีมพาสเจอร์ไรส์ที่สกัดจากน้ำนมดิบที่ผลิตโดยเกษตรกรในภูมิภาค Charente (Charente, Charente-Maritime) และ Poitou (Deux-Sèvres, Vienne, Vendée) โดยจะใช้น้ำนมจากวัวสายพันธุ์ดีเยี่ยมของฝรั่งเศสที่เรียกว่า วัวลิมูแซง Limousin ทำให้ได้รับประกาศให้เป็น AOC ตั้งแต่ปี 2534

City Break Paris French Breakfast 2

ส่วนข้างบนนี้เป็นเนยที่มาจาก Deux-Sevres หรือ Beurre des Deux-Sevres ซึ่งก็ได้ AOC เช่นกัน

รายชื่อร้านข้างล่างคือร้านที่เคยเป็นผู้ชนะหรือติดอันดับการประกวดแข่งขัน Grand Prix การทำครัวซองต์ประจำปีของกรุงปารีสบ่อยๆ โดยกติกาจะต้องทำครัวซองต์เนยสดที่ใช้เนย AOCเท่านั้น (Meilleur Croissant au Beurre AOC Charentes-Poitou ) ซึ่งร้านที่ชนะจะได้รับเกียรติจากพระราชวังเอลิเซ่ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีของฝรั่งเศสให้เป็นผู้จัดส่งครัวซองต์ขึ้นโต๊ะประธานาธิบดีทานทุกๆ เช้า ดังนั้นถ้าเราไปลอง 1 ในร้านดังกล่าวก็ไม่น่าจะผิดหวังนะครับ

Best AOC Butter Croissants (Meilleur Croissant au Beurre AOC Charentes-Poitou)
1. Michel Lyczak, 68 rue Paul Vaillant Couturier, 92240 (Malakoff)
2. Boulangerie Schou, 96 rue de la Faisanderie, 75016
3. Cocardon of L’Artisan des Gourmands, 60 rue de la Convention, 75015
4. Douceurs et Traditions, 85 rue St Dominique, 75007
5. Au Duc de la Chapelle, 32 rue Tristan Tzara, 75018
6. Le Grenier à Pain des Abbesses, 38 rue des Abbesses, 75018
7. Liberté, 39 rue des Vinaigriers, 75010
8. La Fournée Gourmande, 9 rue de la Mairie, 92320 (Chatillon)
9. Boulangerie Pichard, 88 rue Cambronne, 75015
10. 134 RdT, 134 rue de Turenne, 75003
11. Boulangerie-Pâtisserie Colbert, 49 rue de Houdan, 92330 (Sceaux)

เป็นอันว่าข้างบนคือร้านที่ Plain Croissant อร่อยแบบถูกต้องตามจารีตประเพณีการทำ (เพราะการแข่งขันจะเน้นเรื่องความดั่งเดิม) ทีนี้ถ้าเป็นเรื่องประสบการณ์การกินครังซองต์แบบอื่น เช่น ครัวซองต์อัลมอนด์หรือครัวซองต์ช็อกโกแลตล่ะ หรือในแง่ความโด่งดังของร้านครังซองต์ในปารีสในรูปแบบสมัยใหม่หรือแบบประวัติศาสตร์คงจะแนะนำร้านต่อไปนี้ครับ

1.แบบ Artisan คงต้องไปลอง Maison Kayser ของ Eric Kayser

City Break Paris French Breakfast 5

ร้านนี้ชื่อดังเพราะมีกว่า 80 สาขาตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกแม้แต่กรุงเทพฯ แต่ถ้าพูดถึงร้านแรกต้นตำรับแล้วก็ต้องไปที่ย่านละตินตรงถนนมง ใกล้ถนนแซงต์มิเชล (8 rue Monge) ร้านนี้จะโดดเด่นเรื่อง Almond Croissant และเปิดแต่เช้ามืด ในขณะที่ร้านอื่นๆ ยังไม่ค่อยจะเปิดกัน

City Break Paris French Breakfast 7

สาขาแรก ของ Eric Kayser เลขที่ 8 rue Monge

2.แบบประวัติศาสตร์ต้องไปที่ร้าน Stohrer – ร้านเพรสทรี่ขายครัวซองต์ที่เก่าแก่ที่สุดของปารีส

City Break Paris French Breakfast 11

Patisserie Stohrer อยู่ในเขต 2 (2nd arrondissement) บนถนน Rue Montorgueil เปิดมาตั้งแต่ปี 1730 ถือเป็นร้านเพรสทรี่ที่เก่าแก่ที่สุดในปารีส ตกแต่งสวยงาม ที่สำคัญไม่ใช่เก่าแก่อย่างเดียว เพรสทรี่ที่นี่อร่อยด้วย ขึ้นชื่อเรื่อง Croissant Aux Amandes (Almond Croissant)

