City Break Rome Part XII

เบรกเที่ยวในโรม…ดื่มอะไรในโรม ตอนที่ 2
โดย Paul Sansopone

ในอิตาลีมีสำนวนหรือสุภาษิตเกี่ยวกับไวน์อยู่หลายประโยคด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น “A meal without wine is like a day without sunshine.” (– Italian proverb) แต่เคล็ดลับในการดื่มไวน์ให้ได้อรรถรสนั้น มันไม่ใช่แค่หาไวน์ดีๆ มาแล้วก็ดื่มคนเดียว แต่มันคือประสบการณ์ของการดื่มครั้งนั้นต่างหากที่ประกอบไปด้วยเพื่อนร่วมโต๊ะ, สถานที่นั้น ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นเพของที่นั่น…(The secret to enjoying best Italian wines – indeed any good wines, is not just to drink them, but to experience the people, places, and cultures that create them.)

เมื่อคราวก่อนเราพูดถึงกาแฟที่เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของโรมไปแล้ว โดยแนะนำให้รู้จักพื้นฐานของกาแฟอิตาเลี่ยนคร่าวๆ ก่อนจะไปลองที่ร้านระดับตำนานที่ใครๆ ที่มาโรมก็ต้องไปลอง คราวนี้มาถึงเครื่องดื่มที่มีความนิยมไม่แพ้กัน และไวน์บาร์ที่โรมหรือที่เรียกกันที่นั่นว่า Enoteca ก็มีอยู่ทุกย่านทุกมุมเมืองเช่นกัน แต่ก่อนจะพาไปร้านที่แนะนำ เราก็ควรรู้พื้นฐานของไวน์อิตาเลี่ยนกันก่อน เมื่อถึงเวลาไปลองจะได้เพิ่มอรรถรสมากขึ้น
ดื่มไวน์อิตาเลียน Vino Italiano

City Break ROME Wine 4

Photo credit: http://www.bywine.nl

คนอิตาเลี่ยนดื่มไวน์กับอาหารมาตั้งแต่วัยรุ่น แต่ไม่ทำตัวเป็นผู้รู้มากเรื่องไวน์เหมือนพวก Wine Snobby (หมายถึงพวกที่ดื่มแล้วชอบเชิดหน้า) ไวน์ที่นี่ราคาไม่แพงมาก การเลือกดื่ม Table Wineไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเสียหาย และถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับไวน์ก็ไม่เป็นไรเลยรู้แค่กฎเกณฑ์พื้นฐานเช่นไวน์แดงเข้ากับเนื้อแดง ไวน์ขาวเข้ากับเนื้อขาวหรืออาหารทะเลก็ดื่มไวน์ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็น Connoisseur(ผู้ชำนาญเรื่องการชิมการดื่ม) ก็ใช้วิธีขอคำแนะนำจากเพื่อนผู้รู้ที่ไปด้วยหรือถาม Waiterเยอะๆ ไม่เสียหายถ้าเป็นผม ผมมักจะเลือกไวน์ท้องถิ่นของเขตนั้น เช่น แบบคลาสสิกเลยก็ Chianti ถ้าอยู่ในTuscany, ไวน์ Valpolicella ถ้าอยู่ใน Veneto, Nero d’Avola ใน Sicily และ Pinot Grigio หรือไวน์ขาวตัวอื่นใน Friuli-Venezia Giulia ยิ่งถ้าเราจะทานร่วมกับอาหารท้องถิ่นแต่ถ้ารู้ว่าไวน์เขตนั้นไม่ดีก็ต้องดูตัวอื่นที่อยู่ในลีส

City Break ROME Wine 2

การอ่านฉลากไวน์อิตาเลี่ยน

City Break ROME Wine 21

City Break ROME Wine 17

City Break ROME Wine 14

City Break ROME Wine 13

Italian Wine Label ทั่วๆ ไปดูไม่ยากมันคล้ายของไวน์ฝรั่งเศส ตัวหนังสือใหญ่แถวบนสุดคือผู้ผลิต(growerหรืออาจรับจากชาวไร่องุ่นในพื้นที่นั้นมาทำ) ตามตัวอย่างจะเป็น Pegrandi จากนั้นลงมาก็จะเป็นชื่อองุ่นหรือเขตปลูกองุ่น ในตัวอย่างคือ Valpolicella แล้วต่ำกว่านั้นก็จะเป็นการระบุชั้นหรือ classificationเช่น DOCG, DOC, IGT, or VdT จะมีปีผลิต vintage year อยู่ด้านบน อาจมีผู้จัดจำหน่ายหรือค่ายอยู่ด้านล่าง เช่น Vaona

การแบ่งเกรดของไวน์อิตาลี
เริ่มในปี 1963 (พ.ศ.2506) โดยมีกฎหมายฉบับที่ 930/1963 ชื่อ “ลอว์ ออฟ เมดิโอคริตี้” (Law of Mediocrity) เป็นกฎหมายควบคุมคุณภาพการผลิตไวน์กำหนดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เรียกว่า เดโนมินาซิโอเน่ ดิ ออริจิเน่คอนโตรลลาต้า (Denominazione di Origine Controllata) ระยะแรกกฎหมายฉบับนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะมีช่องโหว่เยอะกระทั่งทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมการผลิตไวน์ในยุโรปขยายตัวจึงมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้สมบูรณ์มากขึ้น นายโจวานนี กอเรีย (Giovanni Goria) รมว.กระทรวงเกษตร จึงเสนอกฎหมายชื่อ “New Disciplinary Code for Denomination of Wines of Origine” ต่อคณะกรรมการไวน์ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (Wines Chamber of Deputies and the Senate)
กฎหมายดังกล่าวผ่านการรับรองและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1992 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน เป็นกฎหมายฉบับที่ 164/1992 เรียกสั้นๆ ว่า “กฎหมายของกอเรีย” (Goria’s law) แบ่งเกรดไวน์เป็น 2 ระดับคือ ดีโอ ไวน์ (DO wines) และ วิโน่ ดา ตาโวล่า (Vino da Tavola) พร้อมกับเพิ่มเกรดไอจีที (IGT)

City Break ROME Wine 8

ดีโอซีจี (DOCG = Denominazione di Origine Controllata e Garantita) เป็นไวน์เกรดดีโอซี (DOC) ที่คุณภาพสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งโดยหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กำหนดและจัดทำฉลากพันรอบคอขวด 3 สี สีชมพูอ่อนใช้สำหรับไวน์ขาวมีฟอง สีเขียวอ่อนสำหรับไวน์ขาว และสีม่วงแดงสำหรับไวน์แดง ถ้าเทียบกับไวน์ฝรั่งเศสก็น่าจะเทียบได้กับระดับ Crus ต่างๆ ขึ้นไป ล่าสุด มี 36 เขตจาก 12 แคว้นที่ได้ DOCG โดยไวน์ DOCG ที่โดดเด่นที่เรารู้จักกันดีก็มักจะมาจากเขตเหล่านี้ เช่น เขตทัสคานี ได้แก่ ไวน์ Brunello di Montalcino และ Chianti Classicoที่ใช้องุ่น Sangiovese (ซานโจเวเซ่), เขตเปียดมอนเต้ ได้แก่ ไวน์ Barolo และไวน์ Barbaresco ที่ใช้องุ่น Nebbiolo (เนบบิโอโล) และไวน์ Amarone จากเขตเวเนโต้ ที่ใช้องุ่นตัวหลักคือ Valpolicella (วัลโปลิเซลล่า)

City Break ROME Wine 12

ดีโอซี (DOC – Denominazione di Origine Controllata ) เป็นพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะและใช้ชื่อตามชื่อทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ ผลิตไวน์อย่างเคร่งครัดตั้งแต่การปลูกองุ่น การใช้พันธุ์องุ่น จนถึงกระบวนการผลิตจนออกสู่ท้องตลาดเป็นไวน์คุณภาพมาตรฐานเทียบเท่ากับไวน์ AOC (Appellation d’Origin Controlee) ของฝรั่งเศส (นอกจากนั้น DOC ยังใช้รับรองคุณภาพอาหารของอิตาลีด้วย) ปัจจุบันมี 317 เขตที่ได้ DOC

ไอจีที (IGT – Indicazione Geografica Tipica ) กำหนดโดยสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ผลิตไวน์ที่กว้างขวางทำไวน์อย่างมีแบบแผนแต่ไม่เคร่งครัดเท่าดีโอซี เป็นเกรดใหม่ที่เทียบกับ Vins de Pays ของฝรั่งเศส เพิ่งประกาศใช้เมื่อปี 1994 ปัจจุบันมีกว่า 150 เขต

ระดับ 2 วิโน่ ดา ทาโวล่า (Vino da Tavola) มี 1 เกรด

วีดีที (VdT) เป็นไวน์คุณภาพต่ำสุด เทียบได้กับ Table Wine หรือ Vins de Table ของฝรั่งเศส การผลิตไม่มีการบังคับอาจจะใช้องุ่นที่เหลือหรือคุณภาพต่ำมาผสมผสานกันก็ได้นอกจากนั้นเดิมยังหมายถึงไวน์ขบถของแคว้นทัสคานีที่ไม่ยอมใช้พันธุ์องุ่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือใช้สัดส่วนขององุ่นผิดจากที่กำหนด จึงถูกปรับเป็น Vino da Tavola ปัจจุบันหลายตัวขยับเป็นIGT

จากข้อมูลของ Conseil Général de la Dordogne ในปี 2005 ระบุว่าไวน์เกรด DOC/DOCG ประมาณ 82% อยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี รอบๆ Piemonte (เพียดมอนต์) Tuscany (ทัสคานี)และVeneto (เวเนโต)
ในขณะที่ไวน์เกรด Vino da Tavola และ IGT มีผลผลิตรวมกันประมาณ 77% ของผลผลิตทั้งหมด

