เค้กช็อกโกแลต ไร้แป้ง กับลูกพรุนและวิสกี้

เค้กนี้อร่อยมาก จนลูกสาวสั่งห้ามทำอีก!

Le Creuset and Flourless Chocolate Cake with Prune and Whisky 2

สูตรนี้ได้มาจาก The Violet Bakery Cookbook ซึ่งเชฟ Claire Ptak นี้เป็นคนที่ได้รับเลือกให้ทำเค้กแต่งงานให้กับ Prince Harry และ Meghan Markle เมื่อไม่นานมานี้
สูตรทุกสูตรในหนังสือเล่มนี้ทำออกมาแล้วดี สมกับที่เป็นเชฟขนมดังเป็นลำดับต้นๆ แต่ทุกครั้งที่ทำขนมตามสูตรของเธอก็ทำในพิมพ์ธรรมดา มาวันนี้นึกอยากทดลองว่า ถ้าทำในหม้อเหล็กหล่อ Le Creuset แล้วจะเป็นยังไง เพราะเท่าที่รู้จักคุณสมบัติของเครื่องครัวชนิดนี้ คือให้ความร้อนกระจายสม่ำเสมอ และร้อนนาน คิดๆแล้วก็คล้ายๆกับ Convection Oven ที่เชฟมืออาชีพทั้งหลายชอบใช้กัน ลองทำสูตรเดียวกัน เปรียบเทียบกับใช้พิมพ์ธรรมดา ปรากฏว่า ขนมที่ใช้หม้อ HEART COCOTTE นี้ ให้เนื้อสัมผัสที่ดีกว่า จนเราเองก็แปลกใจ เนื้อขนมนุ่มนวล moist และเก็บความหอมของเหล้า ของส่วนผสมได้ดีจริงๆ

Le Creuset and Flourless Chocolate Cake with Prune and Whisky 1

มาลองทำกันดูค่ะ

สำหรับ 1 สูตร ใช้หม้อ Le Creuset HEART COCOTTE 20CM ถ้าใช้หม้อ HEART COCOTTE 16 CM แบบในรูปใช้เพียง ½ สูตรสำหรับพอทานได้ 6-8 คน

ทาเนยด้านในหม้อบางๆ ตัดกระดาษเป็นรูปหัวใจรองไว้ที่ก้นหม้อ และอีกสองแผ่นเป็นแผ่นยาวๆ กรุไว้ด้านในเพื่อให้ยกเค้กขึ้นมาได้

วัตถุดิบ
125 g ลูกพรุนชนิดไม่มีเม็ด
40 g วิสกี้ ชนิดใดก็ได้
240 g ช็อกโกแลต 70% (มีขายตามร้านBakery Supply) ในสูตรนี้ใช้ของยี่ห้อ Cacao Barry
200 g เนยจืด
5 ฟองไข่ แยกเป็นไข่ขาว ไข่แดง
100 g น้ำตาล แบ่งเป็น ½ กับ ½
¼ tsp เกลือทะเล
150 g ผงอัลมอนด์

วิธีทำ
แช่ลูกพรุนไว้ในเหล้าวิสกี้ล่วงหน้า อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ยิ่งถ้าแช่ไว้ข้ามคืน (ปิดฝา อยู่ในตู้เย็น) ยิ่งดี

ก่อนนำมาใช้ หนึ่งเม็ด ให้ผ่าสี่ แล้วผ่าอีกทีเป็นแปดชิ้นเล็กๆ

อุ่นเตาไว้ที่ 175 องศา โปรแกรมที่มีพัดลมช่วย(160 C -Convection Oven)
เริ่มด้วยการตุ๋นช็อกโกแลต โดยตั้งหม้อใส่น้ำเพียงเล็กน้อย ตั้งไฟจนเริ่มเป็นไอน้ำ ลดเป็นไฟอ่อน แล้ววางชามทนไฟที่มีขนาดเท่ากับปากหม้อพอดี ลงบนปากหม้อ ไม่ให้ก้นชามโดนน้ำ วิธีนี้เรียกในหมู่คนทำขนมว่า Bain-Marie ใส่ช็อกโกแลตและเนยจืดลงไปในชาม คนเป็นครั้งคราว ให้ช็อกโกแลตกับเนยละลายเข้ากันดีปิดไฟ ยกออกจากเตา เช็ดก้นชาม ระวังอย่าให้ส่วนผสมโดนน้ำ ช็อกโกแลตกับน้ำไม่ถูกกัน

