City Break Paris Part XXII

By Pusit Sansopone

เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 22

เบรกกินอาหารกลางวันในปารีส (ตอนที่2)
เมื่อคราวที่แล้วเราพูดถึงมื้อกลางวันในปารีส ซึ่งผมแนะนำว่าเราควรไปกินในร้านอาหารแบบที่เรียกว่า ‘บิสโตร’หรือไม่ก็กินตาม ‘กาเฟ่’ เลยก็ได้ เพราะหาง่ายมีอยู่ทุกมุมถนน ที่แนะนำแบบนี้ก็เพราะมื้อกลางวันเราต้องการความสะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุดก็คือเราจะได้มาทำความรู้จักกับอาหารฝรั่งเศสแท้ ที่เรียกว่าเป็น French Classic Dish หรือ Cuisine Classique เพราะร้านแบบนี้จะเน้นเสิร์ฟแต่อาหารพื้นบ้านฝรั่งเศสแท้ๆ เท่านั้น ต่างกับบรรดาภัตตาคารหรูสมัยใหม่ในปารีสที่จะนิยมเสิร์ฟ Nouvelle Cuisine ตำรับสมัยใหม่ที่เอาจานคลาสสิกนั่นแหละมาดัดแปลงเน้นการสร้างสรรค์ประดิษฐ์ตกแต่ง (Presentation) ตามจินตนาการและฝีมือของ Chef ชื่อดังทั้งหลาย ซึ่งควรเก็บไว้ลองเป็นมื้อเย็นจะดีกว่า เพราะร้านเหล่านั้นค่อนข้าง ‘เป็นทางการ’ ต้องจองล่วงหน้าและมี Dress Code ต้องแต่งกายให้เหมาะสม

ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงบรรดาอาหารฝรั่งเศสแบบคลาสสิก ที่เราควรต้องลองหรือไปสั่งชิมกันครับว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง โดยผมจะแบ่งเป็นประเภทออกมาให้

1.แบบอาหารจานด่วน
กรณีเร่งรีบ อาจยังไม่หิวมาก หรือเป็นการกินรวบ 2 มื้อแบบ Brunch นั้น แนะนำให้คุณเข้าไปในกาเฟ่ ที่ดูดีหน่อยแล้วลองสั่ง 2 จานนี้มาลองครับอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

City Break Paris Lunch Time In Paris 1

Croque Monsieur คร๊อก เมอซิเออร์ ก็คือ แซนด์วิชคลาสสิกของฝรั่งเศสซึ่งปรากฎขึ้นครั้งแรกในเมนูของคาเฟ่แบบปารีสมาตั้งแต่ปี 1910 ในยุค La Belle Époque ยุคสวยงาม เป็นยุคสมัยหลังการสิ้นสุดของสงคราม ฟรังโค-ปรัสเซีย ใน ค.ศ. 1871 ไปจนถึงการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน ค.ศ.1914 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ยุโรปตะวันตกมีความสงบสุข มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี เศรษฐกิจมีการเติบโต และการเฟื่องฟูของศิลปะต่างๆ เป็นอย่างมาก มีไลฟ์สไตล์แบบหรูหราฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะที่ปารีสถือเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง และสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในปารีสส่วนใหญ่ก็จะเกิดขึ้นในยุคนี้

ในด้านงานศิลปะก็เป็นช่วงของศิลปะแบบ Impressionism ที่มี คล๊อดโมเนต์ (Claude Monet) และเรอนัว (Pierre-Auguste Renoir) หรือมาเนต์( Édouard Manet) เป็นผู้สร้างชื่อของยุค แต่ถ้าจะให้พูดถึงศิลปินแห่งยุคสวยงามจริงๆ ก็ต้องเป็น Henri de Toulouse-Lautrec เช่นภาพ At the Moulin Rouge, The Dance ข้างล่างนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 5

ศิลปิน Jean Béraud. ก็ได้วาดหลายภาพที่ถ่ายทอดชีวิตหรูหราในกรุงปารีสในยุค La Belle Epoque ได้เป็นอย่างดี ดังภาพข้างล่างที่ชื่อว่า ‘A ball’

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 6

ในขณะที่มีการพัฒนาด้านแฟชั่นการแต่งกายในสมัยนั้นจนทำให้ปารีสกลายเป็นผู้นำด้านการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมาจนถึงยุคปัจจุบัน Coco Chanel ก็เกิดในยุคนั้น ได้อิทธิพลการออกแบบของยุคสวยงามมา

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 4

ส่วนด้านบันเทิงก็จะมีโชว์แบบ Cabarets ที่เริ่มต้นจากคลับที่ชื่อ Moulin Rouge เปิดเมื่อปี 1889 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งกำเนิดทางด้านจิตวิญญาณของรูปแบบการเต้น Can Can และมีการพัฒนาให้การเต้นมาประกอบกับโชว์ที่ใช้ความสามารถหลายรูปแบบ รวมทั้งมายากลจนได้กลายเป็นรูปแบบของความบันเทิงแบบคาบาเรต์โชว์ นำไปสู่ความนิยมของการดื่มแชมเปญเพื่อเฉลิมฉลอง เพราะการมาชมคาบาเรต์นั้นมักขายบัตรคู่กับแชมเปญเท่านั้นครับ

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 8 Moulin Rouge

ยิ่งได้ศิลปินอย่าง Henri de Toulouse-Lautrec มาช่วยทำโปสเตอร์โฆษณาให้ Moulin Rouge ด้วยแล้วทำให้สถานที่แห่งนี้เป็น a-must สำหรับผู้ใหญ่ที่มาปารีสในตอนนั้น

จริงๆ แล้ว Moulin Rougeไม่ได้เป็นโรงละครประเภทนี้แห่งเดียวในตอนนั้นยังมี โฟลี่ แบแจร์ Folies Bergère ซึ่งเก่าแก่กว่า สร้างมาตั้งแต่ปี 1869 แต่ตั้งใจสร้างมาเป็นโรงละครร้องแบบโอเปร่า แล้วปรับมาเป็นละครเบาสมองแบบ Comedies แล้วก็กลายมาเป็น Music Hall จากนั้นก็เป็นการนำโชว์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นละครสัตว์ กายกรรม แล้วจึงมาเป็นคาบาเร่ต์ หลังจากที่ Moulin Rouge ประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ โฟลี่ แบแจร์ ก็ยังอยู่ที่ Rue Bergère ถนนซึ่งเป็นที่มาของโรงละครแห่งนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 1

ภาพ A Bar at the Folies-Bergère โดย Édouard Manet ถือเป็นภาพสร้างชื่อให้โรงละครแห่งนี้