จะเห็นนะครับว่าไวน์ที่เรียกว่า Everyday wine ที่เป็นไวน์เกรด Vino da Tavola และ IGT ผลิตสูงมากถึง 77% และเป็นไวน์ที่ส่วนใหญ่จะบริโภคอยู่แค่ภายในในประเทศอิตาลีเท่านั้น ในขณะไวน์เกรด DOC และ DOCG ที่เป็นไวน์คุณภาพสูงและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมีการผลิตเพียง 23% เท่านั้น แต่ช้าก่อน ไวน์ที่ดีที่สุดของอิตาลีไม่ได้ประดับยศสูงสุดนะครับ มันไม่ได้DOCG หรือ DOCไวน์กลุ่มที่เรียกว่า “Super Tuscans,” ได้ยศแค่ IGT ทำไมเป็นอย่างนั้น ก็เพราะกลุ่มไวน์เหล่านี้ใช้องุ่นจากนอกเขต ส่วนใหญ่ใช้องุ่นพันธุ์ merlot และหรือcabernet sauvignon จากเขต Bordeaux ของฝรั่งเศส และกรรมวิธีที่แตกต่างนอกกฎควบคุมของ DOCG, DOC จนได้รับฉายาว่า ‘ไวน์กบฎ’หรือไวน์ลูกผสม(อิตาเลี่ยน-ฝรั่งเศส) แต่กลุ่มผู้ผลิต Super Tuscanก็ให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องทำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันของไวน์อิตาลีในระดับโลกที่ได้ชื่อว่าแข่งได้แค่ปริมาณการผลิตต่อปี แต่คุณภาพสู้ฝรั่งเศสหรือไวน์โลกใหม่ไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ไวน์ซูเปอร์ ทัสคัน ได้พิสูจน์แล้วว่ารับความสำเร็จกลายมาเป็นไวน์ที่แพงที่สุดของอิตาลีและเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดโดยเฉพาะไวน์ที่ได้รับฉายาว่าเป็น 5 ทหารเสือ ได้แก่ไวน์ Sassicaia (ซาสซิกายา), Tignanello (ติยาเนลโล) ,Solaia (โซลายา), Ornellaia (ออร์เนลลายา) และ Masseto (มาสเซโต้)

ภาพด้านล่างคือ ตัวแนวหน้าของ ซูเปอร์ ทัสคัน ซึ่งทั้งหมดผลิตในเขต Chianti Classico (กิอานตี้ คลาสสิโค) ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมือง Florence (ฟลอเรนซ์)

City Break ROME Wine 18

พอรู้จักเกรดแล้วควรมีความรู้เรื่ององุ่นไว้เล็กน้อย เพราะการคุยไวน์นั้นคุยย่านหรือเขตผลิตยังไม่พอ ต้องลงไปถึงองุ่นด้วยครับแล้วจึงค่อยไปถึงสัมผัสที่ได้จากการชิม สายพันธุ์องุ่นของอิตาลี

ปี 2005 อิตาลีมีพื้นที่ปลูกองุ่นรวม 760,000 เฮกแตร์ (ประมาณ 2,500,000ไร่) องุ่นที่ปลูกในอิตาลีอย่างเป็นทางการมีกว่า 350 พันธุ์ เมื่อรวมกับองุ่นที่ไม่เป็นทางการจะมีอยู่กว่า 457 พันธุ์ แต่องุ่นพันธุ์หลักๆ มีดังนี้

City Break ROME Wine 11

City Break ROME Wine 20

องุ่นแดงสำหรับทำไวน์ของอิตาลีที่สำคัญ ๆ มีประมาณ 10 พันธุ์ ดังนี้
Sangiovese (ซานโจเวเซ่) ราชาองุ่นแดงประจำแคว้นทัสคานี

Nebbiolo (เนบบิโอโล) องุ่นแดงประจำแคว้นเพียดมอนต์

Montepulciano (มอนเตปุลเชียโน) เป็นชื่อขององุ่นและชนิดของไวน์ ที่ทำในอบุซโซ่ (Abruzzo) จึงเรียกว่าMontepulciano d’Abruzzo (ไวน์คุณภาพดีจะมาจาก Pescara และChieti) โดย Montepulciano เป็นเมืองหนึ่งจังหวัดซิเอน่า (Siena) อยู่ทางใต้ของทัสคานีนิยมใช้ซานโจเวเซ่มาผสมด้วยประมาณ 10% เพื่อทำไวน์แดงฟรุตตี้ แทนนินส์ นุ่มเนียน สามารถดื่มขณะเป็นไวน์ใหม่ได้ แต่ถ้าบ่มโอ๊ค 2 ปีจะเป็นไวน์ Riservaนอกจากนั้นยังใช้ผสมกับองุ่น Ciliegolo เพื่อทำไวน์ Torgiano ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาองุ่นพันธุ์นี้ถูกนำไปปลูกในออสเตรเลียมากขึ้น

Barbera (บาร์เบร่า) องุ่นที่ปลูกมากเป็นอันดับ2ในอิตาลี ปลูกมากในแคว้นเพียดมอนต์และตอนใต้ของLombardy (ลอมบาร์ดี)

Corvina (คอร์วิน่า) องุ่นประจำแคว้นVeneto(เวเนโต้) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บางครั้งจึงเรียกว่า Corvina Veronese หรือ Cruina เป็นองุ่นหลักที่ใช้ทำไวน์ชื่อดังของเวเนโต้ 2 อย่างคือ Valpolicella (วัลโปลิเซลล่า) และAmarone (อมาโรเน)ที่ต้องผสมกับองุ่นอีก 2 พันธุ์คือ Rondinella และMolinara นอกจากนั้นยังใช้ทำไวน์หวาน Recioto della Valpolicella และไวน์แดง Bardolino ที่ผสมกับRondinella และ Molinara อาจจะมี Negrara ด้วย

แต่ถ้าเป็นไวน์ Garda Corvina (Denominazione di OrigineControllataDOC)ต้องใช้คอร์วิน่าอย่างน้อย 85%

City Break ROME Wine 22

Nero d’Avola (เนโร ดาโวล่า)หนึ่งในองุ่นแดงสำคัญของอิตาลี และเป็นองุ่นประจำเกาะซิซิลี Avola เป็นเมืองเล็กๆทางตะวันออกเฉียงใต้บนเกาะซิซิลี Nero แปลว่าดำรวมความคือองุ่นดำแห่งเมืองอโวล่า (The Black Grape of Avola) ลักษณะคล้ายชิราซจากโลกใหม่ มีพลัม เปปเปอร์ และแทนนินออกหวานๆ ชื่ออื่นๆ ขององุ่นพันธุ์นี้มักจะมีคำว่า Calabrese ประกอบเช่น Calabrese D’Avola, Calabrese De Calabria, Calabrese Dolce, Calabrese Pittatello, Calabrese Pizzuto, Calabriai Fekete, Raisin De Calabre Noir และ Struguri De Calabria เป็นต้น

Dolcetto (ดอลเชตโต้)องุ่นแดงที่ปลูกมากในเพียดมอนต์ แปลว่า “little sweet one” แต่ใช้ทำไวน์ Dry (ดราย) Fruity(ฟรุตตี้) แบล็คเคอร์เร้นท์ พรุน ชะเอม แทนนินส์และมีกรดค่อนข้างสูงเหมาะจะดื่ม 1-2 ปีหลังจากวางตลาด

Negroamaro or Negro Amaro (เนโกรอมาโร)องุ่นแดงที่ปลูกมากทางใต้ของอิตาลีโดยเฉพาะแถวPuglia (ปุเกลีย) และSalento (ซาเลนโต้) คุณภาพดีที่สุด ทำไวน์แดงสีเข้มรสชาติเรียบๆ ผสานกับกลิ่นหอม กลิ่นดิน และขม เพราะคำว่า Amaro ในภาษาอิตาลีแปลว่าขมโดยเฉพาะสุดยอดไวน์แดงของ Puglia (ปุเกลีย)ใช้ผสมกับ Malvasia Nera

Aglianico (อายานิโก้)องุ่นแดงพันธุ์โบราณจากกรีซ ถูกนำเข้ามาปลูกมาใน Campania (คัมปาเนีย) และ Basilicata(บาซิลิกาต้า) ใช้ผลิตไวน์ชื่อดัง Taurasi (เทาราซี) ในหมู่บ้านเทาราซีในคัมปาเนีย ซึ่งเป็นDenominazionedi Origine Controllata e Garantita (DOCG)ไวน์ที่ผลิตจากองุ่น Aglianico จะ full bodies แทนนินส์หนักแน่น และกรดสูง จึงจำเป็นต้องบ่มในถังไม้โอ๊ค Campania (คัมปาเนีย) นิยมผสมกับCabernet Sauvignon (กาแบร์เนต์ โซวีญยอง) และแมร์โลต์ ทำไวน์เกรด IGT

ซากรานติโน (Sagrantino) องุ่นแดงแห่งแคว้นอุมเบรีย (Umbria) ตอนกลางของอิตาลี ปลูกได้ดีในหมู่บ้านMontefalco มีผู้ผลิต25 รายในพื้นที่250 เอเคอร์เป็นองุ่นที่แทนนินสูงมากพันธุ์หนึ่งของโลก สีแดงเข้มข้นผลไม้ดำพลัม อบเชย และดินใต้พิภพไวน์ Sagrantino di Montefalco DOCG ต้องทำจากองุ่นซากรานติโน 100% และบ่มถังโอ๊ค 29เดือนแต่ถ้าเป็น Montefalco Rosso อาจจะใช้ซากรานติโน 10-15% ที่เหลือเป็นซานโจเวเซ่ และพันธุ์อื่นๆ

นอกจากนั้นยังมี Malvasia Nera, Ciliegolo, Gaglioppo, Lagrein, Lambrusco, Monica, Nerello Mascalese, Pignolo, Primitivo, Refosco, Schiava, Schiopettino, Teroldego และ Uva di Troia
ส่วนองุ่นเขียวสำหรับทำไวน์ขาวที่สำคัญๆ ประกอบด้วย

City Break ROME Wine 16

เทรบไบอาโน่ (Trebbiano) องุ่นเขียวที่ปลูกมากที่สุดในอิตาลี ในพื้นที่กว่า 80 DOC แต่ที่คุณภาพดีอยู่ที่ Abruzzo

มอสกาโต้ (Moscato) ปลูกมากในเพียดมอนต์ ส่วนใหญ่ใช้ทำสปาร์คกลิ้งไวน์เบาๆ (Frizzante) และสปาร์คกลิ้งกึ่งหวานที่โด่งดังคือ Moscato d’Asti
(คนละอย่างกับ Moscato giallo และ Moscato Rosa องุ่น 2 สายพันธุ์จากเยอรมันที่ปลูกใน Trentino Alto-Adige)

Nuragus (นูรากัส)องุ่นโบราณตั้งแต่สมัยฟินิเซียน พบมากทางใต้ของ Sardegna ใช้ทำไวน์ขาวเบาๆ ดื่มง่ายๆ เป็นApertif

ปิโนต์ กรีโจ้ (Pinot Grigio) องุ่นเขียวที่ทั่วโลกรู้จักกันดี ปลูกมากใน Lombardy รอบๆ Oltrepo Pavese,Alto Adige และในFriuli-Venezia Giulia

Tocai Friulano (โตไก ฟริยูลาโน)องุ่นที่กำาเนิดในเวเนโต้ แล้วมาเติบโตใน Friuli จนกลายเป็นองุ่นประจำแคว้นFriuli-Venezia Giulia ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีทำไวน์แล้วมีกลิ่นกู้สเบอร์รี่ ดอกไม้ กรดปานกลาง แต่แอลกอฮอล์สูงในแคลิฟอร์เนียเรียกว่า Sauvignon Vert ในถิ่นอื่นอาจจะเรียกว่า Sauvignonasse หรือ Friulano นอกจากนั้นยังปลูกมากในชิลีและแรกๆ เข้าใจผิดว่าเป็นSauvignon Blanc (โซวีญยอง บลองซ์)