ตีไข่แดงกับน้ำตาลครึ่งหนึ่งจนขึ้นขาวฟู ใส่ลงในส่วนผสมช็อกโกแลตที่เย็นแล้ว ตามด้วย ลูกพรุน และผงอัลมอนด์พักไว้

จากนั้นตีไข่ขาวกับน้ำตาลอีกครึ่งที่เหลือและเกลือที่เตรียมไว้ จนขึ้นยอดอ่อน

ตักไข่ขาวทีละ ¼ ลงไปผสมกับ ส่วนผสมช็อกโกแลต อย่างเบามือ (fold)

เทลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ นำเข้าเตาอบ ใช้เวลา 25 นาที (หมุนกลับด้านของเค้กเมื่อเวลาผ่านไปครึ่งหนึ่ง) โดยให้ใช้ไม้แหลมๆ หรือที่เช็คเค้ก ลองจิ้มดูส่วนที่หนาที่สุดของเค้กก่อนเวลาที่ตั้งไว้สัก 5-10 นาที เพราะความร้อนของเตาอบแต่ละบ้านไม่เท่ากัน ถ้าหากไม้หรือก้านที่เสียบลงไป เวลาที่ดึงออกมาแล้ว ไม่มีเศษเค้กติดมา แสดงว่าสุกดีแล้ว

 

ส่วนตัวเวลาอบเค้กช็อกโกแลต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเค้กที่ไม่มีแป้งนี้ (ไม่ต้องกลัวว่าแป้งจะไม่สุก) มักจะเอาออกก่อนเวลาตามสูตรสัก 5 นาที เพราะชอบให้ตรงกลางยังแฉะๆอยู่ ลองปรับเวลาทำดูกับเตาที่บ้านของคุณค่ะ จะสุกมากสุกน้อย รสชาติเค้กอันนี้ดีแน่ๆ ทานแล้วหยุดไม่ได้จริงๆค่ะ

 

สอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เลอ ครูเซได้ที่
Facebook:https://Facebook.com/LeCreusetThailand

Instagram: https://www.instagram.com/lecreuset_thailand

Line: Le Creuset Thailand

Tel No.: +669 3131 8876

 

Le Creuset LOGO

ดูเทรนด์สุขภาพเมื่อไร้ไขมันทรานส์

ช่วงนี้ไม่มีประเด็นสุขภาพไหนจะถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางเท่าเรื่องการประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร ที่กระทรวงสาธารณสุขจะให้มีผลใช้บังคับในอีก 180 วันหลังจากวันประกาศนี้ คำถามก็คือ แล้วไลฟ์สไตล์การบริโภคของเราจะต้องปรับตัวไปทางไหน และมีอะไรจะเข้ามาทดแทนสิ่งนี้และมีผลอย่างไรกับพฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบันและอนาคต มาคุยเรื่องนี้กันค่ะ

Health Trans Fatty 1

“ไขมันทรานส์” มาจากไหน
ไขมันทรานส์ เป็นไขมันเกิดจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปในไขมันไม่อิ่มตัวจากพืช กระบวนการนี้เรียกว่า partially hydrogenation จริงๆมันเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1890 โดย พอล ซาบาทีเย(Paul Sabatier)นักเคมีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ค้นพบวิธีการนี้ แต่เขาใช้มันในการทดลองทางเคมีเท่านั้น จนเมื่อปี 1901 วิลเฮล์ม นอร์แมนน (Wilhelm Normann)นักเคมีชาวเยอรมัน ได้นำวิธีการนี้มาใช้กับวงการอาหารโดยเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันและทำได้สำเร็จในปี 1902 ต่อมาในปี 1905 – 1910 มันก็ได้รับความนิยมมากขึ้นๆ โดยมียอดขายถึง 3,000 ตันในอังกฤษเมื่อปี 1909