ในด้านสถาปัตยกรรมนั้นปารีสก็ได้มีการปฏิวัติครั้งใหญ่ เริ่มต้นมาก่อนหน้ายุคนี้เล็กน้อย โดยมีโครงการของจักรพรรดิโปเลียนที่ 3 ที่ต้องการทำปารีสให้เป็นเมืองที่ทันสมัย จึงมอบหมายให้สถาปนิกที่ชื่อ Georges-Eugène Haussmann หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Baron Haussmann เป็นผู้ควบคุมโครงการซึ่งถือว่าเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จัดการผังเมืองปารีสใหม่ทั้งหมด รื้ออาคารโบราณในยุคกลางออกแล้วสร้างอาคารในรูปแบบ Neo Classic จึงเป็นที่มาของโครงการ Haussmann’s Renovation of Paris

แบบจำลองของอาคาร Apartment Building ของ Paris ในแบบของ Haussman

ก่อนยุคของ Haussmann อาคารส่วนใหญ่ในปารีสทำจากอิฐหรือไม้และฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ Haussmann ต้องการให้อาคารตามแนวถนนสร้างขึ้นใหม่มีระเบียบคล้องจองเป็นแบบเดียวกัน (Unify) ด้วยสถาปัตยกรรมที่กำหนดให้เท่านั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างสร้างออกแบบกันเอง จึงสังเกตได้ว่าอาคารApartment Building ที่เรียงรายอยู่บนถนทุกสายในปารีสนั้นมีความละม้ายคล้องจองความสูงเท่ากัน มีหลังคาแบบ Mansard ที่ทำมุม 45 องศาสีเทาเข้ม มีห้องใต้หลังคา และตัวตึกที่ทำจากหินปูน Lutetian ที่มีสีครีมเหมือนกันหมดซึ่งให้ความกลมกลืนกับรูปลักษณ์ของถนน

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 10

นอกจากนี้เขายังบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาจากปี ค.ศ. 1852 ที่ระบุให้อาคารทั้งหมดต้องได้รับการทาสีบำรุงรักษาขัดล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุกสิบปี ไม่เช่นนั้นจะถูกโทษปรับ สำหรับถนนส่วนใหญ่ในปารีสก็จะถูก Haussman ปรับปรุงใหม่ให้กว้างขวางมากขึ้น และมีระบบระบายน้ำด้วยท่อน้ำทิ้งขนาดใหญ่ใต้ถนนทุกสายและยังให้ความสำคัญกับอนุสาวรีย์ (Monument) ตลอดจนให้มีการปลูกต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างถนนส่วนใหญ่ในปารีสทำให้ปารีสเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์สวยงาม และมีบรรยากาศโรแมนติกอย่างยิ่ง ดังภาพวาดแบบ Impressionism ของ Pissarro ที่ชื่อ Montmartre Boulevard ข้างล่างนี้

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 3

และประกอบกับการปฏิวัตอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสทำให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของฝรั่งเศสที่เป็นรูปเป็นร่างในช่วงนั้น นำโดย Armand Peugeot ผู้ให้กำเนิดรถยนต์เปอโยต์และพี่น้องตระกูล Renault คือ Louis, Marcel และFernand ก็เริ่มนำรถเฮอโนต์ออกขาย

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 2 Peugeot

สุดท้ายก็คือจังหวะที่ปารีสได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า World Exposition ปี 1889 ที่เป็นต้นแบบของงาน Expo ในปัจจุบันนี้ ในฐานะเจ้าภาพก็ได้มีการสร้างหอไอเฟิลขึ้นมาเพื่อเป็นการแสดงศักยภาพว่าฝรั่งเศสคือประเทศผู้นำแห่งยุคสวยงาม หรือ La Belle Époque ซึ่งถือเป็นยุด Golden Ageอย่างแท้จริง

City Break Paris Art & Style Golden Age of Paris 9

กลับมาถึงเรื่องของ Croque-Monsieur ซึ่งมันเกิดในยุคนี้เช่นกัน มันอาจดูเหมือน Ham and Cheese Sandwich ธรรมดาๆ แต่ไม่ใช่นะครับ เพราะมันมีรายละเอียดที่ต้องประกอบด้วยขนมปังแบบแซนด์วิชแผ่นหนา 2 แผ่น ถ้าจะให้ดีควรเป็นขนมปังแป้งเปรี้ยว หรือ Sourdough ทาเนยแล้วลงไปจี่ในกระทะร้อนให้เกิดสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลไหม้ (Light Char )พอได้ที่ก็นำมาทา ดิจง มาสตาดบางๆ แล้วนำมาประกบแฮมต้ม ที่ต้องเป็น “Jambon de Paris” หรือแฮมแบบปารีสเท่านั้น อาจใส่ชีสกรุยแยร์แผ่นไว้กับแฮมด้วย ตามด้วยการราดด้วยซอส Béchamel ที่ทำจากส่วนผสมของแป้งข้าวสาลี – ซอสแป้งและเนยลงด้านบนของแซนด์วิช แล้วขุดชีสกรุยแยร์(Gruyère อาจทดแทนด้วยชีส Emmental หรือ ชีสComté) มากๆ หน่อย เป็นTopping บนตัวซอส แล้วจึงนำเข้าเตาย่างไฟบนให้ ชีสในชิ้นขนมปัง และชีสด้านบนละลาย ในขณะที่ขนมปังจะเกรียมกรอบได้ที่

City Break Paris Lunch Time In Paris 2

บางครั้งอาจมีสูตรดัดแปลงด้วยการใช้ชีสหลายชนิดมาผสมกันอาจเป็น Goat Cheese หรือ Gorgonzola แล้วเรียกชื่อว่า “Croque aux trois fromages” แต่ถ้ามีการวางไข่ดาวไว้ด้านบนแซนด์วิชมันจะถูกเรียกว่า Croque-Madame ส่วนเครื่องเคียงก็แล้วแต่ร้านไหนจะจัด อาจเป็นแตงกวาดองหรือสลัดเขียว และมี Chip หรือไม่ก็ Duck Fat Fries คือมันฝรั่งทอดด้วยน้ำมันเป็ด(ไขมันเป็ด)ซึ่งยอดเยี่ยมมาก

 

โปรดติดตามเรื่องมื้อกลางวันในปารีสในตอนต่อไป

City Break Paris Part XXI

By Pusit Sansopone
เบรกเที่ยวในกรุงปารีส ตอนที่ 21

เบรกกินอาหารกลางวันในปารีส

City Break Paris Lunch Break Ep1 -5

หลังจากที่พูดถึงพิพิธภัณฑ์ Louvre แบบละเอียดยิบมา 4 ตอน ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีตอนที่ 5 ซึ่งจั่วหัวไว้แล้วในหัวข้อเรื่อง “มา Louvre แล้วต้องดูอะไร ?” นั้น ผมจะขอเปลี่ยนบรรยากาศไปเป็นเรื่องกินก่อนแล้วค่อยกลับมาคุยเรื่องเที่ยวกันต่อ ไม่งั้นจะเที่ยวเหนื่อยเกินไป สำหรับเรื่องกินคราวที่แล้วเราพูดถึงอาหารเช้าไปแล้ว ครั้งนี้จึงเป็นเรื่องของอาหารกลางวัน