Ribolla Gialla (ริบอลล่า จิอัลล่า)องุ่นที่มีต้นกำเนิดจากกรีซเข้ามาอิตาลีโดยผ่านทางสโลเวเนีย ก่อนจะมาประจำที่แคว้น Friuli-Venezia Giulia ปลูกได้ดีใน Goriziaปัจจุบันในสโลเวเนียเรียกว่า Rebula ส่วนในกรีซเรียกว่า Robola ทำไวน์สีเหลืองเข้ม บอดี้เบา มีกลิ่นดอกไม้นำเลมอน สับปะรด กรดสูง ถ้าบ่มในถังไม้โอ๊คจะมีกลิ่นถั่ว

Arneis (อาร์ไนส์)องุ่นเขียวเก่าแก่อีกพันธุ์หนึ่งของเพียดมอนต์ ปลูกมากบริเวณ Roero Hill ใกล้ๆเมืองอัลบ้า (Alba) ทำไวน์ขาวดราย Z (Dry) ฟูลบอดี้ (full bodies)กลิ่นพีช และ แอปริคอต

มาลเวเซีย เบียงคา (Malvasia Bianca) หรือมาลเวเซีย (Malvasia) ต้นกำเนิดจากกรีซ ปัจจุบันปลูกทั่วโลก ในอิตาลีปลูกมากบริเวณ Sicily,Lipari และSardinia

Garganega (การ์กาเนก้า)ปลูกมากในเวเนโต้ โดยเฉพาะเมือง Verona (เวโรน่า) ซึ่งเป็น 1 ใน 32 DOCG และVicenza (วิเซนซ่า) ใช้ทำไวน์ขาวชื่อดังคือSoave (โซอาเว)ซึ่งอาจจะผสม Trebbiano (เทรบไบอาโน่) ประมาณ 30 %

มารู้จักภาษาอิตาเลียนที่อาจอยู่บนฉลากไวน์นิดหน่อยมันไม่ได้ยากมาก
“Vino rosso” วีโนรอสโซ่ red wine
“Vino bianco” วีโนบิอานโกwhite wine
“Vino rosato”: วิโนโรซาโต rosé wine
“Vino amabile”วีโนอมาบิเล่ a medium-sweet wine
“Vino dolce”: วิโนโดเช่ sweet wine
“Vino secco”: วีโน เซกกโก dry wine
“Vino abboccato”:วีโนอับโบกัตโตsemi-dry wine
“Vino corposo”: วีโนกอรโปโซa full-bodied wine
“Vino aromatico”วีโนอโรมาติโกaromatic wine
“Vino frizzante” วีโนฟริซซานเตsemi-sparkling wine
คำว่า“azienda” บนฉลากหมายถึงestatesคือค่ายหรือผืนดินที่ปลูกองุ่น“anno” ปีที่ผลิต “produttore” คือผู้ผลิต producer. “Gradazione alcolica“คือปริมาณแอลกอฮอล์ imbottigliato all’origine,” หมายถึงไวน์บรรจุขวดโดยผู้ผลิต“Vendemmia” คือการเก็บเกี่ยว “vitigno” หมายถึงองุ่น “vine.”

ที่สุดของ Enoteca(ไวน์บาร์)ในโรม
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเที่ยวไวน์บาร์นั้นก็คงเป็นตั้งแต่บ่ายแก่ๆ หรือช่วงเย็นๆ เป็นต้นไป เพราะไวน์บาร์มักจะมีอาหารแบบอาหารว่างรองท้อง อาหารก่อนมื้ออาหารจริง antipasto ที่ประกอบด้วย cheese และ cold cut แต่บางแห่งก็มีอาหารเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านั้นจนแทบไม่ต้องไปทานมื้อเย็นต่อก็ได้ วัฒนธรรมก็คล้ายกับไปเข้าบาร์Tapasในสเปน แต่จะเน้นไวน์มากกว่าอาหาร
บางคนต้องการไปไวน์บาร์เพื่อศึกษาทำความรู้จักไวน์หลายๆ ตัวที่เขาผู้นั้นไม่เคยลอง เพราะจะซื้อทุกแบบทุกขวดก็คงไม่ใช่ เพราะมันเหมือนลองผิดลองถูกแล้วอาจชอบจริงแค่แบบเดียว ไวน์บาร์หลายแห่งในโรมจึงมักมีไวน์ดังจากทุกเขตของอิตาลีเปิดขายเป็นแก้วในแบบ mescita (by-the-glass) ที่สำคัญเราจะได้พูดคุยหรือเรียนรู้เรื่องไวน์จากผู้ชำนาญเฉพาะทางหรือsommelier เพราะไวน์บาร์ดีๆ นั้นเขาไม่ได้จ้างแค่บาร์เทนเดอร์มารินไวน์เสิร์ฟไวน์เฉยๆ แต่มักจะจ้างคนที่มีความรู้แบบเจนจัดมาช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การดื่มไวน์ของเราเป็นอย่างดี
ขอแนะนำที่สุดของ Enoteca (ไวน์บาร์)ในโรม
1. Ai Tre Scalini ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 1895 หน้าตาด้านนอกมีส่วนคล้ายร้านกาแฟ caffe della paceที่แนะนำไปตอนที่แล้วตรงสีของร้านและการปล่อยไม้เลื้อยมาเกะกะหน้าร้าน ที่นี่ตอบโจทย์ คนที่ต้องการลองไวน์ท้องถิ่นและไวน์ดีจากเขตต่างๆ ของอิตาลี หรือเรื่องงบประมาณทุกระดับ อาหารก็ดีให้ลองสั่งไส้กรอกเซียน่าดูครับ
Ai Tre Scalini via Panisperna 251, Rome, Italy, +390648907495

City Break ROME Wine 6

City Break ROME Wine 7

 

2. Cul de Sac ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 1900 มีไวน์ให้เลือกกว่า1500ตัว เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะมีคนเขียนเชียร์เยอะว่าเป็นที่ๆต้องมาลองในโรมหากชอบไวน์อิตาเลียน ก็เลยเริ่มมีนักท่องเที่ยวมากกว่าคนท้องถิ่น
Cul de Sac Piazza Pasquino 73, Rome, Italy, +390668801094

City Break ROME Wine 10

 

3. Trimani ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 1821 เอาเป็นว่า100กว่าปีที่ผ่านมา เวลาที่ชาวกรุงโรมอยากดื่มไวน์หรือซื้อไวน์ดีๆกลับมาดื่มที่บ้านชื่อร้านนี้จะลอยมาในหัว เหมือนเวลาเรานึกไม่ออกว่าวันนี้จะทานมื้อกลางวันเป็นอะไรดีแล้วภาพ ‘กระเพราไก่ไข่ดาว’ก็ลอยมา ที่นี่ราคามาตรฐานครับ
Trimani via Goito 20, Rome, Italy, +39064469661

City Break ROME Wine 9

City Break ROME Wine 19

 

4. Antica Enoteca ร้านนี้เปิดมาตั้งปี 1720 ถือว่าเป็นร้านไวน์ที่เก่าแก่ที่สุดของโรม แต่คุณภาพไม่ได้เก่าตามเพราะเพียบพร้อมด้วยอาหารและกับแกล้ม การได้มาดื่มไวน์ที่เคาร์เตอร์บาร์สุดคลาสิกของที่นี่ก็เหมือนได้ดื่มกับบุคคลดังในอดีตทั้งหลายที่เคยได้ยืนที่เคาร์เตอร์นี้มาเช่นกัน
Antica Enoteca via della Croce 76B, Rome, Italy, +39066790896

 

5. Enoteca Regional Palatium ถ้าเราต้องการไวน์บาร์ที่เน้นไวน์ท้องถิ่นของโรมซึ่งก็คือไวน์ของเขตLazioนั้นที่นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นสถาบันไวน์และอาหารโรมันได้เลยล่ะที่นี่ที่นักการเมืองและผู้ที่ทำงานofficeไส่สูทเท่ห์ของเซนญ่ามาใช้บริการ ร้านนี้เสิร์ฟ อาหารโรมันที่ดีเยี่ยมและไวน์ท้องถิ่น เหมาะมากสำหรับอาหารกลางวันเร่งด่วนหรือในชั่วโมงค็อกเทลก่อนมื้ออาหารเย็น สถานที่ก็อยู่ไม่ไกลจากจัตุรัสบันไดสเปนเหมาะมากสำหรับคุณผู้ชายที่ใช้เป็กิจกรรมฆ่าเวลารอภรรยาเดินช็อปปิ้งในย่านนั้น
Enoteca Regional Palatium via Frattina 94, Rome, Italy, +390669202132

City Break ROME Wine 15

 

แล้วเจอกันตอนหน้าเป็นเรื่อง Night out in Rome ครับ

City Break Rome Part XI

เบรกเที่ยวในโรม…ดื่มอะไรในโรม ตอนที่ 1
โดย Paul Sansopone
…”ถ้าอากาศดีก็ต้องนั่งoutdoorหน้าร้านเพื่อความchill อาจเสียงดังล้งเล้งหน่อย เพราะชาวอิตาเลี่ยนเวลาคุยกันแล้วมันออกรสชาติเหมือนคนจีน เอ…หรือว่ามาร์โกโปโลเอาวัฒนธรรมเสียงดังนี้กลับมาจากเมืองจีนด้วย?……”

เรื่องการดื่ม ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้เรื่องการกินในโรมซึ่งเราพูดถึงกันไปแล้วในคราวก่อน สำหรับเรื่องดื่มน่าจะแบ่งออกเป็น 2-3 ตอน โดยผมจะขอเริ่มจากเครื่องดื่มnon-alcohol และในตอนนี้ขอเริ่มจากเรื่องกาแฟก่อนเลยครับ
1. กาแฟ…ดื่มกาแฟแบบอิตาเลี่ยน
ถ้าจะให้พูดถึงโรมโดยไม่กล่าวถึงวัฒนธรรมกาแฟของที่นี่คงไม่ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเคยชินกับร้านกาแฟอย่าง Starbucks หรือร้านกาแฟร้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันจนจำชื่อไม่ไหวแล้วนั้น ทุกร้านต่างมีความเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือการหาวิธีชงกาแฟให้เหมือนกาแฟอิตาลีนั่นเอง ก็คำว่า Espresso, Capuccino หรือ Americano มันก็คือภาษาอิตาเลี่ยนทั้งหมด Macchiato ก็ใช่ แล้วเครื่องทำกาแฟที่เรียกว่า Espresso Machine ยี่ห้อดังๆ นั้นก็มาจากอิตาลีกว่า 80% แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าต้นตำรับได้ยังไง