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาได้มีการนำเข้าถั่วเหลืองเข้ามาในประเทศ น้ำมันถั่วเหลืองก็ถือกำเนิดขึ้นอันเป็นผลผลิตจากการนำเข้านี้ ได้มีการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อให้กลายสภาพเป็นไขมันใช้ในการทำเบเกอรี่และพบว่าไขมันนี้ให้คุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่าเนยสดนั่นคือสามารถเก็บนอกตู้เย็นได้โดยไม่ละลาย และเกลี่ยได้ดีทันทีบนขนมปัง ทั้งทำให้อาหารกรอบอร่อยเก็บได้นานและรสชาติดี ต้นทุนการผลิตก็ต่ำกว่าไขมันทรานส์จากถั่วเหลืองนี้จึงเริ่มถูกใช้ในการทำขนมปัง เค้กและคุกกี้อย่างแพร่หลายมีการนำน้ำมันพืชชนิดต่างๆมาเติมไฮโดรเจนเพื่อใช้ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งในช่วงแรกมีการระบุว่าปลอดภัยกว่าเนยซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว

นอกจากนี้ กระแสสุขภาพที่พูดถึงการบริโภคไขมันอิ่มตัวหรือ SFA ( saturated fat) ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ทำให้เกิดความพยายามจะหาสิ่งทดแทนเนยสดซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวแต่ปัญหาก็คือไขมันไม่อิ่มตัวหรือ UFA (unsaturated fat) มักเก็บไม่ได้นานทั้งเมื่อถูกความเย็นก็จะเป็นไขทำให้ใช้ไม่สะดวก การเติมไฮโดรเจนลงไปในบางส่วน ช่วยให้ไขมันเก็บได้นานขึ้นไม่เป็นไข ทั้งให้เนื้อสัมผัสอร่อยขึ้นด้วย ไขมันทรานส์หรือ TFA ( trans fat)จึงครองตลาดตั้งแต่นั้นมา แม้ว่าในต้นปี 1956 จะเป็นครั้งแรกที่วงการวิทยาศาสตร์เริ่มพูดถึงความเสี่ยงของไขมันทรานส์ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองแต่ก็ยังไม่มีใครให้ความสำคัญเพราะมุ่งเรื่องอันตรายจากไขมันอิ่มตัวมากกว่า

เมื่อโลกเริ่มตระหนักอันตรายของไขมันทรานส์

Health Trans Fatty 2

การศึกษาเรื่องอันตรายของไขมันทรานส์เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อต้นปี 1990 และปี 1994 ก็มีการระบุว่า ไขมันทรานส์เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจของคนอเมริกันถึงสองหมื่นคน ซึ่งช่วงนั้นมีอาหารไขมันทรานส์แพร่หลายทั้งในอเมริกาและยุโรป ทำให้เกิดแคมเปญการต่อต้านและนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในวงการอาหารอย่างมาก

ถ้าดูจากตัวเลขก็จะพบว่า ไขมันทรานส์ถูกมองเป็นฮีโร่ในวงการอาหารมาเกินกว่า50 ปี กว่าความคิดนี้จะเปลี่ยนไป ด้วยข้อมูลที่ระบุในงานวิจัยซึ่งแหล่งไขมันทรานส์ที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุดก็คือ จากมาร์การีนหรือเนยเทียมนั่นเอง ที่นอกจากมันจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดเลวหรือ LDL แล้ว ก็ยังไปลดคอเลสเตอรอลชนิดดีหรือ HDL ในร่างกายลงด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA ในช่วงแรกๆ ได้ออกกฎหมายให้มีการระบุปริมาณไขมันทรานส์ที่มีในอาหารและบางรัฐก็มีกฎหมายห้ามใช้ไขมันทรานส์โดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกับหลายประเทศของยุโรป จนถึงปี 2013 ที่FDAสหรัฐอเมริกาได้ออกมาระบุชัดเจนว่าไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค

จะเห็นว่า ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เขามีการห้ามใช้ไขมันทรานส์นี้มานานกว่าสิบปีแล้ว แต่บ้านเราเพิ่งจะขยับตัว ดังนั้น เราอาจไม่ต้องกังวลมากนักกับอาหารที่นำเข้าจากประเทศเหล่านี้ เพราะเขาเลิกใช้กันก่อนเรามานานแล้วยิ่งแบรนด์ใหญ่ๆเขาก็ต้องรักษาชื่อเสียงกับผู้บริโภคของเขาด้วย สิ่งที่เราควรกลัวกันก็คือบรรดาขนมเบเกอรี่ข้างทางในบ้านเราที่ไม่เคยมีการระบุส่วนผสมที่ชัดเจน ไม่มีการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรใดๆและขายโดยใช้การโฆษณาว่าเป็น “ โฮมเมด” ขนมพวกนี้มีความเสี่ยงเพราะเราไม่รู้ที่มาที่ไปของส่วนผสม และบริโภคโดยอาศัยความไว้ใจเพียงอย่างเดียว ขนมเหล่านี้จะมีไขมันทรานส์ที่ใช้แพร่หลายก็คือมาร์การีนหรือเนยเทียม ที่ทำให้อร่อยและเก็บได้นาน ที่สำคัญคือต้นทุนต่ำ ดังนั้น ถ้าพบว่าขนมที่ซื้อข้างทางทั้งอร่อยทั้งเก็บได้นานทั้งราคาถูก ก็อย่าเพิ่งดีใจซื้อมาบริโภคเพราะเขาใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนผสม

ทำความเข้าใจประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์
ถ้าเราอ่านประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องนี้ให้ดีๆก็จะพบว่า การห้ามนั้นจะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งจริงๆแล้วในทางปฏิบัติก่อนจะมีการเผยแพร่ประกาศฉบับนี้ ก็ได้มีการเรียกประชุมผู้ผลิตอาหารและแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วเพื่อให้เตรียมตัวปรับเปลี่ยนสูตรการผลิตไม่ให้กระทบกับภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งผู้ผลิตก็ได้รับทราบและให้ความร่วมมือเตรียมพร้อมกันมาเป็นเวลากว่า 1 ปีในการปรับเปลี่ยนสูตร ดังนั้น ในช่วงนี้ที่มีประกาศนี้ออกมาผู้ผลิตจึงมีความพร้อมอยู่นานแล้ว ส่วนสาเหตุของเวลาการบังคับใช้ใน 180 วันนั้น ก็เพื่อให้ผู้ผลิตได้ไปปรับปรุงด้านรายละเอียดอื่นๆเช่น การพิมพ์ฉลากระบุส่วนประกอบอาหาร ฯลฯซึ่งปกติผู้ผลิตแบรนด์อุตสาหกรรมใหญ่ ก็จะมีการแจกแจงส่วนประกอบอาหารและรับอนุญาตเรียบร้อยแล้วก่อนวางจำหน่ายจึงไม่น่าจะต้องกังวลให้มากเกินไป

รู้ไหมว่าในอาหารธรรมชาติก็มีไขมันทรานส์ได้เช่นกัน
อีกเรื่องที่อยากให้รู้ก็คือ ไขมันทรานส์ไม่ได้เกิดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงแหล่งเดียว แต่ในอาหารธรรมชาติก็อาจมีไขมันนี้ได้เช่นกัน เช่นในเนื้อสัตว์, นม, และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากสัตว์เหล่านี้จะมีการผลิตไขมันทรานส์เกิดขึ้นได้ในกระเพาะอาหารและลำไส้ของมัน แต่ยังไม่มีการพบว่าไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพเหมือนไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม

จะใช้น้ำมันอะไรให้ปลอดจากไขมันทรานส์

Health Trans Fatty 4

มีคำถามว่า เมื่อน้ำมันพืชที่ขายในท้องตลาดมีไขมันทรานส์ งั้นเราใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวจะปลอดภัยกว่าไหมคำตอบก็คือน้ำมันหมูเป็นไขมันอิ่มตัวหรือ SFAยังไงก็มีโอกาสจะทำให้ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ง่ายกว่าน้ำมันพืช ส่วนน้ำมันมะพร้าว ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีกเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงกว่าน้ำมันหมู ทั้งยังเกิดควันได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ที่สำคัญคือน้ำมันนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับคนเป็นโรคหัวใจน้ำมันถั่วเหลือง มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยและทนความร้อนไม่เกิดควันง่ายถือว่าใช้ได้น้ำมันรำข้าว ดีกว่าน้ำมันถั่วเหลืองเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ ทั้งทนต่อความร้อนได้มากกว่าน้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันปาล์มไม่แนะนำเพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวพอๆกับน้ำมันหมู ส่วนน้ำมันทานตะวัน แม้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อย แต่เก็บได้ไม่ทน น้ำมันคาโนลา มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด ใช้ได้ดีรองจากน้ำมันรำข้าวสุดท้ายคือน้ำมันมะกอก ส่วนตัวแล้วชอบอันนี้ที่สุดและใช้ประจำเป็นน้ำมันที่มีการระบุจากนักโภชนาการว่ามีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยและมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงที่สุด ซึ่งถ้าจะใช้ทอดหรือผัดแนะนำว่าควรเลือกแบบ light เพราะกลิ่นไม่แรงมาก

ในน้ำมันและไขมันทุกชนิด จะมีกรดไขมันทั้งสามแบบคือ กรดไขมันอิ่มตัว (SFA), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว(MUFA)และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(PUFA) ผสมผสานกันอยู่ไม่มีน้ำมันชนิดใดที่จะมีกรดไขมันแบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียว แต่สัดส่วนของกรดไขมันกลุ่มไหนมากกว่าก็จะถูกจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มนั้นและต้องเข้าใจด้วยว่า จะเป็นน้ำมันอะไรก็ตาม ถ้าใช้ทอดซ้ำๆหรือทอดด้วยความร้อนสูงมากๆนานๆ ก็จะทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ทั้งนั้นจากกระบวนการปรุงอาหาร ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง จากการชอบบริโภคอาหารทอดหรือขนมเบเกอรี่มีความเสี่ยงทั้งหลาย มาเป็นการบริโภคผักผลไม้สดให้มากขึ้น รวมทั้งบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยการอบ นึ่ง หรือต้ม เป็นหลักจะปลอดภัยที่สุด

เรื่องน่ารู้ของกรดไขมัน

Health Trans Fatty 3
กรดไขมันอิ่มตัว ( saturated fatty acid หรือ SFA)ถูกจัดให้เป็นไขมันที่ไม่ดี เพราะทำให้เกิดผลเสียเส้นเลือดในหัวใจและสมองเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น ที่พบมากจะเป็นไขมันจากสัตว์เช่นน้ำมันหมู, ไขมันวัว, เนยสด ที่พบในพืชเช่นกะทิซึ่งเป็นไขมันจากมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว ( unsaturated fatty acid หรือ UFA)ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid หรือ MUFA)และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsatulated fatty acid หรือ PUFA)ซึ่งไขมันนี้ถูกจัดให้เป็นไขมันที่ดีและช่วยลดความเสี่ยงหลายอย่างของสุขภาพกรดไขมันนี้เช่นกรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6ซึ่งพบได้ในพืชและปลา
กรดไขมันทรานส์(Trans-fatty acid หรือ TFA)เป็นกรดไขมันที่เกิดจากการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืชบางส่วนหรือpartial hydrogenationเพื่อเปลี่ยนกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรือUFA ให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวหรือSFA เพื่อให้กลายเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้องซึ่งถ้าเติมไฮโดรเจนจนเต็มส่วนหรือfully hydrogenation ก็จะได้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทั้งหมด แต่ถ้าเติมเพียงบางส่วน ก็จะได้ไขมันทรานส์