สำหรับอาหารกลางวันนั้นไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนในโลกสมัยใหม่ ดูเหมือนว่าผู้คนจะหันมานิยมอาหารที่เป็น Fast Food มากขึ้น เนื่องจากเราจะถูกจำกัดเวลาให้ต้องจัดการให้แล้วเสร็จใน 1 ชั่วโมง เพราะช่วง Lunch Break มันมีอยู่เท่านั้น จริงอยู่แม้ว่าเราไม่ต้องรีบกลับไปทำงานเพราะเรากำลังอยู่ใน Vacation หรือกินกับลูกค้าในลักษณะ Business Lunch มันก็มักจะไม่ยืดเยื้อไปกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง เพราะหลายๆ ร้านมักจะปิดตอน 14:30 และมาเปิดอีกครั้งตอน 6 โมงเย็นสำหรับมื้อเย็น ดังนั้นการกินกลางวันในปารีสผมจะไม่แนะนำให้เราต้องไปกินร้านที่มันเป็น Restaurant หรือภัตตาคารแบบเลิศหรูซึ่งจะเหมาะกับมื้อเย็นมากกว่า แต่จะแนะนำให้เราไปกินร้านอาหารแบบ Bistro หรือไม่ก็ไปกินที่เป็น Parisian Cafés แท้ๆ กันครับ แต่ก่อนจะบอกว่าควรไปสั่งอะไรกินนั้น จะแนะนำให้รู้จักลักษณะร้านทั้ง 2 แบบนี้ก่อน

City Break Paris Lunch Break Ep1 -14

 

1. Parisian Cafés
สำหรับร้านแบบ คาเฟ่ หรือ ‘กาเฟ่’ ของปารีส ในความคิดแรกของหลายท่านนั้นพอบอกว่าให้ไปกินที่ ‘กาเฟ่ ‘นั้น มันเหมือน “จะชวนไปกินกลางวันที่ร้าน กาแฟ หรือ!?”

City Break Paris Lunch Break Ep1 -8

ใช่ครับ ‘กาเฟ่’ ของปารีส มันก็มีลักษณะการใช้งานคล้ายๆ กับ Pub ใน London นั่นแหละครับที่ย่อมาจากคำว่า Public House ซึ่งเป็นหมือนศูนย์กลางของชีวิตและสังคมของคนในละแวกหรือย่านนั้นๆ มันเป็นเหมือนสถาบัน เป็นวิถีชีวิตของชาวฝรั่งเศสที่ต้องมีการไปโรงเรียน, ที่ทำงาน, ซูเปอร์มาเก็ต ศูนย์การค้านั่นแหละครับ และมันก็ต้องมี ‘กาเฟ่’อยู่ในลิสต์ด้วย

ร้าน ‘กาเฟ่’ แบบฉบับกรุงปารีสไม่ใช่ร้านกาแฟโดยทั่วไป มันจะมีครบสูตรก็คือส่วนที่เป็น Cafe จะมีบาร์เสิร์ฟเหล้าเบียร์หรือไวน์ ที่เราสามารถสั่งไวน์เป็นแก้ว un verre de vin หรือเบียร์ครึ่งไพน์ “un demi” หรือ “une pression” เบียร์สดที่มาจากtap และแน่นอนกาแฟรสเข้มสักช็อต ” un espresso ” นอกจากนั้นร้าน ‘กาเฟ่’ แบบกรุงปารีสส่วนใหญ่ยังมีส่วนที่เป็น Dining Area มีห้องครัวที่สมบูรณ์แบบซึ่งมีเมนูอาหารสำหรับมื้อกลางวันและมื้อค่ำ แต่เมนูมักจะเป็นอาหาร Traditional ที่ยึดมั่นในประเพณีของฝรั่งเศส โดยมีรายการโปรดเช่น coq au vin, escargots, tartare du boeuf และcrème brûlée เป็นต้น แต่ในระหว่างมื้อในส่วนกาเฟ่ก็จะมีอาหารประเภทจานด่วนเสิร์ฟตลอดวัน เช่น แซนด์วิชหรืออาจเป็นพวก Pie (Tart) หรือ croque monsieur, Pizza, Salad, Soup

City Break Paris Lunch Break Ep1 -1

Cafe มันเป็นจุดนัดพบ หรือ rendez-vous และแหล่งพบปะแบบสโมสร หรือ เป็นที่ผ่อนคลายเคลียร์สมอง เติมพลัง หรือจะใช้เป็นที่ฆ่าเวลา โดยได้นั่งแบบสบาย ๆ ดูผู้คนหรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ แบบ People Watching ไปด้วย โดยในประวัติศาสตร์แม้แต่การประชุมทางการเมืองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์สำคัญในฝรั่งเศสก็ใช้คาเฟ่นี่แหละครับ

City Break Paris Lunch Break Ep1 -13

ธุรกิจกาแฟและการบริโภคกาแฟนั้นเกิดขึ้นในกรุงปารีสตั้งแต่ปีค.ศ. 1644 และคาเฟ่แห่งแรกก็เปิดขึ้นในปีพศ. 1672 แต่มันไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งมีการเปิดร้านที่ชื่อ Café Procope ในปี 1689 บนถนน Rue des Fossés-Saint-Germain ทุกวันนี้ร้าน Café Procope ถือเป็นร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดในบรรดาร้านอาหาร / คาเฟ่ของกรุงปารีส เป็นต้นฉบับของ European Literary Café วรรณกรรมคาเฟ่

City Break Paris Lunch Break Ep1 -3

ต้องถือว่ากาเฟ่แห่งนี้เป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และวัฒนธรรมในกรุงปารีสในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคเรืองปัญญาหรือยุค Enlightenment (ในฝรั่งเศสเรียกยุค Siècle des Lumières คือเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อทางศาสนา รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ) ลูกค้าของร้านตอนนั้นก็คือผู้ที่มีอิทธิพลแห่งยุคทั้งนั้น เช่น Rousseau, Denis Diderot และ Voltaire เป็นทำให้คาเฟ่แห่งนี้ได้สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองขึ้นทำให้เป็นจุดเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมและการเมือง บางส่วนของปรัชญาที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้นซึ่งจะเปลี่ยนประเทศชาติฝรั่งเศสไปให้ก้าวข้ามยุคเก่า แม้แต่อดีตประธานาธบดีอเมริกันเช่น Benjamin Franklin และ Thomas Jefferson ที่ใช้เวลาอยู่ในกรุงปารีสก็มีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยใช้เวทีที่เป็นร้านกาแฟร้านนี้มาแล้ว