City Break ROME Coffee Break 2

จริงอยู่ที่กาแฟนั้นถือกำเนิดมาจากโลกมุสลิม แต่กาแฟนั้นเริ่มเป็นที่นิยมและเกิดเป็นธุรกิจแพร่ขยายไปทั่วนั้น ต้องบอกว่ามันเริ่มมาจากที่อิตาลี เพราะกาแฟมาถึงยุโรปครั้งแรกในปี1600 ก็มาขึ้นฝั่งที่เมืองเวนิสนั่นเอง ทำให้เกิดร้านกาแฟแห่งแรกของอิตาลีขึ้นที่นั่น และถ้าเราสังเกตชื่อของกาแฟประเภทต่างๆ ที่อยู่ในเมนูตามร้านกาแฟก็มักจะเป็นภาษาอิตาเลี่ยนทั้งสิ้น อาจเป็นเพราะว่าเครื่องชงกาแฟแบบเอสเปรสโซถูกคิดค้นขึ้นมาในอิตาลี โดย แองเจโล โมริออนโต (Angelo Moriondo) ทำให้ในช่วงศตวรรษที่18 เริ่มมีร้านกาแฟชื่อดังเกิดขึ้นในทุกภาคของอิตาลี เช่น Caffè Florian ใน Venice, Antico Caffè Greco ใน Rome, Caffè Pedrocchi ใน Padua, Caffè dell’Ussero ใน Pisa และ Caffè Fiorio ใน Turin เป็นต้น และกาแฟประเภทต่างๆ นั้นก็ใช้ Espressoเป็นฺBaseทั้งนั้น ในอิตาลีจึงเป็นต้นกำเนิดของกาแฟในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
• Caffè: มันแปลว่ากาแฟในอิตาลีแต่ถ้าสั่งมันคุณจะได้ Espresso เพราะที่นี่ไม่มีกาแฟแบบอเมริกันหรือ Americano ที่เป็น filtered coffee กาแฟผ่านกระดาษกรอง ซึ่งความที่นักท่องเที่ยวไม่คุ้นเคยกับความรุนแรงของระดับคาเฟอีนใน Espresso ที่อาจทำให้หัวใจสั่นไหวหรือที่เรียกว่าอาการใจสั่นบ้างก็ตาแข็งนอนไม่ได้ ทำให้เมนู Americano เริ่มมีปรากฏแต่มันก็คือEspressoเติมน้ำร้อนนั่นเอง
• Cappuccino: มันก็คือEspresso ที่ก้นแก้วแล้วเติมฟองนมร้อน มันถูกตั้งชื่อมาจากคำว่า Cappuccini ที่แปลว่า hoodสวมหัวของพระ Capuchin Monks ซึ่งพระนิกายนี้จะใส่ชุดสีออกน้ำตาลหม่นๆ เหมือนน้ำตาลแก่ผสมนมมีฮู๊ดคลุมศีรษะ สีกาแฟคาปูชิโนก็คือสีกาแฟดำผสมฟองนม ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ อย่างไรก็ตามมีประวัติว่ามีการขอจดทะเบียนสิทธิบัตรวิธีการกาแฟคาปูชิโนในอิตาลีมาตั้งแต่ปี 1901
Caffè Latte: มันก็คือEspresso ที่ก้นแก้วแล้วเติมนมร้อนที่ไม่ตีฟองลงไป คำว่า Latte ก็คือ Milkในภาษาอังกฤษนั่นเอง
• Caffè Macchiato: มันแปลว่ากาแฟที่มีรอยแต้ม“spotted”or“stained”เพราะมันมีการสาดนมอุ่นลงมาผสมเล็กน้อย
• Latte Macchiato: มันแปลว่ากาแฟที่มีรอยแต้มเช่นกัน แต่มันหนักนมเพราะมันคือนมอุ่นที่มีการสาดกาแฟลงมาผสมเล็กน้อย
• Caffè Americano: กาแฟแบบอเมริกันAmericano ที่เป็น filtered coffee กาแฟผ่านกระดาษกรองมันไม่มีในสารบบอิตาเลี่ยน แต่มันก็ต้องเอาใจนักท่องเที่ยวซึ่งแท้จริงมันก็คือ Espresso เติมน้ำร้อนเพิ่ม
• Caffè Lungo: คือ “long” coffee หรือespressoที่ใช้เทคนิคจากเครื่องชงโดยเฉพาะที่มีเครื่องโยก บางเครื่องจะมีเทคนิคโยกให้ช้า เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นได้กาแฟแก้วใหญ่ขึ้นแต่เข้มกว่า Americano

 

มาทำความรู้จักกับ Espresso กัน

ในเมื่อกาแฟในทุกเมนูต่างก็ใช้Espressoเป็นพื้นฐาน(Base) ก่อนนำไปเติมนมหรือผสมโกโก้ และการชงEspressoมันเป็นการทำถ้วยต่อถ้วย ไม่ใช่แบบการแฟต้มผ่านไส้กรองที่ทำเป็นหม้อๆ ทิ้งไว้แล้วคอยอุ่นเอาเวลาเสิร์ฟ ดังนั้นการชงถ้วยต่อถ้วยมันต้องใช้ฝีมือคนชงที่เรียกว่า บาริสต้า เพราะมันมีรายละเอียดเยอะเช่นบดกาแฟละเอียดไปหรือหยาบไปอัดกาแฟแน่นไปความดันของเครื่องทำอ่อนไป หรือ โน่นนี่นั่น เรามารู้จักEspresso แบบคร่าวๆ กันครับ

Espresso เอสเปรสโซ่ เป็นภาษาอิตาเลี่ยนที่มีความหมายว่า Expressในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า เร่งด่วน รีบ หรือรวดเร็ว นั่นเอง เพราะการชงกาแฟสมัยก่อนนั้นจะเป็นต้มเป็นหม้อๆ ทิ้งไว้แล้วอุ่นร้อนเวลาเสิร์ฟ ไม่ได้ชงกันเป็นแก้วต่อแก้วแต่หลังจากที่แองเจโล โมริออนโต (Angelo Moriondo) ชาวอิตาเลี่ยนที่คิดค้น Espresso Machineขึ้นมา ก็เลยทำให้วิธีชงกาแฟในอิตาลีนั้นแตกต่างไปเป็นการสกัดกาแฟด้วยแรงดันไอน้ำหรือปั๊มน้ำ Espresso ดั่งเดิมในอิตาลีจะใช้กาแฟ 7-8 กรัม น้ำกาแฟหลังสกัดรวมครีมม่าจะออกมาที่ 25-30 cc.ใช้เวลาสกัด 20-30 วินาที และเพื่อช่วยให้ครีมม่าสวยงามเนียน เขาอาจไม่ใช้กาแฟอาราบิก้าล้วนแต่มักผสมกาแฟแบบโรบัสต้าเข้าไป10%

ส่วนผสมของEspressoจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ
1.ครีมม่า (Crema) ฟองสีทองด้านบน ซึ่งประกอบด้วย ไอน้ำ,ก๊าซคาบอนไดออกไซค์,ผนังของเยื่อกาแฟ และน้ำมันที่อยู่ในเม็ดกาแฟ
2.บอดี้(Body) ส่วนของเหลวส่วนกลาง
3.ฮาร์ท(Heart) ส่วนของเหลวด้านล่างประกอบด้วย ไอน้ำ, สารแขวงของของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ และฟองอากาศ

การจะได้ซึ่ง Perfect Shot of espresso
คือต้องมีการสกัดกาแฟ(Extraction) ออกมาอย่างพอดีไม่เข้มเกินไปที่เรียกว่า Over Extraction (มีของแข็งไม่ละลายน้ำออกมาจากกาแฟที่เราสกัดมากเกินไปทำให้ได้รส ขม, ไหม้, หนักลิ้น, เฝื่อน รสชาติเข้มไป)
หรือไม่สกัดออกมาอ่อนเกินไปที่เรียกว่า Under Extraction (มีของแข็งไม่ละลายน้ำออกมาจากกาแฟที่เราสกัดน้อยเกินไปทำให้ได้รส เปรี้ยว, จืด, ฝาดแห้งลิ้น รสชาติอ่อนไป)

ปัจจุบันมีการใช้เครื่อง TDS Refractometer วัดค่าการละลายของแข็งในน้ำกาแฟเพื่อหาจุดที่พอเหมาะอย่างไรก็ตามการสกัดกาแฟจะมีองค์ประกอบที่ต้องใส่ใจ ดังนี้ คือ เวลาการสกัดว่านานหรือน้อยไป(ส่วนใหญ่จะ22-25วินาที),อุณหภูมิน้ำสูงหรือต่ำไป, ปริมาณกาแฟ(มาตรฐาน20กรัม), กาแฟใหม่หรือเก่า(ไม่ควรเกิน2-3เดือน), กาแฟละเอียดไปหรือหยาบไป, การเกลี่ยผงกาแฟต้องเสมอไม่เอียง,การกดแน่นเกินหรือเบาไป(มาตรฐาน 10-15 กก.), กาแฟคั่วมาเข้มไปหรืออ่อนไป(มาตรฐานคือคั่วปานกลาง), แรงดันน้ำสูงไปหรือต่ำไป(มาตรฐานคือ9บาร์),น้ำมีค่า TDSสูงไปเช่น น้ำแร่,น้ำประปา หรือต่ำไป เป็นต้น
การดื่มกาแฟเอสเพรสโซ่ต้องดื่มจากแก้วเซรามิคเท่านั้น ไม่มีการใส่แก้วกระดาษtake away ควรกระดกทีเดียวหมดแก้วหรือเต็มที่ก็ไม่เกิน2ครั้ง(Single Short Espresso) ไม่ควรดื่มน้ำตามทันที เพราะจะเสียอรรถรสของ After Taste ที่เราควรได้enjoyจาก espresso

 

