นิทรรศการสลักดุน

บอกเล่าเรื่อราวของชนชาติในอาเซียนผ่านลวดลายที่ตอกสลักและดุนแผ่นเงินให้เป็นภาชนะใช้สอยต่างๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความวิจิตรและมีเอกลักษณ์ของลวดลายในแต่ละชาติ

P7303026

P7302873

วันเสาร์อาทิตย์นี้ถ้าต้องการจะหานิทรรศการดีๆ ชม ขอแนะนำ‘สลักดุน’ นิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราววัฒนธรรมของอาเซียนผ่านลวดลายเครื่องเงินที่จัดขึ้นที่หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า นิทรรศการ สลักดุนภูมิปัญญาเชิงช่าง จากอดีตสู่ปัจจุบัน จัดขึ้นโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT)

silverwear-02

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

แต่ลวดลายที่วิจิตรและบ่งบอกถึงความเรียบง่ายก็คงเป็นงานสลักดุนจากลาว โดยชิ้นงานของประเทศไทยได้สื่อให้เห็นถึงลวดลายวิจิตร อ่อนช้อยและหรูหรา มีเทคนิคการตกแต่งลวดลายอย่างการลงยา ขณะที่เสน่ห์ของงานสลักดุนจากกัมพูชากลับเป็นรูปทรงของชิ้นงานที่เป็นของย่อส่วนอย่างฟักทอง นกคุ้มหรือควาย แม้จะมีขนาดเล็กแต่มีรายละเอียดลวดลายที่ชัดเจน แต่ละชาติล้วนมีเชิงช่างที่รังสรรค์ชิ้นงานได้งดงามจับตายิ่ง

P7302884

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

งานที่แตกต่างโดดเด่นเพราะทำเป็นดุนนูนสูงของเมียนมาร์ โดยเฉพาะช่างจากรัฐชานที่จะสลักดุนลวดลายสูงมากจนบางคนเรียกว่าการสลักดุนแบบสามมิติ ส่วนเรื่องราวในตัวลายนั้นมีทั้งลายพันธุ์พฤกษา เรื่องราวในชาดกอย่างมหาชาติและทศชาติชาดก เรื่องรามเกียรติ์ และลวดลายสิบสองนักษัตร ช่างที่สลักดุนในพม่าจะเรียกว่าช่างบุ นอกจากทำชิ้นงานเพื่อใช้สอยและเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศแล้วยังมีการแผ่แผ่นโลหะทองหรือทองจังโกแล้วบุเป็นลวดลายเพื่อหุ้มพระเจดีย์

silverwear-03

ลวดลายสลักดุนในชาติต่างๆ นั้นมีการผสมผสานกันเหมือนการผสมผสานขนบประเพณี อย่างการสลักดุนในล้านนาหรือทางภาคเหนือของประเทศไทย ช่างได้รับเอาลวดลายจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลายกลีบบัวแวงหรือลายปลิงจากเมียนมาร์ ลายก้นหอยที่คล้ายลายขมวดเส้นพระเกศาของพระพุทธรูปจากลาว นำมาผสมผสานลายพันธุ์พฤกษาและลายดอกไม้กลายเป็นลวดลายเอกลักษณ์ของล้านนา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

อย่างชุดเชี่ยนหมากเงินสลักดุนสกุลช่างล้านนา ทำเป็นภาชนะชิ้นเล็กๆ อย่างภาชนะบรรจุหมาก พลู ยาเส้น สีผึ้ง ฯลฯ โดยจะบรรจุภาชนะเงินเหล่านี้ในเครื่องเขินรูปทรงต่างๆ เป็นชุดเชี่ยนหมาก และใช้ในพิธีการสู่ขอในงานแต่งงานด้วย แต่ถ้าทำกระบะเงินรองรับไม่ใช่เครื่องเขินจะเป็นอิทธิพลจากลาว

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ส่วนช่างสลักดุนในราชอาณาจักรกัมพูชานั้นจะมีความสามารถจำลองรูปลักษณ์ที่ใกล้ เคียงธรรมชาติมาเป็นตลับ อย่าง ควาย ฟักทอง นกคุ้ม ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาพบเห็นในชีวิตประจำวัน ควายคือสัตว์ที่มีบุญคุณช่วยทำไร่ไถนา ส่วนรูปนกหรือรูปไก่ก็เป็นสัตว์ที่ใกล้ชิด หรืนกคุ้มที่เชื่อว่าชื่อคุ้มจะช่วยป้กงกันภยันตรายต่างๆ ตลับนี้ใช้ใส่ยาเส้น ใส่หมากที่เจียนแล้ว เช่นเดียวกับทางภาคเหนือของไทยเราจะเห็นถึงความเกี่ยวข้องผูกพันกันทางลวดลายบนชิ้นงานสลักดุนของชนชาติอาเซียน บ่งบอกถึงสายศิลป์ที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง(เรื่องและภาพ เศรษฐพงศ์)

นิทรรศการ สลักดุนภูมิปัญญาเชิงช่าง จากอดีตสู่ปัจจุบัน จะเปิดให้เข้าชมถึงวันที่ 4 กันยายน ศกนี้ เปิดให้ชมฟรีทุกวันพุธ – วันอาทิตย์(หยุดวันจันทร์และวันอังคาร)ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 . ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