City Break Paris Lunch Break Ep1 -12

ชื่อของร้านนี้ได้มาจากขื่อของผู้ก่อตั้งคือ Francesco Procopio dei Coltelli ชาวอิตาเลี่ยนจากซิซิลีที่ได้เครดิตว่าเป็นผู้คิดธุรกิจ เจลาโต้ ไอสครีมอิตาเลี่ยน ซึ่งก็ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถมีปัญญาอยู่แล้วในการสร้างสรรค์ ยิ่งได้ทำเลร้านใกล้กับ Comédie-Française ซึ่งมักมีศิลปินและปัญญาชนมาชมละครที่นั่น

City Break Paris Lunch Break Ep1 -10

ทำให้ร้านกาแฟแห่งนี้กลายที่เป็นจุดนัดพบของปัญญาชนและผู้ที่มีชื่อเสียง ที่มาวิจารณ์หรืออภิปรายงานศิลปะ วรรณคดี ละครเวที และภาพยนตร์ รวมทั้งการเมืองทำให้ Café กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการแลกเปลี่ยนข่าว ข่าวลือ และความคิด มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหนังสือพิมพ์ในวันนั้น และทำให้กิจการกาเฟ่ เริ่มเป็นที่นิยมต่อมา ในปี ค.ศ. 1723 มีร้านกาแฟ 323 แห่งในปารีส โดยในปี 1790 มีมากกว่า 1,800 และปัจจุบันเราเห็นมันได้ทุกหนแห่งในปารีส

แม้อายุกว่า 300 ปีร้านนี้ยังตั้งอยู่ที่เดิมในทุกวันนี้ มันได้รับการบูรณะอย่างมาก มีการออกแบบใหม่โดยพยายามฟื้นฟูสไตล์ศตวรรษที่ 18 ถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ของตกแต่งที่มีคุณค่าก็ยังถูกเก็บรักษาไว้ กำแพงสีแดงเข้มประดับด้วยภาพบุคคลในกรอบทองที่หรูหรา บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์กรุงปารีส จากเพดานแขวนโคมไฟระย้าคริสตัลประณีตสว่างไสว ด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้มะฮอกกานี โล่ที่ระลึกถึงนักแสดงที่มีชื่อเสียงผู้เคยดื่มเหล้าหารือพูดคุย และมีการสร้างห้อง Private ที่แต่ละห้องมีการตั้งชื่อตามลูกค้ารายสำคัญ เช่น โชแปงและแฟรงคลิน ขอ งตกแต่งภายในมีความสอดคล้องกันตลอดทั้งสองชั้นและมักจะมีเสียงเพลงเบา ๆ ในพื้นหลังเพิ่มบรรยากาศโรแมนติกของปารีส

ที่อยู่ Café Procope, 13 Rue de l’Ancienne Comédie, 75006 Paris +33 01 40 46 79 00

2. Bistro
เกิดทีหลังกาเฟ่ แต่ก็มีที่มาตั้งแต่ปี 1812 คือช่วงพลิกผันของฝรั่งเศสหลังจากที่รุ่งเรืองสูงสุดโดยการนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ยกทัพไปรบที่ไหน (Napoleonic Wars)ก็มักได้ชัยชนะทำให้เกิดกระแสการต่อต้านและเกิดการรวมกลุ่มอำนาจของประเทศต่างๆ เพื่อหยุดการรุกรานหรือลดความไม่มั่นคงของประเทศตัวเอง และเมื่อครั้งที่รัสเซียได้ดึงชาติต่างๆ มาเป็นพันธมิตรที่ประกอบด้วย รัสเซีย,ปรัสเซีย(ส่วนหนึ่งของเยอรมันในปัจจุบัน), อังกฤษ, สวีเดน, สเปน, โปตุเกต และ ออสเตรีย ก็ได้บุกไปฝรั่งเศสซะตอนที่กองทัพของนโปเลียนกำลังอ่อนแอในปี 1814 ซึ่งทำให้นโปเลียนแพ้สงคราม Battle of Paris ต่อพันธมิตรและเป็นเหตุให้นโปเลียนต้องถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ Elba

City Break Paris Lunch Break Ep1 -11
ทหารรัสเซียบุกเข้าปารีสหลังจาก The Battle of Paris

CR: http://www.pravoslavie.ru/sas/image/101702/170222.b.jpg?0.64294786863029

ในช่วงสงครามเลิกนั้นทำให้ทหารรัสเซียเต็มเมืองปารีส บรรดาร้านอาหารเล็กๆ ในปารีสจึงมักได้ยินภาษารัสเซียคำนี้ “Bystro!Bystro!” เป็นการเรียกคนเสิร์ฟ มันมีความหมายว่า “Quick! Quick!” หรือ เร็วเข้าๆ ว่ากันว่าคำนี้แหละคือที่มาของคำว่า Bistro บิสโตร

City Break Paris Lunch Break Ep1 -7

Benoit: Classic Paris Bistro

โดยมีเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ที่จัตุรัส” Place du Terre ถือเป็นสถานที่กำเนิดของคำว่า “Bistro” ในภาษาฝรั่งเศส โดยจะมีป้ายสีขาวติดตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 6 ซึ่งก็คือที่ตั้งของร้าน Chez la mère Catherine Cafe โดยในวันที่ 30 มีนาคมปี 1814 พวกทหารรัสเซียมาตะโกนเป็นภาษารัสเซียว่า “Bystro Bystro” ที่ร้านนี้เพื่อให้พนักงานเสิร์ฟของร้านรีบเสิร์ฟเครื่องดื่มก่อนที่จะต้องเข้าร่วมกลุ่มกองทัพของพวกเขา

City Break Paris Lunch Break Ep1 -2

แต่นักประวัติศาสตร์บางคนก็บอกว่าไม่ใช่นะ มันมาจากคำว่า “bistrouille” ที่หมายถึงกาแฟผสมกับเหล้าที่กลั่นจากผลไม้ ที่เป็นภาษาทางเหนือของฝรั่งเศสต่างหากซึ่งมักจะหาดื่มกันในร้านอาหารเล็กๆ แบบ Bistro แต่ไม่ว่าใครจะถูกจะผิด ช่วงเวลาที่ Bistro เกิดขึ้นมันก็มาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสนั่นเอง คือในช่วงระหว่างปี 1800 ถึง 1900 ซึ่งเป็นยุคที่มีการสร้างทางรถไฟกันหลายเส้นทาง และแต่ละสายก็มุ่งสู่กรุงปารีส เพราะมีงานก่อสร้างพัฒนาเมืองหลวงต้องการคนงานมากมาย ทำให้มีการอพยพของแรงงานและคนจากต่างจังหวัดเข้ามา จนกระทั่งพลเมืองที่ปารีสเพิ่มจาก 5 แสนคนเป็น 2.5 ล้านคนในช่วงศตวรรษนี้ ทำให้ Bistro กลายมาเป็นร้านอาหารในแบบจานด่วนราคาไม่แพง