วัฒนธรรมกาแฟในอิตาลี
A “bar” is really  a “cafe” ไปร้านกาแฟก็เหมือนไปบาร์

City Break ROME Coffee Break 1

ร้านกาแฟส่วนใหญ่ในอิตาลีก็คือบาร์ที่ขายเครื่องดื่มแบบแอลกอฮอล์ด้วย ไม่ทราบว่าจะเป็นสาเหตุที่ชาวอิตาเลี่ยนส่วนใหญ่มักจะยืนดื่มกาแฟที่บาร์ด้วยหรือเปล่า หรืออาจเป็นเพราะว่าถ้าเรานั่งที่โต๊ะมันจะโดนService Chargeด้วย การดื่มกาแฟของคนที่นี่ส่วนใหญ่จะดื่มกาแฟผสมนมเฉพาะแก้วแรกตอนเช้าเท่านั้น เพราะเขาเชื่อว่าหลังมื้ออาหารแล้วการดื่มนมจะเป็นอุปสรรคต่อการย่อย ดังนั้นตลอดวันเค้าจะดื่มแต่ Espressoเป็นหลักซึ่งเวลาสั่งเขาจะไม่บอกว่า ‘un caffè’ หมายถึงขอ”กาแฟที่นึง”ไม่ใช่ขอ เอสเปรสโซที่นึง เพราะการสั่งกาแฟนั้นคุณก็จะได้เอสเปรสโซนั่นเอง วิธีการก็คือดื่มเหมือนเหล้า1ช็อตนั่นแหละครับ คือต้องกระดกทีเดียวหมด ไม่มีการจิบ ต้องขอบอกว่า Espresso นั้นเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้เครื่องจักรทำงานจะเห็นว่าคนอิตาเลี่ยนกระดกมันวันละเฉลี่ย 2-4shot เลยทีเดียว และมันก็ราคาถูกมากๆ ครับ ไม่ถึงยูโรแค่ 80 cents. เท่านั้น แต่ไม่นิยมสั่งแบบ 2 ช็อตแบบดับเบิ้ลเอสเปรสโซ่ หรือ un caffè doppio คือเขาจะนิยมสั่งเป็นถ้วยเล็ก 2 แก้วมากกว่า แล้วก็ประเภทสั่งไปดื่มที่อื่นหรือ ‘to go’ ก็ลืมๆ ไปเลย เพราะคนที่นี่บอกว่ากาแฟต้องดื่มกับถ้วยceramicเท่านั้นจึงจะได้รสชาติ ก็เหมือนไวน์ที่ไม่ควรดื่มจากแก้วพลาสติกนั่นเอง ประเภทร้านกาแฟแบบอเมริกันที่มักจะรีบร้อนขนาดกาแฟแก้วเดียวไม่มีเวลาดื่มที่ร้านนั้นที่อิตาลีไม่เข้าใจครับ โดยเฉพาะเวลากินเวลาดื่มนั่นคือต้องenjoyต้องได้ทักทายคนโน้นคนนี้ที่คุ้นเคยในละแวก แนวคิดของเค้าเป็นแบบนั้นถ้าไม่ใช่ร้านนักท่องเที่ยวจ๋าละก็ไม่มีเจอแก้วกระดาษto go แน่ๆ ครับ

 

เมื่อกาแฟอเมริกันจะมาแข่งกับกาแฟอิตาเลี่ยน
ไหนๆ พูดถึงเรื่องกาแฟอิตาเลี่ยนแล้วคงต้องขอพูดถึงchainกาแฟอเมริกันชื่อดังอย่างStarbucks ด้วยอันที่จริงแล้ว สตาร์บัคส์ได้แรงบันดาลใจมาจากร้านกาแฟในอิตาลีนี่เอง ในการทำร้านกาแฟธรรมดาๆ ในซีแอทเทิลให้กลายเป็นเชนกาแฟยักษ์ใหญ่อย่างในปัจจุบัน เพราะเมื่อ 34 ปีที่แล้วนาย Howard Schultz ซึ่งเป็น Chairman และCEOคนปัจจุบันของStarbucks ซึ่งตอนนั้นยังเป็นแค่ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทได้มีโอกาสมาประชุมในงานกาแฟนานาชาติที่มิลานและเวโรน่าของอิตาลีเมื่อปี 1983 เขาได้สัมผัสวัฒนธรรมเอสเพรสโซบาร์ของชาวอิตาเลี่ยน ที่ใครๆ ก็ไปร้านกาแฟเพื่อดื่มด่ำทั้งกาแฟรสดี และบรรยากาศของความอบอุ่นเป็นกันเองระหว่างบาริสตากับลูกค้า แรงบันดาลใจจากอิตาลีเป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนโฉมสตาร์บัคส์จากร้านกาแฟธรรมดาๆ ให้กลายเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์และจุดหมายที่ต้องแวะ

City Break ROME Coffee Break 3 Starbucks

ภาพ Howard Schultzซึ่งเป็น Chairman และ CEOคนปัจจุบันของStarbucks ถ่ายที่galleriaที่Milan (Photo cr.starbucks com)

แต่ไม่ว่า Starbucksจะขยายสาขามากมายไปได้ทุกหนแห่งในโลกนี้ แต่ก็ยังไม่กล้าเปิดสาขาในอิตาลีเจ้าตำรับร้านกาแฟที่ไม่ว่าจะเดินไปไหนก็จะมีคาเฟ่หรือเอสเพรสโซบาร์ซ่อนตัวอยู่ทุกมุมถนน ที่สำคัญแต่ละร้านจะมีรสชาติเปี่ยมด้วยคุณภาพและจิตวิญญาณ และจากการทำ Market Test คนอิตาเลี่ยนต่างก็มองว่าธุรกิจกาแฟเชนคงไปรอดได้ยากในอิตาลี เพราะถูกมองว่าเป็นของเลียนแบบไม่ใช่ของแท้และรสชาติ“ไม่ถึง”ขนาดที่ขนานนามกาแฟเชนนี้ว่าเป็น”diluted coffee” ซึ่งนักวิเคราะห์ด้านการตลาดเองก็มองว่าสตาร์บัคส์ต้องเจอกระดูกชิ้นใหญ่ในการบุกตลาดอิตาลีแน่นอน เพราะที่นี่คู่แข่งเขาไม่ใช่เชนอื่นๆ แต่คือร้านกาแฟที่เรียกว่าบาร์ท้องถิ่นที่มีอยู่ถึง 149,300 แห่งในอิตาลี(ที่มา: 2016 annual report issued by Federazione Italiana Pubblici Esercizi (FIPE)

City Break ROME Coffee Break 2 Starbucks

ร้านกาแฟร้านแรกของสตาร์บัคในอิตาลีขึ้นป้ายโฆษณา ณ ตำแหน่งที่จะเป็นที่ตั้งของร้านจริง

แต่ในที่สุดชูลท์สก็ประกาศจะเปิดสาขาสตาร์บัคส์ในอิตาลีครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 2016 โดยบอกว่าจะเปิดสาขาแรกในมิลาน สถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เขา ภายในหนึ่งปีโดยกำหนดสถานที่ว่าจะเป็นที่ Palazzo Delle Poste อาคารที่ทำการไปรษณีย์เก่าในจตุรัสคอรดุสซิโอ Piazza Cordusio แต่เมื่อถึงต้นปี 2017 เข้าจริงๆ ชูลท์สก็กลับเลื่อนออกไปบอกว่าจะเปิดสาขาสตาร์บัคส์ในอิตาลีในปลายปี 2018 แทน โดยเป็น Starbucks Roastery หรือร้านกาแฟพรีเมียมที่คั่วเมล็ดกาแฟเองในร้าน และโชว์กระบวนการทำกาแฟทุกขั้นตอนให้ลูกค้าได้ดูแบบสดๆ ทั้งวัน นอกจากนี้ สาขาในอิตาลียังจะมีกาแฟแบบใหม่ๆ ที่ไม่มีเสิร์ฟในสาขาอื่น เพื่อจูงใจนักดื่มกาแฟชาวอิตาเลี่ยนให้หันมาลองกาแฟอเมริกันอย่างสตาร์บัคส์ โดยจะเน้นเอสเพรสโซเป็นพิเศษ เพราะคนอิตาเลี่ยนนิยมกินกาแฟเอสเพรสโซเป็นหลัก ก็คงต้องมาเอาใจช่วยกันสำหรับแฟน Starbucks มันท้าทายมากเพราะถ้าทำสำเร็จกาแฟของเขาจะได้ชื่อว่าเป็นกาแฟที่ผ่านมาตรฐานต้นตำรับ และระดับผู้บริโภคกาแฟที่เอาใจยากที่สุดในโลกมาแล้ว

 

ที่สุดของสถาบันกาแฟในโรม
เกริ่นถึงเรื่องกาแฟมาพอหอมปากหอมคอ ที่จริงแล้วเราสามารถคุยกันถึงประวัติความเป็นมากันได้อีกยาวเหยียด แต่ตอนนี้อยากให้มาลองของจริงกันดีกว่าว่าหากมาที่โรมแล้ว จะไปแวะ Coffee Break แถวไหนกันดีเรากำลังจะพูดถึงร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงระดับ Top ของ Rome ซึ่งแน่นอนว่ามันก็คือ Top ของโลกด้วยเช่นกัน
Caffé della Pace
Via della Pace, 5
www.caffedellapace.it

ที่นี่น่าจะเป็นร้านกาแฟคลาสสิกของโรมที่ผมชอบที่สุด คือนอกจากมันจะเปิดมานานเป็นร้อยๆ ปีแล้วแต่บรรยากาศมันก็ยังโรแมนติกมากๆ อยู่ อาจเป็นเพราะมันอยู่ใกล้จัตุรัสนาโวนา Piazza Navonaที่ขึ้นชื่อเรื่องความchill สุดๆ อยู่แล้ว หรืออาจเป็นเพราะไม้เลื้อยบนกำแพงเก่าแก่ของร้านที่ปล่อยให้รกรุงรังแบบไม่ตั้งใจหรือประตูไม้โบราณทางเข้าร้านที่แมทช์กับเคาน์เตอร์บาร์ยุคก่อนเราเกิดก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ คือห้ามพลาดการมาดื่ม Espresso หรือ Cappuccino ที่นี่สักครั้งและถ้าอากาศดีก็ต้องนั่งoutdoorหน้าร้านเพื่อความchill อาจเสียงดังล้งเล้งหน่อย เพราะชาวอิตาเลี่ยนเวลาคุยกันแล้วมันออกรสชาติเหมือนคนจีน เอ…หรือว่ามาร์โกโปโลเอาวัฒนธรรมเสียงดังนี้กลับมาจากเมืองจีนด้วย? ร้านนี้ตกแต่งแบบคลาสสิกเพราะเปิดมาตั้งสมัยศตวรรษที่ 18thตั้งอยู่ที่จัตุรัส Piazza della Pace

City Break ROME Coffee Break 12 Caffe della Pace

บรรยากาศหน้าร้าน Caffé della Pace

City Break ROME Coffee Break 9 Caffe della Pace

City Break ROME Coffee Break 10 Caffe della Pace

City Break ROME Coffee Break 11 Caffe della Pace

บรรยากาศในร้านและหากมาช่วงพลบค่ำร้านนี้ก็ไม่เป็นรองใคร

 