เขาปรับเปลี่ยนไขมันทรานส์อย่างไรให้กับผู้บริโภค

Health Trans Fatty 5

ในต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต้นปี 2007 ได้ตั้งเป้าที่จะเลิกใช้ไขมันทรานส์นี้มานานแล้วตั้งแต่ปี 2007ผู้ผลิตหลายรายได้มีการปรับสูตรเพื่อให้ได้มาตรฐานตามกฎของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งไว้ว่า “อาหารที่เสิร์ฟจะต้องมีไขมันทรานส์เป็น 0 กรัม“ได้มีการใช้วิธีการผสมน้ำมันหรือmix oil โดยการผสมกลุ่มน้ำมันได้แก่ น้ำมันมะกอกกับน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา นำมาผสมเข้ากับน้ำ, โมโนกลีเซอไรด์และกรดไขมัน เข้าด้วยกันเพื่อผลิตเป็นไขมันที่เหมาะจะใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้ การปรับสูตรการผลิตอาหารเพื่อเปลี่ยนจากการใช้ไขมันทรานส์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถเลือกทำได้ด้วยวิธีต่างๆเช่น
1. การใช้น้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการกลั่นแบบสมบูรณ์หรือ (fully refined) แทนน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ( Partial Hydrogenation)ซึ่งน้ำมันที่กลั่นแบบสมบูรณ์นี้จะปลอดภัยจากไขมันทรานส์
2. การใช้กระบวนการผสมผสานน้ำมัน(oil blending)ทำให้ได้น้ำมันผสมทางเลือกใหม่ในการทำอาหาร วิธีนี้จะดึงจุดเด่นของน้ำมันแต่ละชนิดนำมาผสมกัน ให้เป็นน้ำมันผสมที่มีสัดส่วนของกรดไขมันที่สมบูรณ์ เหมาะกับวิธีใช้ปรุงอาหาร ซึ่งใช้สัดส่วนการผสมที่สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก น้ำมันที่เบลนด์ได้จะเหมาะสมกับวิธีปรุงอาหารแต่ละวิธีโดยไม่เกิดสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ซึ่งขณะนี้มีน้ำมันนี้มีวางขายแล้วในท้องตลาด
3. การใช้กระบวนการผลิตด้วยวิธี fractionation เป็นการแยกเอาไขมันของน้ำมันออกด้วยความเย็นแล้วกรองเอาไขมันนั้นไปผ่านความเย็นอีกครั้งจนเป็นของแข็งใช้เป็น shortening ทำขนมแทนมาร์การีนมักใช้น้ำมันรำข้าวเพราะมีคุณภาพดี
4. การทำ full hydrogenation คือแทนที่จะเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วนแบบที่ทำกับไขมันทรานส์ ก็เติมลงไปจนเต็มส่วนให้ไขมันนั้นกลายเป็นไขมันอิ่มตัวทั้งหมด แล้วจึงเอามาทำ oil blending กับน้ำมันปกติ วิธีนี้ก็จะได้ shortening ที่ไม่มีไขมันทรานส์ แต่ก็จะมีไขมันอิ่มตัวอยู่ในนั้นแทน ซึ่งก็จะทำให้กลับสู่บริบทของการบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงสุขภาพ แต่ก็จะลดข้อเสียข้อหนึ่งของไขมันทรานส์ในเรื่องการไปลดปริมาณ HDL ในร่างกายลงไปได้

เมื่อเห็นแล้วว่า ผู้ผลิตทั้งหลายเขามีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้ปลอดจากไขมันทรานส์ เราก็ไม่ต้องกังวลให้มากไปทีนี้ก็ต้องถามตัวเราเองว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของตัวเองหรือยัง ยุคนี้ขนมอร่อยๆพวกเบเกอรี่มีมากมาย จะห้ามใจไม่ให้บริโภคเลยก็คงยากแต่ก็ควรทำความเข้าใจในส่วนประกอบผลิตภัณฑ์อาหาร และหมั่นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อรู้ว่าสิ่งที่เราบริโภคนั้นมีความเสี่ยงมากแค่ไหนจะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีของเรา หวังว่าเรื่องที่เล่ามานี้ จะทำให้คุณคลายความกังวลเรื่องไขมันทรานส์ลงไปได้บ้างนะคะ

ชวนมาที่ Fully Baked Story ในวันที่คุณไม่อยากกินขนม แต่อยากฝึกวิชาทำขนมหวานมากกว่าน่ะสิ