City Break Paris Lunch Break Ep1 -6

ร้านอาหารแบบ  Bouchonในเมืองลียง

และในบรรดาผู้ที่อพยพมาก็มีพวกที่มาจากทางใต้คือมาจาก Lyon, Perigord และ Auvergne ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทีมาบุกเบิกการทำร้านอาหารขนาดเล็กที่ปารีส เพราะที่เมืองเหล่านี้ที่พวกเขาอยู่กันมีร้านอาหารแบบโรงเตี๊ยมต่างจังหวัดที่อร่อยขึ้นชื่อมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะที่ Lyon นั้นจะมีร้านอาหารที่เสิร์ฟเฉพาะอาหารท้องถิ่นชาวลียง Lyonnais ที่เรียกว่าบูชชง bouchon และประสบการณ์การกินที่ร้านแบบนี้ไม่ได้อยู่ในอาหารอย่างเดียว แต่บรรยากาศที่สนุกสนาน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักรู้จักกันและมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าของเพราะเป็นร้านในละแวกบ้าน

City Break Paris Lunch Break Ep1 -4

ดังนั้นผู้ประกอบการที่จับตลาดแรงงานอพยพนั้นก็รู้ดีว่าคนเหล่านี้ต้องการร้านอาหารแบบไหน พวกเขาจึงเข้ามาเปิดร้านอาหารท้องถิ่นแบบที่พวกเค้าคุ้นเคย คือมีราคาย่อมเยาว์แต่มีรสชาติที่ยอดเยี่ยมคุ้นลิ้นแบบฝีมือคุณแม่ ที่เรียบง่ายแต่ได้ใจ ปารีสจึงเริ่มมีร้านอาหารแบบ Neighborhood Restaurant หรือร้านในละแวกบ้าน ที่เรียกว่าBistro เกิดขึ้นทุกเขตทุกย่าน มันกลายมาเป็นที่พบปะเพื่อการคุยการกินของอร่อยคู่กับการดื่มไวน์ที่วนเวียนมากันได้บ่อยๆ เพราะราคากันเอง

แต่ในปัจจุบันนี้ Bistro มันกลายเป็นร้านอาหารชั้นเยี่ยมไปแล้วแม้ยังคงเน้นอาหารแบบ French Classic อยู่แต่เน้นการใช้ Chef ที่มีฝีมือ อุปกรณ์จาน ส้อม มีด ก็ลงทุนสูงออกแบบเฉพาะมีโลโก้ร้าน ราคาอาหารก็แพงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก หลายแห่งได้ดาวมิเชลแลง แถมจองโต๊ะยากมากครับ

ข้อแตกต่างระหว่างทั้ง 2 รูปแบบ
โดยสรุปก็คือ Parisian Café ส่วนใหญ่จะมี 2 ส่วน อาจมีส่วนที่เป็น Cafe ที่ใช้นั่งดื่มและใช้กับลักษณะเป็นการกินที่ไม่Formal เราสามารถสั่งแซนด์วิซหรืออาจเป็นพวก Tart หรือ croque monsieur โดยไม่ต้องย้ายที่ แต่ถ้าเราจะทานกลางวันแบบเป็นคอร์สที่ทางร้านจัดชุดเมนูเอาไว้ หรือเราอาจอยากกิน a la carte หรือแบบเลือกเองจัดชุดเองก็ต้องย้ายไปนั่งส่วนที่เป็น Dining Area หรือส่วนภัตตาคาร คืออาจจะกินแบบ Fast Food หรือนั่งดูเมนูแล้วน่าสนใจก็กินแบบเต็มชุดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่วน Café จะเปิดตลอดเวลา แต่ส่วน Dining Area อาจเปิดเป็นเวลา เช่น 11:30-14:30 สำหรับมื้อกลางวัน และ 18:30-10:30 สำหรับมื้อเย็น

แต่สำหรับ Bistro นั้น มันจะมีแต่ส่วนที่เป็นอาหารแบบภัตตาคารจริงๆ ไม่มีอาหารแบบ Fast Food พวก Sandwhiches คือต้องตั้งใจมากินแบบจริงจังและควรต้องจองมาก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้ผิดหวังเนื่องจาก Bistro มักเป็นร้านขนาดเล็กแบบคูหาเดียว ยิ่งร้านดังๆ อาจต้องจองล่วงหน้าเป็นเดือนครับ

ในตอนหน้าเราจะคุยต่อเรื่องอาหารกลางวันในปารีสกันครับ

City Break: New York City, Part V

เบรกกิน (ต่อ)  มื้อกลางวัน Lunch Break

มาเมืองนี้ถ้าเป็นมื้อกลางวัน ผมอยากแนะนำอะไรที่เป็นอาหารแบบอเมริกันที่โดดเด่นของเมืองนี้สัก 2-3 อย่างให้เลือก ซึ่งเราก็ทราบดีอยู่แล้วว่าถ้าไม่ใช่ Business Lunch แล้ว คนอเมริกันก็มักจะทานอะไรง่ายๆ เลยครับ แบบแซนด์วิชหรือเบอร์เกอร์นั่นแหละถูกต้องเลย แต่เราก็ต้องไปลองร้านที่ดังที่สุดของอาหารประเภทใช้มือช่วย (จับเข้าปาก) นี้ด้วย

 

Pastrami Sandwiches (แซนด์วิชเนื้อ) จาก Top New York Deli :

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-16

มันคืออะไร  คำว่า Deli นั้นมันย่อมาจากคำว่า Delicatessen หรือ “delicacies” ที่หมายถึง fine food ในภาษาอังกฤษ  แล้วมันขายอะไรล่ะ Delis มันขายเยอะแยะไปหมดแต่ที่เราสนใจก็คือ Delis ที่ขายอาหารชาวยิวโดยเฉพาะ และสำหรับคนที่ชอบทานเนื้อนี่เลย Pastrami  Sandwiches ซึ่งคือแซนด์วิชเนื้อสไลด์ที่ผ่านการทำหมักแบบ Brine คือทำให้สุกด้วยการแช่ในน้ำเกลือแล้วนำมารมควันจนหอมก่อนนำมาต้มให้นิ่ม ทานกับ Pickle แตงกวาดองและมัสตาร์ด โดยต้องประกบด้วยขนมปังที่ทำจากข้าวไรย์ หรือบางคนอาจชอบเป็น Rachelแซนด์วิชไส่โคลสลอว์กับ Pastrami หรือจะสั่ง Reuben แซนด์วิชที่ใช้คอร์นบีฟและซาวเออเคล้า พวกนี้มันกลายเป็นกูร์เมต์แซนวิชแบบนิวยอร์กไปแล้วทั้งๆ มีที่มาจากความยากจนในกลุ่มชาวยิวที่มาจากยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ซึ่งต้องใช้เนื้อราคาถูกแบบส่วนที่เหนียวเคี้ยวยาก เช่น Brisket แต่เมื่อมาผ่านกรรมวิธีแล้วมันออกมานุ่มแบบเนื้อชั้นดี แล้วถ้าอยากลองก็ห้ามไปลองที่อื่นนะครับ ต้องที่ร้าน ต่อไปนี้….เท่านั้นที่เป็นระดับสถาบันไปแล้ว