Antico Caffé Greco
Via dei Condotti, 86
www.anticocaffegreco.eu

City Break ROME Coffee Break 7 Antico Caffe Greco

ถ้าคุณมาเดินช้อปปี้งแถวถนน Condotti ซึ่งก็อยู่แถวย่านบันไดสเปน แล้วเกิดอยากนั่งพักดื่มกาแฟสักแก้วที่เป็นร้านกาแฟประวัติศาสตร์ก็ให้มาที่เลขที่86ได้เลย บรรยากาศในร้านอาจไม่ผ่อนคลายมากนัก เพราะดูเป็นงานเป็นการไปหน่อยแถมยังเก่าแก่เคร่งขรึมเกินไปสำหรับยุคปัจจุบัน แต่นี่คือ Historic Grand Coffee House ที่เปิดมาตั้งแต่ก่อนจักรพรรดินโปเลียนเกิดถึง 9 ปี ที่ยกตัวอย่างนโปเลียนก็เพราะในปี 1805 นโปเลียนประกาศสถาปนาตนเองเป็น King of Italy หลังจากยึดดินแดนทางเหนือของอิตาลีได้

City Break ROME Coffee Break 6 Antico Caffe Greco

ร้านนี้มีบุคคลดังๆในอดีตแวะมาเยี่ยมเยียนเช่นนักปราชญ์และจินตกวีชาวเยอรมันชื่อเกอร์เต้ Johann Wolfgang von Goethe ดังนั้นหากคุณมีอารมณ์และรสนิยมเหมือนศิลปินชื่อดังจินตกวีนักดนตรีที่ทั่วโลกรู้จักในอดีตและชอบการตกแต่งแบบร้านกาแฟในเวียนนากับรสชาติกาแฟอมตะเหมือนฉายาของกรุงโรม (The Eternal city) มาที่นี่ให้ได้ครับเปิดบริการมาตั้งแต่ปี1760 แต่ขอเตือนว่าก่อนสั่งให้ดูเมนูและราคาดีๆก่อนเพราะราคาอาจแตกต่างกับร้านกาแฟทั่วไปอยู่บ้าง

 
Tazza D’Oro
Via degli Orfani, 84
www.tazzadorocoffeeshop.com

City Break ROME Coffee Break 16 Tazza D’Oro

ร้านนี้อยู่ใจกลางโรมใกล้กับวิหารเก่าแก่ที่สุดของโรมที่ยังคงความสมบรูณ์แบบและมีชื่อว่า Pantheon และหากคุณใจตรงกันกับผู้ที่เป็น Coffee Lover จากทั่วโลกที่มาต่อคิวรอชิมกาแฟของร้านนี้มาเลยครับ มีชื่อเสียงในเรื่อง Espresso ถึงขนาดเข้าชิงอันดับ1 เพื่อครองตำแหน่ง The Best Espresso In Rome กับร้านคู่แข่งที่อยู่ใกล้กันคือ Caffé Sant’Eustachio ที่จะพูดถึงต่อไป

City Break ROME Coffee Break 5 Tazza D’Oro

City Break ROME Coffee Break 3 Tazza D’Oro

หรือถ้ามาที่นี่หน้าร้อนก็เข้าทางแบบไทยๆ เรา คือชอบดื่มเย็นที่นี่ก็มีชื่อครับสั่งเลย Granita (Frozen Coffee) แต่ต้องขอเตือนไว้ก่อนนะครับกาแฟที่นี่เข้มยิ่งกว่ากาแฟสำหรับคนขับสิบล้อบ้านเราที่ต้องการขับรวดเดียวจากเชียงใหม่ถึงสุไหง-โกลกเลยครับ นอกจากนี้ทางร้านยังมีกาแฟคั่วใส่ถุงกลับไปชงดื่มที่บ้านที่ยอดเยี่ยมขึ้นชื่อต้องซื้อ ถุงแดง La Regina dei caffe แบบรูปข้างล่างนี้กลับไปลองครับที่สุดของ Espresso

City Break ROME Coffee Break 8 Tazza D Oro

 

Sant’Eustachio
Piazza Sant’Eustachio, 82
www.santeustachioilcaffe.it
City Break ROME Coffee Break 15 Sant Eustachio

City Break ROME Coffee Break 4 Sant’Eustachio

ร้านดังร้านนี้มีสัญลักษณ์เป็นหัวกวางอยู่ระหว่างจัตุรัสโนวาน่ากับวิหารพันเตออน ถ้าคุณเป็นนักดื่มกาแฟแบบซีเรียสที่ค้นหา The Best Espresso In Rome หรือต้องการจะหากาแฟคั่วเกรด Grand Cru แบบนักชิมไวน์ คุณต้องมาหาซื้อกาแฟที่เป็น Gourmet Coffee ที่แท้จริงจากที่นี่ เพราะเจ้าของร้านที่ชื่อว่านาย Roberto Ricci เป็นคนทุ่มเทในการสรรหาแหล่งที่มาของกาแฟที่ดีที่สุดตลอดจนกรรมวิธีการคั่วที่หาตัวเทียบยากในด้านของคุณภาพ และกลิ่นรสที่คอกาแฟโหยหา มีลูกค้าที่เป็นระดับผู้นำประเทศที่สั่งกาแฟจากร้านนี้ไปชงที่บ้านเป็นประจำ รวมทั้งดาราฮอลลีวู้ดชื่อดังอย่าง Tom Hanks

City Break ROME Coffee Break 14 Sant Eustachio

City Break ROME Coffee Break 13 Sant Eustachio

City Break Rome Part X

เบรกเที่ยวในโรม ….กินอะไรในโรม (ต่อ)
โดย Paul Sansopone

…“เกิดจากตอนที่ทำครั้งแรก แม่บ้านคงโมโหโกรธสามีที่กลับบ้านดึกให้เมียรอกินมื้อเย็นนานเกินเหตุ ก็เลยใส่พริกเยอะกระเทียมเยอะ รสจัดมาก ตั้งใจแกล้งสามีด้วย เพราะ arrabbiata มันหมายความว่า “Angry” Pasta แต่กลับกลายมาเป็นซอสพาสต้าสีแดงที่เป็นที่นิยม”…

เมื่อคราวที่แล้วแนะนำอาหารท้องถิ่นต้นกำเนิดและร้านอาหารแบบเน้นบรรยากาศที่ราคาแพงหน่อย แต่การมาเที่ยว 3-4 วัน เราก็ควรต้องมีอย่างน้อย 1 มื้อล่ะครับ ในตอนนี้จะพูดถึง Routine Food หรือแบบ Staple ในแบบโรมที่มีความอบอุ่นตามแบบฉบับของร้านอาหารท้องถิ่นประเภท Osterie แบบดั้งเดิม ซึ่งเราผู้บริโภคเริ่มมีทางเลือกมากขึ้น เช่น เพราะเชฟรุ่นใหม่ที่ทำอาหารดั้งเดิมแบบเก่ากำลังมาแทนที่บรรดาเชฟที่เป็นคุณยายที่เน้น Home Cooking Style และที่พิสูจน์ได้ง่ายที่สุดคงต้องเป็นจานพาสต้า เพราะใครๆ ก็มากินพาสต้าที่โรม

และถ้าพูดถึง Pasta แบบโรมที่นี่จะใช้เส้นพาสต้าท้องถิ่นคือ Bucatini แปลว่า “Little Hole” มันเป็นเส้นยาวที่มีรูกลวงคล้าย มักกะโรนีหรือ Tonnarell จะคล้าย Spaghetti แต่จะอ้วนกว่าค่อนข้างเป็นที่นิยมในโรมแต่เส้นทั่วไปก็มีให้เลือกครับ

มารู้จักเมนูจานPastaที่เป็นโรมแท้

1.Pasta Alla Carbonara มีความ Creamy แต่ไม่มีการใส่ครีมจึงจะเป็นของกรุงโรมแท้ๆ เพราะมันเป็นอาหารกรรมกรทำง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตรอง เพื่อนอิตาเลี่ยนของผมชื่อ Claudio เคยอธิบายว่า Carbonara มาจากคำว่า Carbone ซึ่งก็คือผงถ่านเพราะเวลาพวกกรรมกรเหมืองทานกันจะใส่พริกไทยดำเยอะมากจนดูเหมือนผงถ่านปกคลุมพาสต้าจานนี้

City Break ROME Italy Pasta Alla Carbonara

จริงแล้วอาหารจานนี้แพร่หลายไปทั่วโลก หลายๆ คนยังเชื่อว่ามันเกิดในสมัยสงครามโลกตอนทหารอเมริกันมาปักหลักอยู่กรุงโรมเพราะอเมริกันนำประเพณีอาหารเช้าที่เป็นเบคอนกับไข่มาแล้วมาดัดแปลงใส่เส้น กลายเป็นเมนูเด่นดังไปจนมีแทบทุกร้านอาหารตะวันตกทั่วไป แต่ถ้าเป็นของกรุงโรมแท้มันไม่ใส่ครีมและต้องใช้Guanciale เบคอนที่ทำจากแก้มหมู ส่วนชีสต้อง Pecorino และเส้นต้องเป็น Tonnarelli ถึงเป็นต้นตำรับ

City Break ROME Italy Pasta Alla Gricia

Pasta Alla Gricia

2.Pasta Alla Gricia ง่ายๆ แบบ Roman Pasta: มันเกือบจะเหมือน Carbonara ต่างกันตรงไม่มีไข่และใช้ Guanciale เป็นอะไรที่คล้ายกับเบคอนแต่ทำมาจากส่วนแก้มของหมู ไม่ได้ใช้ส่วนท้องแบบเบคอนหรือ Pancetta ทำให้มีรสแตกต่าง และแน่นอนต้องใช้ชีส Pecorino, Romano, Black Pepper และควรเป็นเส้นTonnarelliไม่ใช่ Spaghetti ซึ่งต้นตำรับเป็นของNapoliไม่ใช่ Roma

City Break ROME Italy Pasta Arrabbiata

3.Pasta Arrabbiata คงเกิดจากตอนที่ทำครั้งแรก แม่บ้านคงโมโหโกรธสามีที่กลับบ้านดึกให้เมียรอกินมื้อเย็นนานเกินเหตุ ก็เลยใส่พริกเยอะ กระเทียมเยอะ รสจัดมาก ตั้งใจแกล้งสามีด้วย เพราะ Arrabbiata มันหมายความว่า “Angry” Pastaแต่กลับกลายมาเป็นซอสพาสต้าสีแดงที่เป็นที่นิยมมากๆ เพราะความเผ็ดรสจัดจากส่วนผสมประกอบด้วยมะเขือเทศ กระเทียม และพริกแดง Peperoncino (Red Chili Peppers)

City Break ROME Italy Cacio e pepe

4.Cacio e pepe มันคือจานศักดิ์สิทธิ์แห่งพาสต้าของชาวโรมัน เพราะมันคืออาหารคนจนที่ต้องทานอะไรง่ายๆ และแค่ได้พาสต้า Cacio e Pepe สักจานก็ยกมือไหว้พระเจ้าแล้ว มันเลยเป็นจานศักดิ์สิทธิ์ “Cacio e Pepe” แปลว่า “Cheese and Pepper” ในภาษาพื้นเมืองในแถบLazio ส่วนผสมของพาสต้าจานนี้จึงง่ายแค่ Black Pepper และ Pecorino Romano Cheeseคลุกกับน้ำต้มเส้นเล็กน้อย
City Break ROME Italy Pasta all’amatriciana