City Break Paris French Breakfast 10

3.แบบ Fashion หรือแบบสมัยใหม่ต้องไปที่ Des Gâteaux et du Pain – Croissants In A Modern Pastry Shop

City Break Paris French Breakfast 12

Des Gâteaux et du Pain คือร้านเพรสทรี่สมัยใหม่ สร้างสรรค์โดย นักอบขนมเพรสทรี่ชื่อดังที่ชื่อ Claire Damon เธอตั้งใจทำร้านนี้ให้เป็นร้านขนมอบแบบแฟชั่น แต่ก็ชำนาญการทำครัวซองต์แบบขั้นเทพด้วย ไม่งั้นชาวเมืองปารีสคงไม่ยอมรับ ถ้าแค่จะมีกิมมิคเรื่องร้านสวยทันสมัยแค่นั้น ร้านนี้ให้ลอง Plain Croissant

City Break Paris French Breakfast 9

ก่อนจะจบตอนนี้คงต้องพูดถึงของโปรดของผมก่อน นั่นคือ ครัวซองต์ช็อกโกแล็ต หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Pain au chocolat (อ่านว่า แปงโอ ช็อกโกลา)แต่ทางใต้ของฝรั่งเศสมักเรียกว่า ชอกโกลาตีน ‘chocolatine’ ต้องบอกว่า มันหอม ผิวมันกรอบนอกจนเกือบป่น เมื่อสัมผัสมีกลิ่นหอมของวานิลาและช็อกโกแล็ต และรสชาติที่ไม่หวานมากมายแบบที่เคลือบน้ำตาลเช่นพวกเดนนิสเพรสทรี่ ผมมักจะชอบซื้อจากร้าน Paul เพราะมีขนาดเล็กให้เลือก สำหรับช่วงควบคุมน้ำหนัก จริงๆ แล้วร้านเพรสทรี่ของฝรั่งเศสที่เรารู้จักกันดีที่ชื่อร้าน Paul นี้ก็เก่าแก่อยู่พอสมควร เปิดมาตั้งแต่ปีที่หอไอเฟิลสร้างเสร็จก็คือปี 1889 ตอนนี้มีกว่า 400 สาขาแล้ว แต่ที่ผมไม่ได้แนะนำก็เพราะร้าน Original ร้านแรกไม่ได้อยู่ในปารีสแต่อยู่ที่เมือง Lille

City Break Paris French Breakfast 6

สำหรับร้านที่แปงโอ ช็อกโกลา ขึ้นชื่อต้องไปลองในปารีสนั้นต้อง 2 ร้านนี้ครับ
1. Eran Mayer
เจ้าของชื่อ Eran Mayer มีร้านอยู่ที่เขต 15th โดยคุณ Eran มีความเชื่อว่าของที่อร่อยนั้นต้องมาจากพื้นฐานที่ดี นั่นคือ วัตถุดิบที่ดีที่สุดที่หาได้ เขาคิดว่าเนยก็เหมือนไวน์คือจะต้องมาจากแหล่งที่นมดี ซึ่งก็ไม่แปลกที่เขาจะใช้เนยแบบโบราณยี่ห้อ Lescure หรือ เนย AOC จาก Poitou-Charentes แป้งเพรสทรี่จากเมือง Voiron และด๊ากช๊อกโกแลตยี่ห้อ Callebaut ของเบลเยี่ยม ซึ่งแน่นอนว่ารสชาติของมันสำหรับคนที่เคยลองแล้วต้องยอมรับ เพราะมันครีมมี่มากตรงไส้ช็อกโกแลตและทั้งหอม(กลิ่นเนย) ทั้งเหนียว(แป้งด้านใน) และกรอบผิวcrustด้านนอก

City Break Paris French Breakfast 14

2. Blé Sucré
Blé Sucré แปลว่า แป้งสาลีเคลือบน้ำตาล เป็นร้านของ Chef Fabrice มี “Pain au chocolat” ราคา€1.20 ที่กรอบนอกเหนียวนุ่มด้านใน แป้งมีความเค็มจากเนย Montaigu ที่ผลิตในย่าน Poitou-Charentes ร้านนี้เป็นที่ยอมรับของคนปารีสแล้วยังสะดวกตรงที่อยู่ใกล้ตลาดเช้าที่ชื่อ “Marché d’Aligre” ซึ่งเหมาะมากสำหรับแม่บ้านหรือพ่อบ้านที่มาทั้งทีได้จ่ายกับข้าวและหิ้วครัวซองต์ชั้นเลิศกลับไปบ้านด้วย

 

อาหารเช้ายังไม่จบนะครับไปต่อกันคราวหน้า