 

1.ร้าน KATZ’S DELICATESSEN

ราคา pastrami: $16.99

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-17

Katz’s Delicatessen เป็นร้านแบบเรียบง่ายเปิดมาตั้งแต่ปี 1888 ต้นตำรับโรมาเนียนยิวที่อพยพเข้ามานิวยอร์ก ไม่ต่างจากการที่คนจีนแต้จิ๋วจากซัวเถามาเยาวราชแล้วมาทำร้านอาหารดังขึ้นมายังไงยังงั้น  ขึ้น Subway สาย F มาลงที่ถนน 2 มาเลยปิดดึกครับ Deli ต้องปิดดึกเพราะมันเป็นเหมือนร้านข้าวต้ม คือคนเมาออกมาแล้วหิวก็พึ่งได้ วันศุกร์เปิดถึงเช้าเลยครับ Katz’s Deli จำไว้เลย ที่นี่มีลูกค้าระดับประธานาธิบดีคลินตันและคนดังๆ มากมาย

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-19

 city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-10

ที่อยู่ตามนี้ 205 East Houston Street (corner of Ludlow St.)

New York City, 10002
Tel: (212) 254-2246
https://katzsdelicatessen.com/
Subway: F train to 2nd Ave.

 

 2.ร้าน2nd AVENUE DELI

ราคา Pastrami: $16.95

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-7

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-8

ร้าน 2nd Avenue Deli มีชื่อเสียงติดอันดับ สลับกันขึ้นอันดับ1ในแต่ละปีกับร้าน Katz คือมีแฟนเยอะพอๆ กัน ที่นี่คือสวรรค์ของแซนด์วิชเนื้อสไลค์ราดด้วยมัสตาร์ด ประกบด้วยขนมปังจากแป้งข้าวไรย์ (Succulent, thin-sliced pastrami on rye with mustard) แล้วต้องทานกับแตงกวาดองที่มี 2 แบบให้เลือก ที่นี่มีบรรยากาศสนุกสนานในแบบนิวยอร์กแท้ๆ น่าไปลองครับ

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-6

ที่อยู่คือ

162 E 33rd St (off 2nd Ave.)
New York, NY
(212) 689-9000
www.2ndavedeli.com
Subway: #6 to 33rd Street

 

3.CARNEGIE DELI

ราคา pastrami  $17.99 

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-11

 city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-3

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-23

ที่นี่ชื่อเสียงก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน หลายคนบอกว่าเยี่ยมที่สุดด้วยซ้ำ แต่แพงกว่าที่อื่นนิดหน่อยเพราะให้มาจานใหญ่มาก แต่ถ้าเราเห็นว่าจะกินไม่หมดจะสั่งที่เดียวมาแชร์กันรู้สึกทางร้านเค้าจะชาร์จค่าแชร์ $3 ด้วย เนื่องจากนักวิจารณ์ท้องถิ่นบอกว่าที่นี่เนื้อเหนียวกว่าคู่แข่ง ทำให้ได้ตำแหน่งเป็นรองไป แต่ที่นี่ก็มีชีสเค้กที่ยอดเยี่ยมเป็นการทดแทน

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-18

ที่อยู่ 854 7th Avenue (near 55th St.)

New York, NY 10019
Tel: (212) 757-2245
www.carnegiedeli.com/
Subway: N/R/Q/W to Seventh Ave

 

Hamburger สำหรับแฟนพันธุ์แท้ที่ต้องการสัมผัสเบอร์เกอร์แบบนิวยอร์กเกอร์ :

มาอเมริกาก็ต้องทาน Hamburger อาหารประจำชาติอเมริกาซึ่งมีวิวัฒนาการเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 1800 กับผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาจากเมือง Hamburg เมื่อก่อนเรียกว่า Hamburg Steak คือใช้เนื้อบดมาทำเป็นก้อนคล้าย Meatball แต่ตอนหลังมีการเอาขนมปังมาประกบเป็นแบบ แซนด์วิช เพื่อให้สะดวกต่อวิถีที่เร่งรีบแบบอเมริกันจนกลายเป็น Fast Food Hero มีร้านอยู่ทุกมุมเมืองของแทบทุกประเทศ แต่ก็มีช่วงที่ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสุขภาพแล้วมีการอ้างว่าอาหารจานด่วนคืออาหารจานขยะที่มีแคลอรี่สูง ทำให้ความนิยมมันตกต่ำไประยะหนึ่ง

แต่ช่วงหลังนี้ถือเป็นยุคของการกลับมาเกิดใหม่ของแฮมเบอร์เกอร์ที่เรียกว่ายุค Renaissance of Hamburger ทำให้ Burger กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง มีร้านเบอร์เกอร์ในแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด ส่วนใหญ่มาในรูป Premium Burger ที่เน้นคุณภาพของเนื้อและวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ มากขึ้น ทำให้ผู้ที่หยุดกินไปเพราะกลัวปัญหาโรคอ้วนต่างๆ นานา เริ่มกลับมากินใหม่ แต่อย่างไรก็แล้วแต่บรรดาเบอร์เกอร์คลาสสิกรุ่นเก่าก็ยังเป็นที่นิยมเสมอในอเมริกา

Premium Burger ในอเมริกาตอนนี้

BOBBY’S BURGER PALACE ผู้ก่อตั้งคือ Bobby Flay’s คือ Celebrity Chef ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาจาก TV ช่อง Food-Network เขาทำร้านอาหารหลายแห่งที่เกี่ยวกับ การปิ้งย่าง (Grilling) แต่ร้าน Premium Burger ของเขานั้นดังสุดๆ โดยเฉพาะที่เวกัส