5.Pasta all’amatriciana ชื่อนี้ได้มาจากเมืองชื่อAmatriceจากเขต Lazio มันใช้ส่วนประกอบที่เป็นมะเขือเทศ Guanciale,เบคอนที่ทำจากแก้มหมู แล้วมีพริกแดงหอมกระเทียมและไวน์แดงกับสุดท้ายต้องโรย Pecorino

 

รู้จักPastaท้องถิ่นของโรม แล้ว เราลองไปค้นหา The Best Pasta in Rome ดูกันครับว่าจะไปกินร้านไหนดี

“When in Rome do what the Romans do…” ใช่แล้วครับต้องหาพาสต้าที่ดีที่สุดของโรมกิน ขอแนะนำ 9 อรหันต์ของร้านพาสต้าในโรม ที่แต่ละร้านไม่ได้หรูหราแบบ Ristorante(ภัตตาคาร) แต่มักเป็นร้านระดับกลางหรือร้านเล็กๆ คือ Trattoria หรือ Osterie เท่านั้น  Credit Katie Parla

 

1.ร้าน Da Danilo (Via Petrarca 13, +39 06 7720 0111)
ที่เราควรต้องสั่งพาสต้า Carbonara and Cacio e pepe ที่เขาจะเอาเส้นพาสต้าที่ลวกเสร็จใหม่ๆ มาลงคลุกกับชีสแบบวงล้อก้อนใหญ่ที่คว้านเป็นรูปร่างเหมือนชามทำให้การคลุกชีสเปคคอริโนนั้นมั่นใจได้ว่าชีสเคลือบเส้นทั่วถึง

City Break ROME Italy at Da Danilo 2

City Break ROME Italy at Da Danilo

ยังมีจานเด็ดที่เป็น อาหารท้องถิ่นทัศคานี คือ Strozzapreti al Lardo di Colonnata e Pecorino di Fossa ซึ่งมีซอสมะเขือเทศแบบบางเบาไม่ข้น เป็นเบสมีlardoคล้ายเบคอนแต่มันเยอะโรยด้วยชีสนมแพะเก่าPecorinoที่บ่มเก็บไว้นานหน่อย

City Break ROME Italy at Da Danilo 1

 

2.ร้าน Flavio De Maio ของเชฟ Flavio al Velavevodetto (Via di Monte Testaccio 97, +39 06 574 4194)

City Break ROME Italy Cacio e pepe at Flavio De Maio

มาที่นี่ต้องสั่ง Cacio e pepe พาสต้าที่ใส่แค่ชีส Pecorinoกับพริกไทยดำคลุกน้ำต้มเส้น

 

3.ร้านPipero al Rex (Via Torino 149; +39 06 481 5702) ที่เชฟ Luciano Monosilo เสิร์ฟสุดยอดตำนานพาสต้าของโรม Spaghetti Alla Carbonara เชฟ Monosilo มีเทคนิคคือเขาจะอุ่นส่วนผสมของไข่แดง Parmigiano Reggiano, Pecorino Romano และพริกไทยดำใน Bain-Marie หรือซึ้งที่ใช้สำหรับนึ่งและพอได้พาสต้า al dente ขึ้นจากหม้อต้มก็คลุกกับส่วนผสมของไข่โรยด้วยเบคอนแก้มหมู Guanciale และไขมันที่เหลือจากการทอดมันเล็กน้อย

City Break ROME Italy at Pipero al Rex

Pipero al Rex: Spaghetti alla Carbonara credit pic: http://www.bonappetit.com

 
4.ร้านArmando al Pantheon (Salita dè Crescenzi 31, +39 06 6880 3034) ต้องสั่งคาโบนาร่าหากยังไม่เบื่อหรือหากต้องการรสจัดหน่อยก็ “Pasta dei cornuti” (Cuckold’s Pasta) ที่มีรสจัดจ้านจากพริกกระเทียมและน้ำมันมะกอก ร้านนี้หาง่ายอยู่ใกล้กับวิหาร Pantheon แต่มันไม่ใช่ร้านที่เป็น Tourist Trap ถ้ามา 2 คนให้อีกคนสั่ง Pasta Amatriciana มาจะได้ลอง 2 แบบ และอย่าลืมทานของหวานที่เป็น Signatureของร้าน Torta Antica Roma

City Break ROME Italy at Armando al Pantheon

City Break ROME Italy Torta Antica Roma at Armando al Pantheon

Armando al Pantheon: Ajo, Ojo e Peperoncino (garlic, oil, chili) credit pic: http://www.bonappetit.com

 

5.ร้านColline Emiliane (Via degli Avignonesi 22, +39 06 481 7538) ซึ่งเจ้าของเป็นตระกูล Latini จากเขต Emilia Romagna แต่ย้ายมาเปิดร้านอาหารแถวน้ำพุเทรวี่ตั้งแต่ปี 1967 จึงทำให้คุณจะได้ชิม Tortelliไส้ฟักทองต้นตำรับจาก Emilia Romagna แท้ๆโดยไม่ต้องไปถึงถิ่น

City Break ROME Italy Colline Emiliane Tortelli di Zucca at Colline Emiliane

Colline Emiliane: Tortelli di Zucca

 

City Break ROME Italy at Tavernaccia da Bruno

City Break ROME Italy Tavernaccia da Bruno 1

ร้านTavernaccia da Bruno: Lasagne Cotte nel Forno al Legna (wood oven baked lasagna) credit pic: http://www.bonappetit.com

6.ร้านTavernaccia da Bruno’s (Via Giovanni da Castel Bolognese 63, +39 06 581 2792) มีความโดดเด่นเรื่อง ลาซานญ่าที่อบด้วยเตาอบฟืน Lasagna, Bechamel, and Meat Sauce เป็นอาหาร Roman-Umbrian

 

City Break ROME Italy Il Sanlorenzo Spaghetti alle Vongole Veraci

Il Sanlorenzo: Spaghetti alle Vongole Veraci (with clams)
7.ร้านIl Sanlorenzo (Via dei Chiavari 4/5, +39 06 686 5097) เป็นร้านที่ต้องสั่งสปาเก็ตตี้หอยลาย (ต้องเช็คด้วยบางช่วงอาจไม่มีหอย) Spaghetti Alle Vongole

 

City Break ROME Italy Rigatoni con Burro e Parmigiano at Roscioli

8.ร้าน Roscioli: จานเด็ดเป็นRigatoni Burro e Parmigiano (Butter and Aged Parmigiano-Reggiano)

ไม่น่าเชื่อว่าแค่เป็นพาสต้าเนยสดกับปาร์มิจานก็อร่อยได้ ต้องไปลองทาน Rigatoni con Burro e Parmigianoที่ร้านRoscioli (Via dei Giubbonari 21, +39 06 687 5287) เคล็ดลับอยู่ที่วัตถุดิบที่เป็นเส้นสดและเนย Echiré Butter ก่อนโรยหน้าด้วยปาร์มิจานแบบบ่มเก็บนาน 30 เดือนผสมกับแบบบ่มนาน 36 เดือน (Aged Parmigiano Reggiano)
 

City Break ROME Italy Rigatoni con pajata

หรือถ้าท่านต้องการพาสต้าจากโรมแบบExtremeหน่อยก็ต้องสั่งทานจานนี้

Rigatoni con pajata มันคือ Pasta กับ Pajata ซึ่งก็คือไส้ของลูกแกะหรือลูกวัวที่ยังไม่หย่านมคือมันยังไม่เคยทานอาหารที่ทำลำไส้มันสกปรกและมีไขมันมันเป็น Cucina povera dishes หรืออาหารคนยากจนที่ต้องกินทุกชิ้นส่วนของสัตว์แต่มันกลายเป็นของอร่อย

 

City Break ROME Italy Spaghetti Alle Vongole Hostaria Romana

Spaghetti Alle Vongole ที่ Hostaria Romana

9.ร้าน Hostaria Romana เป็นแบบold-schoo trattoria ที่มีโต๊ะเบียดๆ กันอยู่ แต่อาหารจานพาสต้าแบบสปาเก็ตตี้หอยลายและAmatriciana ต้องขอแนะนำอะไรที่ไม่ใช่พาสต้าทิ้งท้ายหน่อย ไหนๆ มาร้านนี้ถ้าอยู่ในฤดูของ Artichokesให้สั่ง ArtichokesทอดAlla Giudia (fried) หรือแบบตุ๋นAlla Romana (braised) ก็อร่อยทั้งคู่
City Break ROME Italy Carciofo Alla Giudia at Hostaria Romana

Carciofo Alla Giudia อาร์ติโช๊คทอดกรอบ

City Break ROME Italy Carciofo Alla Romana at Hostaria Romana

Carciofo Alla Romanaหรือว่าอาร์ติโช๊คตุ๋นดี?

 

คราวหน้าเรามาว่ากันต่อในเรื่องของกินของดื่มที่โรมครับ

City Break Rome Part IX

เบรกเที่ยวในโรม…กินอะไรในโรม
โดย Paul Sansopone

… “หากจะมาสารภาพรักหรือขอแต่งงานหรือแม้แต่แต่งงานกันมา 30 ปีแล้วแต่ยังอยากจะสารภาพอีกว่ายังรักไม่เคยเสื่อมคลาย คงต้องจองโต๊ะมาช่วงพระอาทิตย์ตกดิน เพราะมันจะเป็นbackdropระดับโลก เนื่องจากพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าด้านหลังของ Coliseum แบบ Picture Perfect ที่สำคัญที่นี่ไม่ได้สวยแต่วิว อาหารจากเมนูระดับ 5 ดาวจากสถาบัน…”