ต้องยอมรับกันการตามตรงว่าเดี๋ยวนี้พวกเราถนัดกินขนมหวานหน้าตาแปลกใหม่กันมากขึ้น ก็มันอร่อยอ่ะ บรรยากาศขนมกำลังหมุนวนอยู่รอบตัวเรา เหมือนจะฝันแต่ว่าในฝันคงไม่มีกลิ่นหอมกรุ่นจากเตามาเย้ายวนต่อมความอยากได้สำเร็จ…พอมารู้ตัวอีกที ตื่นขึ้นมาจากภวังค์อีกครั้ง เราก็มานั่งยิ้มกินขนมแบบอารมณ์ดีซะแล้วสิ…ชิลล์เว่อร์

Fully Baked Story 2

Fully Baked Story 1

มั่นใจว่าเรื่องนี้คงไม่ได้มีแต่เราคนเดียวที่ชอบจะมองหาอะไรอร่อยๆ มาเพิ่มรสชาติหอมหวานในชีวิต เพราะไม่งั้นที่พักนัดเจอตามร้านขนมคงไม่แน่นจังอย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ถึงแม้ว่าทางกรุ๊ปนักกินขนมจะดูเยอะขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคนชอบทำขนมจะน้อยลงไปซะเมื่อไหร่ เราว่านะกลับทำให้หลายๆ คนอยากลองมาเริ่มฝึกวิชาทำขนมดูบ้าง ไม่แน่ว่าการเริ่มต้นครั้งนี้อาจเปลี่ยนทั้งความมุมมองความคิดและไลฟ์สไตล์ที่ดูนิ่งๆ ให้มีรสชาติหวานละมุนใจขึ้นมาอย่างฉับพลัน

Fully Baked Story French Pastry Class 1

Fully Baked Story French Pastry Class 3

Fully Baked Story French Pastry Class 2

Fully Baked Story 3

แล้วมาวันนี้ทางเราก็นำพาตัวเองมาที่ชั้น 4 อาคาร Jewelry Trade Center เพื่อมาทำความรู้จักกับ Fully Baked Story ให้มากยิ่งขึ้น ที่นี่ทำหน้าที่เป็น World Pastry Organiser ในการเป็นสื่อกลางเชิญ Pastry Chef ตั้งแต่คุณครูสอนทำขนมในเมืองไทย เจ้าของร้านเบเกอรี่ชั้นนำในเอเชีย รวมถึงงานสร้างชื่อเสียงและเป็นการก้าวกระโดดไปในระดับสากล โดยการเชิญ World Pastry Chefs มาจัด Masterclass ที่กรุงเทพฯ

คุณอ้อม-รสเรข มนตรีสุขศิริกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Fully Baked Story

คุณอ้อม-รสเรข มนตรีสุขศิริกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Fully Baked Story

 

คุณเปิ้ล- ศรีภูมิ เลาวกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Fully Baked Story

คุณเปิ้ล- ศรีภูมิ เลาวกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Fully Baked Story

สำหรับ Bangkok World Pastry 2018 เป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ที่ทาง Fully Baked Story ริเริ่มจัดขึ้น ซึ่งในปี 2018 ได้มีการเชิญ World Pastry Chef จำนวน 16 คน จากประเทศต่างๆ มาเป็นผู้สอน แนวทางการสอนจะมีส่วนของทฤษฎีควบคู่ไปกับซิกเนเจอร์และเทรนด์ขนมของครูแต่ละคน และอีกจุดเด่นที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่เช่นกันอยู่ตรงที่อุปกรณ์มืออาชีพ และบรรยากาศการทำงานแบบที่ต่างประเทศเขาทำกัน ผังครัวมีมาตรฐาน และเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ติดล้อทั้งหมด เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความต้องการของครูที่มาสอนแต่ละคน ซึ่งครูแต่ละคนที่รับเชิญมาจะมีวิธีการสอนคนละแบบ

 