BGR: THE BURGER JOINT

ต้นกำเนิดแถว Philadelphia ที่นี่คุยว่าเนื้อของเขาหรูสุดๆ เลี้ยงดูอย่างดี ไม่มีการฉีดสารกระตุ้นไม่มียาปฏิชีวนะ และได้วิ่งได้ใช้ชีวิตในทุ่งโล่ง เมื่อมาเป็น Patty ก็ไม่มีแช่แข็งและมีกระบวนการตากแห้งที่ไม่เหมือนใครทุกคนที่เป็นแฟนเบอร์เกอร์บอกต้องลองให้ได้

FIVE GUYS

Five Guys มีต้นกำเนิดแถว Washington, DC ตั้งแต่ปี 1986 ราคาไม่ถูก แสดงว่าต้องมีดี เติบโตไม่หยุด

ในขณะที่ตลาด Classic Burger ที่ไม่ได้สนสุขภาพอะไรมากมาย ก็ยังได้รับความนิยมสุดๆ อยู่เหมือนเดิม และเจ้าแห่ง Classic Burger ก็ต้องนี่เลย

In-N-Out Burger “DOUBLE-DOUBLE ANIMAL-STYLE, IN-N-OUT”

Harry Snyder เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 1948 ถือเป็นร้านอาหาร Drive Thru แห่งแรกของ California’s ร้านนี้ไม่มีการใช้วัตถุดิบแช่แข็ง (No Frozen meat and fries) Cooked-to-orderรอคิวหน่อย แต่รับรองเต็มแคลลอรี่แน่ (คล้ายโฆษณาแอร์รับรองว่าเต็ม BTU)

Fatburger

แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าไม่ยั้ง ใครกลัวอ้วนก็ถอยไป ไม่แน่จริงไม่อยู่ถึงทุกวันนี้เปิดมาตั้งแต่ 1952, โดย Lovie Yancey Cooked-to-order, just the way you want it ร้านนี้มีเอกลักษณะตรงที่จะมีเพลงกล่อม ส่วนใหญ่เป็นเพลงของศิลปินผิวสี มีตั้งแต่เพลงแนว Soul, Blues, ยัน Hip Hop โดยอ้างว่า Lovie ผู้ก่อตั้งชอบฟังเพลงมากๆ แต่ผมว่าจะเอาใจลูกค้าประจำที่เป็นกลุ่มผิวสีนั่นเอง

ที่กล่าวไปด้านบนทั้งหมดเป็นการเกริ่นถึงธุรกิจแฮมเบอร์เกอร์ที่มีมูลค่าเกือบ 80,000 ล้านดอลล่าร์ในอเมริกา โดยผู้ที่ได้ส่วนแบ่งตลาดสูงสุดอันดับ 1 (35%) และ2 (15%) ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่เรามานิวยอร์กซิตี้ทั้งทีจะมากิน Mc Donald’s หรือ B.King คงไม่ใช่ ผมขอแนะนำร้านข้างล่างนี้ครับ

 

Shake Shack ที่ MADISON SQUARE PARK, NYC

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-9

ร้าน Shake Shack เกิดจากรถเข็นฮอทดอกในสวนสาธารณะจัตุรัสเมดิสัน Madison Square Park มีคนต่อคิวซื้อไม่หยุดจนในปี 2004, Shake Shack ได้เปิดอย่างเป็นทางการ เพราะได้สัญญาทำ Kiosk จากเทศบาลเมืองนิวยอร์ก และแน่นอนว่าต้องรักษาความเป็นธรรมชาติของสวนเอาไว้ เวลาผ่านไป 10 ปี คิวร้านนี้ยังยาวเหยียดรอนานเป็นชั่วโมงอยู่ จนทำให้คนต้องเข้าไปเช็คก่อนในเว็บของร้าน เขาจะมี webcam ถ่ายทอดสด (real time) ว่าคิวยาวหรือไม่  ที่ผมแนะนำให้มาทานที่ Madison Square Park เพราะเป็นต้นกำเนิดของร้าน เพราะถ้าไปสาขาในเมืองมันก็ไม่ขลัง เนื่องจากในต้นปี 2015 ร้านที่เริ่มต้นจากรถเข็นแห่งนี้ได้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก NYSE  ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก Madison Square Park เท่าไหร่

มีการทำunderwrite J.P. MorganMorgan Stanley และ Goldman Sachs ในตอนนั้นราคาIPOของ

Shake Shack คือ $21 ต่อหุ้น แต่เมื่อกลางปี2015มันก็ขึ้นไป $90 ปัจจุบันมันมีสาขามากมายเช่นที่ Seoul, Tokyo, London, Cardiff, Istanbul, Moscow, Muscat, Beirut, Dubai, Abu Dhabi, Doha, Kuwait City, Riyadh, อีกไม่นานก็คงมีที่กรุงเทพ

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-20

Danny Meyer เจ้าของร้านเคยให้สัมภาษณ์ว่า “สิ่งที่มันยากคือความง่ายนั่นเอง เพราะ Hamburger หรือ Hot Dogs มันคืออะไรที่ง่ายและใครก็ทำได้” แต่สิ่งที่ Shake Shack เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ใช่ของง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ซะแล้ว

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-22

มาที่ร้านในสวนแห่งนี้ คุณจะได้รู้จักอาหารอเมริกันแบบ 101 คือนอกจาก Hamburger (ที่ตอนหลังนี้จะมีแบบที่ใช้เนื้อ Angus) หรือ Hot Dogs ก็ต้องลอง “Shack-Ago Dog,” ที่เป็นฮอทดอกสไตล์ชิคาโก้ซึ่งมีเครื่องเยอะแบบ Relish, Onion, Cucumber, Pickle, Tomato, Sport Pepper, Celery Salt and Mustard เครื่องดื่มย้อนยุคต้อง Shake ซึ่งเป็นที่มาของชื่อร้าน และเป็นที่ยอมรับกันว่ามันเป็น Milk Shake ที่อร่อยที่สุดในนิวยอร์ก และไหนๆ มาแล้วควรลองให้ครบสูตรต้องมี Frozen Custard ด้วย ที่น่ารักที่สุดก็คือเขามีอาหารหมาอยู่ในเมนูด้วย เพราะนิวยอร์กเกอร์ส่วนใหญ่ที่เดินในสวนนั้น เขามักจะไม่ลืมเอาเพื่อนสี่ขาของเขามาออกกำลังด้วย

shakeshack.com

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-1

 

Lobster Rolls (แซนด์วิชกุ้งใหญ่) :

ท่านที่ไม่ทานเนื้ออาจจะบ่นว่าทำไมผมจึงแนะนำแต่อาหารกลางวันที่ทานไม่ได้ ผมก็เลยขอเพิ่ม Lobster Rolls (แซนด์วิชกุ้งใหญ่) ที่น่าสนใจมากๆ สำหรับ No beef passenger