กินอะไรในโรม

กรุงโรมมีอายุเกือบ 3,000 ปี แต่ไม่ว่าจะผ่านมากี่พันปีของประวัติศาสตร์ โรมเป็นเมืองที่ไม่เคยเป็นรองใครในเรื่องอาหารและไวน์ ที่จริงแล้วเมืองนี้เคยถูกปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของคนรวย
กรุงโรมในวันนี้ ความรักในไวน์และอาหารดีๆ ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงแต่กลับพัฒนามากขึ้น ในช่วง 25 ปีหลังนี้ ชาวเมือง 2.7 ล้านที่อาศัยอยู่ที่นี่ได้เติบโตขึ้นด้วยความเชื่อมั่นความมั่งคั่งและความซับซ้อน นักเดินทางจากทั่วโลกมาที่นี่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มาตรฐานของชาวโรมันซึ่งปกติก็จู้จี้จุกจิกเรื่องการทำอาหารอยู่แล้วต้องยกมาตรฐานให้สูงขึ้น จากเดิมที่อาหารอิตาเลี่ยนมันมาจากสถาบันครอบครัวแบบง่ายๆ ใช้สูตรตำราอาหารที่เป็นมรดกตกทอดกันมา กลายมาเป็นองค์ความรู้เป็นสถาบันอาหารและมีการศึกษาลึกซึ้งกว่าเดิม
ที่นี่แตกต่างจากฟลอเรนซ์ ตูริน และเวโรนาซึ่งที่นั่นมักจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นเลิศเรื่องไวน์ของพวกเขาในท้องถิ่น เช่นโซน Chianti, Barolo และ Valpolicella ตามลำดับ แต่ Rome ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของลาซิโออาจมีแค่เพียงแหล่งผลิตไวน์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น Candida หรือ Casale Giglio แต่มันยังไม่ใช่อะไรที่ติดChart โชคดีที่ที่นี่มันคือกรุงโรมที่ถนนทุกสายมุ่งมาสู่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องง่ายที่จะหาไวน์จากทุกภูมิภาคในกรุงโรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในสถานที่ของแหล่งกำเนิด

City Break Rome Italy Gambero Rosso 3

ทางเลือกสำหรับการมาทัวร์ชิมไวน์และการเรียนการทำอาหารมากในเมืองอมตะแห่งนี้ ลองไปศูนย์ไวน์และอาหาร Gambero Rosso ซึ่งเป็นวารสารเกี่ยวกับอาหารและไวน์ชื่อดังของอิตาลี ของ Cittàdi Gusto (เมืองTaste) ที่ตั้งอยู่ในคลังสินค้า 86,000 ตารางฟุตในย่านมาร์โคนี ผู้เข้าชมสามารถชมเชฟอิตาเลี่ยนชั้นนำโชว์ศิลปะการทำอาหารของพวกเขา หรือเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องไวน์หรือบางคนอาจสนใจโรงเรียนสอนทำอาหารสำหรับมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ส่วนการชิมไวน์แบบคลาสสิกต้องไป Enoteca Costantini ใน Piazza Cavour หนึ่งในกรุงโรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดเรื่องไวน์บาร์และยังมีการจัดหลักสูตรไวน์ด้วย

City Break Rome Italy Enoteca Costantini

อาหารโรมันแท้ๆ

ในกรุงโรมที่ร้านอาหารแบบดั้งเดิมปนอยู่กับร้านแบบร่วมสมัย อาหารพิเศษของกรุงโรมไม่ได้หรูหรา หลายสูตรมาจากวัฒนธรรมคนยากจน Cucina Povera แลtได้อิทธิพลมาจากอาหารของชุมชนชาวยิวที่ใช้เนื้อชิ้นที่ไม่ใช่cut ราคาแพง บางครั้งอาจมีอาหารแบบที่ไม่น่าดูชมนักด้วยซ้ำที่มักจะประกอบด้วยชิ้นส่วนเครื่องในของสัตว์นำมาทอด Smothered แล้วไปเคี่ยวในซอส เป็นที่รู้จักกันคือ Cucina di Quinto หรือ “ไตรมาสที่ห้า” หรือมีCervello Fritto (ไส้สมองแกะทอดขนาดลูกกอล์ฟ) TRIPP Aalla Romana (ลำไส้ลูกวัวในซอสมะเขือเทศ) Vitella Piccante (ลิ้นลูกวัวในซอสเผ็ด) และ Alla Vaccinara (ตุ๋นหางวัว)

City Break Rome Italy Saltimbocca Alla Romana

Saltimbocca Alla Romana มันแปลว่า “กระเด้งในปาก”เป็นเนื้อลูกวัวห่อด้วยแฮม Prosciutto Crudo และใบSageผัดซอสแบบน้ำแดง

City Break Rome Italy Rigatoni con pajata

Rigatoni con pajata มันคือ Pasta กับ Pajata ซึ่งก็คือไส้ของลูกแกะหรือลูกวัวที่ยังไม่หย่านมคือมันยังไม่เคยทานอาหารที่จะทำลำไส้มันสกปรก และมีไขมันมันเป็น Cucina Povera Dishes หรืออาหารคนยากจนที่ต้องกินทุกชิ้นส่วนของสัตว์แต่มันกลายเป็นของอร่อย
City Break Rome Italy Coda alla vaccinara Oxtail

Coda alla vaccinara. Oxtailอาหารคนจนอีกแล้ว Cucina Povera Clan เป็นสตูหางวัวที่เคี่ยวนานจนละลายในปาก

Involtini alla romana เนื้อม้วนแครอทและเซเลอรี่ในซอสมะเขือเทศ

City Break Rome Italy Trippa Tripe

Trippa Tripe มันคือผ้าขี้ริ้ว(เครื่องในวัว)แบบเดียวกับเกาเหลาเนื้อบ้านเราแต่ที่นี่กินกับซอสแดง
City Break Rome Italy Crostata di ricotta

Crostata di ricotta ของหวานแบบ Classic Roman dessert มันเป็นชีสเค้กทำจากชีสรีค๊อดต้า

City Break Rome Italy Carciofo alla giudia

บางส่วนของเมืองอาหารแบบดั้งเดิมมีต้นกำเนิดมาจากชุมชนชาวยิวในกรุงโรม Carciofo alla giudia หรืออาติโช๊คทอดกรอบ

จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้อาหารพิเศษโรมันเหล่านี้ที่เคยถูกปกป้องโดยประเพณีอย่างเหนียวแน่นก็ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง เมื่อเชฟเยอรมันชื่อไฮนซ์เบ็คมาถึงที่นี่ในปี 1994 ความเป็นพ่อครัวระดับสามดาวมิชลินของเขาเปิดทางให้พ่อครัวที่มีชื่อเสียงและเทคนิคใหม่ๆในกรุงโรม

City Break Rome Italy The View from La Pergola 2

เบ็คทำงานห้องครัวของร้าน La Pergola ยังคงถือว่าเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดของกรุงโรมและเขายังคงเป็นหนึ่งในพ่อครัวที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเมืองหลวงและประเทศเก่าแก่นี้

The View from La Pergola

City Break Rome Italy The View from La Pergola 1

City Break Rome Italy The View from La Pergola

La Pergo ร้านอาหารอันดับหนึ่งในกรุงโรมที่ถูกโหวตปีแล้วปีเล่า เชฟไฮนซ์เบ็ค Chef Heinz Beck ผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่มีการพิจารณาลึกของรสชาติและเนื้อสัมผัส เลือกที่สุดของไวน์มานำเสนอกับเมนูชิมที่ห้ามพลาดที่นี่มีทั้งไวน์อิตาลีและไวน์ต่างประเทศ และไม่เพียงแต่อาหารที่ดีที่สุดในกรุงโรมแต่วิวก็ยังสวยที่สุดอีกด้วยแน่นอนว่าการทำให้มาตรฐานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ของร้าน La Pergola นั้นก็ต้องทำให้คู่แข่งอย่างร้านข้างล่างเหล่านี้พัฒนาไปด้วยเช่นกัน

 

Imàgo
ร้านอาหารและบาร์ไวน์มาพร้อมกับสุดยอดของวิวที่สวยงามของโรมจากย่านบันไดสเปน บริการอาหารอิตาเลี่ยนด้วยสำเนียงโรมันแบบไม่เพี้ยน และOriginalสุดดั้งเดิมและเสิร์ฟเฉพาะไวน์อิตาเลี่ยนกว่า 400 ตัว

City Break Rome Italy RELAIS PICASSO

RELAIS PICASSO / Bramante TERRACE / Roof Gardenบนชั้นบนสุดของโรงแรมราฟาเอลใกล้กับ Piazza Navonaบนเทอเรซหรือสวนบนดาดฟ้าในสภาพอากาศที่เหมาะสม คุณจะได้ทานอาหารในระดับเดียวกับเส้นขอบฟ้าของกรุงโรมที่ประดับประดาไปด้วยโรมันโดมของโบสถ์ต่างๆ

 

City Break Rome Italy Aroma 1

Aroma
แต่ถ้าอยากให้ได้บรรยากาศเหมือนเพิ่งไปชมการต่อสู้ของยอดนักสู้ Gladiators มา ก็ต้องที่นี่เลยร้านที่ชื่อ Aroma ที่จัตุรัส Manfredi ซึ่งจะได้วิวของสุดยอดสถาปัตยกรรมระดับสิ่งมหัศจรรย์ตลอดกาลของโลก นั่นคือ Coliseum และหากจะมาสารภาพรักหรือขอแต่งงานกับคู่ชีวิตหรือแม้แต่แต่งงานกันมา 30 ปีแล้ว แต่ยังอยากจะสารภาพอีกว่ายังรักไม่เคยเสื่อมคลาย คงต้องจองโต๊ะมาช่วงพระอาทิตย์ตกดินเพราะมันจะเป็นbackdropระดับโลก เนื่องจากพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าด้านหลังของ Coliseum แบบ Picture Perfect ที่สำคัญที่นี่ไม่ได้สวยแต่วิว อาหารจากเมนูระดับ 5 ดาวจากสถาบัน American Academy of Hospitality Sciences และดาวจาก Michelin น่าจะเพียงพอให้คู่เดทของคุณไม่รู้สึกว่าเราcheapอย่างแน่นอนในโอกาสสำคัญแบบนี้ ที่อยู่และเบอร์โทร: Aroma, Palazzo Manfredi, Via Labicana 125, Rome, Italy, +39 06 97615109

City Break Rome Italy Aroma 2

City Break Rome Italy Aroma 4

 

Hotel Forum Roof Garden

City Break Rome Italy Hotel Forum Roof Garden

แต่ถ้าต้องการอาหารกลางวันแบบBuffetในราคาสมเหตุสมผล หรือจะมา à-la-carte ตอนหัวค่ำเพื่อชมความงามของขอบฟ้ากรุงโรมตอนอาทิตย์ลับฟ้าเหมือนภาพเดียวกันกับที่จูเลียสซีซ่าร์ได้เคยเห็นเมื่อเกือบ 3000 ปีก่อน ก็เพราะเมื่อก่อน Roman Forum คือสถาบันที่รวมของชุมชนชนชาวโรม แต่ปัจจุบันโรงแรมชื่อเดียวกัน Hotel Forum ก็สนองบรรยากาศและอาหารสุดยอดแบบนั้นได้ โดยเฉพาะที่ห้องอาหารRoof Garden, ที่อยู่และเบอร์โทร: Hotel Forum, Via Tor Dei Conti 31, Rome, Italy, +39 06 6792447

 

คราวหน้าเราจะคุยกันถึงอาหารจานเก่งของชาวโรมันกันครับ