Fully Baked Story French Pastry Class 6 Choux Cream

Fully Baked Story French Pastry Class 11 Choux Cream

Fully Baked Story French Pastry Class 7 Choux Cream

Fully Baked Story French Pastry Class 8 Choux Cream

Fully Baked Story French Pastry Class 9 Choux Cream

Fully Baked Story French Pastry Class 5 Choux Cream

สำหรับการมาที่ Fully Baked Story ของเราในวันนี้ เหมือนได้มาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในชีวิต เราได้โอกาสมาเรียนทำขนมแบบเอ็กซ์คลูซีฟสุดๆ เรียนแบบตัวต่อตัวกันไปเลย โดยงานนี้มาภายใต้กิจกรรมสุดพิเศษที่ชื่อว่า ‘Meet the Press for Bangkok World Pastry 2018’ ส่วนขนมที่จะมาเรียนกันในวันนี้ก็คือ ‘Choux Cream’ เป็นเบสิกคลาสที่มีวัตถุประสงค์ทรงพลัง เพื่อที่ต้องการให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจ และเรียนรู้ผลลัพธ์ของวัตถุดิบต่อการผสมและอบ ‘แป้งชู’ พร้อมยังได้เข้าใจขั้นตอนพิเศษๆ ที่เป็นสาเหตุของการพองตัวของแป้ง รวมถึงการใช้งานเตาอบรูปแบบต่างๆ และการใช้ Dairy Product ในการเสิร์ฟขนม คลาสนี้ใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ชั่วโมงค่ะ

 

เดือนกุมภาพันธ์นี้ วงการขนมระดับโลกจะมีอะไรเกิดขึ้น

Europain 2018
Europain 2018 (ยูโรแปง) ทุกปีในกรุงปารีสจะมีงานเทรดโชว์ รวบรวมไอเดียและผลงานของบรรดานักสร้างสรรค์ เจ้าของธุรกิจ และโรงงานในแวดวงขนมหวาน ช็อกโกแลต และไอศกรีม มาไว้ในที่เดียวกัน ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2018 ใน 4 วันนี้เอง เหล่าบรรดาคนในวงการเบเกอรี่และเพสทรีมีโอกาสเข้าร่วมในงานนี้ เพื่อแลกเปลี่ยน อภิปราย และรีวิวความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นไอเดียต่อยอดไปใช้ในธุรกิจ การตลาด หรือแม้กระทั่งการรังสรรค์ผลงานขนม และในปีนี้ คุณอ้อม-รสเรข มนตรีสุขศิริกุล ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนจากทวีปเอเชีย ให้เป็นแขกรับเชิญในวงสนทนาโต๊ะกลม หัวข้อ ‘Asian Market Trends’ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์

Olivier Bajard 1

Olivier Bajard 2

Olivier Bajard 3

การมาเยือนของ โอลิวิเยร์ บาฌารด์ (Olivier Bajard) The Professor’s Teacher หรือ ‘เสือใต้’ แห่งเมือง Perpignan ปราชญ์แห่งวงการเพสทรีระดับตำนาน คือผู้ที่ถึงพร้อมที่สุด ในการสั่งสมประสบการณ์ชั้นครู และสำหรับ Masterclass นี้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจ Sensory Taste Analysis การประเมินรสชาติจากโสตสัมผัส เพื่อเป็น guideline ในการทดสอบ การพัฒนาสินค้าของตนเองอย่างมีหลักการ และเป็นขั้นเป็นตอน, ผู้ที่ต้องการไขข้อข้องใจว่า French Pastry ที่แท้จริงเป็นอย่างไร และหน้าตาแบบไหนที่เรียกว่า สไตล์คลาสสิก รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจ หรือกำลังศึกษา ไปจนกระทั่งมืออาชีพ

Fully Baked Story เรื่องใต้เตา โดยความร่วมมือกับ École internationale de Pâtisserie Olivier Bajard-Perpignan, France พร้อมรับประกาศนียบัตรโดยตรงจากสถาบันฯ ดำเนินการสอนเป็น ภาษาอังกฤษ บรรยายไทย
Program 1: Sensory Taste: Classic French Pastry วันที่: 9-11 กุมภาพันธ์ 2561 (3 วัน)
Program 2: Sensory Taste: Mousse Technology วันที่: 12-13 กุมภาพันธ์ 2561 (2 วัน)

 

สมัครได้ทาง: FB: Bangkok World Pastry หรือ FB: Fully Baked Story เรื่องใต้เตา

 

ภาพจาก Fully Baked Story