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-21

ก็เพราะว่านิวยอร์กอยู่ไม่ไกลจากเขต New England States ซึ่งประกอบด้วยรัฐ 6 รัฐ ได้แก่Connecticut, Maine, Massachusetts, New Hampshire, Rhode Island และ Vermont  ทั้งหมดถือเป็นรัฐเก่าแก่ที่เป็นยุคเริ่มต้นของประเทศนี้ เนื่องจากการอพยพของชาวอังกฤษยุคแรกมักมาตั้งรกรากอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา บริเวณนี้จึงเรียกว่า New England ซึ่งถ้าท่านมานิวยอร์กช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือฤดู Fall นี้ ผมแนะนำให้เช่ารถขับขึ้นไปชม New England Foliage หรือ ใบไม้เปลี่ยนสีของเขตนี้ และแวะทาน Maine Lobster กับ Clam Chowder แต่ถ้าท่านไม่มีเวลาผมแนะนำอาหารมื้อกลางวันง่ายๆ แบบนิวอิงแลนด์ที่เน้นความหนานุ่มของกุ้งลอบส์เตอร์จากรัฐเมน ซึ่งหาทานได้ในนิวยอร์กในราคาพอๆ กัน อีกทั้งรสชาติและความสดยอดเยี่ยมไม่แตกต่าง ลองเลยครับ 3 ร้านนี้   ไม่ต้องไปคิดถึงร้าน Burger and Lobster ที่อยู่ Soho หรือ Mayfair ในLondon เลยนะครับ มันจะมาสู้ของแท้ต้นตำหรับได้อย่างไร

 

1.ร้าน LUKE’S LOBSTER

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-4

ตอนที่ Luke Holden มาถึง New York ใหม่ๆ ในปี 2007 เขาเริ่มต้นอาชีพใน Wall Street เป็น Investment Banker แต่เนื่องจากพื้นฐานเขามาจากรัฐ Maine ดินแดนที่โด่งดังเรื่องกุ้งก้ามใหญ่ และพ่อเขาก็เป็นพ่อค้ากุ้งอยู่ด้วยเลยเริ่มเห็นโอกาส เพราะในยุคนั้นใครจะกิน Lobster Rolls ในเมืองนี้ ต้องเข้าร้านหรูหน่อยและต้องจ่ายตั้ง $30 ต่อจาน ซึ่งมันแตกต่างจากแถวบ้านเกิดเขาที่รัฐเมน เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานแล้วเปิดร้านแบบที่เขาคุ้นเคยที่เมนและตั้งชื่อLuke’s Lobster อยู่แถวย่าน East Village มีเมนูไม่กี่รายการแต่ที่ขาดไม่ได้คือ Lobster Rolls และ Chowders ซึ่งเป็นของดีจากเขต New England นั่นเอง ซึ่งมันได้ผลดีเขาสามารถขยายสาขาไปได้ถึง 10 สาขา ก็มันคุ้มราคาเอามากๆ Lobster Rolls ของที่นี่มีเนื้อเยอะโดยเป็นเนื้อกุ้งจากก้ามและข้อเป็นchunk  วางไปบนขนมปัง (roll) ที่ทา mayo บางๆ แล้วก็เนยมะนาว Lemon Butter โรยด้วยเครื่องเทศพิเศษของร้าน “special seasoning” ที่ไม่เหมือนใคร เรียกว่าในราคา $15 นั้น ใครก็ต้องอยากลองครับเรียกว่าราคาเท่ากับไปกินที่รัฐเมนต้นตำรับเลย

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-5

และที่น่าสนใจมากในราคาแค่ $13, แซนด์วิชปู Crab Roll ของร้านนี้ต้องสั่งมาลอง ผ่าแบ่งกันก็ยังได้หากจุกจากแซนด์ด์วิชกุ้งอันแรกไปแล้ว

 

2.ร้าน RED HOOK LOBSTER POUND

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-2

Red Hook Lobster Pound ที่นี่โดดเด่นด้วยเนื้อกุ้งที่ให้มาเยอะโดยเป็นเนื้อกุ้งจากก้ามและข้อเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช้ส่วนหางเพราะส่วนนั้นจะไม่นุ่มและหวานเท่า เขาจึงไปใช้กับเมนูอื่นเช่นสลัดแทน และแซนด์วิชที่นี่มีให้เลือก 3 แบบ คือ 1.แบบเย็นไส่มาโยเนส์ หรือแบบรัฐเมน (Maine-style) 2.แบบอุ่นไส่เนย หรือแบบรัฐคอนเนคติคัต (Connecticut-style) 3.แบบ Tuscan (เป็นแบบดัดแปลง ใช้ใบ Basil คลุกน้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชูในสไตล์ทัสคานี) ส่วนขนมปังก็จะใช้ขนมปังแบบฮอทดอก Hot Dog Buns ที่ทาเนยแล้วย่างก่อนโรย ปาปริก้าเล็กน้อยแล้วก็วางแตงกวาดองอ้วนๆ สไตล์บรุ๊คลินและอาจโรยด้วยหอมซอยเล็กน้อย ที่นี่รับประกันความสดของกุ้งด้วยการมีแท็งค์ไส่ท่ออ๊อกซิเจนวางไว้ให้เห็นเลยในราคา $16  มันทำให้คุณไม่ต้องขับรถเลาะชายฝั่งไปถึงเขต New England เพื่อจะกินอาหารจานนี้ไปแถว East Village ใน NYC ก็พอแล้ว

 

3.ร้าน ED’S LOBSTER BAR

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-15

city-break-new-york-city-part-v-lunch-break-14

Ed McFarland เคยทำงานอยู่ที่ร้านอาหารทะเลชื่อดังของนิวยอร์กที่ชื่อ Pearl Oyster Bar แต่เห็นโอกาสและคิดว่าสูตร Lobster Roll ของเขาแตกต่างจากร้านอื่น และสูตรของ Ed ยังไส่ส่วนหางกุ้งที่อาจโดนบ่นว่าเหนียวไป และยังใส่น้ำส้มสายชูที่ทำจากไวน์แดงและเสนอขายในราคาที่แพงกว่า 2 เจ้าแรก คือจานละ $29 แต่ที่นี่เน้นมานั่งทานไม่ใช่ขายแบบสไตล์แซนด์วิชจานกระดาษก็เลยแพงกว่าซึ่งการที่ขายแพงกว่าได้ย่อมต้องมีอะไรดีกว่าเสมอนะครับ

มาถึงตอนนี้บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมผมถึงไม่แนะนำสุดยอดอาหารจานด่วนของที่นี่ที่มากับผู้อพยพชาวอิตาลีบ้างล่ะ ผมต้องบอกว่าไม่ได้ลืมครับแต่ผมจัด New York Pizza ไว้ในตอนต่อไปที่ชื่อ “เบรกทานอาหารว่าง Snack Break” โปรดติดตามนะครับ